ประโยชน์สูงสุดคือเริ่มรู้ความจริงว่าไม่มีเรา_สนทนาธรรม ไทย-ฮินดี วันเสาร์ที่ ๒ กันยายน ๒๕๖๖

 
เมตตา
วันที่  2 ก.ย. 2566
หมายเลข  46514
อ่าน  323

- ที่ดิฉันพูดธรรมอย่างละเอียดยิ่งสำหรับคุณอาช่า คุณอาคิ่ล และสำหรับคนที่สนใจ เพื่อให้เขามีความมั่นคงมีรากฐานของความเข้าใจที่จะให้คนอื่นได้เข้าใจต่อไป.

- ถ้าเขามีความเข้าใจที่ละเอียดมั่นคงเป็นพื้นฐาน ไม่ว่าเขาจะพูดกับคนที่เริ่มฟังหรือคนที่ฟังมาแล้วมากเขาจะไม่ผิด เพราะเหตุว่า มีความเข้าใจที่ลึกซึ้งและมั่นคงในความเข้าใจพระธรรมแต่ละคำ.

- ส่วนการที่จะให้คนใหม่ๆ ได้เข้าใจเป็นหน้าที่ของเขาที่ต้องเริ่มทำแล้ว (คุณสุคิน: อาช่าบอกว่าเขาก็พยายามอยู่แล้วแต่ที่อินเดียจะมีปัญหาเรื่องซูม จะใช้ลำบากหน่อย แกก็เลยใช้ทางอื่น เช่น what' app หรือโดยที่จะใช้ต่อหน้าแล้วก็ผ่านด็อกเตอร์ราจิฝก็คือสถานที่ของด็อกเตอร์ราจิฝ แต่ด็อกเตอร์ราจิฝเวลานี้ไม่ค่อยสะดวกเท่าไหร่ แกก็พยายามทำอยู่แล้วและก็เข้าใจเจตนาของท่านอาจารย์ครับ) แล้วด็อกเตอร์ราจิฝเข้าใจดีไหม? (ด็อกเตอร์ราจิฝก็ดีกว่าคนทั่วไปเพียงแต่ว่าบอกตามอุปนิสัยแกจะไม่ค่อยเก่งเรื่องการเข้าใจเรื่องบัญญัติต่างๆ แกจะช้าหน่อย แต่ถ้าพูดถึงว่าความตั้งใจ และความเห็นคุณของกุศลและรู้จักว่าอะไรดีอะไรไม่ดี อะไรถูกอะไรผิดตรงนั้นแกดีครับ) ก็ดีนะเพราะเหตุว่า ถ้ามีคนที่เริ่มเข้าใจถูกต้องเพิ่มขึ้นอันนั้นสำคัญกว่าการที่เข้าใจผิวเผินแล้วก็ไม่ลึกซึ้งเพราะจะไม่สามารถเข้าใจความจริงที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ (อาช่าบอกว่า ก็ตรงนั้นแกไม่ค่อยเก่งแต่ว่าแกเหมือนในชีวิตประจำวันอย่างเช่นมีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น แกก็จะยอมรับแล้วก็คำนึงถึงเหตุปัจจัยแล้วก็ไม่เดือดร้อน แกเห็นอย่างนี้อาช่าเองก็ยินดีมากเวลาเห็นด็อกเตอร์ราจิฝพูดอย่างนี้ครับ) ก็เป็นประโยชน์นะที่เริ่มได้รับจากการฟังพระธรรม แล้วต่อไปก็คงจะเพิ่มขึ้นๆ .

- แล้วคุณอาช่าเตรียมรายการที่จะสนทนาธรรมแล้วหรือยังว่าจะสนทนาที่ไหนบ้าง อย่างไร? (แกกำลังดำเนินการอยู่แล้วก็พอจะกำหนดได้แล้วครับ) เพราะฉะนั้น คุณสุคินต้องส่งรายการใหม่ให้เขาโดยด่วนเขาจะได้ปรับให้ถูกต้อง.

- เพราะฉะนั้น สำหรับการสนทนาธรรมของเราทุกครั้งมุ่งที่จะให้มีความเข้าใจที่ละเอียดลึกซึ้ง สำหรับผู้ที่จะเป็นกำลังต่อไปในการที่จะเผยแพร่พระธรรม (คุณสุคิน: อาช่าบอกว่าฟังที่ท่านอาจารย์พูดก็เห็นด้วยว่าควรจะเป็นแบบนี้เพราะว่าแกก็ตามประสบการณ์แกลองเปิดหนังสือดู อ่านแล้วก็ไม่ได้ความเข้าใจเหมือนอย่างเช่นที่แกได้ความเข้าใจจากท่านอาจารย์ในการสนทนาอย่างนี้)

- เพราะว่าการศึกษาต้องศึกษาละเอียดทุกคำ และก็มีความเข้าใจจริงๆ จึงสามารถที่จะผ่านไปสืบต่อให้คนอื่นได้เข้าใจคำจริงของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้คนได้เห็นคุณจริงๆ ได้รู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจริงๆ เพราะเข้าใจความละเอียดอย่างยิ่งของพระธรรมซึ่งจะสะสมต่อไปที่จะตรงที่จะเข้าใจถูกในสิ่งที่กำลังปรากฏ.

