Thai-Hindi 12 Aug 2023

 
prinwut
วันที่  12 ส.ค. 2566
หมายเลข  46376
อ่าน  702

Thai-Hindi 12 Aug 2023


- วันนี้อย่าลืม เราจะพูดถึงเฉพาะอเหตุกจิตทั้งหมดให้จบเพื่อจะได้ต่อไปถึงจิตที่ประกอบด้วยเหตุ

- ก่อนที่จะมีจิตเห็น จิตได้ยิน จิตได้กลิ่น จิตลิ้มรส จิตคิดนึก ขณะนั้นจิตที่เป็นอเหตุกะมีไหม (มี) จิตนั้นคืออะไร (อาวัชชนจิต) เดี๋ยวนะคะฟังดีๆ ก่อนที่จะมีจิตเห็น จิตได้ยิน จิตได้กลิ่น จิตลิ้มรสจิตรู้สิ่งที่กระทบสัมผัสและคิดนึกทางหนึ่งทางใด และก่อนปัญจทวาราวัชชนะที่จะรู้อารมณ์ทางหนึ่งทางใด ก่อนมโนทวาราวัชชนะที่รู้อารมณ์ทางใจ มีจิตอะไร

- วันนี้อย่าลืม เราจะพูดถึงเฉพาะอเหตุกจิตให้หมดความสงสัย ให้มั่นคง ให้เข้าใจเพราะฉะนั้นคำถามทั้งหมดจะเกี่ยวกับอเหตุกจิตเท่านั้น

- เพราะฉะนั้นถามว่า ก่อนที่จะมีจิตที่รู้อารมณ์ อย่าลืม ก่อนที่จะมีจิตที่รู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้นกาย ใจ ขณะนั้นมีจิตอะไร (มี) จิตอะไรอย่าลืม วันนี้เราพูดเฉพาะอเหตุกจิตเท่านั้นอย่างเดียว (มีภวังค์)

- จิตที่เกิดก่อนจิตที่รู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจคือจิตอะไร (นั่นคืออาวัชชนะ)

- อาวัชชนะรู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจหรือเปล่า (รู้) เราจะถามถึงจิตที่เกิดก่อน นี่คือความละเอียดของธรรมอย่างยิ่ง หัดคิด หัดละเอียด หัดรอบคอบ มิฉะนั้นฟังแล้วตั้งนานเหมือนเข้าใจแต่ความเข้าใจจริงๆ คือฟังทุกคำละเอียด ไม่ต้องบอก ไม่ต้องแนะแนว ให้เวลาคิดไตร่ตรองจนกว่าจะเป็นความคิดของเขาเอง

- เพราะฉะนั้นเตือนให้เขารู้ว่า ก่อนจิตเกิดเกิดขึ้นรู้อารมณ์ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ มีจิตอะไรเกิดก่อน (เป็นภวังค์)

- จิตอะไรทำกิจภวังค์ วันนี้เราจะพูดเรื่องอเหตุกะเท่านั้นอย่าลืม ก่อนที่เราจะพูดถึงจิตที่ประกอบด้วยเหตุทั้งหมด เราจะพูดถึงจิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุทั้งหมด (ไม่มี ถ้าเป็นก่อนที่เป็นอารมณ์ทาง ๕ ทวาร หรือทางใจกระทบ ไม่มีอเหตุกจิต)

- อเหตุกจิตมีเท่าไหร่ (๑๘) อะไรบ้างทีละ ๑​ (เห็น) เห็นมีกี่ดวง (๒) ทำกิจอะไร (เห็น) ทำกิจเห็นทำกิจอื่นได้ไหม (ไม่ได้)

- ทั้ง ๕ ดวงที่เป็นกุศลวิบากที่เป็นอเหตุกะและ ๕ ดวงที่เป็นอเหตุกอกุศลวิบากทางตา หู จมูก ลิ้นกาย เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งกระทบสัมผัส มี ๕ กิจใช่ไหม (ใช่) จิตเป็นกี่ดวง ๕​ กิจ (๑๐)

- อเหตุกจิตที่เป็นวิบากทั้งหมดมีเท่าไหร่ (๑๕) เพราะฉะนั้นหลังจากที่จิตเกิดขึ้นเห็นแล้ว ก่อนจิตเห็นมีอเหตุกจิตไหม (มี)

- จิตที่เกิดก่อนจิตเห็น จิตได้ยิน จิตได้กลิ่น จิตลิ้มรส จิตรู้สิ่งที่กระทบสัมผัสเป็นจิตอะไร (ปัญจทวาราวัชชนจิต) ปัญจทวาราวัชชนจิตทำกิจเห็นได้ไหม (ไม่ได้) ทำกิจอะไร (ปัญจทวาราวัชชนจิตรู้อารมณ์ที่มากระทบ) ปัญจทวาราวัชชนจิตเป็นวิบากจิตหรือเปล่า (ไม่) เป็นจิตชาติไหน (กิริยาจิต) กิริยาจิตหมายความว่าอะไร (ไม่ได้เป็นกุศลจิต อกุศลจิต วิบากจิต)

- เพราะฉะนั้นปัญจทวาราวัชชนะทำได้กี่กิจ (๑) ก่อนจิตเห็นเดี๋ยวนี้มีปัญจทวาราวัชชนจิตเกิดก่อนไหม (มี) ก่อนจิตเห็นที่เป็นวิบากจิตที่กุศลวิบาก ปัญจทวาราวัชชนจิตเป็นกุศลวิบากหรือเปล่า (ไม่เป็น) เพราะฉะนั้นเป็นวิบากไม่ได้ต้องเป็นกิริยาจิตเท่านั้น

