เริ่มหัดคิดให้ละเอียดขึ้นให้ตรงขึ้น_สนทนาธรรม ไทย-ฮินดี วันอาทิตย์ที่ ๖ สิงหาคม ๖๖

 
เมตตา
วันที่  6 ส.ค. 2566
หมายเลข  46358
อ่าน  228

- ตอนนี้เราจะไม่พูดเรื่องจิตที่ประกอบด้วยเหตุ เพราะการเข้าใจธรรมที่ลึกซึ้งต้องเข้าใจจริงๆ ไม่รีบร้อน ถ้าเราพูดถึงอะไรหมายความว่าเราจะค่อยๆ หมดความสงสัยในสิ่งที่เรากำลังพูดถึงและไม่ต้องท่องแต่มีความเข้าใจที่ชัดเจนขึ้น ไม่ว่าเราจะพูดธรรมเมื่อไหร่ที่ไหนสบายๆ ที่ไม่ใช่ว่าเราจะต้องจำที่จะต้องท่องที่จะต้องถึง แต่ให้เริ่มมีความเข้าใจที่ละเอียดและถูกต้องตั้งแต่ต้น.

- เพราะฉะนั้น เดี๋ยวนี้เราจะไม่พูดเรื่องอื่นแต่เราจะพูดถึงอะไร? (ที่เราจะสนทนากัน ก็คือสิ่งที่มีจริงที่ไม่สามารถรู้ได้ตอนนี้) เรากำลังจะพูดถึงอะไร? ( ... ) คุณสุคินจะไม่ให้เขาคิดเองเลยหรือ? (เขาพูดออกมาแล้วผมก็สื่อต่อครับ) เพราะฉะนั้น ถามอีกครั้งหนึ่ง เดี๋ยวนี้เรากำลังจะพูดถึงอะไร? (พูดถึงสิ่งที่มีจริงตอนนี้ที่ไม่มีเหตุอย่างเช่น เห็น) ไม่ได้ถามตัวอย่างเลยนะพูดมาก็ไม่เป็นไร.

- เพราะฉะนั้น เหตุคืออะไร เรากำลังจะพูดถึงขณะที่ไม่มีเหตุใชาไหม? (ใช่) เหตุคืออะไร? (เหตุเป็นที่มีอโลภะ อโทสะ อโมหะ โลภะ โทสะ โมหะ) เรากำลังจะพูดถึงอะไร? (เรากำลังจะสนทนาเรื่องอเหตุกะ) ค่ะ เห็นไหมว่าเราถามไปถามมาเพื่อให้เขาหัดคิดให้ละเอียดขึ้นลึกขึ้นตรงขึ้น (คุณสุคิน: ถามใหม่ครับท่านอาจารย์) นี่ซิ เราต้องการให้เขาหัดคิดให้ละเอียดขึ้นให้ตรงขึ้น.

- อะไรไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วย? (เห็น) เห็นคืออะไร? (เป็นจิต) จิตคืออะไร? (เป็นนามธรรมที่รู้) เดี๋ยวนี้มีไหม? (มี) รู้จักจิตหรือยัง? (ยัง) ถูกต้อง แต่ถ้าไม่พูดเรื่องจิตจะรู้จากจิตไหม? (ถ้าไม่พูดก็ไม่รู้) .

- เพราะฉะนั้น เดี๋ยวนี้เรากำลังพูดเพื่อเข้าใจสิ่งที่มีจริงที่ยังไม่สามารถจะรู้ได้แต่มีจริงๆ .

- ถ้าเราพูดเพียงคำว่าจิตจะสามารถรู้จักจิตเดี๋ยวนี้ไหม? (ไม่) เราพูดเรื่องจิตบ่อยๆ เป็นปีแล้วรู้จักจิตหรือยัง? (ยังไม่รู้จักจิต) นานแค่ไหนจะรู้จักจิต? (นานมาก) เพราะฉะนั้น พูดถึงจิตอีกพูดถึงจิตอีกบ่อยๆ เพื่อจะทำให้สามารถค่อยๆ ประจักษ์แจ้งลักษณะของสิ่งที่กำลังมีเดี๋ยวนี้ เบื่อหรือยัง? (ไม่เบื่อ) ถูกต้อง เพราะฉะนั้น พูดถึงจิตเดี๋ยวนี้ที่กำลังมี จิตอะไรเดี๋ยวนี้ที่กำลังมีที่เราจะต้องพูดถึงเพราะเรายังไม่รู้จักจิตจริงๆ เพียงแต่รู้ว่ามีจิตนั้น? (เช่นเวลานี้ได้ยิน เรามาพูดถึงได้ยิน) . เพราะฉะนั้น ทีละหนึ่ง ไม่ใช่อะไรๆ ก็เป็นจิตทั้งวันเลยไม่รู้อะไร เพราะฉะนั้น จะเข้าใจขึ้นต่อเมื่อเราพูดถึงหนึ่ง.

- คุณอาช่าจะพูดถึงจิตอะไรเดี๋ยวนี้ที่กำลังมีหนึ่งจิต? (เห็น) ดีมาก เพราะเห็นทุกวันไม่เห็นรู้สักทีว่าไม่ใช่เราที่เห็นแต่เป็นจิตที่เห็น ถ้าไม่มีความพอใจความสนใจจริงๆ ที่เดี๋ยวนี้มีจิตพูดเรื่องจิตเพื่อเข้าใจจิต สามารถจะรู้ความจริงของจิตได้ไหม? (ไม่ได้) .

