เริ่มเห็นความเป็นใหญ่ของจิตหรือยัง?_สนทนาธรรม ไทย-ฮินดี วันเสาร์ที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๖๖

 
เมตตา
วันที่  22 ก.ค. 2566
หมายเลข  46284
อ่าน  307

- ไม่มีอะไรถามก่อนใช่ไหม? (เขากำลังคิดอยู่ครับ) ค่ะ (ท่านอาจารย์ครับ สรุปแล้วแกอยากให้เราสนทนาต่อเรื่องที่เราสนทนาครั้งที่แล้วครับ) เรื่องไหนก็ได้ที่เป็นความเข้าใจที่ถูกต้องในสิ่งที่มี และไม่เคยรู้มาก่อนใช่ไหม? (อาช่า ตอบว่าก็ต้องเป็นอย่างนั้นเพราะมีธรรมอยู่ตลอดเวลา แล้วเราความเข้าใจก็ไม่มี เพราะฉะนั้น จะคุยในนัยไหนก็มีประโยชน์ แล้วแต่ท่านอาจารย์) ดี ถูกต้องค่ะ

- เดี๋ยวนี้มีจิตไหม? (มี) มีเจตสิกไหม? (มี) มีรูปไหม? (มี) แล้วมีอะไรนอกจากนี้ไหม? (นอกจากนี้ไม่มีอะไรอะไรอีกแล้ว) มีคุณอาช่ามีคุณอาคิ่ลไหม? (ไม่มี) ไม่มีแล้วมีอะไร? (มีธรรม) แล้วมีธรรมอะไรบ้างที่เขารู้จัก? (อาช่า: เห็นก็เป็นแค่ภาษาทางโลกคือการสื่อ แต่จริงๆ ไม่มีจริง) มีความไม่รู้ไหม? (มี) มากไหม? (มาก) เดี๋ยวนี้มีไหม? (มี) เดี๋ยวนี้ไม่รู้อะไร? (มีเห็น แต่ไม่รู้จักเห็น) เพราะฉะนั้น อยู่ในโลกของความไม่รู้ทุกวันใช่ไหม? (ใช่) .

- เพราะฉะนั้น ฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่ออะไร? (เพื่อรู้ความจริง) จนกว่าจะรู้ว่าเห็นไม่ใช่เรา ทุกสิ่งทุกอย่างไม่ใช่สิ่งที่เคยเป็น แต่เป็นแต่ละหนึ่งซึ่งเป็นธรรมที่มีจริงแต่ละหนึ่ง เพราะฉะนั้น ความจริงของทุกอย่างที่มีเดี๋ยวนี้ คืออะไร? (ความจริงเกิดแล้วดับ) ดีมาก เป็นการเตือนให้รู้ว่า ถ้าไม่รู้อย่างนี้จะหมดความไม่รู้ไหม? (ไม่ได้) เพราะฉะนั้น ต้องฟังจนกว่าจะรู้ความจริงอย่างนี้ใช่ไหม? (ครับ) .

- ถ้าไม่ฟังอย่างนี้ไม่เข้าใจอย่างนี้จริงๆ โดยละเอียดอย่างยิ่ง สามารถที่จะถึงการรู้แจ้งสิ่งที่กำลังเกิดดับเดี๋ยวนี้ได้ไหม? (ไม่ได้) .

- เพราะฉะนั้น เราจะพูดถึงสิ่งที่มีจริงเพื่อเข้าใจไม่ใช่เพื่อฟังแล้วจำเท่านั้น แต่เพื่อเข้าใจจริงๆ มั่นคงว่าสิ่งที่มีเดี๋ยวนี้ทั้งหมดเกิดดับ.

- เมื่อคืนนี้คุณอาช่านอนหลับไหม? (หลับ) ขณะหลับมีอะไร? (มีภวังค์) ทำไมชอบเรียกชื่อ ภวังค์คืออะไร? เพราะเวลาที่ถามและคุณอาช่าตอบว่ามีภวังค์ คุณอาช่าไม่ได้คิดถึงจิตแต่คิดถึงชื่อภวังค์?