- เพราะฉะนั้น วันนี้เราก็จะพูดกันต่อเรื่องความละเอียดของแต่ละคำที่เป็นพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ต้องเข้าใจความจริงว่าไม่มีอะไรเลยแน่นอน ถ้าไม่มีสภาพรู้เกิดขึ้นรู้ จะไม่มีอะไรปรากฏว่ามี.

- แต่สิ่งที่มีดับเร็วมากไม่มีทางที่จะรู้ได้ด้วยตัวเอง ต้องรู้ความเร็วอย่างยิ่งของธรรมที่ขณะนี้ปรากฏเพียงเห็นในขณะที่มีจิตที่เกิดก่อนเห็น และจิตที่เกิดต่อจากเห็นก็ไม่ได้ปรากฏ ทุกอย่างที่เกิดขึ้นมีจริงๆ ในขณะที่เกิด แต่ทันทีที่เกิดก็ดับสืบต่อเร็วมากจนไม่มีขณะที่จะรู้ความจริง แต่ความจริงรู้ได้เพราะปรากฏให้รู้ว่ามี แต่ถ้าไม่มีการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่มีใครสามารถรู้ความจริงได้เลย เพราะเร็วมาก.

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างยิ่งค่ะ และกราบยินดีในกุศลของคุณสุคิน ผู้ถ่ายทอดคำท่านอาจารย์เป็นภาษาฮินดีค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
เมตตา
วันที่ 2 ก.ย. 2566

- เพราะไม่รู้ความจริงจึงเข้าใจผิดว่าขณะนั้นเป็นเราเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดตลอดมา ด้วยการบำเพ็ญพระบารมีด้วยการตรัสรู้ความจริงด้วยพระองค์เอง จึงทรงตรัสรู้ว่าถ้าไม่มีการเข้าใจทีละเล็กทีละน้อยในความจริงของสิ่งที่ปรากฏจนสามารถที่จะรู้ตรงและชัดขึ้นจนประจักษ์ความจริง จะละความเป็นเราหรือความเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดไม่ได้เพราะเกิดดับสืบต่อเร็วที่สุด.

- เมื่อได้ตรัสรู้แล้วเห็นหนทางที่กว่าจะเข้าใจความจริงได้ต้องอาศัยการเข้าใจทีละเล็กทีละน้อยนานแสนนานกว่าจะรู้แจ้งได้.

- เพราะฉะนั้น ทุกคำของพระองค์ที่ตรัสแล้วพิจารณาอย่างละเอียดจึงสามารถค่อยๆ รู้ความจริงว่าความจริงเป็นอย่างนี้ แล้วรู้ความจริงอย่างนี้จะเป็นประโยชน์อย่างไร ถ้าไม่รู้ความจริงอย่างนี้ก็จะไม่เห็นประโยชน์ของการเข้าใจความละเอียดความลึกซึ้งของสิ่งที่เรากล่าวถึง.

- ถ้าไม่มีการเข้าใจความละเอียดของธรรม ก็ย่อมจะไม่สนใจที่จะศึกษาให้รู้ความจริงซึ่งเป็นความละเอียดอย่างยิ่งได้.

- เพราะฉะนั้น ต้องรู้ว่าประโยชน์ของการที่จะรู้ความจริงทำให้รู้ว่า ความจริงลึกซึ้งยากที่จะรู้ได้จึงไม่รู้เนิ่นนานในสังสารวัฏฏ์ จนกว่าจะได้ฟังคำที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วทรงแสดง.

- ก่อนที่จะได้ฟังธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเข้าใจว่า ลาภ ยศ เงินทองทุกอย่างมีประโยชน์ แต่เมื่อได้ฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วจึงรู้ว่า สิ่งที่มีประโยชน์เหนือสิ่งใด คือการสามารถรู้ความจริงของสิ่งที่กำลังมี.

- รู้ความจริงของสิ่งที่มีจริงๆ ขณะนี้ได้ต่อเมื่อมีความมั่นคงที่จะรู้ว่า การรู้ความจริงเป็นประโยชน์ยิ่งกว่าสิ่งใดทั้งหมด.

- เพราะฉะนั้น ต้องมั่นคงต่อการที่จะเข้าใจทุกคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ละเอียดอย่างยิ่งแต่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง.

- ถ้าไม่รู้ความจริงของสิ่งที่มีความจริงเดี๋ยวนี้ และทุกขณะในชีวิตประจำวัน ก็จะไม่รู้ประโยชน์อย่างสูงสุดของการที่ไม่เข้าใจสิ่งที่มีจริงตามความเป็นจริงอย่างถูกต้องตั้งแต่เกิดจนตาย ถ้ารู้ความจริงเดี๋ยวนี้มีเมื่อเกิดแล้วก็ดับ จะค่อยๆ เข้าใจถูกต้องว่า เป็นใครไม่ได้เลยนอกจากเป็นสิ่งที่เกิดตามเหตุตามปัจจัยแล้วก็ดับ.

