ต้องรู้หนทางจริงๆ ลึกซึ้ง มิเช่นนั้นโลภพาไปทางอื่น_สนทนาธรรม ไทย-ฮินดี วันเสาร์ที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๖๖

 
เมตตา
วันที่  15 ก.ค. 2566
หมายเลข  46265
อ่าน  320

- จะรู้ความจริงของเห็นจริงๆ ได้ไหม? (ได้) อีกนานเท่าไหร่? (ไม่สามารถกำหนดได้ แต่รู้ว่านานมาก) เพราะฉะนั้น ฟังไว้ๆ เพื่อไม่ลืม และเพื่อจะเข้าใจขึ้นทีละเล็กทีละน้อย สิ่งที่มีจริงทุกขณะลึกซึ้งมาก เพราะฉะนั้น ฟังเพื่อที่จะมีความเข้าใจที่มั่นคงว่า ไม่มีเรา.

- มีเรา กับไม่มีเรา อะไรจริง? (ไม่มีเรา) ทั้งๆ ที่มีเห็นเดี๋ยวนี้ก็ยังเป็นเรา แสดงว่าไม่รู้ความจริงของเห็นนานมาก กว่าจะรู้ความจริงลึกซึ้งมาก.

- เห็นขณะนี้เกิดดับจริงไหม? (จริง) ถ้าไม่รู้อย่างนี้จะรู้ความจริงอะไร? (ถ้าไม่รู้อย่างนี้ก็ไม่รู้จะไปรู้อะไร) นี่ก็เป็นความมั่นคง เพราะฉะนั้น มีชีวิตอยู่เพื่อค่อยๆ เข้าใจเห็นที่กำลังเกิดดับจนกว่าจะประจักษ์จริงๆ ว่าเห็นเกิดดับจึงจะละความเป็นตัวตนได้.

- เพราะฉะนั้น ยังไม่ตายมีชีวิตอยู่เพื่อเข้าใจพระธรรมที่กำลังมีทีละเล็กทีละน้อยจนกว่าจะประจักษ์แจ้ง.

- คุยกันเรื่องอะไร? (คุณสุคิน: เมื่อกี๊แกคุยเรื่องกิจของหสิตุปาทที่คราวที่แล้วเราคุยกันว่า หสิตุปาทจิตของพระอรหันต์เกิดตอนนั้นทำกิจอะไร กิจของจิตตอนนั้นคืออะไร ผมเลยอธิบายให้เขาฟังว่า เวลาเราพูดถึงธรรมต่างๆ กัน ก็คือจะเป็นจิต เจตสิก หรือรูปต่างๆ เราก็พูดถึงนัยว่ามีลักษณะ มีเหตุใกล้ มีกิจ แต่ความหมายของกิจตอนนั้นของธรรมแต่ละอย่าง แต่ตอนนี้เราพูดถึงกิจของจิตซึ่งมีทั้งหมด ๑๔ กิจ ก็เลยอธิบายว่า เริ่มจากปฏิสนธินั่นคือกิจหนึ่งของจิต ไล่ไปจนถึงโวฏฐัพพนะแล้วก็หลังจากโวฏฐัพพนะก็เกิดมีกิจที่เรียกว่าชวนะ ตรงนั้นหสิตุปาทะเกิดตรงชวนะ เพราะฉะนั้น ท่านอาจารย์ถามว่า หสิตุปาทะนั่นคือทำกิจอะไร ความเข้าใจคือต้องเข้าใจว่าทำกิจชวนะ.

- เดี๋ยวนี้มีหสิตุปาทะไหม? (ไม่มี) ทำไม? (เป็นจิตที่เกิดเฉพาะกับพระอรหันต์) มีเหตุเกิดร่วมด้วยไหม? (ไม่มี) ทำไมไม่มี? (เพราะเป็นกิริยาจิต) กิริยาจิตที่มีเหตุเกิดร่วมด้วยมีไหม? (แกนึกไม่ออก) เพราะฉะนั้น เราไปให้เขาจำ จำ จำ แล้วเขาก็ไม่เข้าใจ แต่เราจะต้องละเอียดมาก ให้เขาไม่เห็นความเป็นตัวตนแล้วก็มีความเข้าใจทุกคำที่ได้ยินไม่ลืม.

- วันนี้คุณอาช่าอยากพูดเรื่องกิจของจิตไหม หรืออยากพูดเรื่องจิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุและจิตที่ประกอบด้วยเหตุ? (ก็ควรเข้าใจทั้งสอง แต่แล้วแต่ท่านอาจารย์จะสนทนาเรื่องอะไรก็ได้) .

- เพราะฉะนั้น ถ้าไม่เข้าใจจริงๆ เราได้ยินคำเราจำ เรารู้ แล้วเราก็ลืม แต่ถ้าเราไปช้าๆ เข้าใจมั่นคงทุกคำที่จะไม่ลืมจะเป็นประโยชน์ว่า เริ่มเห็นความลึกซึ้ง และค่อยๆ เข้าใจว่าไม่ใช่เรา.