- เพราะฉะนั้น ขณะนอนหลับมีอะไร? (มีจิต) มีเจตสิกไหม? (มี) เพราะอะไร? (มีจิตที่ไหนต้องมีเจตสิกด้วย นี่เป็นธรรมชาติของธรรมนี้) แล้วมีรูปไหม? (มี) แล้วขณะนั้นมีอะไรรู้อะไรหรือเปล่า? (ถ้ามีจิตก็ต้องมีสิ่งที่จิตรู้) เพราะฉะนั้น ขณะนั้นมีจิตรู้อะไร? (แกยังไม่ค่อยเข้าใจเรื่องอารมณ์ของจิตรู้ แกก็สับสนหน่อย แต่ตอนนี้เข้าใจแล้วว่าเป็นอารมณ์เดียวกับปฏิสนธิ) ไม่ได้ถามอะไรอย่างนั้นเลย ดิฉันต้องการให้เริ่มคุ้นเคยกับชีวิตจริงๆ ทุกขณะเป็นอย่างไรทีละหนึ่งขณะ แต่ไม่ใช่ให้เขามาเอาเรื่องอะไรบ้างมาเล่าให้ฟัง (คือมีอยู่จุดหนึ่งที่แกตอบว่ามีอารมณ์ แต่อารมณ์ไม่ปรากฏครับ) เริ่มเห็นความเป็นใหญ่ของจิตหรือยัง? (เริ่มเข้าใจครับ) .

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างยิ่งค่ะ และกราบยินดีในกุศลของคุณสุคิน ผู้ถ่ายทอดคำท่านอาจารย์เป็นภาษาฮินดีค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
เมตตา
วันที่ 22 ก.ค. 2566

- เริ่มเห็นความเป็นใหญ่ของจิตหรือยัง? (เริ่มเข้าใจ) เพราะฉะนั้น เราได้ยินทุกคำทีละเล็กทีละน้อยแต่เราต้องเข้าใจลึกซึ้งขึ้น เพราะฉะนั้น ไม่ใช่ให้เราไปนึกเรื่องราวมากมายแล้วก็จำคำจำเรื่องราว แต่เดี๋ยวนี้มีธาตุรู้ซึ่งเป็นใหญ่เป็นประธาน เห็นความสำคัญหรือยัง แม้ขณะนอนหลับก็แล้วแต่ว่าจิตเกิดขณะนั้นเพราะอะไร เป็นอะไร รู้อะไร.

- ทำไมจิตนั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบัญญัติเรียกว่าภวังคจิต? (เมื่อกี๊เราสนทนาอาช่าก็เข้าใจว่าที่ถามไปว่าทำไมถึงเรียกจิตนั้นว่าภวังค์เป็นเพราะอะไรที่เราแยกว่า จิตนั้นกับจิตนี้ไม่เหมือนกับจิตนั้นที่เป็นภวังค์ แต่ขณะนี้ที่เห็นไม่ใช่ภวังค์เพราะอะไร แกก็คิดไปถึงว่าพระพุทธองค์เลือกใช้คำนี้ แต่ผมบอกว่าไม่ใช่ แค่พูดว่าตัวเองเข้าใจอย่างไรเวลาได้ยินคำนี้ว่าจิตนี้เป็นอย่างนี้ แกก็ตอบว่าเป็นจิตที่ดำรงชีวิตต่อครับ) เพราะฉะนั้น เราพูดเรื่องยาวๆ จะทำให้เข้าใจความลึกซึ้งของธรรมที่มีเดี๋ยวนี้ที่ยังไม่สามารถจะรู้ได้เลยหรือเปล่า? (ถ้าไม่เข้าใจว่าตอนนี้เป็นจิตก็ไม่มีประโยชน์) เพราะฉะนั้น ก็คิดแต่ชื่อคิดแต่เรื่องพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสคำนี้ชื่ออย่างนี้อย่างนั้น แต่ดิฉันพูดถึงขณะนอนหลับใช่ไหม เพื่อให้ทุกคนขณะนี้คิดถึงขณะที่นอนหลับ ไม่ใช่ฟังแต่เรื่องนอนหลับ แต่ให้ทุกคนเริ่มคิดถึงขณะที่นอนหลับ เพราะฉะนั้น ถามอะไรสั้นๆ ก็ยิ่งตอบยิ่งสั้นยิ่งเข้าใจในคำนั้นเพราะเป็นภาวะที่เข้าใจความจริงของขณะนั้น เพราะทุกคนพูดถึงภวังค์ แต่ความเข้าใจจิตขณะนั้นมีไหมเมื่อเริ่มเข้าใจธาตุรู้ซึ่งเป็นใหญ่จริงๆ เกิดขึ้นรู้.

- เพราะฉะนั้น การศึกษาธรรมเต็มไปด้วยเรื่องเต็มไปด้วยชื่อแต่เข้าใจสิ่งที่กำลังมีแต่ละหนึ่งขณะไหม? เพื่อเตือนให้เข้าใจจริงๆ ถึงธาตุรู้ และธาตุอื่นๆ ที่มีในชีวิตประจำวันซึ่งเมื่อเข้าใจขึ้น ขณะนั้นเองละทีละเล็กทีละน้อยว่าเป็นสิ่งที่ไม่ใช่เรา ไม่ใช่สิ่งหนึ่งสิ่งใดเลย.

