ทุติยอัปปมาทสูตร - ๐๑ ก.ย. ๒๕๕๐
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ
ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ
สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ
••• ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย •••
สนทนาธรรมที่มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
พระสูตร ที่นำมาสนทนาที่มูลนิธิฯ
วันเสาร์ ๑ ก.ย. ๒๕๕๐
เวลา ๐๙:๐๐ - ๑๒:๐๐ น.
ทุติยอัปปมาทสูตร
[เล่มที่ 24] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 482
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 482
๘. ทุติยอัปปมาทสูตร
[๓๘๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ . . . กรุงสาวัตถี . . . พระเจ้าปเสนทิโกศลประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความปริวิตกแห่งใจบังเกิดขึ้นแก่ข้าพระองค์ผู้เข้า ห้องส่วนตัวพักผ่อนอยู่อย่างนี้ว่า ธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้วนั่นแหละ สำหรับผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีจิตน้อมไปในคนที่ดี ไม่ใช่สำหรับผู้มีมิตรชั่ว มีสหายชั่ว มีจิตน้อมไปในคนที่ชั่ว
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนมหาบพิตร ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ดูก่อนมหาบพิตร ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ธรรมที่อาตมาภาพกล่าวดีแล้วนั่นแหละ สำหรับผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีจิตน้อมไปในคนดี ไม่ใช่สำหรับผู้มีมิตรชั่ว มีสหายชั่ว มีจิตน้อมไปในคนที่ชั่ว
[๓๘๒] ดูก่อนมหาบพิตร สมัยหนึ่ง อาตมภาพอยู่ที่นิคมของหมู่ เจ้าศากยะ ชื่อว่านครกะ สักกชนบท ครั้งนั้น ภิกษุอานนท์ เข้าไปหาอาตมภาพ อภิวาท แล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ดูก่อนมหาบพิตร ภิกษุอานนท์ ได้กล่าวกะอาตมภาพว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีจิตน้อมไปในคนที่ดี เป็นคุณกึ่งหนึ่งแห่งพรหมจรรย์ ดูก่อนมหาบพิตร เมื่อภิกษุอานนท์กล่าวอย่างนี้แล้ว อาตมภาพได้กล่าวกะภิกษุอานนท์ว่า ดูก่อน อานนท์ เธออย่ากล่าวอย่างนั้น ดูก่อนอานนท์ ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีจิตน้อมไปในคนที่ดีนี้ เป็นพรหมจรรย์ทั้งหมดเลย ดูก่อนอานนท์ นี่ภิกษุ ผู้มีมิตรดีพึงปรารถนา ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีจิตน้อมไปในคนที่ดี จัก เจริญอริยมรรคมีองค์แปด จักกระทำซึ่งอริยมรรคมีองค์แปดให้มากได้
[๓๘๓] ดูก่อนอานนท์ ก็ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีจิตน้อมไปใน คนที่ดี ย่อมเจริญอริยมรรคมีองค์แปด ย่อมกระทำซึ่งอริยมรรคมีองค์แปดให้ มากได้อย่างไร
ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในศาสนานี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละคืน ย่อมเจริญสัมมาสังกัปปะ... ย่อมเจริญสัมมาวาจา . . . ย่อมเจริญสัมมากัมมันตะ . . . ย่อมเจริญสัมมาอาชีวะ ... ย่อมเจริญสัมมาวายามะ . . . ย่อมเจริญสัมมาสติ . . . ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละคืน ดูก่อนอานนท์ ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีจิตน้อมไปในคนที่ดี ย่อมเจริญอริยมรรคมีองค์แปด ย่อมกระทำซึ่งอริยมรรคมีองค์แปดให้มากได้ อย่างนี้แล