- จิตที่ไม่มีเหตุทั้งหมดมีเท่าไหร่? (๑๘) แล้วจิตทั้งหมดมีกี่กิจเท่าไหร่? (๑๔ กิจ) เพราะฉะนั้น อเหตุกจิต ๑๘ ทำกิจได้กี่กิจ? (๑๒ กิจ) คำถามว่าอย่างไร? (ถามว่า อเหตุกจิต ๑๘ ทั้งหมดมีกี่กิจ) อะไร? เห็นไหมเราไม่ได้รีบร้อนให้เขาไปจำชื่อบอกเขาไปหมด แต่ต้องให้เขาเข้าใจละเอียดเพราะถ้าเขาไม่เข้าใจอเหตุกะจริงๆ อย่างอื่นเขาก็จะเข้าใจไม่ได้ที่จะละความเป็นเรา เพราะอย่างอื่นต้องมาจากอเหตุกะทั้งนั้นเลย.

- (คุณสุคิน: ท่านอาจารย์ต่อได้เลย) เขารู้แล้วหรือ ถามใหม่? (หมายถึงจะให้เขาตอบใหม่หรือครับ) แน่นอน เพราะคำตอบไม่ถูก (ก็ยังนับได้ ๑๒ ก็เริ่มจาก จะให้เขาทวนทีละ ๑ ไหม) ไม่ใช่เลย เราพูดมาทั้งหมดทั้งกิจ ทั้งอเหตุกะ ทั้งจิตทุกดวงแล้วเพื่อเป็นการทบสอบว่า เขาเข้าใจหรือเขาจำ หรือเขาไม่รู้เรื่อง หรือเขาเข้าใจแค่ไหน จึงมีคำถามที่ยังไม่ไปที่ไหนเลยจนกว่าเขาจะมีความเข้าใจมั่นคงในอเหตุกจิต (ผมเข้าใจคำถามท่านอาจารย์ คือว่าให้บอกจำนวนมา แล้วเราก็นับจำนวน) ไม่ใช่ เดี๋ยวก่อนคุณสุคิน จุดประสงค์การฟังธรรมเพื่อให้เข้าใจสิ่งที่มีเดี๋ยวนี้ที่ลึกซึ้ง เพราะฉะนั้น ถ้าเขายังไม่เข้าใจความเป็นไปของจิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุ ต้องเข้าใจทุกคำว่าไม่ประกอบด้วยเหตุ เหตุมี ๖ เพราะฉะนั้น ทั้งหมดนี่ไม่ประกอบด้วยเหตุ ๖ มี ๑๘ ดวง.

- (คุณสุคิน: ผมจะพูดไปทีละประโยคครับ) เพราะฉะนั้น เราไม่ยาว เราไม่ให้เขาจำเราไม่บอกเขาหมด แต่ถามแล้วเขาตอบว่าอย่างไร เราจะค่อยๆ เพิ่มให้เขาทีละน้อย.

- เขารู้เรื่องอเหตุกจิตทั้งหมดแล้วใช่ไหม? (อาช่า: ใช่ คุณสุคิน: ... ) คำตอบคือเขารู้แล้วใช่ไหมเพราะคำถามดิฉันถามว่า รู้จักอเหตุกจิตทั้งหมดแล้วใช่ไหม? (คุณสุคิน: เขาบอกว่าใช่ แต่ผมก็ทวนถามใหม่ให้แน่ใจว่าเข้าใจ ไม่มีคำถามนะ แกตอบว่าเข้าใจ) ไม่มีคำถามเลยนะ (ไม่มีครับ) .

- เพราะฉะนั้น ดิฉันจะถาม อเหตุกจิต ๑๘ คุณอาช่ามีอเหตุกจิตเท่าไหร่? (๑๗) ๑๗ นะ จิตของคุณอาช่าสามารถที่จะทำกิจของอเหตุกะได้กี่กิจ? (๑๑) กิจทั้งหมดมีเท่าไหร่? ( ... ..) ไม่ได้ถามชื่อ ไม่ได้ถามอะไรเลย ถามแค่ว่า อเหตุกจิตทั้งหมดมีเท่าไหร่? (๑๘) แล้วอเหตุกจิตที่เป็นคุณอาช่าทำกิจได้กี่กิจ? (๑๑) จิตทั้งหมดมีเท่าไหร่? (๑๘ ครับ) แล้วอเหตุกจิตทำกิจได้ทั้งหมดกี่กิจ? (๑๒) ทำไมล่ะ ทำกิจอะไรไม่ได้ จิตทั้งหมดมี ๑๔ กิจ? ( ... ) ขอโทษนะคุณสุคิน เรากำลังพูดถึงเฉพาะจิตที่เป็นอเหตุกจิต ไม่ได้บอกว่าของใครอะไรทั้งหมด แต่พูดถึงจิตที่เป็นอเหตุกจิตทั้งหมดมีเท่าไหร่? (๑๘) จิตที่เป็นอเหตุกจิต ๑๘ ทำกิจได้กี่กิจ? (๑๒) เพราะฉะนั้น อเหตุกจิตทำกิจอะไรไม่ได้ ๒ กิจที่เขาบอกว่ามี ๑๒ กิจ? (ตะกี๊แกตอบ ๑ ก็คือ โวฏฐัพพนะ) เป็นอเหตุกจิตหรือเปล่า? (อาช่าจำได้ว่ามีเหตุครับโวฏฐัพพนะ) โวฏฐัพพนะได้แก่จิตอะไร? (เป็นกิริยาจิต) อเหตุกกิริยาจิตมีเท่าไหร่? (๓) มีอะไรบ้าง? (ปัญจทวาราวัชชนจิต มโนทวาราวัชชนจิต และก็หสิตุปาทจิต) .

