Thai-Hindi 14 Oct 2023

 
prinwut
วันที่  14 ต.ค. 2566
หมายเลข  46786
อ่าน  626

Thai-Hindi 14 Oct 2023


- (คุณอาช่าบอกว่า ช่วงที่ผ่านมาสนทนาเรื่องวิถีจิต เรื่องอเหตุกจิตโดยใช้ภาษาที่มีในชีวิตประจำวันเช่น เห็น ได้ยิน จิตเห็นทำกิจเห็น จิตได้ยินทำกิจได้ยิน แต่เวลาพูดถึงกิจของชวนะในชีวิตประจำวันจะใช่ “การคิด” หรือไม่ ถ้าเราคิดหมายถึง “ชวนะ” ได้ไหม หรือตอนที่พูดถึงชีวิตเราเองนอกจาก“คิด” มีอะไรไหมที่หมายถึง “ชวนะ”)

- เพราะฉะนั้นเรากำลังจะพูดให้รู้จัก “ชวนจิต” ถ้าพูดถึงกิจของจิตทั้งหมดมี ๑๔ กิจ จิตทั้งหมดจะต้องทำกิจหนึ่งกิจหนึ่งกิจใดใน ๑๔ กิจ

- อเหตุกจิตทั้งหมดมี ๑๘ อเหตุกจิตไหนทำชวนกิจ (หสิตุปปาทจิต) แสดงว่า เป็นจิตของพระอรหันต์ซึ่งทำให้มีการยิ้มเกิดขึ้นซึ่งทุกคนไม่รู้ว่าขณะนั้นอะไรเป็นเหตุให้ยิ้ม

- หสิตุปปาทจิตทำปฏิสนธิกิจได้ไหม (ไม่ได้) ทำภวังคกิจได้ไหม (ไม่ได้) ทำอาวัชชนกิจได้ไหม (ไม่ได้) ทำเห็น ทำได้ยิน ทำได้กลิ่น ทำรู้รส ทำรู้สิ่งที่กระทบสัมผัสได้ไหม (ไม่ได้) ทำสัมปฏิจฉันนกิจได้ไหม (ไม่ได้) ทำสันตีรณกิจได้ไหม (ไม่ได้ (ทำโวฏฐัพพนกิจได้ไหม (ไม่ได้) ทำชวนกิจได้ไหม (ทำชวนกิจ) หสิตุปปาทจิตทำตทาลัมพนกิจได้ไหม (ไม่ได้) ทำจุติกิจได้ไหม (ไม่ได้) เพราะฉะนั้นจิตอื่นทั้งหมดที่เหลือเหมือนกับหสิตุปปาทจิต ทำปฏิสนธิ ฯลฯ เราไม่พูดถึง แต่กุศลจิตอกุศลจิตทำชวนกิจ เพราะฉะนั้นกุศลจิต อกุศลจิต กิริยาจิต ที่มีเหตุเกิดร่วมด้วยทำ “ชวนกิจ”

- หสิตุปปาทจิตทำชวนกิจกี่ขณะ (๗ ขณะ) เพราะฉะนั้นคนที่ไม่ใช่พระอรหันต์ไม่มีกิริยาจิตที่ทำชวนกิจเพราะฉะนั้นโลภมูลจิตทำกิจชวนะกี่ขณะ (๗ ขณะ) กุศลจิตทำชวนกิจกี่ขณะ (๗ ขณะ)

- เพราะฉะนั้นต่อไปจะถามให้ทบทวนทุกสิ่งทุกอย่างเพราะแสดงว่า เขาเข้าใจความหมายของ “ชวนจิต” และ “ชวนกิจ” แล้วใช่ไหม (พอเข้าใจ) เพราะฉะนั้นเป็นการทบทวนให้เข้าใจมั่นคงเพราะว่าการที่จะเข้าใจว่าไม่มีเราต้องเป็นการเข้าใจจิตแต่ละ ๑ ประเภทเพื่อรอบรู้ในจิต ๑ จริงๆ จึงสามารถที่จะค่อยๆ รู้ตามความเป็นจริงว่า “ไม่มีเรา” แต่ไม่ว่าขณะไหนก็ตามขณะไหนเป็นเป็นจิตหนึ่งๆ ๆ