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างยิ่งค่ะ และกราบยินดีในกุศลของคุณสุคิน ผู้ถ่ายทอดคำท่านอาจารย์เป็นภาษาฮินดีค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
เมตตา
วันที่ 6 ส.ค. 2566

- คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าละเอียดลึกซึ้งต้องฟังแล้วฟังอีก เพราะฉะนั้น สิ่งหนึ่งที่คุณอาช่าสนใจคืออะไร? (สิ่งที่มีจริงที่ยังไม่รู้) ทีละหนึ่ง (ได้ยิน) ถ้าไม่ถามอย่างนี้คุณอาช่าก็เหมือนกับสนใจที่จะรู้ความจริงโน่น นี่ นั่นทั้งหมด นั่นเป็นความสนใจที่จะเข้าใจได้ยินไหม? (ไม่) เพราะฉะนั้น คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเรื่องนี้ด้วยแต่คนข้ามไปไม่รู้ว่า แม้แต่ความพอใจความสนใจที่จะรู้จักความจริงของได้ยินก็ต้องมี ไม่ใช่ฟังแล้วรู้ว่าเป็นจิตดับแล้วแต่ไม่มีความพอใจความสนใจที่ลึกซึ้งที่จะถึงความจริงว่า ได้ยินเดี๋ยวนี้ไม่ใช่เราเกิดขึ้นแล้วดับไป ถ้าไม่มีความสนใจพอใจจริงๆ จะไม่มีวันรู้จิตที่ได้ยินคิดว่ารู้แล้ว ฟังแล้ว เข้าใจแล้ว.

- คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าลึกซึ้งมากละเอียดมาก เพราะฉะนั้น พระองค์ตรัสคำที่เราได้ยินและคิดว่าเราเข้าใจแล้ว คุณอาช่ารู้จักคำว่า ฉันทะ ใช่ไหม? (เคยได้ยิน) จำได้ใช่ไหม? (จำได้) เห็นความลึกซึ้งไหม ถ้าไม่มีฉันทะที่จะรู้ความจริงของได้ยิน ไม่มีการที่จะรู้จักความจริงได้เลย เพราะฉะนั้น แม้ฉันทะที่จะรู้ความจริงก็เป็น อิทธิปาทะ ที่จะให้สำเร็จในการรู้จักเห็นขณะนี้จริงๆ .

- ทุกคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าละเอียดลึกซึ้ง ถ้าไม่เข้าใจทุกคำไม่สามารถที่จะถึงความประจักษ์แจ้งสภาพธรรมที่พระองค์ทรงแสดงเพื่อไม่ใช่แค่ฟัง แต่ให้ค่อยๆ เข้าใจความจริง มีฉันทะรู้ประโยชน์ที่ว่า ทำไมพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมเพื่อให้เข้าใจสิ่งที่กำลังมีเดี๋ยวนี้ถึงที่สุดตามความเป็นจริง.

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างยิ่งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
เมตตา
วันที่ 6 ส.ค. 2566

- เห็นประโยชน์ของทุกคำที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไหมว่า ต้องเข้าใจละเอียดลึกซึ้งจริงๆ ถ้าประมาทในความลึกซึ้งของธรรมทุกคำ จะรู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไหม? (ไม่) พระสัมมาสัมพุทธเจ้ากล่าวถึงสิ่งที่กำลังมีเดี๋ยวนี้ใช่ไหม? (ใช่) เพื่ออะไร? (เพื่อเข้าใจความจริง) เข้าใจเท่านั้นหรือ? (เพื่อที่จะรู้จริงๆ เพื่อที่สะสมมาที่คิดว่าทุกอย่างเป็นเราจะค่อยๆ หายไปและกิเลสอื่นๆ ค่อยๆ ดับ) เพื่อประจักษ์แจ้งทุกคำที่พระองค์ทรงแสดง.

- ได้ยินเกิดหรือเปล่า? (เกิด) ได้ยินที่เกิดแล้วดับไหม? (ดับ) ประจักษ์แจ้งความจริงของเดี๋ยวนี้ที่ได้ยินเกิดแล้วดับหรือยัง? (ยัง) เพราะฉะนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงเรื่องได้ยินเดี๋ยวนี้ เกิดแล้วดับ เพื่ออะไร? (เพื่อที่จะให้เราค่อยๆ เข้าใจว่าไม่มีตัวตนเป็นแต่เพียงธรรมที่เกิดแล้วดับทันที) เพื่อประจักษ์แจ้งอย่างที่พระองค์ตรัส ถูกต้องไหม? (ถูกต้อง) .

- เพราะฉะนั้น มีฉันทะที่จะประจักษ์แจ้งความจริงของได้ยินที่เกิดดับ หรืออยากประจักษ์แจ้งความจริงของสิ่งที่กำลังเกิดดับ? (สนใจที่จะเข้าใจ) นี่คือ ความต่างกันเพราะฉันทะความพอใจที่จะรู้ความจริงรู้ว่าสิ่งนี้ยากลึกซึ้ง ไม่สามารถที่จะประจักษ์ทันทีได้ ต้องอาศัยความเพียรเช่น เดี๋ยวนี้ฟังแล้วฟังอีก.