ดูก่อนอานนท์ โดยปริยายแม้นี้ พึงทราบว่า ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีจิตน้อมไปในคนที่ดี นี้เป็นพรหมจรรย์ทั้งหมดทีเดียว ดูก่อนอานนท์ ด้วยว่าอาศัยเราเป็นมิตรดี สัตว์ทั้งหลายผู้มีความเกิด เป็นธรรมดา ย่อมหลุดพ้นจากความเกิดได้ สัตว์ทั้งหลายผู้มีด้วยามแก่เป็น ธรรมดา ย่อมหลุดพ้นจากความแก่ได้ สัตว์ทั้งหลายผู้มีความเจ็บป่วยเป็น ธรรมดา ย่อมหลุดพ้นจากความเจ็บป่วยได้ สัตว์ทั้งหลายผู้มีความตายเป็น ธรรมดา ย่อมหลุดพ้นจากความตายได้ สัตว์ทั้งหลายผู้มีความโศก ความร่ำไร ความทุกข์ ความเสียใจ และความคับแค้นใจเป็นธรรมดา ย่อมหลุดพ้นจาก ความโศก ความร่ำไร ความทุกข์ ความเสียใจ และความคับแค้นใจได้ ดูก่อนอานนท์ โดยปริยายนี้แล พึงทราบว่า ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีจิตน้อมไปในคนที่ดีนี้ เป็นพรหมจรรย์ทั้งหมด
[๓๘๔] ดูก่อนมหาบพิตร เพราะเหตุนั้นแหละ พระองค์พึงทรง สำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีจิตน้อมไปในคนที่ดี ดูก่อนมหาบพิตร พระองค์พึงทรงสำเหนียกอย่างนี้แล. ดูก่อนมหาบพิตร ธรรมอย่างหนึ่งนี้ คือความไม่ประมาทในกุศลธรรม ทั้งหลาย พระองค์ผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีจิตน้อมไปในคนที่ดี พึงทรงอาศัย อยู่เถิด
ดูก่อนมหาบพิตร เมื่อพระองค์ไม่ประมาท อาศัยความไม่ประมาท หมู่นางสนมผู้ตามเสด็จจักมีความคิดอย่างนี้ว่า พระราชาเป็นผู้ไม่ประมาท อาศัยความไม่ประมาท ถ้ากระนั้น แม้พวกเราก็จักเป็นผู้ไม่ประมาท อาศัย ความไม่ประมาท
ดูก่อนมหาบพิตร เมื่อพระองค์ไม่ประมาท อาศัยความไม่ประมาท แม้กษัตริย์ทั้งหลายผู้ตามเสด็จจักมีความคิดอย่างนี้ว่า พระราชาเป็นผู้ไม่ประมาท อาศัยความไม่ประมาท ถ้ากระนั้น แม้พวกเราก็จักเป็นผู้ไม่ประมาท อาศัย ความไม่ประมาท
ดูก่อนมหาบพิตร เมื่อพระองค์ไม่ประมาท อาศัยความไม่ประมาท แม้กองทัพ (ข้าราชการฝ่ายทหาร) ก็จักมีความคิดอย่างนี้ว่า พระราชาเป็นผู้ ไม่ประมาท อาศัยความไม่ประมาท ถ้ากระนั้น แม้พวกเราก็จักเป็นผู้ไม่ ประมาท อาศัยความไม่ประมาท
ดูก่อนมหาบพิตร เมื่อพระองค์ไม่ประมาท อาศัยความไม่ประมาท แม้ชาวนิคมและชาวชนบทก็จักมีความคิดอย่างนี้ว่า พระราชาเป็นผู้ไม่ประมาท อาศัยความไม่ประมาท ถ้ากระนั้น แม้พวกเราก็จักเป็นผู้ไม่ประมาท อาศัย ความไม่ประมาท
ดูก่อนมหาบพิตร เมื่อพระองค์ไม่ประมาท อาศัยความไม่ประมาท แม้พระองค์เองก็จักเป็นผู้ได้รับคุ้มครองแล้ว ได้รับรักษาแล้ว แม้หมู่นางสนม ก็จักเป็นผู้ได้รับคุ้มครองแล้ว ได้รับรักษาแล้ว แม้เรือนคลังก็จักเป็นอันได้ รับคุ้มครองแล้ว ได้รับรักษาแล้ว