- ถ้าแบ่งจิตทั้งหมดเป็น ๒ ประเภทใหญ่ จิตทั้งหมดจะต้องเป็น ๑ ใน ๒ คือจะต้องเป็นจิตที่มีเหตุเกิดร่วมด้วยกับจิตที่ไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วย รู้แต่จำนวนไม่สามารถที่จะเข้าใจความลึกซึ้งของขณะที่เป็นธรรมเดี๋ยวนี้ว่า ไม่ใช่เรา แต่ต้องเข้าใจความเป็นจริงด้วยว่าเพราะอะไรจิตนั้นจึงไม่ประกอบด้วยเหตุและทั้งหมดมี ๑๘​ ประเภทหรือ ๑๘ ดวงเท่านั้น เพราะฉะนั้นจะพูดถึงอเหตุกิจใดก็ได้เพราะเข้าใจหมดแล้ว

- สันตีรณจิตเป็นกุศลหรืออกุศล (ไม่ได้เป็นกุศลหรืออกุศล) สันตีรณจิตทำกิจปฏิสนธิได้ไหม (ได้) สันตีรณจิตมีทั้งหมดกี่ดวง (๓) สันตีรณจิตไหนทำกิจปฏิสนธิได้ (๒) อะไรบ้าง (อุเบกขากุศลสันตีรณะกับอุเบกขาอกุศลสันตีรณะ)

- อุเบกขาอกุศลสันตีรณะเกิดที่ไหน (ในอบายภูมิ) แล้วอุเบกขาสันตีรณกุศลวิบากเกิดที่ไหน (เกิดเป็นมนุษย์แต่ว่าพิการ) ทำไมเกิดเป็นมนุษย์แต่ไม่พิการไม่ได้ (เพราะเป็นกุศลที่อ่อนมาก) ถ้าเป็นกุศลที่มีกำลังจะเป็นปัจจัยให้ปฏิสนธิด้วยอุเบกขาสันตีรณกุศลวิบากได้ไหม (ไม่ได้) ด้วยเหตุนี้กุศลที่มีกำลังจึงทำให้เกิดกุศลวิบากที่ทำกิจปฏิสนธิที่ไม่พิการ

- กุศลวิบากที่มีกำลังอ่อนทำให้เกิดผลเป็นอะไร (เป็นมนุษย์) ถามว่ากุศลวิบากที่มีกำลังทำให้เกิดผลเป็นอะไร (ไม่แน่ใจคำถาม แต่คำตอบคือ ถ้าเป็นกุศลที่มีกำลังจะให้ผลเป็นปฏิสนธิ ภวังค์ จุติในภูมิที่ดีและเห็น ได้กลิ่น ลิ้มรส สัมผัสทางกายและได้ยินเสียงที่ดี) เพราะฉะนั้นผลของกุศลมีผลที่ไม่ประกอบด้วยเหตุและมีผลที่ประกอบด้วยเหตุด้วย

- เพราะฉะนั้นให้ทราบว่า ชวนะ ๗ ขณะที่เป็นกุศลเป็นปัจจัยให้เกิดกุศลวิบากที่ประกอบด้วยเหตุและไม่ประกอบด้วยเหตุ มิฉะนั้นแล้วกุศลวิบากที่ไม่ประกอบด้วยเหตุจะมาจากไหนและกุศลวิบากที่ประกอบด้วยเหตุจะมาจากไหน

- เพราะฉะนั้นเราจะพูดถึงจิตที่เป็นกุศลในขณะที่เป็นอเหตุกมีไหม (ไม่มีกุศลที่ไม่มีเหตุ) เพราะฉะนั้นกุศลที่เป็นอเหตุกะไม่มี กุศลต้องมีเหตุที่เป็นกุศลเกิดร่วมด้วย กุศลที่เป็นกุศลจิตทำชวนกิจถูกต้องไหม กุศลจิตทุกประเภทต้องประกอบด้วยเหตุแต่เป็นเหตุให้เกิดวิบากจิตที่มีเหตุเกิดร่วมด้วยก็มีไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วยก็มี

- กุศลทั้งหมดมีกี่ดวง (ไม่ทราบ) ถูกต้องเพราะเรายังไม่ได้พูดถึงว่ากุศลทั้งหมดมีกี่ดวง แต่ให้ทราบว่ากุศลที่ไม่ประกอบด้วยเหตุไม่มีเลย กุศลต้องประกอบด้วยเหตุและเป็นปัจจัยให้เกิดผลของกุศลที่ประกอบด้วยเหตุและที่ไม่ประกอบด้วยเหตุ