- ก่อนแมวเห็นมีจิตเกิดก่อนเห็นไหม (มี) จิตอะไรเกิดก่อนจิตเห็นของแมว (ก็คือปัญจทวาราวัชชนะ) เพราะฉะนั้นปัญจทวาราวัชชนจิตทำได้กี่กิจ (ทำได้ ๑ กิจคือ รู้อารมณ์ที่กระทบ)

- จิตเห็นสิ่งที่น่าพอใจมาก เป็นจิตอะไร (เป็นวิบาก กุศลวิบาก) ก่อนจิตเห็นที่เป็นกุศลวิบากเกิดจิตอะไรเกิดก่อน (เป็นอาวัชชนะ)

- ปัญจทวราราวัชชนจิตที่เกิดก่อนจิตเห็นที่เป็นกุศลวิบากจิตเป็นกุศลวิบากหรือเปล่า (ไม่เป็น) เพราะฉะนั้นเข้าใจปัญจทวาราวัชชนจิตมั่นคงแล้วใช่ไหม (ใช่)

- ท่านพระมหาโมคคัลลานะไปที่นรกมีจิตที่เห็นสิ่งที่ไม่น่าเห็นทั้งหมดในนรก จิตก่อนจิตเห็นของท่านพระมหาโมคคัลลานะเป็นจิตอะไร (ปัญจทวาราวัชชนะ)

- คนที่เกิดในนรกเห็นก่อนจิตเห็นของคนเกิดในนรก จิตอะไรเกิดก่อน (ปัญจทวาราวัชชนจิตเช่นกัน) เพราะฉะนั้นปัญทวาราวัชชนจิตของคนในนรกที่เกิดก่อนเห็นและปัญจทวาราวัชชนะของท่านพระมหาโมคคัลลานะที่เกิดก่อนเห็นต่างกันหรือเหมือนกันอย่างไร (ไม่มีความต่าง) ต่างกันแต่ว่า กิจของจิตไม่ต่างกัน ประเภทของจิตไม่ต่างกันแต่ต่างกันตรงไหน (ถ้าพูดถึงกิจและชาติของจิตไม่ต่างกันแต่ต่างกันตรงที่ ๑ มีกิเลสอีก ๑ ไม่มีกิเลส) เพราะว่าแม้ปัญจทวาราวัชชนจิตทำกิจอาวัชชนะเป็นกิริยาจิตแต่ต่างกันที่เป็นผู้ที่ดับกิเลสหมดแล้วแม้ปัญจทวาราวัชชนจิตก็ไม่มีแม้ ”อนุสัยกิเลส”

- ต้องเข้าใจนะคะ ปัญจทวาราวัชชนจิตของคุณอาช่ายังมี “อนุสัยกิเลส” เต็มใช่ไหม (ใช่) จะค่อยๆ หมดไปได้ไหม (ได้)

- คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทำให้จากคนที่มีกิเลสมากมายทุกขณะที่กำลังเห็นก็ได้รู้ความจริงเพิ่มขึ้นๆ สามารถที่จะเริ่มเข้าใจถูก จนสามารถที่จะหมดอนุสัยกิเลสเป็นประเภทๆ ตามลำดับของการรู้แจ้งอริยสัจจธรรม

- อกุศลแม้เพียงเล็กน้อยที่เกิดแล้วดับก็สะสมอยู่ในจิตเป็น “อนุสัยกิเลส” เพราะฉะนั้นคำสอนทุกคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทำให้เห็นโทษของอกุศลทั้งหมด

- พรหมกับเทวามีจิตเห็นไหม (มี) และก่อนจิตเห็นของเทวาและพรหมมีจิตอะไรเกิด (ปัญจทวาราวัชชนะ) นี่แสดงให้เห็นว่า “เป็นธรรม” ไม่ใช่เทวา ไม่ใช่พรหม ไม่ใช่คน ไม่ใช่นก ไม่ใช่จิ้งจกตุ๊กแกแต่เป็นธรรมแต่ละ ๑ กว่าจะค่อยๆ มีความเข้าใจที่เห็นโทษของอกุศลและความไม่รู้ต้องฟังทุกคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้เข้าใจว่า “เป็นธรรม”

- คุณอาช่า “เห็น” ธรรมหรือยัง (เข้าใจ “เห็น” ตอนนี้ก็เป็นธรรม) เดี๋ยวก่อนนะคะ ถามว่าอะไร (ถามว่าอาช่าเห็นธรรมตอนนี้หรือยัง) ถามเขาว่าคำตอบคืออะไร (เห็นท่านอาจารย์) ไม่ใช่ ฟังคำถาม ถ้าไม่ฟังคำถามจริงๆ ไม่มีทางเข้าใจความลึกซึ้งของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและคำของพระองค์

- ทีนี้ถ้าเราถามว่า “เห็นจริงๆ ” คือรู้จักธรรมจริงๆ ไม่ใช่ฟังเรื่องของธรรมเท่านั้น (ถ้าอย่างนั้นแล้วยังไม่เห็น) นี่ต้องเป็นความจริงที่ต้องเข้าใจความจริงนี้ตั้งแต่ต้นมิฉะนั้นแล้วเขาคิดว่า เขาสามารถประจักษ์แจ้ง “รู้จัก” ธรรมแล้ว