- แต่ถ้าจำชื่อจำเรื่องจะไม่รู้ลักษณะของจิตเลย เพราะเหตุว่าขณะนั้นกำลังจำคำ และเรื่องราว เพราะฉะนั้น ตอนนี้เรากำลังจะค่อยๆ เริ่มกล่าวถึงธรรมที่มีแต่ละขณะเพื่อจะได้เข้าใจจริงๆ ว่าแต่ละขณะนั้นเป็นอะไรจริงๆ เพราะฉะนั้น ขณะนั้นถามแล้วตอบเป็นชื่อไม่ได้เข้าใจลักษณะของธรรม.

- เพราะฉะนั้น ดิฉันเริ่มคำถามจะถามคุณอาช่าว่าเมื่อคืนนี้นอนหลับหรือเปล่ามีหลับหรือเปล่า เพื่อให้รู้ความจริงของสิ่งที่มีจริงไม่ใช่ให้เขาตอบชื่อซึ่งใครๆ ก็ตอบได้ เพราะฉะนั้น เมื่อคืนนี้หลับไหม? (หลับครับ) เพราะฉะนั้น หลับขณะนั้นคืออะไร? (จิต) ตอบสั้นๆ อย่างนี้ถูกแล้ว ขณะนั้นมีจิตใช่ไหม แต่จะต้องถามต่อถ้าถามว่า ชื่อ ตอบเป็นชื่อว่าจิต เพราะฉะนั้น จิตคืออะไร? (เป็นธาตุหนึ่งที่มีจริงและรู้อารมณ์) เป็นธาตุรู้นะ ถามว่าถ้าดิฉันไม่ถามอย่างนี้จะรู้ไหมว่าขณะหลับนั้นเป็นธาตุรู้? (ถ้าไม่ถามก็ไม่คิดอย่างนี้ครับ) เริ่มรู้ว่ามีธาตุรู้ คนตายมีธาตุรู้ไหม? (ไม่มี) ต้นไม้มีธาตุรู้ไหม? (ไม่มี) ไม่มี แต่ขณะนี้คิดถึงคำที่จะตอบหรือเริ่มคิดถึงขณะที่หลับแล้วมีธาตุรู้ (คิดถึงความจริง) เดี๋ยวนี้นะไม่ได้คิดถึงชื่ออะไรเลย แต่คิดถึงภาวะขณะที่หลับว่ามีธาตุรู้ ถ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ทรงแสดงใครรู้ว่าหลับเป็นธาตุรู้.

- เมื่อไม่รู้ธาตุรู้ตื่นขึ้นเห็นตื่นขึ้นคิดก็ไม่รู้ว่าเป็นธาตุรู้ใช่ไหม? (ถ้าไม่รู้ไม่เข้าใจตรงโน้นก็ไม่รู้ตรงนี้ครับ) ถ้าไม่รู้ว่ามีธาตุรู้ เวลาตื่นจะรู้ไหมว่าเห็นเป็นธาตุรู้? (ไม่รู้ครับ) เพราะฉะนั้น จึงต้องฟังละเอียดมากที่จะเริ่มรู้ ธาตุรู้ ทีละเล็กทีละน้อยให้ถึงความเข้าใจธาตุรู้ที่กำลังรู้เดี๋ยวนี้.

- เพราะฉะนั้น นอนหลับไม่รู้ว่าเป็นธาตุรู้ เห็นได้ยินเดี๋ยวนี้จึงไม่รู้ว่าเป็นธาตุรู้ ขณะที่หลับสนิทมีธาตุรู้ ขณะที่เห็นเป็นธาตุรู้หรือเปล่า? (ครับ) ขณะที่หลับเป็นธาตุรู้ขณะที่ได้ยินเป็นธาตุรู้ก็เป็นธาตุรู้ใช่ไหม? (อาช่าบอกว่าเป็นธาตุรู้เหมือนกัน แต่ว่าตอนนั้นธาตุรู้หนึ่งและตอนนี้อีกธาตุรู้หนึ่งครับ) เขาตอบตามที่เขาคิดแต่เขารู้จักธาตุรู้หรือยัง? (เข้าใจครับ) .

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างยิ่งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
เมตตา
วันที่ 22 ก.ค. 2566

- พราะฉะนั้น ฟังแล้วฟังอีกเป็นประโยชน์กว่าฟังแล้วคิดว่าเข้าใจแล้วใช่ไหม? (ใช่) แล้วคิดไตร่ตรองด้วยและก็นึกถึงภาวะนั้นด้วยจึงจะรู้ว่า ธาตุรู้มี แต่ไม่ได้ปรากฏเลยมีแต่ชื่อที่ได้เข้าใจแล้ว.

- ไม่ลืมว่าทุกคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าลึกซึ้งเพราะกล่าวถึงสิ่งที่มีแต่ยังไม่มีใครรู้ตามความเป็นจริง จะรู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อฟังคำของพระองค์และเข้าใจคำที่พระองค์ตรัสถึงเป็นปริยัติเพราะพระองค์กล่าวถึงสิ่งที่มีที่ลึกซึ้งแต่ต้องแข้าใจความลึกซึ้งตามลำดับ.