- ต่อไปเราจะเรียนให้ละเอียดขึ้นว่า อกุศลจิตมีเท่าไหร่และให้ผลเป็นอกุศลวิบากเท่าไหร่ อกุศลวิบากที่ไม่ประกอบด้วยเหตุมีไหม (ไม่แน่ใจ) เพราะฉะนั้นต้องฟังอีกทบทวนเพราะเรากล่าวถึงแล้ว เป็นเรื่องที่ละเอียดมากและเป็นตอนที่สำคัญมาก ถ้าไม่เข้าใจตรงนี้เราจะรู้แต่ชื่อของธรรมทั้งหมด

- ธรรมละเอียดลึกซึ้งยิ่งกว่านี้ เพราะฉะนั้นเราเริ่มต้นที่จะรู้จักธรรมที่มีจริงที่ปรากฏในชีวิตประจำวันทีละเล็กทีละน้อย ด้วยเหตุนี้เราจะต้องรู้จำนวนทั้งหมดของจิตแต่ละประเภทด้วย

- เหตุทั้งหมดคืออะไร เท่าไหร่ (๖) อะไรบ้าง (โลภะ โทสะ โมหะซึ่งเป็นอกุศล อโลภะ อโทสะ อโมหะซึ่งเป็นกุศล) และจิตที่ไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วยมีเท่าไหร่ (๑๘) เปลี่ยนได้ไหม (ไม่ได้) เพราะฉะนั้นนี่เป็นการเริ่มเข้าใจความจริงในชีวิตประจำวัน

- จิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุทั้งหมดแบ่งเป็นกี่ประเภท ต่างกันกี่ประเภท (๓ กุศลวิบาก อกุศลวิบากและกิริยาจิต) เพราะฉะนั้นเป็นวิบากทั้งหมดเท่าไหร่ (๑๕) อกุศลวิบากและกุศลวิบากเป็นอเหตุกะเท่าไหร่ (กุศลวิบาก ๘ อกุศลวิบาก ๗) กิริยาเท่าไหร่ (๓)

- เพราะฉะนั้นเราจะต้องรู้เพิ่มเติม อกุศลวิบากทั้งหมด ทั้งหมดไม่ว่าจะโลกไหนก็ตาม ไม่เกินอกุศลวิบากเท่าไหร่ กี่ดวง (๗ ทั้งหมด) มีมากกว่า ๗ ได้ไหม (ไม่ได้) เพราะฉะนั้นอกุศลวิบากที่ประกอบด้วยเหตุมีไหม (ไม่มี)

- นี่เป็นความต่างกัน กุศลวิบากที่ไม่ประกอบด้วยเหตุมีเท่าไหร่ (๘) แต่ว่ากุศลสามารถที่จะให้ผลมากกว่าอกุศลเพราะฉะนั้นความต่างคือ กุศลวิบากที่ไม่ประกอบด้วยเหตุมีเท่าไหร่ (๘) และกุศลสามารถให้ผลเป็นกุศลวิบากที่ประกอบด้วยเหตุได้ด้วย


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prinwut
วันที่ 14 ต.ค. 2566

- เพราะฉะนั้นต่อไปเราจะเรียนเรื่องกุศลจิตและกุศลวิบากจิต ผลของกุศลอย่างอ่อนทำให้เกิดเป็นคนพิการ แต่กุศลที่มีกำลังไม่สามารถทำให้เกิดเป็นคนพิการได้แต่สามารถให้เกิดเป็นคนที่ไม่พิการได้ด้วยเหตุนี้จึงเป็นความต่างระหว่างอุเบกขาสันตีรณกุศลวิบากและอุเบกขาสันตีรณอกุศลวิบากเพราะฉะนั้นอกุศลวิบากเป็นผลที่ทำให้เกิดในอบายภูมิ กุศลวิบากเป็นผลให้เกิดในสุคติภูมิ

- คนที่เกิดเป็นมนุษย์เป็นผลของอะไร (เป็นผลของกุศลกรรม) และเกิดเป็นมนุษย์ที่พิการเป็นผลของอะไร (เป็นกุศลที่อ่อน) เพราะฉะนั้นทางฝ่ายกุศลให้ผลมากกว่าทางฝ่ายอกุศลใช่ไหม

- ถ้าเป็นผลของกุศลที่มีกำลังจะเป็นเหตุให้จิตอะไรปฏิสนธิ (ปฏิสนธิที่ประกอบด้วยเหตุ) เพราะฉะนั้นเข้าใจแล้วไม่ลืมเป็นธรรมทั้งหมด เริ่มรู้ตั้งแต่เกิดว่าไม่ใช่เราหรือใครแต่เป็นธรรม