- แต่ก่อนไม่รู้เลยเรื่องของจิตเรื่องของสิ่งที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจทุกเรื่องแต่ฟังธรรมแล้วรู้ว่ากำลังมีเดี๋ยวนี้แต่ไม่เคยรู้จึงฟังเพื่อเข้าใจขึ้น เพราะฉะนั้นฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกคำ ไม่ใช่ “เพียงจำ” แล้วคิดว่า เข้าใจ แต่ต้องรู้ความจริงว่า เมื่อเข้าใจสิ่งที่พระสัมมาสัมพทุธเจ้าตรัสจึงเริ่มเข้าใจว่า เป็นธรรม

- ฟังคำของพระสัมมาสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อรู้ความจริงที่มีจริงๆ ตลอดเวลาแม้เดี๋ยวนี้ ฟังเรื่องจิตเพื่อรู้ว่า ขาดจิตไม่ได้เลยเพราะขณะนี้ทุกอย่างปรากฏโดยจิตเป็นสภาพที่รู้แจ้ง แม้แต่มีจิตจริงๆ และจิตเป็นสภาพรู้จริงๆ แต่ไม่เคยรู้เลยว่า จิตที่ “รู้” ไม่ใช่เรา ถ้าไม่ฟังธรรมไม่รู้เลยว่าตลอดชีวิตมี “จิต” ที่เป็นธาตุรู้หลากหลายประเภทต่างๆ ตามที่เรากำลังเริ่มรู้และเริ่มเข้าใจขั้นฟัง

- ถ้าแบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆ หลากหลายมากของจิตที่มีเหตุเกิดร่วมด้วย เหตุคือ โลภะ โทสะโมหะ อโลภะ อโทสะ อโมหะ และจิตที่ไม่มีเหตุใดๆ ​ เกิดร่วมเลย ไม่มีจิตที่มีโลภะ โทสะ โมหะอโลภะ อโทสะ อโมหะ ก็เป็นจิตที่กำลังมีเดี๋ยวนี้

- เพราะฉะนั้นไม่ใช่เราแต่มี “จิต” เริ่มเข้าใจถูกเมื่อเข้าใจว่าแล้วมีจิตอะไร หมายความว่า เรารู้ว่าขณะนี้มีจิตแต่เรายังไม่รู้ความละเอียดว่า จิตอะไร ขณะนี้

- ถ้าบอกใครๆ ว่า “มีจิต” “จิตเป็นธาตุรู้” เท่านี้เขาได้ยินแต่ความเข้าใจของเขาว่า ไม่ใช่ใครเลยแต่เป็นธาตุรู้หลากหลายที่เกิดดับตามเหตุตามปัจจัย ด้วยเหตุนี้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงแสดงพระธรรมใน ๔๕​ พรรษามากมายถึงสภาพธรรมที่มีจริงๆ ที่เป็นจิต เป็นเจตสิก เป็นรูป เป็นนิพพาน ความลึกซึ้งความละเอียดของธรรมมีมากจึงต้องทรงแสดงความลึกซึ้งความละเอียดนั้นถึง ๔๕​ พรรษา

- ทุกคำกำลังมีจริงๆ ขณะนี้แต่ว่ากว่าจะรู้ กว่าจะเข้าใจจริงๆ ต้องอาศัยการฟังทีละคำ ถ้าบอกว่าขณะนี้เห็นเป็นธาตุรู้ที่เห็นสิ่งที่ปรากฏทางตาเท่านั้น จะละความเป็นเราได้ไหม ด้วยเหตุนี้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงแสดงธาตุที่รู้เป็นใหญ่ในการรู้คือ จิตมากมายทุกอย่างเพื่อให้ค่อยๆ เข้าใจความจริงว่า ขณะนี้ไม่ได้รู้ความจริงของขณะที่กำลังเห็น

- เพียงจิตเห็นเดี๋ยวนี้ก็ไม่รู้ว่า ก่อนจิตเห็นก็มีจิตที่ไม่เห็น ถ้าไม่มีจิตที่เกิดก่อนจิตเห็นจะมีจิตเห็นได้ไหม (ไม่ได้) นี่ต้องเป็นความมั่นคงว่า ทรงแสดงความละเอียดให้รู้ว่า เห็นที่เคยเป็นเราไม่ใช่เราเลย แต่เห็นเกิดขึ้นต้องมีปัจจัยหลายอย่าง

- เพราะฉะนั้นฟังทุกคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยความเคารพสูงสุด ไม่เคยรู้จักจิต ไม่เคยรู้ว่าก่อนจิตเห็นต้องมีจิตและเมื่อจิตดับไปแล้วก็ยังมีจิตซึ่งไม่ใช่จิตเห็น เพราะฉะนั้นก่อนฟังพระธรรมเคยรู้อย่างนี้ไหม (ไม่เคย)

- เกิดมานานเท่าไหร่ก็มีแต่ความไม่รู้จนกว่าจะได้ฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ต้องรู้ประโยชน์สูงสุดที่พระองค์ตรัสทุกคำเพื่อให้ค่อยๆ เข้าใจจริงๆ จนกระทั่งค่อยๆ คลาย ละความไม่รู้ซึ่งมีมากมายมหาศาลทีละเล็กทีละน้อย น้อยมากจนรู้ความจริงว่า กำลังฟังไม่กี่คำแต่พระองค์ตรัสใน ๔๕ พรรษา มากมายกี่คำที่จะต้องรู้ต่อไป