- ถ้าอยากประจักษ์แจ้งความจริงถูกหรือผิด? (ถ้าต้องการก็ผิด) เพราะอะไร? (เพราะเมื่อไหร่เราต้องการตรงนั้นก็มีตัวตนและก็ทำให้ไปทางผิด)

- เมื่อรู้ความจริงว่าลึกซึ้งอย่างยิ่งจึงรู้ว่าอยากเท่าไหร่ก็ไม่สามารถจะรู้ได้จึงคิดถูกต้องว่าความอยากไม่ได้ทำให้รู้ความจริง.

- เพราะฉะนั้น การที่จะรู้ความจริงได้ต้องอาศัยความเข้าใจเดี๋ยวนี้ซึ่งมีทีละเล็กทีละน้อยค่อยๆ เพิ่มขึ้นจึงสามารถที่จะเห็นถูกต้องในความไม่ใช่เราไม่ใช่สิ่งหนึ่งสิ่งใด.

- เพราะฉะนั้น จิตที่กำลังได้ยินเดี๋ยวนี้มีเหตุเกิดร่วมด้วยไหม? (ถ้าเราหมายถึงเห็นตอนนั้นไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วย ถ้าพูดถึงจิตอื่นที่เกิดด้วยแทรกกันตรงนั้นมีเหตุ) เพราะฉะนั้น เรากำลังพูดถึงจิตอะไรทีละหนึ่งจิต.

- จิตเห็นไม่มีเหตุใดๆ เกิดร่วมด้วยเลยเพราะอะไร? (อาช่าตอบว่าเพราะเขารู้ว่าเป็นวิบากและ..) เพราะเขารู้หรือ? (แกบอกแกเข้าใจครับ) เพราะฉะนั้น ทำไมเราพูดถึงเรื่องเห็นและจิตที่ไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วย? (ตามที่แกเข้าใจเพราะว่ามีจริงและก็เกิดทั้งวัน) คุณอาช่าจะได้ไม่ไปคิดเรื่องอื่นไงค่ะ เพราะวันๆ คิดแต่เรื่องอื่น ไม่ใช่เห็นที่กำลังเห็น และเมื่อไหร่จะรู้ความจริงถ้าเราไม่คิดถึงย่อยๆ เพราะฉะนั้น แม้ว่าเราจะพูดธรรมเรื่องอะไรก็ตามเพื่อให้เริ่มมีปัจจัยที่จะคิดแม้คิดถึงความจริงของสิ่งที่มีจริงบ่อยๆ ขึ้น.

- เมื่อวานนี้คุณอาช่าคิดเรื่องเห็นหรือเปล่า? (มีคิดครับ) คิดเรื่องเห็นหรือเมื่อวานนี้? (มีครับ) ไม่ได้คิดเรื่องอื่นหรือ คิดเรื่องเห็นหรือ? (ก็มี แกไม่ได้หมายถึงว่าคิดเรื่องเห็นทั้งวันแต่แกบอกมีบ้าง) เก่งมาก คุณสุคินคิดเรื่องเห็นหรือเปล่าเมื่อวานนี้? (ก็ตอนที่ฟังธรรม) เพราะฉะนั้น ถามว่าเมื่อวานนี้คิดถึงเรื่องเห็นหรือเปล่า จะได้รู้ว่าเพราะอะไรจึงไม่คิด? (ตรงนี้ก็ตอบว่ามีคิด เคยมีในบางเวลาที่คิดเรื่องเห็นบ้าง) เพราะฉะนั้น ต้องเป็นคนตรง พรุ่งนี้จะคิดเรื่องเห็นไหม? (ไม่ทราบ) เย็นนี้จะคิดเรื่องเห็นไหม? (ไม่ทราบ) ตอนกลางวันจะคิดเรื่องเห็นไหม? (ที่ยังไม่มาเราไม่สามารถจะรู้ได้ แต่ที่ผ่านไปแล้วเราพอที่จะมีความจำแล้วก็พูดถึงได้) พูดถึงได้แต่ต้องเป็นคนตรงต่อความจริงว่า เมื่อวานนี้คิดถึงเห็นเมื่อไหร่? (แกจำได้ครับท่านอาจารย์ว่าตอนที่กำลังออกจากบ้านมีอยู่ตอนหนึ่งที่เขาคิดถึงเห็น) คิดว่าอย่างไร? (แกบอกว่ามีคนเยอะๆ มีรถผ่านเยอะๆ ที่เมื่อก่อนไม่เคยคิดแต่เมื่อวานนี้แกก็เห็นว่าก็แค่เป็นเห็น ที่เราคิดว่ามีรถจริงมันไม่ใช่ ก็แค่เห็นตอนนั้นเอง) ก็แสดงว่าคุณอาช่ามีปัจจัยพอที่จะเริ่มคิดถึง เพราะฉะนั้น ขณะไหนที่มีความเข้าใจเกิดขึ้นต้องต่างกับขณะที่ไม่ได้คิดถึงเลย.