- สันตีรณอกุศลวิบากทำกิจอะไรบ้าง (ทำ ๕ กิจคือ ปฏิสนธิ ภวังค์ จุติ สันตีรณะและตทาลัมพนะ) สันตีรณกุศลวิบากทำกี่กิจ (สันตีรณะที่เกิดกับอุเบกขาเวทนาทำได้ ๕ กิจ ที่เกิดกับโสมนัสเวทนาทำได้ ๒กิจ คือ เฉพาะสันตีรณะกับตทาลัมพนะ ไม่สามารถทำปฏิสนธิ ภวังค์ และจุติได้) เก่งมากไม่ลืม เพราะฉะนั้นเป็นเรื่องที่เราจะเข้าใจความละเอียดของธรรมว่า แม้ว่าเป็นจิตที่เป็นประเภทเดียวกันแต่ก็ทำกิจต่างกัน

- ปัญจทวาราวัชนจิตทำกี่กิจ (๑) มโนทวาราวัชชนจิตทำกี่กิจ (๒ คือ โวฏฐัพพนะและอาวัชชนะ) ทำโวฏฐัพพนะทางทวารไหน (ตอบแล้วว่าปัญจวิญญาณ) ทางปัญจทวารและทางมโนทวารทำกิจอะไร (ทำกิจอาวัชชนะ) ทางมโนทวารใช่ไหม

- มโนทวาราวัชชนจิตเกิดทางทวารไหนได้บ้าง เกิดได้กี่ทวาร (๖) ถูกต้อง แต่ว่าจิตนี้จะเรียกชื่ออะไรดีทำกิจ ๒ กิจทางปัญจทวารทำโวฏฐัพพนกิจ ๑ กิจและทางมโนทวารทำมโนทวาราวัชชนจิต เพราะฉะนั้นจะเรียกชื่อไหนดี (คุณอาช่าตอบว่าสำคัญตรงชื่อหรือเปล่าแต่อยู่ที่ความเข้าใจ) แต่ว่าจะเรียกชื่อไหน มี ๒​ ชื่อ จะได้แน่นอนว่า จิตนี้ทำได้ ๒ กิจ ทำได้ ๖ ทวารแล้วจะเอาชื่อไหน (เลือกไม่ถูก)

- เพราะจิตนี้ทำได้ ๖ ทวารแต่ว่าจิตอื่นทำได้ทวาร ๑​ ๒ ๓ ๔ ๕ เป็นต้น เพราะฉะนั้นชื่อที่ทุกคนเรียก ไม่ว่าจะมีจิตทางปัญจทวารหรือไม่มีจิตทางปัญจทวารก็ตาม จิตนี้ยังสามารถเกิดได้ทางใจจึงใช้ชื่อว่ามโนทวาราวัชชนจิต เพราฉะนั้นจิตที่ต้องทำกิจนี้แน่นอนเป็น มโนทวาราวัชชนจิตเพราะว่า ถึงไม่มีทวารทั้ง ๕ เลย จิตนี้ก็เกิดทำกิจนี้ได้ เพราะฉะนั้นต่อไปนี้เราจะเรียกว่า มโนทวาราวัชชนจิตทำ ๒ กิจ

- มโนทวาราวัชชนจิตทำกิจอะไรทางทวารทั้ง ๕ (ทำกิจโวฏฐัพพนะ) เพราะฉะนั้นเมื่อโวฏฐัพพนะดับไปแล้วจิตอะไรเกิดต่อ (ชวนะเกิดต่อ) เพราะฉะนั้นจิตนี้ต้องเกิดก่อนชวนะทุกครั้งไม่ว่าจะทวารไหน ถ้าจิตนี้ไม่เกิดก่อนไม่ว่าทวารไหนชวนะเกิดไม่ได้เลย ด้วยเหตุนี้จิตนี้จึงมีอีกชื่อหนึ่งว่า “ชวนปฏิปาทกมนสิการ” ถ้าเกิดจากปัญจทวารจิตนี้ทำโวฏฐัพพนกิจเกิดก่อนชวนะเปิดทางให้กุศลและอกุศลสำหรับคนที่ไม่ใช่พระอรหันต์เกิดขึ้น