- ถ้าไม่ฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะรู้ความจริงของเดี๋ยวนี้ได้ไหมว่า ไม่มีเราแต่มีธรรม (ถ้าไม่ฟังไม่รู้) เพราะฉะนั้นเริ่มรู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือยัง เริ่มรู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อไหร่ (เมื่อมีความเข้าใจ) เมื่อเริ่มรู้ว่า พระองค์ทรงแสดงความจริงของสิ่งที่กำลังมีซึ่งลึกซึ้งอย่างยิ่ง

- เริ่มเข้าใจแต่ละคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่าไหร่ เริ่มเข้าใกล้รู้จักพระองค์เพิ่มขึ้นทีละน้อยมากจนกว่าจะเข้าใจเพิ่มขึ้นมากขึ้น

- เพราะฉะนั้นพูดถึงอเหตุกจิต รู้ว่ามีอะไรบ้างเท่าไหร่ไม่พอ ต้องเข้าใจจริงๆ ละเอียดขึ้นเพราะอเหตุกจิตกำลังมีเดี๋ยวนี้เอง

- เราพูดถึงวันนี้ เฉพาะวันนี้ถึงอเหตุกจิตกี่ดวงแล้ว (๑๑ ดวง) อะไรบ้าง (เป็นปัญจวิญญาณที่เป็นกุศลวิบาก ๕ เป็นอกุศลวิบาก ๕ และปัญจทวาราวัชชนจิต) เราพูดถึงมโนทวาราวัชชนจิตด้วยหรือเปล่า (ยัง) เราพูดถึงกิริยาจิตที่เป็นอเหตุกะหรือยัง (พูดถึง) กี่ดวง (มี ๓) ​เราพูดถึงอเหตุกกิริยาจิตวันนี้กี่ดวง (๑ คือปัญจทวาราวัชชนจิต)

- ปัญจทวาราวัชชนจิตรู้อารมณ์ทางไหน (ปัญจาทวาราวัชชนจิตรู้อารมณ์ ๕ ทวาร) ทำกิจอื่นได้ไหม (ไม่ได้) อย่าลืม ทำได้ ๑ กิจใช่ไหม (ใช่) ปัญจทวาราวัชชนจิตทำกิจอาวัชชนะเท่านั้นทำกิจอื่นอื่นไม่ได้แต่เกิดได้กี่ทวาร (๕)

- จักขุวิญญาณทำกิจเห็นเท่านั้นเกิดได้กี่ทวาร (๑) โสตวิญญาณทำกิจ ๑ กิจเกิดได้กี่ทวาร (๑) ฆานวิญญาณเกิดได้กี่ทวาร (๑ คือฆานทวาร) ชิวหาวิญญาณเกิดได้กี่ทวาร (๑) ​กายวิญญาณ (๑)

- จักขุวิญญาณทำไมจึงเห็นได้เฉพาะทวารเดียว (เพราะมีปสาทคือจักขุปสาทไม่มีปสาทอื่น) เพราะฉะนั้นก็เป็นความเข้าใจที่อาจจะกล่าวถึงอื่นก็ได้อีกมากแต่ว่าเราพูดพอสมควร เพราะฉะนั้นขณะนี้เรารู้ได้ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณรู้ได้เฉพาะทวารของตนเมื่อสิ่งนั้นกระทบทวารแล้วยังไม่ดับเท่านั้น

- เมื่อคืนนี้คุณอาช่าฝันบ้างหรือเปล่า (เมื่อคืนฝัน) เมื่อคืนฝันมีจักขุวิญญาณไหม (ไม่) มีปัญจทวาราวัชชนะไหม (ไม่) มีจิตไหม (มี) จิตอะไรที่ฝัน (จิตที่คิด) เรายังไม่ได้พูดถึงจิตนั้นแต่เราสามารถจบอกได้ว่า ขณะนั้นไม่มีปัญจทวาราวัชชนะ ไม่มีจักขุวิญญาณ ไม่มีโสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ แม้จะเหมือนเห็น เหมือนได้ยินแต่ก็ไม่ใช่จิตที่กำลังได้ยินเสียงที่ยังไม่ดับหรือเห็นจริงๆ สิ่งที่กระทบตาแล้วยังไม่ดับ นี่เป็นความต่างกัน

- เพราะฉะนั้นรู้นะคะต้องเป็นขณะที่สิ่งนั้นเป็นรูปกระทบตา จักขุวิญญาณจึงเกิดขึ้นเห็นหลังจากที่ปัญจทวาราวัชชนจิตเกิดก่อนรู้ว่าจิตที่มีกระทบทางนั้น ต่างกับขณะที่ฝันใช่ไหม เพราะฉะนั้นเวลาฝันมีอเหตุกจิตไหม (มี) จิตอะไร (มโนทวาราวัชชนจิต) เป็นอเหตุกจิต

- เพราะฉะนั้นวันนี้เราจะพูดถึงมโนทวารที่เป็นอเหตุกจิต ขณะที่ก่อนคิดเป็นอเหตุกจิตหรือเปล่าเพราะว่าตอนที่สิ่งที่ปรากฏทางตาดับแล้ว จิตที่มีแต่ไม่ใช่จิตที่รู้อารมณ์ทางหนึ่งทางใด เพราะฉะนั้นขณะที่เริ่มจะคิดเราไม่เคยรู้เลยใช่ไหม เหมือนปัญจทวาราวัชชนจิตที่เกิดก่อนจักขุวิญญาณเราก็ไม่รู้ ถูกต้องไหม