- เพราะฉะนั้น จิตเห็นเกิดขึ้นทำกิจอะไรหรือเปล่า? (ทำ) ทำกิจอะไร? (กิจเห็น) ธรรมอื่นทำกิจเห็นได้ไหม? (ไม่ได้) เพราะฉะนั้น กิจเห็นเกิดขึ้นทำกิจเห็นกี่ขณะ? (๑ ขณะ) เพราะฉะนั้น วันนี้มีจิตเห็นกี่ขณะ? (เยอะมาก) จิตอื่นนอกจากจิตเห็นทำกิจเห็นได้ไหม? (ไม่ได้) เก่งนะคุณอาช่า ถามอะไรก็ตอบได้.

- จิตอื่นที่ไม่ใช่จิตเห็นทำกิจเห็นไม่ได้ ลองยกตัวอย่างจิตที่ไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วยที่เป็นจิตอื่นซิ (จิตได้ยินเกิดแล้วทำกิจได้ยิน) แล้วอะไรอีก? (ได้กลิ่น) พูดถึงจิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุวันนี้หมดเลย ตอนนี้ก็มีจิตเห็น จิตได้ยิน จิตได้กลิ่น จิตลิ้มรส จิตที่รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส (สัมปฏิจฉันนะ..) ทีละหนึ่ง จิตเห็นทำได้กี่กิจ? (๑ กิจ) จิตได้ยินทำได้กี่กิจ? (๑ กิจ) จิตได้กลิ่นทำได้กี่กิจ? (๑ กิจ) จิตเห็นของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทำได้กี่กิจ? (๑ กิจ) .

- ทีนี้นอกจากจิต ๑๐ ดวงนี้แล้วมีจิตอะไรที่เป็นผลของอกุศลกรรมที่ไม่ประกอบกับเหตุ? (สัมปฏิจฉันนะ สันตีรณะ) สัมปฏิจฉันนะทำได้กี่กิจ? (๑ กิจ) สันตีรณอกุศลวิบากทำได้กี่กิจ? (๕ กิจ) กิจอะไรบ้าง? (ปฏิสนธิ ภวังค์ จุติ สันตีรณะกิจ อีก ๑ กิจจำไม่ได้) เราเคยพูดถึงแล้วนะแต่ไม่เป็นไรไม่ต้องจำแต่ต้องเข้าใจ เพราะฉะนั้น เรายังไม่พูดถึงกิจอีก ๑ กิจของสันตีรณะ อาจจะเคยพูดบ้างนิดหน่อย ไม่เป็นไรนะแต่ ๔ กิจนี่ก็เป็นกิจที่ถูกต้อง อีก ๑ กิจพูดทีหลังก็ได้.

- อุเบกขาสันตีรณกุศลวิบากทำได้กี่กิจ? (๕ กิจ) สันตีรณะที่เป็นกุศลวิบากมีกี่ดวง? (๒ ดวง) อะไร? (สันตีรณจิตที่เกิดด้วยอุเบกขาเวทนา และอีกหนึ่งที่เกิดด้วยโสมนัสเวทนา) อุเบกขาสันตีรณกุศลวิบากทำกิจได้กี่กิจ? (๕ กิจ) โสมนัสสันตีรณกุศลวิบากทำกิจได้กี่กิจ? (แกเข้าใจว่าถ้าเป็นสันตีรณะต้องทำ ๕ กิจจะเป็นกุศลหรืออกุศลก็ได้ แต่พอมาแยกเป็นอุเบกขากับโสมนัสแกเลยไม่แน่ใจว่าถ้าโสมนัสแล้วจะทำกิจปฏิสนธิ ภวังค์ จุติ ได้หรือไม่) นี่ไงเป็นสิ่งที่เราจะต้องเพื่อไม่ลืม เราจึงพูดอีกให้เห็นความต่างกันของสันตีรณะที่เป็นอุเบกขากุศลวิบากกับสันตีรณะที่เป็นโสมนัสกุศลวิบาก เวทนาความรู้สึกต่างกันกิจต่างกัน.

- เพราะฉะนั้น อุเบกขาสันตีรณกุศลวิบากกับโสมนัสสันตีรณกุศลวิบากอย่างไหนมีกำลังกว่ากัน? (ท่านอาจารย์ครับแกยังไม่เข้าใจคำถามว่าถามถึงว่าอะไรมีกำลังมากกว่าหมายถึงอะไร) ๒ อย่าง อย่างหนึ่งอุเบกขาสันตีรณกุศลวิบาก อีกอย่างโสมนัสสันตีรณกุศลวิบากอะไรมีกำลังมากกว่ากัน? (ตรงนี้แกถามว่าตรงกำลังหมายถึงอะไร) ชอบมากหรือชอบน้อยถ้าสมมติว่าเป็นสิ่งที่มีจริงที่เป็นความชอบเราเห็นได้ เห็นแก้วโสมนัสไหมหรืออุเบกขา? (โสมนัส) .