- ทุกอย่างที่ปรากฏขณะไหนก็ได้ เมื่อเห็น เมื่อได้ยิน เมื่อได้กลิ่น เมื่อลิ้มรส เมื่อรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส เมื่อคิดว่าสิ่งนั้นเป็นเกียรติยศ เป็นลาภ เป็นเงินเป็นทอง ขณะนั้นก็ไม่ได้รู้ความจริงว่า ทั้งหมดเกิดแล้วดับแล้วไม่เหลือเลย เหมือนขณะตายไม่มีอะไร หมดแล้ว.

- เพราะฉะนั้น ต่อไปนี้ไม่ว่าเราจะพูดถึงอะไร สิ่งนั้นมีเพราะเกิดแล้วดับ ทุกอย่างที่มีที่ปรากฏเกิดขึ้นแล้วดับไปไม่กลับมาอีกเลย ฟังเพื่อรู้ความจริงว่า ไม่มีสิ่งที่กำลังมีเดี๋ยวนี้เพราะสิ่งนั้นที่มีดับแล้ว.

- เดี๋ยวนี้มีเห็น เห็นดับแล้ว ได้ยินเกิดแล้วได้ยินดับแล้ว จิตขณะแรกที่เกิดปฏิสนธิจิตเกิดแล้วดับแล้ว จิตที่เกิดต่อเกิดต่อแล้วก็ดับแล้ว เดี๋ยวนี้จิตเห็นเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป ก่อนจิตเห็นต้องมีจิตที่ไม่เห็น จิตที่ก่อนจิตเห็นเป็นอะไร? (อาวัชชนะ) เป็นผลของกรรมหรือเปล่า? (ไม่ใช่) เพราะอะไรจึงไม่ใช่ผลของกรรม? (แกเข้าใจแค่ว่าเป็นกิริยาจิต) ทำไมไปพูดคำว่ากิริยาโดยไม่เข้าใจความหมายของกิริยา? (เพราะจิตนี้ไม่ได้เป็นผลของกรรม และไม่ได้เป็นกุศล ไม่ได้เป็นอกุศล) ทำไมไม่เป็นผลของกรรม และทำไมไม่ใช่กุศลอกุศล? (เพราะรูปกระทบกรรมให้ผลไม่ได้ เพราะฉะนั้น ต้องมีจิตนี้เกิดก่อน) เพราะเหตุว่า เมื่อรูปกระทบภวังค์ ถูกต้องไหม? (ครับ) ทันทีนั้นก็กระทบจิต แต่จิตจะเกิดขึ้นรู้รูปนั้นทันทีไม่ได้จนกว่าขณะจิตที่ไม่รู้อารมณ์นั้นต้องเริ่มที่จะรู้ ๑ ขณะเป็นภวังคจลนะ เมื่อภวังค์เริ่มจะรู้ว่ามีอารมณ์มากระทบดับไปแล้ว จิตที่เกิดขึ้นรู้อารมณ์นั้นแล้วหรือยัง? (ยังไม่รู้) เพราะฉะนั้น เมื่อจิตนั้นดับไปแล้วเป็นปัจจัยให้ภวังค์สุดท้ายที่รู้ที่อารมณ์เดียวกับภวังค์ก่อน ไม่รู้อารมณ์นั้นอีกต่อไปเกิดขึ้นรู้อารมณ์นั้นเป็นครั้งสุดท้าย.

- เมื่อจิตที่เกิดก่อนรู้อารมณ์ของภวังค์ดับแล้ว จิตที่เกิดต่อจึงสามารถที่จะรู้ได้ว่ามีอารมณ์กระทบภวังค์.

- เมื่อจิตที่รู้อารมณ์ของอารมณ์เก่าดวงสุดท้ายดับไปแล้ว จิตอื่นจะเกิดต่อได้ไหม นอกจากจิตที่รู้ว่าอารมณ์กระทบภวังค์? (ก็ต้องรู้อารมณ์ที่กระทบครับ)

- ถ้าเป็นอารมณ์ทางตา รู้อย่างไร? (จิตนี้แค่รู้ว่ามีอารมณ์กระทบ) เพราะฉะนั้น จิตนี้รู้อารมณ์ที่กระทบได้กี่ทวาร? (๕ ทวาร) จิตนี้รู้อารมณ์ได้มี ๕ ทวาร แต่เป็นจิตประเภทเดียวเท่านั้นที่เกิดขึ้รรู้อารมณ์แต่ละทวารเป็น ๕ ทวารใช่ไหม? (ครับ) .