- เพราะฉะนั้น เราจึงจำเป็นต้องพูดว่า อเหตุกจิตทำกิจอะไรได้บ้าง เพราะฉะนั้น เริ่มต้นตั้งแต่อเหตุกจิต ๑ คืออะไร? ( ... ) ขอโทษนะ ฟังคำถามใหม่ อเหตุกจิตมี ๑๘ พูดมาทีละ ๑ เราจะต้องพูดทีละ ๑ ให้มั่นคง (เห็นครับ) เห็นนะ เห็นเป็นอเหตุกะหมายความว่าอะไร? (เป็นผลของกรรม และไม่มีเหตุ ๖ เหตุ) เขาพูดถึงเห็นใช่ไหม จักขุวิญญาณใช่ไหม? (ใช่ครับ) วันนี้เป็นวันที่เราจะเข้าใจความละเอียดของจิตทีละ ๑.

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างยิ่งค่ะ และกราบยินดีในกุศลของคุณสุคิน ผู้ถ่ายทอดคำท่านอาจารย์เป็นภาษาฮินดี


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
เมตตา
วันที่ 15 ก.ค. 2566

- วิบากจิต คืออะไร? (เป็นจิตที่ไม่ใช่เป็นกุศล ไม่ใช่เป็นอกุศล และไม่เป็นกิริยา) แล้วเป็นอะไร? (วิบาก) วิบาก คืออะไร? (เป็นผลของกรรม) ผลของกรรมที่มีเหตุเกิดร่วมด้วย และไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วย มี ๒ อย่างใช่ไหม? (เข้าใจครับ) เพราะฉะนั้น ผลของกรรมเกิดขึ้นไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วยก็มี และผลของกรรมเกิดขึ้นมีเหตุเกิดร่วมด้วยก็มี แต่เรากำลังเริ่มต้นเฉพาะผลของกรรมที่ไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วย.

- เพราะฉะนั้น จักขุวิญญาณ เห็น เป็นผลของกรรมมีเหตุเกิดร่วมด้วย หรือไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วย? (ไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วย) จักขุวิญญาณเกิดกี่ขณะ? (๑ ขณะ) ๑ ขณะ เดี๋ยวนี้กำลังเห็น จักขุวิญญาณเกิด ๑ ขณะหรือเปล่า? (เห็นครั้งหนึ่งจิตหนึ่ง แต่ว่าตอนนี้คือมีเห็นหลายขณะ) เพราะฉะนั้น กว่าจะรู้ว่าเห็นเกิดขึ้นเห็นเท่านั้นเอง ๑ ขณะน้อยมากแค่ไหนลึกซึ้งไหม? (ครับ) .

- การเกิดดับของสภาพธรรมเร็วสุดที่จะประมาณได้ เพราะฉะนั้น แม้เห็นขณะนี้ก็ไม่ใช่เพียง ๑ ขณะที่ปรากฏ.

- ทุกอย่างเกิดดับเร็วสุดที่จะประมาณได้ แต่ปรากฏเพียง ๑ เห็น แต่ขณะนั้นหลายเห็นจึงเป็นนิมิตของเห็นที่เกิดดับ ถ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ทรงตรัสรู้ใครจะรู้ว่าทุกสิ่งทุกอย่างเกิดดับเร็ว ปรากฏเป็นนิมิตของแต่ละธรรม.

- กว่าจะรู้ว่า อยู่ในโลกของนิมิตทั้งหมด จนกว่าจะรู้ว่า แต่ละนิมิตเกิดดับเป็นอริยสัจจธรรมที่ประจักษ์แจ้งได้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้อย่างนี้ใช่ไหม? (ใช่) พระองค์จึงตรัสว่า ธรรมทั้งหมดเกิดดับไม่ใช่ใคร และไม่ใช่ของใคร เป็นอนัตตา.

