อนิจจาทิธรรมสูตร และ ชาติอาทิธรรมสูตร - ๒๕ ส.ค. ๒๕๕๐

 
บ้านธัมมะ
วันที่  23 ส.ค. 2550
หมายเลข  4628
อ่าน  2,400

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส

พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ
ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ
สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ

••• ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย •••

สนทนาธรรมที่มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา

พระสูตร ที่นำมาสนทนาที่มูลนิธิฯ

วันเสาร์ ๒๕ ส.ค. ๒๕๕๐

เวลา ๐๙:๐๐ - ๑๒:๐๐ น.

อนิจจาทิธรรมสูตร

ว่าด้วยสิ่งทั้งปวงเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้นเป็นธรรมดา

[เล่มที่ 28] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 54

ชาติอาทิธรรมสูตร

ว่าด้วยสิ่งทั้งปวงมีความเกิดเป็นต้นเป็นธรรมดา

[เล่มที่ 28] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑- หน้าที่ 50


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ส.ค. 2550

[เล่มที่ 28] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 54

อนิจจวรรคที่ ๕

๑. อนิจจาทิธรรมสูตร

ว่าด้วยสิ่งทั้งปวงเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้นเป็นธรรมดา

[๔๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหาร เชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวง เป็นของไม่เที่ยง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงที่เป็นของไม่เที่ยง คือ อะไร คือ จักษุ รูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส เป็นของไม่เที่ยง แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ ใจ ธรรม มโนวิญญาณ มโนสัมผัส เป็นของไม่เที่ยง แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นของไม่เที่ยง ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้ง ในจักษุ ทั้งในรูป ทั้งในจักษุวิญญาณ ทั้งในจักษุสัมผัส ทั้งในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ ทั้งในใจ ทั้งในธรรม ทั้งในมโนวิญญาณ ทั้งในมโนสัมผัส ทั้งในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะ มโนสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อ ความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้

[๔๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นทุกข์

[๔๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นอนัตตา

[๔๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรรู้ยิ่ง

[๕๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรกำหนดรู้

[๕๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรละ

[๕๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรทำให้แจ้ง

[๕๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรรู้ยิ่งแล้วกำหนดรู้

[๕๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงวุ่นวาย. ว่าด้วยสิ่งทั้งปวงเป็นของถูกเบียดเบียน

[๕๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงขัดข้อง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงขัดข้อง คิดอะไรเล่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คือ จักษุ รูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส ขัดข้อง ฯลฯ ใจ. ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส ก็ขัดข้อง แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็ขัดข้อง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริย- สาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในจักษุ ทั้งในรูป ทั้งในจักษุวิญญาณ ทั้งในจักษุสัมผัส ทั้งในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ ทั้งในใจ ทั้งใน ธรรมารมณ์ ทั้งในมโนวิญญาณ ทั้งในมโนสัมผัส ทั้งในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อ เบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้น แล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้

จบ อนิจจวรรคที่ ๕

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ส.ค. 2550

อรรถกถาอนิจจวรรคที่ ๕

ในอนิจจวรรคที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

ญาตปริญญามา ในบทว่า ปริญฺเยฺย แต่ปริญญา ๒ นอกนี้ พึงทราบว่าท่านก็ถือเอาด้วยเหมือนกัน เฉพาะตีรณปริญญา และปหานปริญญา มาทั้งในบท ปริญฺเยฺย ทั้งในบท ปหาตพฺพ แต่ปริญญาทั้ง ๒ นอกนี้ พึงทราบว่าท่านถือเอาด้วยเหมือนกัน.

