ทำความเพียร

 
Suvidech
วันที่  27 ส.ค. 2550
หมายเลข  4647
อ่าน  1,316

ทำความเพียร หมายความว่าอย่างไร กรุณาช่วยยกตัวอย่างด้วยครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 27 ส.ค. 2550

เป็นสภาพของวิริยเจตสิกเกิดขึ้นกระทำกิจ ไม่มีตัวตนไปทำทางฝ่ายกุศล ถ้าเป็นญาณสัมปยุต ก็มีสติสัมปชัญญะเกิดร่วมด้วย ถ้าเป็นญาณวิปปยุต ก็มีแต่เพียงสติและสัมปยุตธรรมอื่นๆ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 27 ส.ค. 2550

วิริยเจตสิก ไม่เกิดกับจิต ๑๖ ดวง ซึ่งเป็นอเหตุกจิต นอกนั้นมีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วยค่ะ

ความเพียร มี ๔ อย่าง

๑. เพียรระวังมิให้อกุศล ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น

๒. เพียรละอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว

๓. เพียรเจริญกุศลที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น

๔. เพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญยิ่งขึ้นไป

แต่ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องของความเข้าใจค่ะ ไม่ใช่ตัวเราไปทำค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ajarnkruo
วันที่ 28 ส.ค. 2550

มิลินทปัญหา

ปัญหาที่ ๑๑

พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน ก็วิริยะ (ความเพียร) มีลักษณะอย่างไร

พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร มีลักษณะค้ำจุนไว้ อันความดีทั้งหลาย เมื่อได้ความเพียรเข้าค้ำจุนไว้แล้วย่อมไม่เสื่อมทราม

ม. เธอจงเปรียบให้ฟัง

น. เหมือนบ้านเรือนที่ซวนเซจะล้ม เมื่อเอาไม้เข้าค้ำไว้ก็ล้มไปไม่ได้ฉันใด ความเพียรก็ฉันนั้น ย่อมคอยค้ำใจที่รวนเรอยู่ให้กล้าบากบั่นต่อความยากลำบาก จุนความดีอื่นๆ ให้ทรงตัวอยู่ได้ ดังนัยแห่งพระพุทธภาษิตว่า ผู้มีความเพียรย่อมละความชั่วได้และทำความดีให้เกิดขึ้นได้

ม. เธอว่านี้ชอบแล้ว

จบวิริยลักขณปัญหา

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 29 ส.ค. 2550

เพียรด้วยกุศลหรืออกุศล เพียรด้วยความเป็นตัวตนหรือด้วยความเข้าใจถูก ต่างกันนะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 21 ก.ค. 2566

ยินดีในกุศลจิต

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