- เพราะฉะนั้นเรากำลังจะพูดถึงความละเอียดยิ่งขึ้นของจิตแต่เรายังไม่พูดก่อน จะพูดถึงอเหตุกจิตทีละ ๑ ตอนนี้เราพูดถึงอเหตุกจิตกี่ดวงแล้ว ตอนนี้กำลังจะเข้าใจ “มโนทวาราวัชชนจิต”

- ขณะที่คิดขณะนั้นกำลังเห็นสิ่งที่ปรากฏทางตาหรือเปล่า (ไม่เห็น) เพราะฉะนั้นโดยชื่อ “มโนทวาราวัชชนจิต”​หมายความว่าจิตนั้นทำกิจอะไร (ตามศัพท์เข้าใจเหมือนปัญจทวาราวัชชนจิตคือ รู้อารมณ์ที่มาประทบทวาร)


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prinwut
วันที่ 12 ส.ค. 2566

- เพราะฉะนั้นวันนี้ที่เราถามนู่นถามนี่เพื่อให้เขาฟังให้ดีทุกคำ เพราะฉะนั้นเราย้อนกลับมาที่ทางตาทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ๕ ทาง เมื่อจิตเห็น จิตได้ยิน จิตได้กลิ่น จิตลิ้มรส จิตรู้สิ่งที่กระทบสัมผัสยังไม่ดับ จะต้องมีจิตอื่นเกิดต่อรู้อารมณ์นั้นใช่ไหมตามเหตุตามปัจจัย รู้อารมณ์อื่นยังไม่ได้

- เพราะฉะนั้นจิตอะไรทางตาที่เป็นวิถีจิตบ้างเท่าที่กล่าวแล้ว อย่าลืมเรากำลังพูดถึงจิตที่เกิดก่อนจิตเห็นและจิตเห็นทางตา ทางหู จมูก ลิ้น กาย ใจทั้งหมดที่กล่าวถึงเป็นวิถีจิตหรือเปล่า (ทั้งหมดเป็นวิถีจิต) กี่ดวงแล้ว (ถ้าจากนัยนั้นคือ ๑๑ ดวง) เพราะฉะนั้นเป็นคำถามที่ดูว่าละเอียดพอที่จะฟังคำถามไหม

- เพราะฉะนั้นฟังคำถามจะได้ตอบตรง วิถีจิตทางตา หู จมูก ลิ้น กาย รู้อะไร (ถ้าเป็นเห็นก็รู้สีที่กระทบถ้าเป็นได้ยินก็รู้เสียง ถ้าเป็นได้กลิ่นก็รู้กลิ่น ถ้าเป็นลิ้มรสก็รู้รส ถ้าสัมผัสทางกายก็รู้อารมณ์ตามที่วิญญาณนั้นรู้ได้)

- คำตอบของคุณอาช่าทุกคนรู้ ถูกต้องไหม จะเพิ่มเติมอีกเล็กน้อยไหมที่คนจะกล่าวถึงหรือไม่กล่าวถึงก็ตามแต่เขาจะคิดไหมว่า สิ่งที่ปรากฏที่ทำให้อเหตุกจิตที่เป็นปัญจทวาราวัชชนจิตเกิดขึ้นรู้สิ่งนั้นที่กระทบและทำให้มีการเห็น การได้ยินต่างๆ เหล่านี้ รู้อารมณ์นั้น เติมอีกนิดได้ไหม (อยากจะเข้าใจ) เขาเองจะตอบต่ออีกนิดได้ไหม กล่าวต่อที่คนอื่นไม่ได้พูดถึง เท่าที่รู้กันเองว่า จิตพวกนี้รู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย

- (เขาอาจจะยังไม่เข้าใจคำถามหรืออาจยังไม่รู้คำตอบ) ใช่ค่ะ แน่นอนเพราะเหตุนั้นกว่าจะรู้ความลึกซึ้งว่าทำไมเราพูดอย่างนี้ให้เขาคิด เพราะเหตุว่าทุกคนสามารถที่จะจำได้ อเหตุกะมีเท่าไหร่ จิตประเภทนั้นทำหน้าที่อะไร แต่ว่าถามให้ละเอียดเพราะในพระไตรปิฎก คัมภีร์พระอภิธรรมปิฎกมีคัมภีร์ ๑ คือ กถาวัตถุ ถามถึงเรื่องของธรรมทั้งหมดที่ละเอียดที่ต้องคิดก่อนที่จะตอบจึงจะเข้าใจคำถามนั้นตรงและตอบตรง เพราะฉะนั้นถ้าไม่เป็นคนตรงจะรู้ไหม ธรรมละเอียดลึกซึ้งและกว่าจะรู้ได้ทั้งๆ ที่กำลังมี ไม่ใช่วันสองวันที่ได้ยินชื่อแล้วจำ คิดว่าเข้าใจแล้วแต่ต้องรู้ว่าเป็นการเข้าใจตัวจริงของธรรมซึ่งยากลึกซึ้งละเอียด และเราฟังเรื่องอื่นมีปัจจัยที่จะคิดเรื่องอื่นแต่ถ้าพระองค์ไม่ตรัสถึงความละเอียดเราจะมีการที่จะเริ่มคิดถึงความละเอียดทีละเล็กทีละน้อยจนรู้ประโยชน์ว่า ตลอดเวลาที่เราฟังเรื่องอื่นคิดเรื่องอื่น เรื่องโลก เรื่องการเมือง เรื่องรัฐบาล ฯลฯ กับการที่นึกถึงคำที่ได้ฟังแล้วไตร่ตรองบ้างน้อยกว่าการที่เรามีเรื่องที่ไม่เป็นสาระทั้งหมดเท่าไหร่