- ถ้าเป็นทางใจ มโนทวาร จิตนี้เกิดก่อนชวนะแต่ทำ “มโนทวาราวัชชนะ” เปิดทางใจให้อารมณ์เกิดขึ้นทางใจแต่ต้องเกิดก่อนชวนจิตทุกครั้ง เข้าใจดีนะคะ (เข้าใจ) ถ้าอย่างนั้นถามว่า มโนทวาราวัชชนจิตเกิดได้กี่ทวาร (๖) รู้อารมณ์ได้กี่อารมณ์ (๖) ถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นทางปัญจทวารก็เกิดก่อนชวนะ ไม่ว่าจะเป็นทางมโนทวารก็เกิดก่อนชวนะจึงเป็น “ชวนปฏิปาทกมนสิการ”

- ปัญจทวาราวัชชนจิตเกิดทางมโนทวารได้ไหม (ไม่ได้) ปัญจทวาราวัชชนจิตทำกี่กิจ (๑) ทางทวารไหน (ปัญจทวาร) ​ ถ้าปัญจทวาราวัชชนจิตไม่เกิดวิถีจิตอื่นๆ ทางปัญจทวารเกิดได้ไหม (ไม่ได้) ด้วยเหตุนี้ปัญจทวาราวัชชนจิตจึงมีอีกชื่อหนึ่งว่า “วิถีปฏิปาทกมนสิการ” หมายความว่าเป็น “วิถีจิตแรก” ของทาง ๕ ทวาร

- มโนทวาราวัชชนจิตเกิดทางปัญจทวารได้ไหม (ได้) มโนทวาราวัชชนจิตทำอาวัชชนกิจทางปัญจทวารได้ไหม (โวฏฐัพพนะก็คือกิจอาวัชชนกิจ) ​ไม่ใช่ค่ะ เป็นโวฏฐัพพนกิจไม่ใช่อาวัชชนกิจในกิจทั้งหมด เพราะฉะนั้นมโนทวาราวัชชนจิตจะเป็นจิตที่ทำกิจแรกทางปัญจทวารไม่ได้

- เพราะฉะนั้นปัญจทวาราวัชชนจิตกับมโนทวาราวัชชนจิตอะไรทำกิจมากกว่ากัน (มโนทวาราวัชชนจิต) เพราะอะไร (เพราะมโนทวาราวัชชนะทำได้ ๒ กิจคือ โวฏฐัพพนะและอาวัชชนะ ส่วนปัญจทวาราวัชชนะทำได้เฉพาะกิจอาวัชชนะ)

- มโนทวาราวัชชนจิตทำอาวัชชนกิจทางมโนทวารได้ไหม (ได้) ทำมโนทวาราวัชชนจิตทำโวฏฐัพพนกิจทางมโนทวารได้ไหม (ไม่ได้) เพราะฉะนั้นต่อไปนี้โล่งใจสบายใจไหม เข้าใจทั้งหมดของอเหตุกจิต

- เพราะฉะนั้นกุศลจิตทำปฏิสนธิกิจได้ไหม (ไม่ได้) อกุศลจิตทำปฏิสนธิกิจได้ไหม (ไม่ได้) จักขุวิญญาณทำอาวัชชนกิจได้ไหม (ไม่ได้) สัมปฏิจฉันนะทำชวนกิจได้ไหม (ไมได้) สันตีรณะทำทัสสนกิจได้ไหม (ไม่ได้) กุศลจิตทำโวฏฐัพพนกิจได้ไหม (ไม่ได้) กุศลจิตทำชวนกิจได้ไหม (ได้) ทำกิจอื่นนอกจากชวนกิจได้ไหม (ไม่ได้แต่ไม่มั่นใจ) คำถามถามว่าอย่างไร (กุศลจิตทำกิจอื่นนอกจากชวนกิจได้ไหม) ถ้าไม่แน่ใจก็คิดว่า ทำปฏิสนธิได้ไหม ทำภวังค์ได้ไหม ทำจุติได้ไหม ทำอาวัชชนกิจได้ไหมทำทัสสนกิจได้ไหม ทำสัมปฏิจฉันนะได้ไหม ถ้าไม่แน่ใจก็ทวนทั้งหมดที่เป็นกิจแล้วจะรู้ว่าทำได้หรือทำไม่ได้

- (พิจารณาดูแล้วก็สรุปว่า กุศลจิตนอกจากชวนะแล้วทำกิจอื่นไม่ได้) แสดงว่า เข้าใจจริงๆ ไม่ใช่ตัวหนังสือว่าอย่างนั้นอย่างนี้ทำให้เข้าใจตามนั้นที่ผิด ความเป็นจริงต้องเป็นจริง