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างยิ่งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
เมตตา
วันที่ 15 ก.ค. 2566

- ถ้าไม่รู้ความจริงของการเกิดดับของสภาพธรรมที่เป็นนิมิต จะละความเป็นเราได้ไหม หรือจะละความเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดได้ไหม? (ครับ) เพราะฉะนั้น การฟังธรรมไม่ใช่สำหรับรีบจำรีบรู้เยอะๆ แต่สามารถเข้าใจว่าลึกซึ้ง แม้หนทางที่จะรู้ความจริงก็ลึกซึ้ง.

- ขณะนี้รู้หนทางที่จะประจักษ์การเกิดดับของเห็น หรือสภาพธรรมหรือยัง? (ก็ทั้งหมดที่เราทำอยู่ตอนนี้ หนทางก็คือได้ฟังก่อนแล้วมีผู้รู้ช่วยให้เราเข้าใจมากขึ้นแล้วก็ต้องฟังไปเรื่อยๆ) คนอื่นจะบอกได้ไหมว่าเขาเข้าใจเท่าไหร่? (ไม่สามารถรู้ได้) เพราะฉะนั้น ต้องตรงต่อความจริงเป็นสัจจธรรมว่า เข้าใจแค่ไหนหรือเพียงแต่ได้ยินชื่อเยอะ.

- เพราะฉะนั้น ทุกครั้งที่ฟังธรรมต้องรู้ว่า กำลังฟังเรื่องของสิ่งที่กำลังมีจริงๆ ให้ค่อยๆ เข้าใจความจริงขึ้นเพื่อประจักษ์แจ้ง ฟังไม่เข้าใจไม่รู้ความจริงของธรรมมีมากในแสนโกฏิกัปป์ เพราะฉะนั้น ต้องเป็นผู้ที่ตรงที่จะเข้าใจว่า กำลังฟังเพื่อค่อยๆ เข้าใจสิ่งที่มีจริง ไม่ใช่เป็นเรื่องชื่อ.

- ธาตุรู้ เกิดขึ้นเห็นสิ่งที่กำลังปรากฏจะเป็นคน หรือเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดได้ไหมในขณะที่กำลังเห็นเท่านั้น? (เห็นไม่เห็นสัตว์บุคคลครับ) เห็นแต่สิ่งที่กระทบตานะ.

- เพราะฉะนั้น เราไปช้าๆ ละเอียดเพื่อให้เริ่มเข้าใจว่า เห็นเป็นอย่างนี้จนกว่าจะรู้ตรงเห็น.

- เพราะฉะนั้น ตลอดชีวิตมีธรรมมากมายนับไม่ถ้วนเกิดขึ้นทุกวันทุกขณะ เพราะฉะนั้น ต้องเริ่มเข้าใจความจริงแต่ละอย่างที่มีในชีวิต.

- ธาตุรู้ไม่ใช่ใครเกิดขึ้นทำกิจเฉพาะของธาตุนั้นๆ กำลังเห็นเป็นธาตุรู้เกิดขึ้นทำกิจเห็น ไม่ใช่เรา.

- เพราะฉะนั้น ธาตุรู้ที่เกิดขึ้นเห็น ทำทัสนกิจทำอย่างอื่นไม่ได้เลย.

กราบเท้าท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างยิ่งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
เมตตา
วันที่ 15 ก.ค. 2566

- เพราะฉะนั้น จักขุวิญญาณเป็นวิบากจิตเป็นอเหตุกจิตทำ ๑ กิจ จนกว่าทุกครั้งที่เห็นจะเริ่มรู้ว่า ไม่ใช่เรา เป็นธาตุรู้ที่เกิดขึ้นทำกิจเห็นเท่านั้น.

- มีข้อสงสัยในเรื่องจิตเห็นไหม? (คือแกมีคำถามหนึ่งซึ่งแกได้คำตอบจากการสนทนาครั้งที่แล้วว่า บางทีวันๆ ก็รู้ว่ามีอะไรตรงหน้าเรา แต่เราก็ไม่นึกถึงมัน เราไปคิดถึงเรื่องอื่น แต่ว่าความเข้าใจแล้วสีก็กระทบ แล้วทำไมเป็นอย่างนั้นว่า สีกระทบแต่ก็ไม่รู้ว่าบางทีเห็นเหมือนกับไม่ได้เห็น แกฟังคราวที่แล้วที่เราพูดถึงว่า บางทีรูปเกิดแล้วไม่กระทบปสาทรูปนี่ไม่ครบ ๑๗ ขณะ หมายถึงไม่ถึงวาระชวนะ หรือก่อน หรือไม่ถึงตทาลัมพพนะมันก็ต่างกันตรงนั้นก็มี แกได้คำตอบตรงนี้แล้วครับ) จริงๆ ไม่สำคัญเลย เพราะว่าตราบใดที่ยังไม่รู้ธาตุรู้ที่เห็นความเข้าใจธรรมยังไม่พอ ขณะที่คิดอย่างนั้นไม่ใช่จิตเห็น เพราะฉะนั้น ยังไม่ทันรู้ความจริงของจิตเห็น ก็คิดเรื่องจิตเห็นซึ่งไม่มีวันจะรู้เพราะคิด รู้ไหมขณะนั้นมีความติดข้อง ต้องการ พอใจ ที่จะคิดเรื่องอื่นแล้วซึ่งไม่มีโอกาสที่จะเข้าใจจิตเห็นได้เลยเมื่อคิดอย่างนั้น.