- เดี๋ยวนี้ที่กำลังพูดมีจิตไหม? (มี) พูดไปทุกวันเรื่องธรรมต่างๆ รู้จักจิตหรือเปล่า? (ไม่รู้จัก) มีจิตทุกวันไม่เว้นเลยสักขณะเดียวแล้วรู้จักจิตหรือยัง? (ไม่รู้จัก) เดี๋ยวนี้กำลังเห็นรู้จักจิตหรือยัง? (ยัง) และถ้าเราไม่พูดให้เข้าใจขึ้นเข้าใจขึ้นจะรู้จักจิตได้ไหม? (ไม่ได้) กำลังคิดมีเรื่องราวต่างๆ แต่ไม่รู้จักจิต ลืมว่าถ้าจิตไม่เกิดขณะนั้นจะมีเรื่องที่คิดไหม? (ไม่มี) .

- เดี๋ยวนี้มีสิ่งที่ปรากฏให้เห็นมากมาย แต่ลืมว่าถ้าไม่มีจิตจะไม่มีสิ่งที่ปรากฏนี้ได้เลย.

- เดี๋ยวนี้กำลังได้ยินก็ลืมว่ามีจิตเพราะได้ยินเสียง เสียงปรากฏให้รู้ได้ว่ามี.

- ขณะที่โกรธมีจิตไหม? (มี) จิตโกรธหรือเปล่า? (เป็นเจตสิก) ไม่ได้ถามว่าเป็นอะไร เห็นไหมเขาคิดไปเรื่อยๆ แต่เขารู้จักจิตในขณะนั้นไหมที่โกรธ ในขณะที่เขาตอบว่าโกรธเป็นเจตสิกขณะนั้นเขารู้จักจิตหรือเปล่า? (ไม่รู้จัก) นี่เป็นความละเอียดที่ต้องรู้ว่าไม่รู้จักจิตแม้ว่ามีจิตแต่ตอบได้ว่าขณะนั้นจิตไม่ใช่เจตสิก แล้วความจริงจิตไม่ใช่เจตสิกไม่ใช่โกรธหรือเปล่า? (ครับ) เห็นความละเอียดไหมว่าศึกษาธรรมเพื่อเข้าใจธรรมไม่ใช่ไปจำชื่อเยอะๆ .

- เพราะฉะนั้น ขณะที่ถามว่าโกรธเป็นจิตหรือเปล่าเขาตอบได้แต่ตอบว่าโกรธเป็นเจตสิกเพราะขณะนั้นเขาไม่รู้จักจิต.

- เวลาโกรธขณะนั้นรู้ได้อย่างไรว่าโกรธเป็นเจตสิก? (เคยได้ยินมา) เป็นเพราะเคยได้ยิน เพราะฉะนั้นที่ตอบว่ามีจิตเพราะเคยได้ยินใช่ไหม? (เหตุผลอย่างเดียวกันครับ) เพราะฉะนั้น ถ้าเป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ เมื่อไหร่จะรู้จักธรรมจริงๆ ไม่ใช่ชื่อ (คุณสุคิน: คุณราจิฝตอบว่าต้องฟังไปเรื่อยๆ นั่นคือหนทางเดียวที่จะเข้าใจ ผมก็แสดงความคิดเห็นว่าต้องฟังจากผู้รู้ด้วยเพราะว่าถ้าเราฟังจากคนที่ไม่รู้เขาก็พูดไปเรื่อยๆ เราก็ฟังไปเรื่อยๆ แต่ว่าจะเข้าใจไม่เข้าใจก็อีกเรื่องหนึ่งก็ไม่ได้เป็นประโยชน์แต่ท่านอาจารย์ก็เตือนพวกเราว่าฟังก็ต้องพิจารณาไปด้วยไม่ใช่ฟังเฉยๆ) คุณสุคิน นั่นก็ยาวมากเลยนะ (เข้าใจแล้วครับ) .

- ผู้รู้ คือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถ้าไม่มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเราจะได้ยินได้ฟังคำที่พูดถึงสิ่งที่มีให้เข้าใจถูกต้องได้ไหม ถึงแม้ว่าพระองค์ได้ตรัสแล้วคนได้ฟังแล้วจะเข้าใจหรือไม่เข้าใจแล้วแต่บุคคลนั้นสามารถจะไตร่ตรองรู้ว่าสิ่งใดจริงสิ่งใดไม่จริงจึงสามารถที่จะรู้ความจริงได้.