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างยิ่งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
เมตตา
วันที่ 2 ก.ย. 2566

- จิตนี้เกิดขึ้นรู้อารมณ์ทางใจได้ไหม? (ไม่ได้) และจิตนี้เป็นกุศลหรืออกุศล? (ไม่เป็นกุศลและอกุศล) เป็นวิบากหรือเปล่า? (ไม่เป็น) ทำไมไม่เป็นวิบาก? (เพราะจิตนี้ยังไม่ได้รู้อารมณ์ดี) ไม่ใช่ (รู้ว่าเพราะเหตุปัจจัยต้องเป็นกิริยาครับ) ไม่ใช่ (แกก็รอให้ท่านอาจารย์พูดต่อ) ทำไมไม่ใช่? (เป็นเพราะว่าตอนนั้นอารมณ์เพิ่งกระทบ) ทันทีกรรมให้ผลรู้อารมณ์นั้นไม่ได้ แล้วก็ยังไม่ได้ทำหน้าที่รู้อย่างเช่นวิญญาณรู้ เพราะฉะนั้น ก่อนที่จะรู้แบบนั้นต้องมีจิตหนึ่งเกิดก่อน ... ) นั่นเป็น ความคิดของเราเอง เพราะฉะนั้น ต้องฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อมั่นคง.

- ทำไมเราพูดแล้วเราพูดอีก เพราะว่าความเข้าใจต้องมั่นคงยิ่งขึ้น เพราะฉะนั้น ทันทีที่จิตก่อนนั้นไม่มีอารมณ์นั้นอีกต่อไปเป็นปัจจัยให้จิตขณะต่อไปเกิดขึ้นเป็นจิตอื่นที่รู้อารมณ์ที่กระทบ จึงใช้คำว่า อาวัชชนะ รู้อารมณ์ที่กระทบได้ทั้ง ๕ ทวาร ทีละทวารจึงเป็นปัญจทวาราวัชชนจิจชต และไม่ใช่กุศลจิตและอกุศลจิตเพราะยังไม่ได้เห็นจริงๆ ยังไม่มีอะไรที่ไปเป็นกุศลอกุศลได้ และขณะนั้นสภาพธรรมที่เกิดไม่ใช่ผลของกรรมเพราะเหตุว่า ธรรมใดที่เกิดขึ้นเป็นผลของกรรมต้องรู้ เกิดขึ้นรู้อารมณ์ที่ดีจึงเป็นผลของกรรมได้ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย.

- ต้องไม่ลืมนะ สภาพของปัญจทวาราวัชชนจิต คือสามารถรู้อารมณ์ที่กระทบ ไม่ว่าอารมณ์นั้นจะเป็นอารมณ์ที่น่าพอใจหรือไม่น่าพอใจ กระทบได้ทั้งสองจึงไม่ใช่วิบากของกรรมหนึ่งกรรมใด.

- เพราะฉะนั้น ปัญจทวาราวัชชนจิตเป็นวิบากจิตได้ไหม? (ไม่ได้) ตอนนี้ก็ชัดเจนนะ จิตต้องเกิดขึ้นรู้อารมณ์หลากหลายต่างๆ .

- เพราะฉะนั้น ต้องเข้าใจทุกจิต ใช้เหตุผลด้วยว่าอะไรเป็นปัจจัยให้จิตนั้นเกิดขึ้น และเกิดขึ้นเป็นอะไร เพราะอะไร.

- เพราะฉะนั้น มีตา มีสิ่งที่กระทบตา ถ้าจิตนี้ไม่เกิดจะเห็นอะไรไหม? (ไม่เห็น) .

- ใครไม่มีปัญจทวาราวัชชนจิต? (ไม่มี) นอกจากคนที่ตาบอด หูหนวกใช่ไหม?บังคับไม่ให้อะไรเกิดได้ (เข้าใจ) .

- คนตาบอดมีอาวัชชนจิตไหม? (มีครับ) เกิดได้กี่ทวาร? (๔ ทวาร) คนหูหนวกมีปัญจทวาราวัชชนจิตไหม? (มี) เกิดได้กี่ทวาร? (๔ ทวาร) เพราะฉะนั้น ใครไม่สามารถจะบังคับไม่ให้อะไรเกิดได้ใช่ไหม? (ครับ) .

- ประโยชน์สูงสุด คือเริ่มรู้ความจริงว่า ไม่มีเรา เพราะฉะนั้น ที่กำลังฟังเป็นสิ่งที่กำลังมีขณะนี้ ไม่ต้องไปแสวงหา ไม่ต้องทำอะไรให้เกิดขึ้น เพราะมีแล้วแต่ไม่รู้ จึงควรรู้ เพราะฉะนั้น ทุกอย่างที่ได้ฟังสำคัญมากที่จะทำให้เข้าใจถูกต้องทีละเล็กทีละน้อย ว่า ไม่ใช่เรา และไม่มีเรา.