- เพราะฉะนั้นกว่าจะรู้จริงๆ ถึงชีวิตประจำวัน กว่าที่จะค่อยๆ ละความสนใจการที่จะเป็นอย่างอื่นแม้แต่เรื่องอย่างนี้ บางคนเบื่อแล้วแล้วเขาจะเข้าใจธรรมหรือ เพราะฉะนั้นเราไม่ไปไกลถึงพวกคัมภีร์ต่างๆ เพราะเราเพิ่งเริ่มต้นแต่ต้องตรงที่จะต้องคิดไตร่ตรองถ้าเข้าใจจริงๆ ไม่ใช่เพียงแค่จำว่า มีเท่าไหร่ทำหน้าที่อะไร เกิดทางไหน แต่สามารถที่จะไม่ว่าจะเป็นคำถามอะไรที่เกี่ยวกับที่เราคิดว่าเราเข้าใจก็ตอบ

- เพราะฉะนั้นอีกครั้งนึง ปัญจทวาราวัชชนจิต จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณเป็นอเหตุกจิตรู้อารมณ์ทางหนึ่งทางใดเฉพาะของตน แค่นี้พอไหม เพิ่มอีกนิดได้ไหม (เท่าที่เข้าใจที่สนทนาวันนี้นอกจากที่ให้คำตอบไปแล้วก็รู้ว่าถ้าเป็นอาวัชชนะก็รู้อารมณ์ได้ทั้ง๕ ทวาร) อย่างนี้ทุกคนรู้หมดแต่ต่ออีกนิดไม่ใช่ยาวเหยียด ต่ออีกนิดนึงได้ไหม (พิจารณาดูแล้วตอนนี้ถ้าไม่มีอาวัชชนะก็ไม่มีเห็น)

- ฟังคำถาม ฟังคำถามนะคะ ปัญจทวาราวัชชนจิต จักขุวิญญาณ ปัญจทวาราวัชชนจิตโสตวิญญาณปัญจทวาราวัชชนจิต ฆานวิญญาณ ปัญจทวาวราวัชชนจิต ชิวหาวิญญาณ ปัญจทวาราวัชชนจิต กายวิญญาณ รู้อารมณ์ทางทวาร ๕ เท่านั้นใช่ไหม ถูกต้องไหม ต่ออีก ๒-๓ คำได้ไหมที่เข้าใจแล้วต่อไปอีกสัก ๒-๓ คำเท่านั้นให้มั่นคง (รู้ว่าอารมณ์ที่รู้เป็นอารมณ์ทางปัญจทวาร ทางมโนทวารเป็นอารมณ์ที่…) ไม่ได้ต่อเลย ฟังคำถาม ฟังใหม่อย่างที่คุณสุคินทบทวนเมื่อกี้นี้ ปัญจทวาร จักขุวิญญาณ ปัญจทวาร โสตวิญญาณ ฯลฯ รู้อารมณ์ทางทวารเดียวแต่ละทวารใช่ไหม และให้ต่ออีก ๒-๓ คำได้ไหมแค่ ๒-๓ คำ เติมอีก ๒-๓ คำได้ไหมที่เข้าใจ (ไม่รู้ว่าจะตอบอะไร) ต้องเติมคำว่า “ที่ยังไม่ดับไป” เท่านั้น

- ถูกต้องไหม เห็นไหมความลึกซึ้ง ถ้าพิจารณาแล้วรู้ว่า ขณะนี้ไม่ได้ปรากฏอย่างที่เราได้ฟังเพราะธรรมลึกซึ้ง สิ่งที่เกิดดับเร็วมากแต่แม้จะเป็นรูปก็ยังช้ากว่าจิต เพราะฉะน้้นถ้าเป็นรูปๆ ๑ มีอายุเท่ากับจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะ เมื่อกระทบภวังค์ ๓ ขณะแล้วปัญจทวาราวัชชนจิตเกิดขึ้นรู้อารมณ์ที่ยังไม่ดับ จักขุวิญญาณเห็นสิ่งที่กระทบตาที่ยังไม่ดับ

- เพราะฉะนั้นเมื่อจักขุวิญญาณดับแล้วจิตอะไรเกิดต่อ (สัมปฏิจฉันนะ) สัมปฏิจฉันนะคืออะไร (เป็นจิตที่รับรู้อารมณ์ต่อจากปัญจวิญญาณที่เกิดก่อนหน้า) เพราะอะไร (เริ่มจากจิตเห็นทำหน้าที่นั้นไม่ได้) ทำหน้าที่อะไรไม่ได้ (สัมปฏิจฉันนะที่รู้อารมณ์ต่อ จิตเห็นก็คือแค่เห็น) ถ้าไม่ได้ทำหน้าที่สัมปฏิจฉันนะทำหน้าที่อื่นได้ไหม (ทำหน้าที่ต่อจากเห็นอย่างเดียว) เพราะฉะนั้นต้องบอกว่า จักขุวิญญาณทำกิจอื่นไม่ได้เมื่อจักขุวิญญาณดับแล้วจะเห็นอีกครั้งก็ไม่ได้เพราะเห็นแล้วดับแล้วแต่รูปยังไม่ดับ (และอีกเหตุผลเพราะรูปยังไม่ได้ดับและจิตเป็นปัจจัยให้อีกจิตหนึ่งเกิด)