- เพราะฉะนั้นต่อไปนี้จะได้ศึกษาเรื่องจิตที่ประกอบด้วยเหตุเพราะว่าจิตอะไรเกิดมากกว่ากันในหนึ่งๆ จิตที่ประกอบด้วยเหตุหรือจิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุ (เข้าใจว่าวันๆ เกิดทางมโนทวารมากกว่า)

- วันหนึ่งๆ ผลของกุศลเกิดมากหรือว่ากุศลอกุศลเกิดมากกว่า (คุณมานิชตอบว่า อกุศลวิบากจะมากกว่า) เป็นเรื่องที่ไม่รู้แน่นอนจนกว่าสภาพธรรมนั้นจะปรากฏ (คุณสุคินไม่แน่ใจว่าหมายถึงอะไร) หมายถึงว่า วิบากกับกุศลอกุศลประเภทไหนเกิดมากกว่ากัน (พิจารณาคิดไปถึงเรื่องภวังค์ด้วยเพราะเป็นผลของกุศลก็ต้องมากกว่าอยู่แล้วแต่ว่าไม่แน่ใจว่าหมายถึงอะไรแต่สรุปแล้วก็คือไม่สามารถรู้ได้)

- ถูกต้อง เพราะว่าความจริงตื่นกับหลับแต่ละวันก็รู้ไม่ได้ใช่ไหมว่า ตื่นมากหรือว่าหลับมาก

- ตอนนี้ไม่ทราบว่ามีคำถามเรื่องอเหตุกอีกไหม (ไม่มี) พร้อมที่จะต่อไปถึงจิตประเภทอื่นใช่ไหม (ได้)

- อเหตุกะมีเหตุอะไรเกิดร่วมด้วยไหม (คุณสุคินถามคุณอาช่าอีกแบบว่า อเหตุกจิตมีปัจจัยให้เกิดไหมคุณอาช่าตอบว่าทุกจิตต้องมีปัจจัย คุณสุคินถามต่อว่ามีเหตุปัจจัยได้ไหม คุณอาช่าตอบว่าไม่ได้) ก็เข้าใจดี นกกับงูมีอเหตุกจิตไหม (มี) มีกุศลจิตอกุศลจิตไหม (มี) มีกุศลจิตอะไรบ้าง (เช่นมีเมตตาวิรัติทุจริตต่างๆ )

- สำหรับเราถ้าเรารู้ว่า ขณะไหนเป็นกุศลหรืออกุศล เราก็พอจะรู้ได้ว่าขณะที่สัตว์เหล่านั้นมีจิตต่างๆ เหล่านี้จึงเป็นกุศลหรืออกุศลใช่ไหม แต่ก็ไม่ตรงกับสภาพธรรม เพียงแต่รู้เรื่องราวของธรรม คราวหน้าเราก็จะสนทนาเรื่องจิตที่ประกอบด้วยเหตุ

- สวัสดีค่ะ ยินดีกับกุศลของทุกคนนะคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
prinwut
วันที่ 14 ต.ค. 2566

กราบเท้าท่านอาจารย์สุจินต์ ด้วยความเคารพยิ่ง

กราบขอบพระคุณและยินดีในกุศลของคุณสุคิน คุณอาช่า คุณมานิช และสหายธรรมชาวอินเดียทุกท่าน

ขอบพระคุณและยินดีในกุศลของพี่สา อัญชิสา ในควาใช่วยเหลือตรวจทาน

กราบขอบพระคุณและกราบอนุโมทนาในกุศลอาจารย์คำปั่นทุกประการครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 14 ต.ค. 2566

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ที่เคารพยิ่ง
กราบยินดีในกุศลของคุณสุคิน ผู้ถ่ายทอดคำท่านอาจารย์เป็นภาษาฮินดี
ขอบพระคุณและยินดีในกุศลวิริยะของพี่ตู่ ปริญญ์วุฒิ เป็นอย่างยิ่ง ที่ถอดคำสนทนาของท่านอาจารย์ ทุกคำ เป็นประโยชน์เกื้อกูลอย่างยิ่ง
และยินดีในกุศลของผู้ช่วยตรวจทาน และยินดีในกุศลของทุกๆ ท่านด้วยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
chatchai.k
วันที่ 14 ต.ค. 2566

กราบเท้าท่านอาจารย์สุจินต์ ด้วยความเคารพยิ่ง

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
siraya
วันที่ 16 ต.ค. 2566

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