- ไม่มีเราแล้วมีอะไร? (มาธุ: มีธรรม) ถูกต้อง เพราะฉะนั้น ขณะที่ไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่รู้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ขณะนั้นจิตมีไหม? (มาธุ: มีภวังค์) ภวังคจิตต่างกับขณะเห็นอย่างไร? (คุณสุคิน: มาธุไม่ค่อยเข้าใจเรื่องอารมณ์ ผมเลยอธิบายให้เขาเข้าใจแล้วครับ ยกตัวอย่างว่า เห็น รู้สิ่งที่ปรากฏทางตา ได้ยินรู้แต่สิ่งที่ปรากฏทางหู แล้วก็คิดรู้บัญญัติ ส่วนภวังค์รู้อารมณ์ที่ไม่ปรากฏเพราะอารมณ์ของชาติก่อนเดียวกันกับปฏิสนธิและก็จุติ เพราะฉะนั้น ตอนที่ผมถามแกว่า อารมณ์ของภวังค์คืออะไร และทีแรกก็ไม่เข้าใจความหมายของอารมณ์ตรงนี้ แกคิดว่า หน้าที่ของภวังค์คือดำรงชีวิตแกเลยตอบซ้ำแล้วซ้ำอีกว่า ดำรงชีวิต ผมบอกว่านั่นเป็นกิจของภวังค์ ไม่ใช่อารมณ์ ... )

- เพราะฉะนั้น ขณะนี้ปัญจทวาราวัชชนจิตต่างกับภวังคจิตอย่างไร? (ต่างกัน ก็คืออารมณ์ของภวังค์ไม่สามารถรู้ได้ไม่ปรากฏ ส่วนอารมณ์ของอาวัชชนะ คืออารมณ์ที่กระทบกับปสาทรูปแล้วก็จิตที่เกิดต่อจากปัญทวารรู้อย่างเช่นเห็น ได้ยินได้ยิน ต่างกันตรงนี้) ตอบได้ถูก แต่อีกข้อหนึ่งต่างกันไหม? (ตอนนี้แกพูดไปแล้ว แต่ผมเข้าใจว่าท่านอาจารย์ถามตรงนี้เพราะเราสนทนาเรื่องอารมณ์อยู่ แต่แกก็ตอบว่ากิจต่างกัน ชาติของจิตก็ต่างกัน) เราพูดเป็นธรรมดวว่า เพราะภวังคจิตไม่รู้อารมณ์ของชาตินี้ นี่ตอบแล้ว และก็เพราะปัญจทวาราวัชชนจิตเป็นวิบากจิตไม่ได้.

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความ.เคาร พอย่างยิ่งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
เมตตา
วันที่ 2 ก.ย. 2566

- เพราะฉะนั้น กิริยาจิตทั้งหมดทุกดวงเป็นผลของกรรมหรือเปล่า? (ไม่) กิริยาจิตเป็นของใครบ้าง? (อาช่าตอบว่ากิริยาจิต ๒ คือปัญจทวาราวัชชนจิต และมโนทวาราวัชชนจิตเกิดกับทุกคน ส่วนกิริยาจิตที่ ๓ คือหสิตุปาทจิตเกิดเฉพาะกับพระอรหันต์) เก่งมากแล้วจะลืมไหม เพราะคราวก่อนลืมหรือเปล่า? (เข้าใจ) เมื่อมีความเข้าใจจริงๆ ที่มั่นคงจะไม่ลืมความเป็นจริง.

- ขณะที่ปัญจทวาราวัชชนจิตเกิดเป็นวิถีจิตหรือไม่ใช่วิถีจิต? (เป็นวิถีจิต) เพราะอะไร? (เพราะเกิดทางทวารหนึ่งทวารใด) เพราะเป็นจิตที่รู้อารมณ์ของชาตินี้ใช่ไหม? (ใช่) ด้วยเหตุนี้ ถ้าไม่มีวิถีจิตที่เป็นปัญจทวาราวัชชนจิตจะมีโลกที่เห็น ที่ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส กระทบสัมผัส ไหม? (มาธุตอบว่า ถ้าไม่มีปัญจทวาราวัชชนจิตก็ไม่มีเห็น ไม่มีได้ยิน ไม่มีอะไร) .

- นี่แสดงให้เห็นว่า ไม่มีใครทำให้อะไรเกิดได้นอกจากความเป็นไปของธรรมตามลำดับ.

- (คุณสุคิน: มาธุถามว่า เป็นไปได้ไหมจิตเกิดโดยไม่รู้อะไรทางทวารไหนเลย ผมเมื่อกี๊พูดถึงภวังค์ แกก็เข้าใจ) ทำไมจิตต้องรู้อารมณ์? (เพราะปัจจัย ... ) ปัจจัย หรือว่าเป็นภาวะความเป็นไปของธาตุชนิดหนึ่งซึ่งเกิดรู้อารมณ์ (เข้าใจ) .