- หมายความว่า เมื่อรูปยังไม่ดับและรูปนั้นเป็นปัจจัยให้จักขุวิญญาณเกิดแล้วแต่รูปยังไม่ดับ เพราะฉะนั้นจิตจึงต้องรู้รูปที่ยังไม่ดับเพราะเหตุว่า สิ่งอื่นยังไม่มีมีแต่รูปที่ยังไม่ดับ เพราะฉะนั้นสัมปฏิจฉันนะเกิดขึ้นรู้รูปนั้นต่อแต่ไม่เห็นถูกต้องไหม จึงทำหน้าที่รับรูปต่อไม่ใช่หน้าที่เห็น ไม่ว่าจะเรียกว่า สัมปฏิจฉันนะหรือเรียกอะไร จิตนั้นก็ทำกิจนั้นแต่คำนี้เป็นภาษาบาลีหรือภาษามัคธีเราจึงใช้คำนี้ด้วย

- จักขุวิญญาณกับสัมปฏิจฉันนจิตต่างกันอย่างไร (ต่างกันตรงกิจ จักขุวิญญาณทำกิจเห็น ส่วนสัมปฏิจฉันนะทำกิจรับรู้อารมณ์ต่อ)

- การที่จิตจะทำกิจต่างกันจะต้องมีสภาพธรรมเกิดร่วมด้วยต่างกันเพิ่มขึ้นใช่ไหม และมีสภาพธรรม ๑ซึ่งทุกคนเคยได้ยิน จิตเป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้ เจตสิกเป็นสภาพที่รู้แต่ไม่ได้เป็นใหญ่เป็นประธานแต่เกิดกับจิตทำให้จิตหลากหลายเป็นประเภทต่างๆ ตามเจตสิกด้วย ต่อไปเมื่อมีความเข้าใจมั่นคงเราก็จะรู้ความละเอียดของจิตแต่ละประเภทว่าเพราะเหตุใดจึงมีเจตสิกเกิดมากน้อยไม่เท่ากัน

- ต้องไม่ลืมจุดประสงค์ของการฟังธรรมเพื่อให้ค่อยๆ เข้าใจขึ้นว่า ไม่มีเราเพื่อละความไม่รู้ เพราะฉะนั้นการศึกษาถ้าไม่ใช่เพื่อละความไม่รู้และเพื่อความเข้าใจความจริงถ้าไม่ใช่เพราะเหตุนี้การศึกษาเป็นโทษเหมือนจับงูพิษข้างหาง

- เพราะฉะนั้นการฟังธรรมสิ่งที่มีจริงๆ ทุกขณะไม่ขาดไปเลยก็เพื่อค่อยๆ เห็นถูกต้องว่า เป็นธรรมซึ่งเป็นอนัตตา ไม่มีใครและไม่มีการที่จะอยู่ในอำนาจการบังคับบัญชาของใครได้ ทั้งหมดนี้เพื่อถึงความเข้าใจที่มั่นคงว่า ธรรมไม่ใช่เรา ไม่ใช่สิ่งหนึ่งสิ่งใดแต่เป็นธรรมเท่านั้น

- เพราะฉะนั้นขณะนี้เองจิตเห็นเพียง ๑ ขณะดับ กรรมทำให้มีจิตอื่นที่จะต้องรู้อารมณ์นั้นต่อเพราะเป็นอารมณ์เดียวกันจึงเป็นผลของกรรมเดียวกัน

- (มีท่านหนึ่งเพิ่งมาครั้งแรกและมีคำถามมีเวลาแค่ ๑๐ นาที ขอโอกาสถามได้ไหม) ได้เลยค่ะทุกคนเพราะเราพูดธรรมเพื่อเข้าใจจะเป็นคำถามอะไรได้หมดเลย (ตอนแรกมีคำถามแต่พอฟังไปก็อาจจะถามวันหลังเพราะวันนี้ฟังครั้งแรกและเห็นว่าควรจะฟังต่อ ขอโอกาสเป็นแนะนำตัวแทนเพราะคุณอาคิ่ลเป็นคนแนะนำให้เข้ามาสนทนาและดีใจมากที่ได้รับโอกาสได้มาฟัง) ยินดีมากที่ที่เข้าได้มีโอกาสได้ฟังและได้เข้าใจและคิดว่าเป็นประโยชน์ต่อไปเพระว่าต้องฟังแล้วเข้าใจ ถ้าไม่เข้าใจก็ซีกถามได้เพราะฉะนั้นวันนี้ฟังไปก่อนก็ได้