- พระองค์ทรงแสดงความจริงของทุกสิ่งทุกอย่างที่ลึกซึ้งถึง ๔๕ พรรษา เพราะฉะนั้น ทุกคำลึกซึ้งที่ต้องเข้าใจจริงๆ ไม่ใช่เพียงแต่จำคำและความหมายเท่านั้น พระองค์ตรัสถึงธาตุรู้มีธาตุรู้จริงๆ เดี๋ยวนี้ก็มีธาตุรู้แต่รู้จักธาตุรู้หรือยัง ทุกคำต้องไตร่ตรองจนสามารถเข้าใจขึ้นทีละน้อยเพราะความไม่รู้มีมาก.

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างยิ่งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
เมตตา
วันที่ 22 ก.ค. 2566

- เดี๋ยวนี้ทุกคนรู้ว่ามีธาตุรู้ รู้จักธาตุรู้หรือยัง? (ยังไม่รู้จัก) แล้วจะรู้จักได้อย่างไร? (ต้องฟังแล้วก็พิจารณาแล้วก็ฟังไปเรื่อยๆ จนกว่าความเข้าใจเพิ่ม) นี่เป็นเหตุที่เราไม่ได้พูดแต่ชื่อแต่เรากำลังพูดถึงสิ่งที่มีจริงๆ ที่จะให้เขาเริ่มคิดถึง ไม่ลืม มีสิ่งที่มีจริงๆ ตลอดชีวิตแต่ไม่รู้.

- การรู้จักธาตุรู้ยากไหม? (ยากมาก) เพราะเริ่มรู้ว่ามีธาตุรู้จริงๆ ทุกขณะแต่ไม่รู้จักเพราะไม่ได้คิดถึงใช่ไหม? (ใช่) .

- เพียงฟังเรื่องของธาตุรู้จะรู้จักธาตุรู้ไหม? (ถ้าไม่พิจารณาแล้วฟังต่อไปไม่มีวันรู้ แต่ก็ยังลึกซึ้งกว่านั้นอีกเท่าที่เราคิดอยู่ตอนนี้) เพราะฉะนั้น ต้องไม่ลืมนะเพราะพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ว่าความไม่รู้มีมากมายมหาศาลตั้งแต่เกิดจนถึงเดี๋ยวนี้รวมทั้งแสนโกฏิกัปป์ด้วย เพราะฉะนั้น จึงทรงแสดงพระธรรมโดยละเอียดตั้งแต่ต้น.

- การที่จะรู้จักธาตุรู้ก็ต้องเริ่มต้นจากการฟังแล้วเข้าใจธาตุรู้ และหนทางที่จะรู้จักธาตุรู้ด้วย เพราะฉะนั้น ขั้นต้น คือปริยัติ ต้องเข้าใจความหมายของปริยัติไม่ใช่ฟัง จำชื่อ แต่ฟังแล้วเริ่มเข้าใจความจริง แต่รู้ว่าความจริงที่เข้าใจแม้เดี๋ยวนี้มีก็ยังไม่ประจักษ์ เพราะฉะนั้น ขั้นฟังนี้ถ้าไม่มีเลยไม่มีหนทางที่รู้ความจริงนั้นได้ ด้วยเหตุนี้จึงต้องเริ่มต้นจากปริยัติ.

- การฟังแล้วเข้าใจสิ่งที่กำลังมีเดี๋ยวนี้ในขณะที่ฟังเป็นปริยัติหรือเปล่า? (เป็น) .

- ถ้าถามว่า จิตเห็นเป็นอะไร จิตได้ยินเป็นอะไร บอกว่าเป็นผลของกรรมเป็นปริยัติหรือยัง? (อาช่าตอบว่า ถ้าตอบด้วยความเข้าใจก็เป็นปริยัติ) ความเข้าใจระดับไหน? (ขั้นต้น) เพราะฉะนั้น เป็นปริยัติหรือยัง? (คุณสุคิน: ผมก็เลยถามเขาว่าตอนที่แกตอบตอนนี้เห็นหรือว่าตอนที่แกบอกว่าพิจารณาในชีวิตประจำวันว่าเห็นนี่เป็นผลของกรรม ผมถามว่าตรงนั้นแกคิดว่าเป็นปริยัติหรือเปล่า คำตอบแกสรุปว่าบางครั้งก็น่าจะเป็นปริยัติครับ) บางคราวกับน่าจะ หมายความว่าอย่างไร? (บางทีก็ไม่คิดด้วยความเข้าใจ บางทีก็คิดด้วยความเข้าใจ) นั่นแหละเป็นปริยัติหรือยัง? (แกตอบว่าเป็น นั่นหมายถึงตอนที่รู้..) ตอนไหนก็ได้ถ้าเกิดคิดว่านี่เป็นนาม นั่นเป็นรูป เป็นปริยัติหรือยัง? (ถ้าคิดถึงนามกับรูป แกบอกว่ายังไม่ใช่ปริยัติ เป็นแต่ชื่อ) .