- กรรมที่ทำด้วยความรู้สึกอุเบกขากับกรรมที่ทำด้วยความรู้สึกโสมนัสอะไรมีกำลังกว่ากัน กรรมต่างกันไหม? (กรรมที่ทำให้ผลเป็นโสมนัสกุศลวิบากจะมีกำลังกว่า) ตอนนี้เราพูดถึงเหตุคือกรรมเพื่อที่จะได้พูดถึงวิบากซึ่งเป็นผล กรรมดีที่ทำไม่ประกอบด้วยโสมนัสมีไหม? (ท่านอาจารย์พูดใหม่ครับ) กรรมดีที่เป็นกุศลกรรมที่ประกอบด้วยอุเบกขากับกรรมดีกุศลกรรมที่เกิดกับโสมนัสอะไรมีกำลังกว่ากัน? (ที่เกิดกับโสมนัสเวทนามีกำลังมากกว่า) เพราะฉะนั้น ให้ผลเป็นอเหตุกกุศลวิบากสันตีรณะที่เกิดร่วมกับโสมนัสเวทนา.

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างยิ่งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
เมตตา
วันที่ 6 ส.ค. 2566

- กรรมดีเล็กๆ น้อยๆ แต่ก็เป็นกรรมดีให้ผลไหม? (ให้เกิดผล) .

- กรรมดีเล็กๆ น้อยๆ ไม่ประกอบด้วยโสมนัสเพราะเล็กน้อยมากเป็นเหตุให้เกิดผลทำให้ปฏิสนธิเกิดได้ไหม? (ได้) กรรมดีเล็กๆ น้อยๆ ทำให้เกิดเป็นนกได้ไหม? (ไม่ได้) แล้วอะไรทำให้เกิดเป็นนก? (อุเบกขาสันตีรณอกุศลวิบาก) ดีมาก เก่งมากที่ไม่ลืมและเข้าใจจริงๆ เพราะฉะนั้น กรรมดีเล็กๆ น้อยๆ ทำให้เกิดเป็นนกได้ไหม? (ไม่ได้) กรรมดีเล็กๆ น้อยๆ ทำให้เกิดเป็นปลาได้ไหม? (ไม่ได้) กรรมดีเล็กๆ น้อยๆ ทำให้เกิดได้ไหม? (ได้) อะไรทำให้เกิดเป็นปลาได้? (อกุศล) เพราะฉะนั้น กุศลกรรมเล็กๆ น้อยๆ ทำให้เกิดได้ไหม? (แกคิดว่าน่าจะเป็นคนที่เกิดเป็นมนุษย์แต่พิการ) ไม่ใช่คิดนะแต่เป็นความจริงที่ว่ากุศลกรรมจะทำให้อุเบกขาสันตีรณอกุศลวิบากเกิดไม่ได้เพราะเป็นกุศลกรรมจะทำให้เกิดอกุศลวิบากไม่ได้เลยมากหรือน้อยก็ไม่ได้ แต่กุศลกรรมแม้เล็กๆ น้อยๆ ก็มีผลทำให้เกิดได้ไหมให้แน่ใจ? (ได้) ได้ แล้วจะเกิดเป็นอะไร? (เป็นคนพิการ) ก็นั้นซิคำตอบว่าใช่ ไม่ใช่น่าจะถ้าจะหรืออาจจะอะไรทั้งสิ้น เพราะฉะนั้น เห็นคนพิการ บ้า ไบ้ บอด หนวก แขนขาไม่มีอะไรก็แล้วแต่ต่างกับคนอื่นธรรมดาปฏิสนธิจิตเป็นอะไร? (อุเบกขาสันตีรณกุศลวิบาก) เกิดเป็นอะไร? (คนพิการ) เกิดเป็นนกได้ไหม? (ไม่ได้) แน่ใจแล้วนะ.

- เพราะฉะนั้น สันตีรณะที่เป็นวิบากทั้งกุศลและอกุศลมีทั้งกมดเท่าไหร่? (มี ๓) จิตไหนทำให้เกิดปฏิสนธิ? (จากสามนี้มีสองที่ทำปฏิสนธิ) อะไรทำให้เกิดอะไร? (๑. สันตีรณอกุศลวิบากที่ทำให้เกิดในอบายภูมิ และอุเบกขาสันตีรณกุศลวิบากทำให้เกิดเป็นมนุษย์ที่พิการ) ชัดเจนนะว่า ถ้าเป็นผลของกุศลจะทำให้เกิดในอบายภูมิไม่ได้ แต่เมื่อเป็นกุศลอ่อนๆ ก็ทำให้เกิดในมนุษย์แต่ไม่เหมือนกับกุศลกรรมที่ไม่อ่อน.

- ถามว่า กุศลที่มีกำลังทำให้ปฏิสนธิที่ไม่ประกอบด้วยเหตุเกิดได้ไหม? (ถ้าเป็นกุศลที่มีกำลังก็ต้องให้ผลที่มีเหตุ) นี่แหละที่เขาต้องคิดเองแล้วค่อยๆ เข้าใจแล้วก็ไม่เปลี่ยน ถ้าไม่คิดเองก็ไม่เห็นความต่างของจิตแต่ละขณะ.