- คุณอาช่าถึงไหนแล้ว (เมื่อกี้พูดถึงจิตที่เกิดหลังจักขุวิญญาณ ต้องมีจิตที่รู้อารมณ์เดียวกันที่ยังไม่ดับคือ สัมปฏิจฉันนจิต และเพราะสัมปฏิจฉันนจิตไม่ได้ทำกิจเห็นแต่ทำกิจรับรู้อารมณ์ต่อ และจิตนี้ต้องมีเจตสิกที่ไม่มีในจิตที่เกิดก่อนหน้านี้) ดีมากเก่งมากเพราะฉะนั้นเรากำลังพูดถึงขณะนี้ไม่มีใครรู้จิตที่เกิดก่อนจิตเห็นและไม่มีใครรู้จิตที่เกิดต่อจากจิตเห็นใช่ไหม (ใช่) ทั้งๆ ที่มีเป็นความจริง ทำไมไม่รู้เห็นไหมต้องไตร่ตรอง (เพราะ ๒ จิตนี้ไม่ปรากฏ) เพราะฉะนั้นให้ทราบว่า เมื่อไหร่ ขณะไหน ภูมิไหนก็ตามจะรู้ได้เฉพาะสิ่งที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กายและใจเท่านั้น

- เพราะฉะนั้นทุกคำที่ฟังเข้าใจมั่นคง อะไรก็ตามที่ไม่ได้ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แม้มีก็รู้ไม่ได้เพราะอะไร (เพราะไม่ปรากฏ เพราะจิตเกิดแล้วดับทันที จะพูดถึงอย่างไรก็ไม่ปรากฏอยู่ดี) เพราะฉะนั้นต้องเข้าใจสิ่งที่ปรากฏทางหนึ่งทางใดใน ๖ ทางใช่ไหม และเข้าใจมั่นคงว่า อะไรก็ตามที่ปรากฏที่เข้าใจต้องเป็นทางหนึ่งทางใน ๖ ทางเท่านั้น

- ขณะนี้เราพูดถึง “เจตสิก” ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กายหรือเปล่า (เช่นความรู้สึกก็ปรากฏทางกายเป็นเวทนา) ตรงคำถามไหม (อาจารย์ถามว่าเจตสิกปรากฏไหม คุณอาช่ายกตัวอย่างความรู้สึก) ไม่ได้ให้ยกตัวอย่าง ถาม ปรากฏไหม (ปรากฏ ตอนนี้ก็ปรากฏ) ทางไหน (ทางมโนทวาร) อันนั้น “คิด” หรือว่ารู้ หรือว่า เข้าใจ (ยังไม่รู้แต่ว่าคิดหลังจากได้ยินได้ฟัง) เพราะฉะนั้นคิดเองกับคิดตามที่พระพุทธเจ้าตรัส อะไรจะคิดได้ละเอียด (คิดตามที่พระพุทธองค์ตรัส) แต่ส่วนใหญ่คนฟังคำของพระพุทธเจ้าแล้วคิดเองไม่ได้คิดตามที่พระองค์ตรัสที่ละเอียดและลึกซึ้งเพราะฉะนั้นฟังแล้วคิดถูกต้อง ไตร่ตรองถูกต้องแต่ต้องตามที่พระองค์ตรัสไว้ที่ลึกซึ้งขึ้น

- คราวหน้าเราจะสนทนากันเรื่องอะไรดี (ต่อจากเรื่องนี้) ถูกต้องที่สุด เพราะฉะนั้นถ้ายังไม่ได้เข้าใจละเอียดลึกซึ้งมั่นคงรอบคอบ ถึงเราจะต่อไปก็ไร้ประโยชน์ กำลังพูดถึงสิ่งที่มีจริงทุกขณะและเดี๋ยวนี้ด้วยซึ่งยังไม่รู้ความละเอียดยังเป็นเรา

- สำหรับวันนี้ก็ยินดีด้วยกับความเข้าใจพระธรรมและการเห็นประโยชน์และมีความอดทนที่รู้ว่า ถ้าไม่ฟังคำของพระองค์ด้วยความอดทนละเอียดลึกซึ้งก็จะเป็นความคิดของตัวเองทั้งหมด คิดเองกับค่อยๆ เข้าใจความลึกซึ้งที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงต่างกันมาก ก็ขอยินดีในกุศลของทุกท่านสวัสดีค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
prinwut
วันที่ 12 ส.ค. 2566

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ด้วยความเคารพยิ่ง

กราบขอบพระคุณและกราบยินดีในกุศลคุณสุคินและผู้ร่วมสนทนาชาวอินเดียทุกท่าน

ขอบพระคุณคุณอัญชิสา (คุณสา) ในความอนุเคราะห์ตรวจทาน

กราบขอบพระคุณและยินดีในกุศลของอาจารย์คำปั่นทุกประการครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 12 ส.ค. 2566

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ที่เคารพยิ่ง
กราบยินดีในกุศลของคุณสุคิน ผู้ถ่ายทอดคำท่านอาจารย์เป็นภาษาฮินดี
ขอบพระคุณและยินดีในกุศลวิริยะของพี่ตู่ ปริญญ์วุฒิ เป็นอย่างยิ่ง ที่ถอดคำสนทนาของท่านอาจารย์ ทุกคำ เป็นประโยชน์เกื้อกูลอย่างยิ่ง
และยินดีในกุศลของผู้ช่วยตรวจทาน และยินดีในกุศลของทุกๆ ท่านด้วยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
siraya
วันที่ 14 ส.ค. 2566

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
chatchai.k
วันที่ 5 ก.ย. 2566

กราบเท้าท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ที่เคารพยิ่ง

ยินดีในกุศลจิตครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