บทว่า สจฺฉิกาตพฺพ แปลว่า พึงกระทำให้ประจักษ์ แม้ในบทว่า อภิญฺเยฺยา ปริญฺเยฺย นี้ ถึงท่านไม่ได้กล่าวถึงปหานปริญญาก็จริง แต่พึงทราบว่า ท่านถือเอาด้วย เหมือนกัน

บทว่า อุปทฺทุต ได้แก่ด้วยอรรถมากมาย

บทว่า อุปสฺสฏฺ ได้แก่ด้วยอรรถว่าถูกกระทบ บทที่เหลือง่ายทั้งนั้นแล

จบ อรรถกถาอนิจจวรรคที่ ๕

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ส.ค. 2550

[เล่มที่ 28] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 50

ชาติธรรมวรรคที่ ๔

๑. ชาติอาทิธรรมสูตร

ว่าด้วยสิ่งทั้งปวงมีความเกิดเป็นต้นเป็นธรรมดา

[๓๖ ] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหาร เชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวง มีความเกิดเป็นธรรมดา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งทั้งปวงที่มีความเกิดเป็น ธรรมดาคืออะไรเล่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คือ จักษุ รูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส มีความเกิดเป็นธรรมดา แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ก็มีความเกิดเป็น ธรรมดา ฯลฯ ใจ ธรรม มโนวิญญาณ มโนสัมผัส มีความเกิด เป็นธรรมดา แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็มีความเกิดเป็นธรรมดา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในจักษุทั้งในรูป ทั้งในจักษุวิญญาณ ทั้งในจักษุสัมผัส ทั้งในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ ทั้งในใจ ทั้ง ในธรรมารมณ์ ทั้งในมโนวิญญาณ ทั้งในมโนสัมผัส ทั้งในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อ หลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี ดังนี้

[๓๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงมีความแก่เป็นธรรมดา

[๓๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงมีความป่วยไข้เป็นธรรมดา

[๓๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงมีความตายเป็นธรรมดา

[๔๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงมีความเศร้าโศกเป็นธรรมดา

[๔๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงมีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา

[๔๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงมีความสิ้นไปเป็นธรรมดา

[๔๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา

[๔๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงมีเหตุให้เกิดเป็นธรรมดา

[๔๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งทั้งปวงที่มีความดับไปเป็นธรรมดา คือ อะไรเล่า ก่อนภิกษุทั้งหลาย คือ จักษุ รูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส มีความ ดับไปเป็นธรรมดา แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ก็มีความดับไปเป็นธรรมดา ฯลฯ ใจ ธรรม มโนวิญญาณ มโนสัมผัส มีความดับไปเป็นธรรมดา แม้ สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัส เป็นปัจจัย ก็มีความดับไปเป็นธรรมดา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวก ผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในจักษุ ทั้งในรูป ทั้งใน จักษุวิญญาณ ทั้งในจักษุสัมผัส ทั้งในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ ทั้งในใจ ทั้งใน ธรรมารมณ์ ทั้งในมโนวิญญาณ ทั้งในมโนสัมผัส ทั้งในสุขเวทนา ทั้ง ในทุกขเวทนา ทั้งในอทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็น อย่างนี้มิได้มี

จบ ชาติธรรมวรรคที่ ๔

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 ส.ค. 2550

อรรถกถาชาติธรรมวรรคที่ ๔

อรรถกถาชาติอาทิธรรมสูตร เป็นต้น

ในชาติธรรมวรรคที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้

บทว่า ชาติธมฺม ความว่า มีความเกิดเป็นธรรมดา มีความบังเกิด เป็นธรรมดา มีความบังเกิดเป็นสภาวะ.

บทว่า ชราธมฺม ได้แก่มีความ แก่เป็นสภาวะ

บทว่า พฺยาธิธมฺม ได้แก่มีพยาธิเป็นสภาวะ โดยความ เป็นปัจจัยแห่งการเกิดขึ้นแห่งพยาธิ

บทว่า มรณธมฺม ได้แก่มีความ ตายเป็นสภาวะ

บทว่า โสกธมฺม ได้แก่มีความโศกเป็นสภาวะ โดย ความเป็นปัจจัยแห่งการเกิดขึ้นแห่งความโศก

บทว่า สกิเลสิกธมฺม ได้แก่มีความเศร้าหมองเป็นสภาวะ

บทว่า ขยฺธมฺม ได้แก่มีความถึง ความสิ้นไปเป็นสภาวะ แม้ในสภาวะมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดาเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกันแล

จบ อรรถกถาชาติธรรมวรรคที่ ๔

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ทรงศักดิ์
วันที่ 20 ธ.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