- เพราะฉะนั้น กิริยาจิต คือปัญจทวาราวัชชนจิต มโนทวาราวัชชนจิต หสิตุปาทจิต ต่างกับกิริยาจิตอื่นๆ หรือเปล่า? (ท่านอาจารย์ครับ แกน่าจะไม่ได้พิจารณาและคิดถึงครับ) ก็เริ่มซิ (แกก็พูดอยู่พยายามพูดอยู่ว่าตรงนั้นไม่มีกิเลส ตรงนี้สำหรับเรามีกิเลสพูดไป แต่ว่านั่นทำกิจชวนะ นี่ไม่ได้ทำกิจชวนะ) ไม่ได้ถามอย่างนั้น (เข้าใจครับ ผมก็เลยพยายามให้แกลองพิจารณาต่อ) ถามเขาว่าเราไม่ได้ถามอย่างนั้น เราถามว่า จิต ๓ ดวงนี้ต่างกับกิริยาจิตอื่นๆ นอกจากนี้อย่างไร ให้เขาคิดถึงคำถามก่อน (ตอนนี้เข้าใจแล้ว ๓ กิริยาจิตนี้เป็นอเหตุกะ ส่วนกิริยาจิตอื่นมีเหตุครับ) นี่เป็นเหตุที่ต้องให้เขาคิดถึงคำถามก่อน ถ้าเขาตอบไม่ตรงก็ให้เขาคิดว่าถามว่าอะไร เพราะฉะนั้น เขาไปคิดถึงเรื่องอื่นที่ไม่ใช่คิดถึงคำถามจึงตอบไม่ได้.

- เพราะฉะนั้น ขณะนี้มีหสิตุปาทะไหม? (ไม่มี) เพราะอะไร? (เพราะที่นี่ไม่มีพระอรหันต์) เพราะฉะนั้น ก็เข้าใจชัดเจนเรื่องกิริยาจิต ๓ ดวงนะ.

- (คราวที่แล้วตอนท้ายท่านอาจารย์อธิบายว่า ทำไมจิตนี้เกิดเฉพาะกับพระอรหันต์ได้ครับ เพราะฉะนั้น จึงยังไม่ชัดเจน) เพราะฉะนั้น จะพูดต่อไปว่า หสิตุปาทะเกิดต่อจากจักขุวิญญาณได้ไหม? (ไม่ได้) เพราะฉะนั้น เมื่อจักขุวิญญาณดับไปแล้วเป็นปัจจัยให้จิตอะไรเกิดต่อ? (สัมปฏิจฉันนะ) สัมปฏิจฉันนะเป็นชาติอะไร? (วิบาก) ทำไมไม่เป็นกิริยาจิตเหมือนปัญจทวาราวัชชนะ? (เพราะกรรมที่ให้เกิดวิบากดวงแรกอย่างเช่น เห็น ยังต้องให้ผลต่อให้ผลขณะจิตเดียวไม่ได้) ถ้าจักขุวิญญาณเป็นกุศลวิบาก สัมปฏิจฉันนะเป็นอะไร? (เป็นกุศลวิบากครับ) เพราะอะไร? (๑. เพราะรู้อารมณ์เดียวกัน ๒. เป็นผลของกรรมเดียวกัน) เพราะฉะนั้น เมื่อสัมปฏิจฉันนะรับอารมณ์ต่อจากจิตเห็น สัมปฏิจฉันนะเห็นไหม? (ไม่เห็น) เพราะอะไร? (เพราะต่างกันตรงกิจ กิจคือรับรู้อารมณ์ต่อไม่ใช่เห็นครับ) สัมปฏิจฉันนะดับแล้ว หสิตุปาทะเกิดต่อได้ไหม? (ไม่ได้) ทำไมไม่ได้? (เพราะปัจจัยหนึ่งว่า ตามที่เมื่อกี๊ให้คำตอบ) ยังไม่ถึงเวลาที่จะต้องเป็นกิริยาจิตเพราะเหตุว่ากรรมยังให้ผลไม่หมด.

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างยิ่งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
เมตตา
วันที่ 2 ก.ย. 2566

- ชั่วขณะเดียวที่เกิดขึ้นเห็น ไม่พอที่จะเป็นผลวิบากเพราะเพียงแค่เห็นแล้วดับ เพราะฉะนั้น เมื่อรูปยังไม่ดับสัมปฏิจฉันนะดับแต่กรรมให้ผลเพียงรับไว้ไม่พอ เพราะฉะนั้น กรรมจึงทำให้ทันทีที่จิตที่เพียงรับไว้ดับก็ทำให้เกิดจิตรู้อารมณ์ที่รับไว้นั้นต่อเป็นสันตีรณจิต สันตีรณะดับแล้วกรรมจะเป็นปัจจัยให้ผลของกรรมเกิดต่ออีกได้ไหม (ไม่ได้) เมื่อหมดหน้าที่ของกรรมที่จะให้ผลเป็นจิตเกิดขึ้นแล้ว จิตที่เกิดต่อจากสันตีรณะเป็นอะไร? (โวฏฐัพพนะ) โวฏฐัพพนะคืออะไร? (กิริยาจิตหนึ่ง) เกิดขึ้นทำกิจอะไร? (แกลืมไปแล้วและแกคิดว่าทำกิจรู้เพิ่มรู้มั่นคงเกี่ยวกับอารมณ์) ไม่ใช่ค่ะ นี่เป็นความละเอียดที่ต้องรู้กิจด้วยว่าจิตอะไรทำกิจอะไร.