- แต่ขณะที่ฟังเรื่องจิตเห็นมีฉันทะที่จะเข้าใจจิตเห็นโดยการฟังเรื่องจิตเห็น ไม่ลืมที่จะคิดถึงจิตเห็นที่กำลังเห็น.

- หนทางที่จะรู้ความจริงในจิตเห็นที่กำลังเห็น ก็คือว่าพูดเรื่องจิตเห็น เข้าใจจิตเห็นเพิ่มขึ้นๆ จนสามารถที่จะแม้ไม่พูดถึงก็สามารถรู้ว่า ขณะนั้นเป็นเพียงขณะเห็นเท่านั้น.

- เพราะฉะนั้น ต้องรู้หนทางจริงๆ ลึกซึ้ง มิเช่นนั้นโลภพาไปทางอื่น.

- เพราะฉะนั้น ตอนนี้เขาเริ่มไม่พูดถึงอย่างอื่นนอกจากจิต และกิจของอเหตุกจิต เพื่อที่จะรู้คำตอบว่าอเหตุกจิต ๑๘ ทำกิจ ๑๒ กิจนั้นถูก หรือผิดอย่างไร.

- ไม่ใช่จำชื่อ เรื่อง แต่กำลังเข้าใจจริงๆ ว่า แต่ละ ๑ เป็นอย่างไรเพิ่มขึ้น.

- เพราะฉะนั้น ตอนนี้เขาก็พอรู้มั่นคง ไม่ต้องไปทบทวนหรือจำว่า นอกจากจิตเห็นที่เกิดขึ้นทำกิจเห็นเท่านั้น ยังมีอเหตุกะอื่นที่เขาสามารถจะบอกได้ว่านอกจากจิตเห็น มีจิตอะไรที่เป็นอเหตุกะที่ทำกิจอื่น.

- เพราะฉะนั้น ต่อไปบอกมาเลยว่า อเหตุกจิตอะไรทำกิจอะไรอีก? (ได้ยินเป็นอเหตุกะ แล้วทำกิจได้ยิน) เพราะฉะนั้น ทั้งหมดกี่ดวงแล้ว? (๒ ครับ) เท่าที่เขารู้นะ ไม่ใช่แค่ ๒ ต่อไปอีกเลย ( ... ) นับไปด้วยแต่ละกิจ ทีละ ๕ ก็ได้ ๕ กิจแล้ว แล้วค่อยต่อไปกิจอื่นๆ นับเป็นหนึ่งกิจหนึ่งกิจเลย ( ... ) เมื่อกี๊นี้มีจักขุวิญญาณทำทัสนกิจ ต่อไปอะไร โสตวิญญาณทำสวนกิจ (ได้ยิน ๒ ครับ ได้กลิ่น ๓) ไม่ค่ะ หมายความว่า เห็นทำทัสนกิจ ๑ ได้ยินทำสวนกิจ ๒ สองจิตสองจิตแล้ว เพราะฉะนั้น ๕ จิต ๕ กิจใช่ไหมเรากำลังพูดถึง (๕ กิจแล้วครับ) ๕ จิต ๕ กิจต่อไปค่ะ (สัมปฏิจฉันนกิจ) เป็นกี่กิจแล้ว? (เป็น ๖ กิจแล้ว) ต่อไปอีก ๑ (สันตีรณจิตทำสันตีรณกิจ ๑ ครับ) แล้วสันตีรณะทำกิจอะไรได้อีก? (ทั้งหมด ๕ กิจ) อะไรบ้าง? (จำได้แค่ ๔ กิจ คือ ๑ สันตีรณะ ปฏิสนธิ ภวังค์ จุติ กิจที่ ๕ จำไม่ได้) ตทาลัมพนกิจ (จำได้แล้ว) .

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างยิ่งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
เมตตา
วันที่ 15 ก.ค. 2566

- ตทาลัมพนกิจ คืออะไร? (จำได้ว่า เกิดหลังจากชวนะ ๒ ขณะ แต่ว่าไม่ทราบความหมายของตทาลัมพนะ แล้วไม่รู้ว่าเกิดตอนไหนครับ) ตทาลัมมพะเป็นคำรวมมาจากคำว่า ตํ หมายความว่า นั้น อารัมมณะบางครั้งใช้คำว่า อาลัมพนะ เพราะฉะนั้น ตทาลัมพนะ หมายความถึงจิตที่เกิดรู้อารมณ์นั้นแหละที่ยังไม่ดับหลังจากที่ชวนะเกิดแล้ว หมายความว่า สำหรับรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่กระทบ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ทันทีที่เกิดมีอารมณ์เท่ากับจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะ เพราะฉะนั้น ขณะที่ถึงชวนะ ๗ ขณะแล้วอารมณ์ยังไม่ดับ ความติดข้องพอใจในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่เป็น กาม ที่เกิดจากรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ทำให้ผลของกรรมเกิดขึ้นรู้อารมณ์ที่ยังไม่ดับต่อจากชวนะ.

