อภิธรรมคืออะไร?

 
wittawat
วันที่  7 ต.ค. 2566
หมายเลข  46751
อ่าน  514

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น

อภิธัมมัตถสังคหบาลีและอภิธัมมัตถวิภาวินีฎีกา หน้า ๑๘ (ข้อความในฎีกา)

อรรถของอภิธรรม

"ปกรณ์ทั้ง ๗ มีธัมมสังคณี เป็นต้น" คือ อภิธรรมปิฎก

ชื่อว่า "อภิธรรม" ... เป็นที่มีธรรมอันวิเศษยิ่ง โดยความเป็นปรมัตถ์ที่แท้จริง ... คือ ด้วยอำนาจแห่งปรมัตถ์ที่แท้ เว้นสมมติเสีย ก็ตั้งอยู่โดย ... อาการ ๔ อย่าง ดังนี้ คือ จิต ... เจตสิก ... รูป ... นิพพาน

อรรถของปรมัตถ์

อรรถอันไม่วิปริต ยอดเยี่ยมคือสูงสุด หรืออรรถที่เป็นอารมณ์ของญาณอันเยี่ยมคือสูงสุด ...


พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 9

... คําว่า อภิธรรม (อภิธมฺโม) ถามว่า ชื่อว่า อภิธรรม เพราะอรรถ (ความหมาย) อย่างไร? ตอบว่า เพราะอรรถว่า เป็นธรรมอันยิ่ง และวิเศษ

จริงอยู่ อภิศัพท์ ในคําว่าอภิธรรมนี้ แสดงถึงเนื้อความว่ายิ่งและวิเศษ ... เปรียบเหมือนเมื่อฉัตร ... เป็นอันมากถูกยกขึ้นแล้ว ฉัตรใดมีประมาณยิ่ง มีวรรณะและสัณฐานอันพิเศษกว่าฉัตรอื่น ฉัตรนั้นชื่อว่า อติฉัตร (ฉัตรอันยิ่ง) ... เหมือนเมื่อพวกราชกุมาร ... ร่วมประชุมกันแล้ว ราชกุมารใดยิ่งกว่าโดยสมบัติ มีชาติ โภคะ ยศ และความเป็นใหญ่เป็นต้น และมีฉวีวรรณวิเศษกว่า พระราชกุมารนั้นเรียกว่า อติราชกุมาร (ราชกุมารผู้ยิ่ง) ... ฉันใด ธรรมแม้นี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เรียกว่า อภิธรรม เพราะอรรถว่าเป็นธรรมอันยิ่งและวิเศษ


ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 38 และ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 47

ธมฺมํ นี้ ธัมมะ ศัพท์นี้ ใช้กันในอรรถทั้งหลายมีปริยัตติ สมาธิ ปัญญา ปกติ สภาวะ สุญญตา บุญ อาบัติ เญยยะ และจตุสัจธรรมเป็นต้น.

มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 48

อรรถว่า สภาวะ ในคําว่า ธรรมนั้น มีอรรถพจน์ดังนี้ว่า สภาวะเหล่าใดย่อมทรงไว้ซึ่งลักษณะของตน เหตุนั้น สภาวะเหล่านั้น ชื่อว่า ธรรมะ.

(ก็พระอภิธรรม มีจิต เจตสิก รูป นิพพาน เป็นธรรมที่มีสภาวะ ลักษณะ ขอให้ท่านผู้ศึกษาพิจารณาด้วยถึง ศัพท์ ของ ธรรม ใน อภิธรรม นี้)

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 153

ภาวะที่ชื่อว่า ธรรม เพราะอรรถว่า ย่อมทรงไว้ซึ่งสภาวะของตน. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ธรรม เพราะอรรถว่า อันปัจจัยทั้งหลายทรงไว้ หรือว่าย่อมทรงไว้ตามสภาวะ


[สรุป]

- อภิธรรม หมายถึง สิ่งที่มีอยู่จริง (สิ่งที่ทรงไว้ซึ่งลักษณะของตน) ที่วิเศษ ที่ยิ่ง คือ ปรมัตถธรรม ๔ ได้แก่ จิต เจตสิก รูป นิพพาน (ปรมัตถสัจจะ เป็นสิ่งที่ยิ่ง เหนือจากสมมติสัจจะทั้งปวง มีสัตว์ บุคคล วัตถุสิ่งของ เป็นต้น)

- ปรมัตถธรรม หมายถึง สิ่งที่มีอยู่จริงที่มีอรรถยอดเยี่ยม สูงสุด เปลี่ยนแปลงไม่ได้ เป็นอารมณ์ของปัญญา ได้แก่ จิต เจตสิก รูป นิพพาน

กราบอนุโมทนา


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
chatchai.k
วันที่ 8 ต.ค. 2566

ถ้าเข้าใจธรรมะก็รู้ว่าธรรมะนั้นเป็นปรมัตถธรรม เป็น อภิธรรม ไม่ได้แยกกันเลย ใครก็ตามที่บอกว่า รู้ธรรมะ เขาต้องรู้ว่า ธรรมะเป็นธรรมะ เป็นธรรมะก็คือว่า เป็นปรมัตถธรรม ไม่มีใครที่สามารถจะเปลี่ยนแปลงลักษณะของธรรมะนั้นได้เลย นี่คือการรู้จักธรรมะจริงๆ แล้วรู้ด้วยว่า ธรรมะนั้นเป็นอภิธรรม หมายความว่าไม่มีใครสามารถที่จะไปเปลี่ยน เป็นอภิ ยิ่งใหญ่จริงๆ

ที่มา ฟัง และ อ่านเพิ่มเติม ...

ธรรมคืออภิธรรม

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
chatchai.k
วันที่ 8 ต.ค. 2566

นอกจากคำว่า “ธรรม” แล้ว มีคำว่า “ปรมัตถธรรม” และ “อภิธรรม” เพราะฉะนั้น ปรมัตถธรรม หมายความถึง สภาพธรรมที่มีจริงๆ แม้ไม่เรียกชื่อสิ่งนั้นก็มี หรือแม้ว่าจะเปลี่ยนชื่ออะไรก็ตาม สภาพธรรมนั้นก็คงเป็นสภาพธรรมนั้น อย่างภาษาบาลีใช้คำว่า “โลภะ” ภาษาไทยเราบอกว่า ความติดข้อง ความอยากได้ ความต้องการ ภาษาอังกฤษเรียกอีกคำนึง ภาษาอื่นก็เปลี่ยนไป แต่เปลี่ยนลักษณะของโลภะไม่ได้ จะใช้ภาษาอะไรก็ได้ไม่เรียกก็ได้ แต่ว่าเปลี่ยนลักษณะของสภาพธรรมนั้นไม่ได้

นี่คือ ปรมัตถธรรม ปรมัตถธรรมคือสิ่งที่มีจริง ไม่เรียกชื่อเลยก็ได้ จะใช้ชื่ออะไรก็ได้ จะเปลี่ยนชื่อก็ได้ แต่เปลี่ยนลักษณะของสภาพธรรมนั้นไม่ได้

ที่มา ฟัง และ อ่านเพิ่มเติม ...

ปรมัตถธรรม คือ สิ่งที่มีจริง

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