- เพราะฉะนั้น โสมนัสสันตีรณอเหตุกะทำกิจปฏิสนธิได้ไหม? (ไม่ได้) นี่ต้องมั่นคงนะ ทำให้เกิดอะไรได้ที่เป็นอเหตุกะ? (ท่านอาจารย์ก่อนหน้านี้ถามว่าอะไรครับ) ถามว่ากุศลที่มีกำลังที่เป็นโสมนัสทำให้เกิดผลที่เป็นอเหตุกอะไร? (ก็คือเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส กระทบสัมผัสทางกาย สัมปฏิจฉันนะและสันตีรณะ) สันตีรณะกี่ดวง? (๒ ดวง) ถูกต้อง เพราะฉะนั้น ความต่างกันของผลของกรรมที่เป็นกุศลที่มีกำลังต่างกันตรงไหน เมื่อไหร่ ขณะไหน? (ท่านอาจารย์ทวนใหม่ครับ) เพราะฉะนั้น กุศลที่มีกำลังทำให้เกิดผลของกรรมคือวิบากที่ไม่ประกอบด้วยเหตุเราใช้คำว่าอเหตุกะ ไม่ประกอบด้วยเหตุกุศลวิบาก เพราะฉะนั้น กุศลของกรรมที่มีกำลังมากทำให้เกิดอเหตุกกุศลวิบากกี่ดวง? (ตามที่แกตอบ ๘ ดวง) ก็ได้แต่ต้องตามเหตุ ทำไมเป็นกุศลวิบากทั้งๆ ที่มีกำลังก็แค่เห็น แต่การเห็นที่เป็นผลของกุศลกรรมก็คือเห็นสิ่งที่น่าพอใจ ถ้าเป็นสิ่งที่น่าพอใจมากสันตีรณะก็เป็นโสมนัส เพราะฉะนั้น กรรมที่เป็นโสมนัสที่มีกำลังทำให้เกิดโสมนัสสันตีรณะได้ แต่ให้ทำกิจปฏิสนธิ ภวังค์ จุติไม่ได้ ได้แต่ทำกิจสันตีรณะเท่านั้น.

- เพราะฉะนั้น กุศลมี ๒ อย่าง ประกอบด้วยปัญญากับไม่ประกอบด้วยปัญญา เพราะฉะนั้น คนที่ไม่ประกอบด้วยปัญญาปฏิสนธิก็เป็นผลของกรรมที่ไม่ประกอบด้วยปัญญาแต่เกิดพร้อมโสมนัสได้เมื่อเป็นกุศลวิบาก.

- กุศลกรรมที่มีกำลังทำให้เกิดผลของกรรมจะพูดถึงอเหตุกะก่อนก็ได้นะจะไม่พูดถึงปฏิสนธิ เพราะฉะนั้นกุศลกรรมที่มีกำลังทำให้เกิดกุศลวิบากสันตีรณโสมนัสได้ เพราะฉะนั้นสำหรับกุศลที่มีกำลังทำให้เกิดผลของกรรมที่ไม่ประกอบด้วยเหตุ เพราะฉะนั้น ก็เป็นแค่โสมนัสสันตีรณะหลังจากที่เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส แต่โสมนัสสันตีรณกุศลวิบากทำกิจปฏิสนธิไม่ได้ทำได้กิจที่เป็นโสมนัสสันตีรณะ.

- โสมนัสสันตีรณกุศลวิบากทำปฏิสนธิไม่ได้แต่อุเบกขาสันตีรณกุศลวิบากทำได้ เพราะฉะนั้นความต่างของโสมนัสสันตีรณกุศลวิบากกับอุเบกขาสันตีรณกุศลวิบากต่างกันที่กิจ.

- ความต่างของอุเบกขาสันตีรณะกับโสมนัสสันตีรณะต่างกันตรงไหน? (ต่างกันตรงที่ว่าถ้าเป็นอุเบกขาสันตีรณกุศลวิบากทำได้ ๕ กิจ ถ้าเป็นโสมนัสสันตีรณกุศลวิบากทำได้กิจเดียว) ต่อไปจะมีอีกกิจหนึ่งนะแต่เรายังไม่ได้พูดถึงเพราะตอนนี้เราพูดว่า ๕ กิจแต่เราพูดถึง ๔ กิจ ความจริงเราพูดบ้างนิดหน่อยแต่ไม่มากพอที่จะจำ.

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างยิ่งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
เมตตา
วันที่ 6 ส.ค. 2566

- ตอนนี้จะทดสอบความเข้าใจ เพราะฉะนั้น ต้องฟังดีๆ โสมนัสสันตีรณกุศลวิบากทำให้เกิดที่ไหน? (ทำกิจปฏิสนธิไม่ได้) เพราะฉะนั้น ต้องมั่นใจ โสมนัสสันตีรณกุศลวิบากทำกิจปฏิสนธิไม่ได้ไม่ว่าที่ไหนทั้งหมด.

- เกิดเป็นมนุษย์เป็นผลของสันตีรณะอะไร ฟังดีๆ ? (อุเบกขาสันตีรณกุศลวิบาก) อะไรนะ เกิดเป็นมนุษย์เป็นผลของสันตีรณะอะไร? (อุเบกขาสันตีรณกุศลวิบาก) ไม่ได้ค่ะ เห็นไหม ต้องฟังดีๆ ถามอย่างไรก็เปลี่ยนไม่ได้เมื่อเข้าใจ ใครจะถามอย่างไรก็ถามไปแต่ต้องตรง อุเบกขาสันตีรณกุศลวิบากทำให้เกิดที่ไหน? (มนุษย์ครับ) อะไรนะ อุเบกขาสันตีรณอกุศลวิบากทำให้เกิดที่ไหน? (อบายภูมิ) เพราะฉะนั้น อเหตุกกุศลวิบากสันตีรณะ อกุศลวิบากอุเบกขาสันตีรณะทำให้เกิดที่ไหน? (ถ้าเป็นกุศลต้องเป็นมนุษย์ครับ) ความต่างกันของอุเบกขาสันตีรณกุศลวิบาก อุเบกขาสันตีรณอกุศลวิบาก โสมนัสสันตีรณกุศลวิบาก.