- ถ้าอารมณ์กระทบก่อนที่วิถีจิตจะเกิด เพราะฉะนั้น เมื่อชวนะ ๗ ขณะดับแล้ว อารมณ์นั้นดับ ตทาลัมพนะเกิดได้ไหม? (ถ้ารูปดับแล้ว ตทาลัมพนะไม่เกิดครับ) ขณะนี้บอกได้ไหมว่า ขณะที่เห็นมีตทาลัมพนะหรือเปล่า? (ไม่ได้) เพราะทั้งหมดปรากฏเป็นนิมิตของเห็นเท่านั้น.

- ทั้งหมดที่พูดมาเป็นอเหตุกจิตกี่ดวง และทำกิจไปแล้วกี่กิจ? (อเหตุกจิต ๗ และทำกิจ ๑๑) ๗ เท่านั้นหรือ? (เราเริ่มจากปัญจวิญญาณ ๕ ... ) เห็น เป็นอเหตุกจิตกี่ดวง? (ท่านอาจารย์เริ่มต้นใหม่ว่าคำถามว่าอย่างไร?) ถามว่า อเหตุกจิตทั้งหมดมีเท่าไหร่ แล้วทำกิจอะไรบ้าง ได้กี่กิจ? (ถึงตอนนี้ ๑๕ จิต แล้วก็ ๑๑ กิจ) กิจอะไรบ้าง ๑๕ จิตทำกิจอะไรบ้าง? (๕ กิจของเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส สัมผัสทางกาย และหลังจากนั้น สัมปฏิจฉันนะ สำหรับสันตีรณะทำ ๕ กิจ รวม ๑๑ กิจครับ) แล้วอเหตุกจิตทั้งหมดมีเท่าไหร่? (๑๕ ครับ) ๑๕ จิตทำกิจได้กี่กิจ? (๑๑) ๑๑ กิจ เพราะฉะนั้น เหลือกิจอีกเท่าไหร่? (เหลือ ๓ อเหตุกจิต และเหลืออีก ๓ กิจ) ถูกต้องแล้ว บอกมาเลย เหลือจิตอะไร เหลือกิจอะไร? (อเหตุกจิตมีอีก ๓ คือ ๑. ปัญจทวาราวัชชนจิต ๒. มโนทวาราวัชชนจิต ๓. หสิตุปาทจิต) ทำกิจอะไร? (ทำกิจอาวัชชนะ ก็คือทำกิจอาวัชชนะ) เดี๋ยวก่อน จิตอะไรทำกิจอะไร? (ปัญจทวาราวัชชนจิตทำอาวัชชนกิจ) แล้วอีก ๒ ดวงล่ะ เหลืออีกกี่กิจ? (อีก ๑ ก็คือ มโนทวาราวัชชนจิตซึ่งทำกิจอาวัชชนะ) ทำกิจอาวัชชนะหมายความว่าอย่างไร? (ที่เปิดทางรับอารมณ์เพื่อให้จิตต่อไปรู้) ขณะนี้เรากำลังพูดถึงจิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุที่รู้อารมณ์ทางทวารหนึ่ง หนึ่ง หนึ่ง หนึ่งนะ เพราะฉะนั้น รูปยังไม่ดับใช่ไหม? (ครับ) รูปยังไม่ดับ แล้วมโนทวาราวัชชนจิตจะไปเปิดทางให้มโนทวารเกิดได้ไหม ต้องมีเหตุผล ต้องไตร่ตรอง? (ครับ) แล้วคำตอบว่าอย่างไร? (รู้แต่ว่าเป็นกิจโวฏฐัพพนะเป็นกิจที่ ๑๓ ก่อนพูดถึงหสิตุปาทจิตซึ่งทำกิจชวนะแต่ว่าเป็นกิจที่ทำกิจนี้ ... .) ทำไมเป็น ๑๓ กิจล่ะ (โวฏฐัพพนกิตครับ แต่ว่าจิตอะไรที่ทำโวฏฐัพพนกิจตรงนั้นยังไม่แน่ใจ)

- อเหตุกจิตมีเท่าไหร่? (๑๘) เป็นวิบากจิตเท่าไหร่? (๑๕) เป็นกิริยาจิตเท่าไหร่? (๓) เพราะฉะนั้น ปัญจทวาราวัชชนะทำกิจอะไร? (อาวัชชนะ) มโนทวาราวัชชนะทำกิจอะไร? (อาวัชชนะ) ค่ะ วิถีจิตยังไม่หมดเพราะเหตุว่ารูปยังไม่ดับ จะเป็นมโนทวาราวัชชนะเปิดทางให้มโนทวารได้ไหม? (อาช่าตอนนี้ยังคิดว่าชวนจิตเกิดเฉพาะทางมโนทวารได้ แกก็เลยสับสนว่าในเมื่อเราพูดถึงชวนจิตแล้วก็น่าจะเป็นมโนทวาร) ไม่ได้เลย เพราะเหตุว่ารูปยังไม่ดับยังเกิดไม่ได้ต้องเป็นไปทางทวารนั้น จักขุทวารรูปยังไม่ดับ ทางโสตทวารรูปยังไม่ดับจะไปรู้มโนทวารไม่ได้ (เข้าใจแล้ว) .