- เพราะฉะนั้น ปริยัติรอบรู้ในอะไร? (ตรงนี้ผมเชื่อว่าเขายังไม่เข้าใจความหมายของปริยัติ) รอบรู้ ไม่ใช่ได้ยินชื่อไม่ใช่จำชื่อ (อาช่าพูดถึงตัวเองความเข้าใจแกว่าทุกอย่างเป็นธรรมที่แกไม่ลืมอย่างนี้ คือปริยัติครับ) แล้วธรรมอยู่ไหน ทุกอย่าง? (ตอนนี้ก็ธรรม) รอบรู้หรือยัง? (ผมไม่แน่ใจจะอธิบายให้แกเข้าใจ ตัวผมเองก็ไม่ค่อยเข้าใจความหมายของรอบรู้ รอบรู้ที่ผมเข้าใจคือเข้าใจจนไม่หวั่นไหว คือได้ยินอะไรเกี่ยวกับสิ่งที่ปรากฏตอนนี้คือรู้ทันทีว่าเป็นธรรม ท่านอาจารย์ช่วยให้ความหมายของรอบรู้) เพราะเหตุว่าเรารู้อย่างนี้แล้วจะถึงการรู้ลักษณะไหม ทุกอย่างเป็นธรรม ไม่ลืม โน่นก็ธรรม นี่ก็ธรรม แน่ใจว่าเป็นธรรม แค่นี้แล้วสามารถที่จะถึงการปฏิปัติที่ทำให้เข้าใจธรรมนั้นได้ไหม? (คือตอนที่แกพูดแกหมายถึงว่าแกรู้แกคำนึงถึงสิ่งที่ปรากฏแล้วสรุปว่าทุกอย่างเป็นธรรม)

- เพราะฉะนั้น คำถามมีว่าเป็นปริยัติหรือยัง ถ้าเขาไม่รู้ความหมายว่าปริยัติคืออะไร ถ้าเขาไม่รู้เหมือนเดี๋ยวนี้เขาก็ตอบไม่ได้ว่าเป็นหรือเปล่าใช่ไหม? (ครับ เพราะฉะนั้น ปริยัติคืออะไรครับ) .

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างยิ่งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
เมตตา
วันที่ 22 ก.ค. 2566

- ปริยัติ คือรู้คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ใช่มีแต่ขั้นบอกว่านี่เป็นธรรมทุกอย่างเป็นธรรม แต่ต้องสามารถที่จะถึงการค่อยๆ รู้จักลักษณะของธรรม แต่ยังไม่รู้จักเพียงแต่รู้ว่าจะรู้จักได้อย่างไร (ตามที่อาช่าเข้าใจแกน่าจะความเข้าใจระดับนั้นที่ท่านอาจารย์เรียกว่ารอบรู้ครับ) .

- เพราะฉะนั้น ต้องฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงจะสามารถมั่นคงจริงๆ ว่าเป็นระดับของความเข้าใจขั้นไหน เพราะการรอบรู้ต้องรู้ว่ารู้ในอะไร ไม่ใช่รอบรู้ รอบรู้ แต่รอบรู้ในอะไร ในอริยสัจจ์ทั้ง ๔ รอบที่ ๑ เป็นสัจจญาณจึงจะมั่นคงว่าเขาสามารถที่จะมั่นคงในธรรมที่กำลังปรากฏถึงแม้ว่ายังไม่ได้ประจักษ์แจ้ง แต่ก็รู้ว่าเป็นสิ่งที่มีจริงที่เกิดแล้ว แล้วก็ดับด้วย นี่คือสัจจญาณในอริยสัจจ์ ๔ ข้อที่ ๑ (ตรงนี้ตามที่แกตอบก็คือประมาณนี้เท่าที่แกเข้าใจ) .

- เพราะฉะนั้น มีปริยัติ มีปฏิปัตติ มีปฏิเวธ ๓ รอบของอริยสัจจธรรม ไม่ใช่ไปที่อื่นเลยอยู่ที่ความจริงเดี๋ยวนี้ซึ่งลึกซึ้ง เพราะฉะนั้น รอบที่ ๑ คือความรอบรู้ในอริยสัจจะทั้ง ๔ ไม่ใช่ชื่อนะ แต่เป็นความจริง เพราะฉะนั้น ต้องรู้ว่าขณะที่กำลังพูดเดี๋ยวนี้แหละสามารถที่จะรู้ว่าเป็นสัจจญาณหรือเปล่า เป็นความรอบรู้หรือยังว่าขณะนี้มีความไม่รู้ และมีความติดข้องแล้วในสิ่งที่ปรากฏ.