- เกิดเป็นคนตาบอดตั้งแต่กำเนิดจะเป็นคนตาดีไม่ได้เลยปฏิสนธิจิตเป็นอะไร? (อุเบกขาสันตีรณกุศลวิบาก) ไม่สงสัยแล้วใช่ไหม ต้องเป็นอุเบกขา? (ไม่สงสัย) เป็นโสมนัสไม่ได้เพราะฉะนั้น โสมนัสสันตีรณกุศลวิบากทำปฏิสนธิกิจไม่ได้เลย.

- กุศลที่ประกอบด้วยปัญญาก็มีไม่ประกอบด้วยปัญาก็มี กุศลที่ประกอบด้วยปัญญาและกุศลที่ไม่ประกอบด้วยปัญญาทำให้ปฏิสนธิจิตเกิดได้ไหม? (ได้) ต่างกันอย่างไร? (ต่างกันตรงว่าผลก็เกิดกับปัญญากับผลที่ไม่เกิดกับปัญญา) ก็ชัดเจนนะ เพราะฉะนั้น จบเรื่องของอุเบกขาที่เป็นอเหตุกวิบาก เพราะฉะนั้น จบเรื่องของวิบากจิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุกี่ดวง? (๑๕ ดวง) ถูกต้อง เราจะต่อไปเรื่องของอเหตุกกิริยาจิต ทีละหนึ่ง ทีละหนึ่ง.

- อเหตุกกิริยาจิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุดวงที่ ๑ คืออะไร? (ปัญจทวาราวัชชนจิต) ดวงที่ ๒ (มโนทวาราวัชชนจิต) ดวงที่ ๓? (หสิตุปาทจิต) ใครมีอเหตุกกิริยาจิตครบ ๓ ดวง? (พระอรหันต์) พระโสดาบันมีกิริยาอเหตุกจิตกี่ดวง? (๒ ดวง) พระอนาคามีบุคคลมีอเหตุกกิริยาจิตกี่ดวง? (๒ ดวง) .

- คุณอาช่ามีกิริยาจิตกี่ดวงที่เป็นอเหตุกะ? (๒ ดวง) แล้วมีกิริยาจิตที่ไม่ใช่อเหตุกะไหม? (แกไม่แน่ใจครับแกบอกว่าไม่ทราบอาจจะมี) เปลี่ยนไม่ได้นะ อเหตุกกิริยาจิตมี ๓ ดวง หมายความว่าหมายความว่ากิริยาจิตอื่นๆ ต้องมีเหตุเกิดร่วมด้วย เพราะฉะนั้น คนธรรมดาที่ไม่ใช่พระอรหันต์มีกิริยาจิตเท่าไหร่? (ถ้าเป็นอเหตุกะรู้ว่ามี ๒ ... ) เข้าใจหรือยัง? (ผมลืมคำถามครับ) หมายความว่าคนที่ไม่ใช่พระอรหันต์มีอเหตุกกิริยาจิต ๒ ดวงใช่ไหม? (ใช่) เท่านั้นใช่ไหม? (ครับ) เพราะฉะนั้น คำถามว่าคุณอาช่าหรือคนอื่นนอกจากพระอรหันต์จะมีกิริยาจิตที่ไม่ใช่อเหตุกะไม่ได้ใช่ไหม? (เข้าใจครับ มีไม่ได้) .

- เพราะฉะนั้น พระอรหันต์มีจิตกี่ชาติ? (๒ ชาติ วิบากกับกิริยา) ถูกต้อง ไม่เปลี่ยนนะ (ครับ) เปลี่ยนได้ไหม? (ไม่ได้) .

- พระอรหันต์เห็นไหม? (เห็น) เห็นของพระอรหันต์เป็นอะไร? (เป็นวิบาก) เป็นอเหตุกจักขุวิญญาณอกุศลวิบากได้ไหม? (ได้) เพราะฉะนั้น ก็ชัดเจนนะ.