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างยิ่งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
เมตตา
วันที่ 15 ก.ค. 2566

- นี่เป็นความละเอียดเราข้ามความละเอียดไม่ได้เลย เราจะจำแต่จำนวนว่า อเหตุกจิตมี ๑๘ แล้วทำกิจอะไรบ้างเท่านั้นไม่ได้ แต่ต้องเป็นความเข้าใจความเป็นไปเดี๋ยวนี้ ถ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ตรัสรู้ไม่ทรงแสดงใครก็จะไปรู้ถึงจิตแต่ละ ๑ ที่ทำกิจแต่ละ ๑ ไม่ได้.

- (คุณสุคิน: ท่านอาจารย์ครับพอดีตะกี๊ผมไปเปลี่ยนเรื่องหน่อย คือผมอธิบายให้อาช่าฟังว่าความจริงเป็นอย่างไร แล้วเข้าใจว่าทำไมเขามีปัญหาตรงนี้เป็นเพราะว่า เขาไม่เคยอ่านมาไม่เหมือนบางคนที่เคยอ่านมาแล้วก็ ... ) ถูกต้องค่ะ เพราะฉะนั้น เรากำลังจะบอกเขาเพิ่มเติมทีละน้อยทีละน้อยให้เขาได้เข้าใจให้เขาได้คิด แต่ไม่ได้ไปบอกชื่อบอกเรื่องอะไรเพราะว่ามันไม่สำคัญ คือชื่อเท่านั้น จำเท่านั้น แต่นี่เรากำลังให้เขารู้ว่า แม้ทางปัญจทวาร วิบากจิตต้องเป็นวิบากจิต จบวิบากจิตแล้วจะเป็นวิบากจิตต่อไปไม่ได้ เพราะฉะนั้น ต่อไปจะเป็นอะไรเมื่ออารมณ์ยังไม่ได้ดับ.

- เพราะฉะนั้น เราเรียนละเอียดจิตที่เป็นวิบากเป็นผลของกรรมจะเป็นเหตุไม่ได้มื่อกรรมทำแล้วให้ผลเป็นวิบากที่ประกอบด้วยเหตุก็มี ที่ไม่ประกอบด้วยเหตุก็มีแต่เราไม่รู้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงจิตทุกขณะให้รู้ว่าไม่ใช่เรา เพราะฉะนั้น ทรงแสดงว่า วิบากทางทวารไหน ๕ ทวารมีอะไร แล้วก็จะได้รู้ว่าเราเข้าใจผิดหมด เราคิดว่ากุศลและอกุศลต้องเกิดทางใจเท่านั้นไม่ใช่เลย การที่สะสมมามากในกุศลและอกุศลพร้อมที่จะไหลไปทันทีเมื่อถึงเวลา เพราะฉะนั้น เมื่อถึงเวลาที่วิบากจบแล้ว จากนั้นก็เป็นกิริยาจิต คือโวฏฐัพพนะ แต่เมื่อกล่าวถึงอเหตุกะเราใช้คำว่ามโนทวาราวัชชนะแสดงว่าจะเรียกชื่อจิตที่ทำโวฏฐัพพนะกิจว่าโวฏฐัพพนจิตก็ได้ แต่จิตนี้ทำโวฏฐัพพนกิจเฉพาะทางปัญจทวาร แต่ถ้าเราใช้คำว่ามโนทวาราวัชชนจิตเราจะรู้ว่าจิตนี้ต้องเกิดก่อนกุศลและอกุศล ถ้าทางปัญจทวารไม่ได้ทำอาวัชชนะแต่ทำโวฏฐัพพนกิจ (เข้าใจแล้ว) .

- นี่เป็นเหตุที่เราจะต้องเรียนละเอียดนะ จิตอะไรทำกิจอะไร เพราะฉะนั้น ปัญจทวาราวัชชนจิตทำกิจอะไร? (ทำอาวัชชนกิจ) ทางทวารไหน? (คำถามท่านอาจารย์คืออะไรครับ) ถามว่า ปัญจทวาราวัชชนจิตทำกิจอะไร (ทำกิจอาวัชชนะ) ทางไหน ทวารไหนต้องคู่กัน ทวารกับกิจ? (ถ้าเป็นจักขุก็จักขุทวาร) เพราะฉะนั้น ได้กี่ทวาร? (๕ ทวารครับ) และทำกิจได้กี่กิจ (๑ กิจ) ๑ กิจ แต่ ๕ ทวารใช่ไหม? (ใช่ครับ) .