- แม้แต่การที่จะเข้าใจว่าขณะนี้สิ่งที่ปรากฏนั้นแหละเกิดดับก็ต้องอาศัยว่าเพราะไม่รู้จึงไม่ปรากฏตามที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประจักษ์แจ้งว่าเดี๋ยวนี้เป็นอย่างนั้น แต่เพราะเหตุว่ายังไม่ค่อยๆ เข้าใจเหตุที่ทำให้เกิดความไม่รู้ก็ยังละ และประจักษ์แจ้งไม่ได้.

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างยิ่งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
เมตตา
วันที่ 22 ก.ค. 2566

- เพราะฉะนั้น ความเข้าใจที่รู้ว่าถ้ายังไม่รู้ว่าเหตุที่จะทำให้ไม่เข้าใจสิ่งที่ปรากฏที่เกิดดับก็เพราะติดข้องด้วยความไม่รู้ จึงเริ่มที่จะรู้ว่าถ้ายังคงมีความไม่รู้ในความจริงมากมายก็ไม่สามารถที่จะละการติดข้อง และความไม่รู้ซึ่งปิดบังการเกิดดับของธรรมที่กำลังเกิดดับเดี๋ยวนี้ได้.

- ถ้ารู้ว่ามีความไม่รู้และความติดข้องในสิ่งที่กำลังปรากฏและไม่รู้หนทางที่จะทำให้ประจักษ์แจ้งความจริงที่กำลังปรากฏก็ไม่สามารถที่จะเป็นปริยัติได้ (ท่านอาจารย์ครับมีเสียงรบกวนข้างหลังช่วยทวนใหม่ครับ) เพราะฉะนั้น ขณะนี้สภาพธรรมกำลังเกิดดับ ความไม่รู้และความติดข้องปิดบัง เพราะฉะนั้น ถ้าเข้าใจอย่างนี้จริงๆ ก็จะรู้ว่า หนทางอื่นหรือใครจะพยายามทำให้ประจักษ์แจ้งการเกิดดับเป็นไปไม่ได้ตราบใดที่ไม่รู้และติดข้องในสิ่งที่กำลังปรากฏ เพราะฉะนั้น จึงรู้หนทางที่ละเอียดที่จะทำให้ค่อยๆ ลดความไม่รู้ในสิ่งที่กำลังปรากฏโดยการรู้ความละเอียดขึ้นของธรรมจึงเป็นการรอบรู้ในอริยสัจจ์ ๔.

- เพราะฉะนั้น ถ้าไม่มีการรอบรู้ในอริยสัจจ์ทั้ง ๔ จะไม่สามารถที่จะมีการเริ่มต้นที่จะถึงความเข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏทีละเล็กทีละน้อยได้.

- เพราะฉะนั้น ถ้าเพียงตอบว่าเห็นเดี๋ยวนี้เป็นธาตุรู้เป็นจิตหรือมีเจตสิกเกิดร่วมด้วยเท่านี้จะเป็นหนทางให้รู้ลักษณะที่เป็นธรรมได้หรือเปล่า ถ้าเพียงแต่พูดจิตเป็นธาตุรู้ เจตสิกเกิดกับจิตดับกับจิตเป็นการรอบรู้ในธรรมที่เข้าใจความจริงที่จะทำให้ประจักษ์แจ้งลักษณะของสภาพธรรมหรือยัง? (ถ้าเป็นอย่างนี้ไม่ได้เป็นปริยัติ) นี่ซิคะเป็นการเริ่มเข้าใจอีกขั้นหนึ่งที่เราพูดถึงหลับ ตื่น ทั้งหมดเพื่อให้ค่อยๆ รู้หนทางที่จะประจักษ์แจ้งความจริงของสภาพธรรมที่จะเริ่มรู้ซึ่งไม่ใช่เพียงแต่ฟัง.

- การเริ่มที่จะเข้าใจว่าอะไรเป็นทางที่จะให้เข้าใจความจริง ลักษณะจริงๆ ของสิ่งที่ปรากฏ ก็คือเราพูดถึงสิ่งที่ปรากฏ เช่นหลับสนิทมีจิตหรือเปล่า เพื่อค่อยๆ เข้าถึงความจริงของแต่ละหนึ่งขณะของธาตุรู้ ซึ่งจะเป็นทางให้รอบรู้ในอริยสัจจะที่ ๔ ขั้นแรกคือปริยัติ.

- ถ้าไม่พูดถึงธรรมแต่ละหนึ่ง และความเข้าใจธรรมแต่ละหนึ่งจะมีได้อย่างไรก็ไม่ใช่ความรอบรู้ในหนทางที่จะทำให้รู้แจ้งอริยสัจจธรรม.