- ทำไมความต่างของอเหตุกกิริยาจิตของคนธรรมดาคนอื่นๆ ที่ไม่ใช่พระอรหันต์กับพระอรหันต์ต่างกันตรงไหน? (ต่างกันตรงที่ว่าเราไม่มีหสิตุปาทจิตสำหรับพระอรหันต์มีหสิตุปาทจิต) นั่นซิคะ เพราะฉะนั้น อเหตุกกิริยาจิตของเราทุกคนที่ไม่ใช่พระอรหันต์กับอเหตุกกิริยาจิตของพระอรหันต์ต่างกันตรงไหน? (ตรงนั้นไม่ต่างกันครับ) ต่างกันที่อเหตุกกิริยาจิตทั้งหมดต้องไม่ประกอบด้วยเหตุเลยแต่พระอรหันต์ไม่มีกิเลสใดๆ เลยทั้งสิ้น แต่คนที่เห็นที่ไม่ใช่พระอรหันต์เห็นไม่ต่างกันเลยแต่จิตที่เห็นยังมีกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น ตราบใดที่ยังมีกิเลส เห็นกิเลสก็ยังมี ได้ยินกิเลสก็ยังมี ทำกุศลกิเลสก็ยังมี เพราะฉะนั้น จึงต้องเห็นความต่างกันของจิตที่เกิดว่าในขณะนั้นทำกิจอะไร แล้วมีกิเลสเกิดร่วมด้วยหรือเปล่าหรือไม่มีกิเลสเกิดร่วมด้วยหรือเปล่าจึงเป็นกุศล อกุศล และผลของกุศลอกุศลและกิริยา นี่เป็นความละเอียดที่ต้องเข้าใจความต่างแม้เพียงเล็กน้อย.

- คุณอาช่ามีอะไรสงสัยไหม? (ไม่มี) เพราะฉะนั้น คราวต่อไปเราจะพูดเรื่องจิตที่มีเหตุเกิดร่วมด้วย.

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างยิ่งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
เมตตา
วันที่ 6 ส.ค. 2566

- เพราะว่า เดี๋ยวนี้มีทั้งจิตที่เกิดกับเหตุและมีทั้งจิตที่ไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วยเดี๋ยวนี้เอง เพราะฉะนั้น ถ้าไม่รู้เลยก็ไม่รู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่เพราะพระองค์ตรัสรู้แล้วทรงแสดงเราจึงสามารถรู้ความจริงของสิ่งที่กำลังมีเดี๋ยวนี้ได้.

- ในครั้งโน้นนานมาแล้วตรงที่คุณอาช่านั่งอยู่ก็มีคนที่สามารถเข้าใจความจริงเพราะได้ฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะฉะนั้น ตราบใดที่ยังมีคำของพระองค์ที่จารึกไว้ให้เข้าใจถูกต้อง ต้องฟังไตร่ตรองละเอียดขึ้นจึงสามารถเข้าถึงความจริงว่าเป็นธรรมทั้งหมด.

- คุณอาช่าเริ่มรู้จักพเริ่มรู้ว่าระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือยัง? (เริ่ม) รู้จักมากแค่ไหน? (นิดๆ หน่อยๆ) เท่าที่เข้าใจ เพราะฉะนั้น ส่วนที่ไม่เข้าใจทั้งหมดสามารถที่จะเข้าใจได้ทีละเล็กทีละน้อยเมื่อฟังคำของพระองค์และเคารพอย่างยิ่งที่จะไตร่ตรองจนเป็นความเข้าใจที่ไม่ต้องไปท่องแต่ว่าสามารถที่จะค่อยๆ เข้าใจสิ่งที่มีเดี๋ยวนี้ได้.

- เพราะฉะนั้น ขณะนี้เป็นเพียงขณะที่เริ่มรู้ว่าควรจะเข้าใจหรือควรจะรู้อะไร เกิดมามีทุกสิ่งทุกอย่างเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้กระทบสัมผัส คิดนึก แต่ไม่เคยรู้เลยว่าเป็นอะไร เพราะฉะนั้น เพียงได้ยินคำพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแต่ไม่เข้าใจคำของพระองค์เลยจะชื่อว่ารู้จักพระองค์ไหม? (ไม่) เพราะฉะนั้น คุณอาช่าจะเคารพนับถือบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามากน้อยเท่าไหร่ต้องตามความเข้าใจความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า.

- เกิดมาทุกวันมีทุกอย่างแต่ไม่รู้ความจริงเลยแต่สามารถจะรู้สิ่งที่มีจริงซึ่งไม่เคยรู้มาเลยได้เมื่อได้ฟังคำที่พระองค์ทรงแสดง.

- เพราะฉะนั้น มีฉันทะมีความพอใจที่จะฟังสิ่งที่มีต่อไปหรือเปล่า? (ครับ) อะไรเป็นประโยน์สูงสุดในขณะนี้? (เข้าใจความจริง) มีค่ายิ่งกว่าสิ่งใดทั้งหมดนะเพราะในสังสารวัฏฏ์ยังไม่เข้าใจพอ เพราะฉะนั้น นี่เป็นบารมีเป็นความเข้าใจถูกที่มั่นคงที่จะมีความเพียรที่จะอดทนที่จะเข้าใจสิ่งที่กำลังมีเดี๋ยวนี้ทีละเล็กทีละน้อยแม้น้อยมาก แต่ก็เป็นหนทางที่จะประจักษ์แจ้งความจริง มั่นคงไหม? (มั่นคงครับ) มั่นคงขึ้นอีกๆ จนรู้ว่าประโยชน์สูงสุดในสังสารวัฏฏ์ คือสามารถรู้ความจริงของสิ่งที่กำลังมีซึ่งเพียงปรากฏแล้วหมดไปทุกขณะ.

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างยิ่งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
nattawan
วันที่ 6 ส.ค. 2566

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
chatchai.k
วันที่ 6 ส.ค. 2566

กราบอนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