- วิถีจิตที่รู้อารมณ์ทางทวารทั้ง ๕ ต้องรู้ว่าขณะไหนเป็นผลของกรรม และขณะไหนไม่ใช่ผลของกรรม ปัจจัยให้จิตเกิดแล้วหมดแล้วที่เป็นผลของกรรมแต่ต้องรู้อารมณ์ที่ปรากฏที่กระทบตาต่อเพราะเหตุว่าอารมณ์นั้นยังไม่ดับ เพราะฉะนั้น จิตที่เกิดต่อจากสันตีรณะรู้อารมณ์ที่ยังไม่ดับโดยทำกิจเปิดทางให้กุศลและอกุศลที่มีมากมายมหาศาลในจิตสามารถจะเกิดได้ในอารมณ์ที่ปรากฏ เพราะฉะนั้น จิตนี้เลือกให้กุศลเกิด หรือเลือกให้อกุศลเกิดได้ไหม? (ตัดสินไม่ได้ว่าให้อะไรเกิด) แต่สิ่งที่จะเกิดต่อเกิดไม่ได้ถ้าจิตนี้ไม่เกิดก่อนไม่เปิดทางให้ เพราะฉะนั้น เมื่อจิตนี้ดับกุศลอกุศลที่สะสมมามากมายในจิตในสังสารวัฏฏ์ อะไรพร้อมที่จะเกิดจึงสามารถจะเกิดได้เมื่อจิตนี้ดับไปแล้ว.

- ถ้าจิตนี้ไม่เกิดไม่เปิดทางกุศลและอกุศลที่สะสมมา เกิดไม่ได้ จิตที่เกิดต่อทำกิจรู้อารมณ์ที่ยังไม่ดับทุกขณะมาก ไม่ใช่เพียงขณะเดียว เพราะฉะนั้น จิตนี้เกิดขึ้นเป็นกุศลอกุศล ๑ ขณะอารมณ์ยังไม่ดับ จิตก็เกิดต่อไปเป็นจิตประเภทเดียวกันคือกุศลและอกุศลจนกว่าอารมณ์จะดับ.

- ธรรมดาอารมณ์ยังเหลืออีก ๗ ขณะ หรือ ๙ ขณะก็แล้วแต่ แล้วแต่ว่าจิตอะไรเกิดจนกระทั่งทำให้อารมณ์เหลือเท่าไหร่ เพราะฉะนั้น จิตที่เกิดซ้ำๆ รู้อารมณ์เดียวกันเป็นโลภะประเภทเดียวกัน หรือว่าเป็นโทสะประเภทเดียวกัน หรือเป็นกุศลประเภทเดียวกันเกิดขึ้นรู้อารมณ์นั้นอารมณ์เดียวกันหลายขณะไม่ใช่ขณะเดียว กุศลประเภทเดียวกัน หรืออกุศลประเภทเดียวกันเกิดดับสืบต่อเร็วมากรู้อารมณ์นั้น ๗ ขณะเป็นปกติ เมื่อจิตนั้นเกิดรู้อารมณ์ซ้ำกันหลายๆ ขณะจึงทำให้รู้ได้ว่าจิตขณะนั้นเป็นโลภะหรือเป็นโทสะเป็นต้น เพราะฉะนั้น จิตที่เกิดต่อที่เป็นโลภะ โทสะไม่ได้ทำกิจเห็น ไม่ได้ทำกิจสัมปฏิจฉันนะ ไม่ได้ทำกิจสันตีรณะ ไม่ได้ทำกิจโวฏฐัพพนะ แต่เป็นจิตที่รู้อารมณ์นั้นด้วยโลภะอย่างเร็วหลายขณะหรือด้วยโทสะอย่างเร็วหลายขณะจึงทำชวนกิจ เกิดดับรู้อารมณ์นั้นต่อกันเร็วมากจึงเป็นจิตที่เสพรู้อารมณ์นั้นมากกว่าขณะอื่นจึงเป็นชวนจิต.

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างยิ่งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
เมตตา
วันที่ 2 ก.ย. 2566