- เพราะฉะนั้น ก็เริ่มที่จะเข้าใจว่าทำไมเราพูดถึงขณะที่หลับว่ามีจิตเพราะแม้ยังไม่เห็นก็มีจิตที่จะเริ่มรู้จักจิตจริงๆ เพราะเพียงรู้ว่าขณะหลับก็มีจิตพอไหม? (ไม่พอ) เพราะฉะนั้น ก็เริ่มต้นอีกเริ่มต้นอีกจนกว่าจะรู้ว่าเรากำลังพูดถึงจิตเพื่อเข้าใจจิต ไม่ใช่ชื่อกับเรื่องราวของจิต.

- ขณะนอนหลับสนิทมีจิตแน่นอนใช่ไหม? (มีแน่นอน) จิตเป็นสภาพรู้ต้องมีสิ่งที่จิตรู้ใช่ไหม? (ครับ) ที่นอนหลับสนิทสามารถที่จะรู้จิตที่นอนหลับสนิทในขณะที่หลับสนิทได้ไหม? (ไม่สามารถรู้ได้) เพราะอะไร? (เพราะอารมณ์ไม่ปรากฏ) ทำไมอารมณ์ไม่ปรากฏ (ไม่ทราบ) เพราะไม่ใช่อารมณ์ที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.

- เพราะฉะนั้น ให้ทราบว่าแม้มีจิตถ้าจิตนั้นไม่ได้เกิดขึ้นรู้สิ่งที่ปรากฏทางตาหรือทางหูหรือทางจมูกหรือทางลิ้นหรือทางกายหรือทางใจ จะไม่มีการรู้เลยว่าขณะนั้นมีจิต และจิตนั้นที่หลับสนิทเกิดจากอะไรมีเหตุให้เกิดหรือเปล่า? (ไม่ทราบ) คำถามว่าอย่างไร? (ถามว่าจิตนั้นที่ไม่รู้อารมณ์ทาง ๖ ทวารอะไรเป็นเหตุให้จิตนั้นเกิดครับ) ถามว่าจิตที่หลับสนิทไม่รู้อารมณ์ใดๆ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจแต่เกิดแล้วเป็นขณะนั้นเพราะอะไร? (เพราะมีเหตุปัจจัย) ปัจจัยอะไรบ้าง? (แค่รู้ว่ามีหลายปัจจัย) ปัจจัยหนึ่งที่ทุกคนพูดเป็นปัจจัยสำคัญ คุณอาช่าเองก็พูดบ่อยๆ (เป็นผลของกรรม) อันนี้แหละที่คุณอาช่าพยายามเหมือนไม่รู้อะไรแต่ตอบไปเรื่องอื่นแต่จริงๆ แล้วเขาพูดบ่อยๆ ใช่ไหมว่าเราจะต้องเริ่มเข้าใจจิตว่าจิตนั้นเกิดเป็นผลหรือเป็นเหตุ เป็นวิบากหรือว่าเป็นกุศลอกุศล เพราะฉะนั้น เราก็ตรงไปตรงมานั่นเราเคยได้ยินแล้ว แต่เวลาที่เรากำลังจะคิดก็ต้องตามที่เราเข้าใจใช่ไหม? (ครับ) เพราะฉะนั้น ต้องตรงไปตรงมานะ นี่กำลังเป็นปริยัติเมื่อเรารอบรู้ไม่ว่าเราจะถามเรื่องอะไรที่เราเคยได้ยินได้ฟังมาเป็นชื่อแต่ความจริงเป็นทุกๆ ขณะ.

- สำหรับคราวต่อไปเราก็จะพูดถึงเรื่องอย่างนี้ เพื่อให้เข้าใจจนกระทั่งเป็นอริยสัจจะข้อที่ ๔ แต่ต้องเป็นความรอบรู้ก่อนในอริยสัจจะทั้ง ๔.

- เพราะฉะนั้น เราพูดถึงจิตบ่อยๆ น่าเบื่อไหม? (ไม่เบื่อ) ถูกต้องนะเป็นหนทางเดียวกว่าจะรู้จักจิต คราวหน้าเราก็จะพูดต่อไปเพื่อเป็นปริยัติในอริยสัจจ์ ๔ จริงๆ .

- วันนี้ก็ยินดีอย่างยิ่งในกุศลของแต่ละคนที่เข้าใจเพิ่มขึ้นจะได้มั่นคงขึ้นจึงจะเป็นปริยัติ.

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างยิ่งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
nattawan
วันที่ 22 ก.ค. 2566

ไม่ว่าจะภพภูมิไหน ถ้าไม่มีจิต

อะไรๆ ก็ไม่ปรากฏ

(สนทนาพระสูตรที่ มศพ.

ส. 23 ก.ค. 2559)

กราบบูชาคุณทอจ.สุจินต์ บริหารวนเขตต์ด้วยความเคารพยิ่ง

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาในกุศลวิริยะของคุณเมตตาค่ะ

ยินดีในความดีของทุกท่านค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