- สันตีรณจิตทำได้กี่กิจ? (สัมปฏิจฉันนะทำได้กิจหนึ่ง สันตีรณะทำได้ ๕ กิจ) .

- แล้วก็มโนทวาราวัชชนจิตทำได้กี่กิจ? (๒ กิจ) กิจอะไรบ้าง ๒ กิจ? (ถ้าทางมโนทวารก็ทำกิจอาวัชชนะ ถ้าทางปัญจทวารก็ทำกิจโวฏฐัพพนะ) ทำได้กี่กิจ? (๒ กิจครับ) .

- มโนทวาราวัชชนจิตดับแล้วอะไรต้องเกิด? (ชวนะ) แล้วทางปัญจทวารทำกิจอะไร? (เป็นกุศล หรืออกุศล) ถามใหม่นะ มโนทวาราวัชชนจิตทำกิจอะไรทางปัญจทวาร? (ทำโวฏฐัพพนกิจ) โวฏฐัพพนกิจดับแล้วจิตอะไรเกิดต่อ? (ชวนะ) กุศล หรืออกุศลสำหรับคนธรรมดา กิริยาจิตสำหรับพระอรหันต์ แล้วเวลาเป็นทางมโนทวาร มโนทวาราวัชชนจิตทำโวฏฐัพพนกิจหรือเปล่า? (ไม่ครับ) ทำกิจอะไร? (ทำอาวัชชนกิจ) เพราะฉะนั้น แสดงว่าจิตหนึ่งเกิดขึ้นทำหนึ่งกิจ แต่จิตนั้นทำกิจอื่นได้ด้วยก็มี.

- มโนทวาราวัชชนจิตทำอาวัชชนกิจทวารไหน? (ทางมโนทวาร) ไม่ค่ะ ทำอาวัชชนะไม่ใช่ทางมโนทวารใช่ไหม? มโนทวาราวัชชนะทำกิจอาวัชชนะทางมโนทวาร ทำกิจโวฏฐัพพนะทางมโนทวารได้ไหม? (ไม่ได้) แล้วก็มโนทวาราวัชชนะทางปัญจทวารทำอาวัชชนกิจได้ไหม? (ไม่ได้ครับ ตอนนั้นทำกิจโวฏฐัพพนะ) .

- เพราะฉะนั้น มโนทวาราวัชชนจิตเราใช้ชื่อนี้เพราะว่าต้องเป็นจิตที่ทำกิจนี้ประจำทางทางใจ.

- มโนทวาราวัชชนจิตทำอาวัชชนกิจทางมโนทวารดับแล้วจิตอะไรเกิดต่อ? (ชวนะ) แล้วเวลาที่มโนทวาราวัชชนจิตทำโวฏฐัพพนกิจดับแล้วทางปัญจทวารจิตอะไรเกิดต่อ? (ชวนะ) เพราะฉะนั้น อีกชื่อหนึ่งอีกความหมายหนึ่งของมโนทวาราวัชชนจิตซึ่งทำได้ ๒ กิจ แต่ว่าหลังจากที่มโนทวาราวัชชนจิตหรือโวฏฐัพพกิจดับแล้ว กุศลหรืออกุศลสำหรับคนธรรมดา หรือกิริยาจิตสำหรับพระอรหันต์ต้องเกิด จึงมีอีกชื่อหนึ่งว่า ชวนปฏิปาทกมนสิการ กระทำทางให้ชวนวิถีซึ่งเป็นกุศลหรืออกุศลเกิดขึ้น จิตอื่นนอกจากกุศล อกุศล และก็กิริยาจิตของพระอรหันต์นี่โดยทั่วๆ ไปนะความละเอียดยังมีอีก ถ้ามโนทวาราวัชชนจิตไม่ทำชวนวิถีปฏิปาทกะ เกิดได้ไหม?

- เพราะฉะนั้น อเหตุกจิต ๑๘ ทำได้กี่กิจ? (๑๔ กิจ) ครบทั้ง ๑๔ นะ คราวหน้าเราจะพูดถึงอเหตุกะอีกดีไหม? (คราวหน้าเราสนทนาเรื่องนี้ต่อครับ) ดีมาก เพราะถ้ายังไม่แจ่มแจ้งเรื่องนี้ เรื่องอื่นแจ่มแจ้งไม่ได้แน่ เพราะเป็นการเริ่มเข้าใจธรรมจริงๆ ในชีวิตประจำวันทั้งหมด.

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างยิ่งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
khampan.a
วันที่ 15 ก.ค. 2566

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ที่เคารพยิ่ง
ขอบพระคุณและยินดีในกุศลวิริยะของพี่เมตตาด้วยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
siraya
วันที่ 18 ก.ค. 2566

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
nattawan
วันที่ 19 ก.ค. 2566

ขอบพระคุณและยินดียิ่งในกุศลจิตค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