- ด้วยเหตุนี้ ขณะนี้มีเห็น ๑ ขณะรู้ได้ว่าเห็นอะไรเพราะอะไร? (ท่านอาจารย์ผมไม่ได้ยินครับ) เดี๋ยวนี้มีเห็นเกิดขึ้นรู้ว่าเห็น แต่เห็นเพียง ๑ ขณะ เพราะฉะนั้น สิ่งที่ปรากฏให้เห็นสามารถรู้ได้และเห็นก็กำลังเห็นให้รู้ได้ว่าเห็นเพราะอะไรทั้งๆ ที่เกิด ๑ ขณะ แต่เวลาโกรธเกิด ไม่ได้เห็น แต่รู้ได้ว่าโกรธเพราะอะไร? (ครับ) คำถามว่าเพราะอะไร ขณะนี้จิตเห็นเกิดรู้ว่าเห็น และขณะที่ความโกรธเกิดขึ้นซึ่งไม่ได้เห็นแต่รู้ได้ว่าความโกรธขณะนั้นเป็นโกรธเพราะอะไร? (แค่รู้ว่าต่างกันอันหนึ่งแค่เห็น อีกอันก็เป็นอกุศล) นี่เป็นชีวิตประจำวันจริงๆ ใช่ไหม ขณะนี้กำลังเห็นรู้เห็น และชอบหรือไม่ชอบในสิ่งที่กำลังเห็นก็มีจริงๆ แต่เพราะอะไร เมื่อมีจิตอื่นที่รู้สิ่งที่จิตเห็นด้วยแต่ไม่ปรากฏนอกจากเห็น แต่เมื่อเห็นแล้วชอบหรือไม่ชอบแม้ว่ามีจิตอื่นก่อนและหลังแต่ไม่ปรากฏเพราะอะไร ที่จะปรากฏเพียงเห็นและชอบหรือไม่ชอบสิ่งที่เห็น? (ตรงนี้แกยังไม่รู้คำตอบ แต่คำตอบน่าจะอยู่ตรงที่ว่าตอนที่โกรธเกิดชาติเดียวกันติดต่อกัน ๗ ขณะ) แล้วจิตเห็นล่ะ? (จิตเห็นแกเข้าใจว่าก่อนเห็นก็ไม่ใช่เห็น หลังเห็นก็ไม่ใช่เห็นครับ) แล้วทำไมรู้ว่ากำลังเห็นเดี๋ยวนี้ทั้งๆ ที่เกิดขณะเดียว? (เพราะที่เห็นเพราะนิมิตของรูปที่เห็น นิมิตของสิ่งที่ปรากฏทางตา) ถ้าไม่เห็นจะมีนิมิตไหม? (ไม่มี) แล้วจิตที่เกิดต่อไม่เห็นแล้วมีนิมิตไหม? (ไม่มี) แล้วจิตเห็น เห็นแล้ว มีมิมิตไหม? (มีนิมิต) เห็นเกิด ๑ ขณะ จิตที่เกิดต่อ ๑ ขณะรู้เห็นแต่ว่า เห็นมีนิมิต อีกจิตไม่มีนิมิตหรือ เพราะอะไร? (เพราะกิจไม่ใช่กิจเดียวกับเห็น กิจเห็นเห็นเฉพาะเห็นที่ทำกิจนี้ได้) เพราะฉะนั้น ต่างกันที่กิจ จักขุวิญญาณแม้เพียง ๑ ขณะก็เห็นแจ้งสิ่งที่ปรากฏ แล้วโลภะ โทสะที่สามารถรู้ได้แม้ไม่ได้ทำกิจเห็นแต่ทำกิจเป็นความโกรธ ความชอบต่างๆ นานาเพราะเกิดซ้ำกัน ๗ ขณะ.

- เพราะฉะนั้น ธรรมดาชวนะเกิดอย่างมากที่หลังเห็น ได้ยินเป็นต้น ๗ ขณะ อารมณ์ดับแล้วยัง? (ยังไม่ดับครับ) เพราะฉะนั้น คราวต่อไปเราจะพูดจนกว่าจิตจะดับถึงสิ่งที่มีในขณะนั้น.

- (คุณสุคิน: ท่านอาจารย์ครับ อาช่าฟังเรื่องชวนะแล้วแกอยากฟังเรื่องชวนะให้ดีขึ้นครับ) เพราะฉะนั้น คราวหน้าเราพูดถึวชวนะได้เพราะจิตอะไรก็ตามที่ทำกิจนี้เราพูดถึงได้หมด.

- นี่เป็นชีวิตประจำวันจริงๆ ทุกขณะ แต่ไม่มีใครรู้เพราะลึกซึ้ง ถ้าไม่รู้และไม่เข้าใจความจริงของสิ่งที่กำลังมีที่เรากำลังกล่าวถึง ไม่สามารถที่จะละความเป็นตัวเราได้เลย.

- นี่เป็นสิ่งที่เราพูดถึงธรรมที่มีจริงๆ ที่สามารถจะรู้ได้ว่า จริง ในชีวิจประจำวันจนกว่าจะเข้าใจเพิ่มขึ้นละเอียดจึงจะรู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้าขึ้นลึกซึ้งขึ้น.

- เพราะฉะนั้น ฟังแล้วเข้าใจแล้วจึงรู้จักพระคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มิเช่นนั้น จะไม่รู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเลย.

- เพราะฉะนั้น จะรู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อเริ่มเข้าใจคำที่พระองค์ตรัสเท่านั้น.

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างยิ่งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
chatchai.k
วันที่ 2 ก.ย. 2566

กราบเท้าท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ด้วยความเคารพยิ่ง

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
siraya
วันที่ 4 ก.ย. 2566

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