[๓๘๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้พระสุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณ์ คำร้อยแก้วนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาคำร้อยกรองต่อไปอีกว่า บุคคลผู้ปรารถนาโภคะอันโอฬาร ต่อๆ ไป พึงบำเพ็ญความไม่ประมาท บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมสรรเสริญความไม่ ประมาทในบุญกิริยาทั้งหลาย บัณฑิตผู้ ไม่ประมาทย่อมยึดไว้ได้ซึ่งประโยชน์ทั้ง ๒ คือประโยชน์ปัจจุบัน และประโยชน์ ในภพหน้า เพราะยึดไว้ได้ซึ่งประโยชน์ นั้น ผู้มีปัญญาท่านจึงเรียกว่า "บัณฑิต"
อรรถกถาทุติยอัปปมาทสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในที่อัปปมาทสูตรที่ ๘ ต่อไป :-
บทว่า โส จ โข กลฺยาณมิตฺตสฺส ความว่า ก็ธรรมนี้นั้น ย่อม ชื่อว่า สวากขาตธรรมของผู้มีมิตรดีเท่านั้น หาใช่สวากขาตธรรมของผู้มีมิตร ชั่วไม่ จริงอยู่. ธรรมเป็นสวากขาตธรรม แม้ของทุกคนก็จริง ถึงอย่างนั้น ย่อมทำประโยชน์ให้เต็มแก่ผู้มีมิตรดี ผู้ตั้งใจฟังด้วยดี ผู้เชื่อถือ เหมือนยา เป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้ หาเป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่ใช้ไม่ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มี พระภาคเจ้าจึงตรัสคำนี้ พึงทราบว่าเทศนาธรรม ในคำว่า ธมฺโม นี้. บทว่า อุปฑฺฒมิท ความว่า ได้ยินว่า พระเถระเจ้าไปในที่ลับคิด ว่า เมื่อมิตรดีผู้โอวาทพร่ำสอนมีอยู่ สมณธรรมนี้ย่อมสำเร็จประโยชน์แก่ผู้ตั้ง อยู่ในความพยายามเฉพาะตัว ดังนั้น พรหมจรรย์กึ่งหนึ่งมาจากมิตรดี กึ่งหนึ่ง มาจากความพยายามเฉพาะตัว
ครั้งนั้น พระเถระดำริว่า เราอยู่ในปเทสญาณ (ญาณในธรรมบางส่วน) รู้บางส่วน ไม่อาจคิดได้หมดทุกส่วน จำต้องทูลถาม พระศาสดา จึงจักหมดสงสัย เพราะฉะนั้น ท่านจึงเข้าไปเฝ้าพระศาสดาแล้ว กล่าวอย่างนั้น
บทว่า พฺรหฺมจริยสฺส ได้แก่ อริยมรรค
บทว่า ยทิท กลฺยาณมิตฺตตา ความว่า ความเป็นผู้มีมิตรดีที่ได้ ย่อมมาสู่พรหมจรรย์กึ่งหนึ่ง จากพรหมจรรย์กึ่งหนึ่ง ดังนั้น พระเถระจึงกล่าวว่า อริยมรรคมีสัมมาทิฏฐิเป็น ต้นครึ่งหนึ่ง ย่อมมาจากความเป็นผู้มีมิตรดี อีกครั้งหนึ่ง ย่อมมาจากความ พยายามเฉพาะตัว ก็จริงอยู่ นี้เป็นความปรารถนาของพระเถระ แท้จริง แม้ในที่นี้ ธรรมที่แบ่งแยกไม่ได้นี้ ก็ไม่อาจแบ่งแยกได้ว่า บรรดาอริยมรรค มีสัมมาสัมทิฏฐิ เป็นต้น เท่านี้เกิดจากความมีมิตรดี เท่านี้เกิดจากความพยายาม เฉพาะตน เปรียบเหมือนเมื่อคนมากคนยกเสาหิน ก็แบ่งแยกไม่ได้ว่า ที่เท่านี้ คนโน้นยก ที่เท่านี้คนโน้นยก และเหมือนอย่างว่า เมื่อบุตรอาศัยมารดาบิดา เกิดขึ้น ก็แบ่งแยกไม่ได้ว่าเกิดจากมารดาเท่านี้ เกิดจากบิดาเท่านี้ ฉะนั้น. ถึง กระนั้น พรหมจรรย์ชื่อว่ากึ่งหนึ่ง ตามอัธยาศัยของพระเถระว่า เพราะเป็นผู้ มีมิตรดี ก็ได้คุณกึ่งหนึ่ง พรหมจรรย์ชื่อว่าทั้งสิ้น ตามอัธยาศัยของพระผู้มีพระ ภาคเจ้าว่า ก็ได้คุณทั้งสิ้น ก็ดีว่า กลฺยาณมิตฺตตา นี้ท่านถือว่า ชื่อว่า ได้คุณที่เป็นส่วนเบื้องต้น ว่าโดยใจความ ก็ได้แก่ขันธ์ ๔ คือ ศีลขันธ์ สมาธิ ขันธ์ วิปัสสนาขันธ์ อันอาศัยกัลยาณมิตรได้มา อาจารย์บางพวกกล่าวว่า สังขารขันธ์ก็มี
บทว่า มา เหว อานนฺท ความว่า อยู่าพูดอย่างนี้ เธอเป็นพหูสูต บรรลุปฏิสัมภิทาฝ่ายเสขะ รับพร ๘ ประการ แล้วอุปัฏฐากเรา เธอผู้ประกอบ ด้วยอัจฉริยัพภูตธรรม ๔ ประการ ไม่ควรกล่าวอย่างนี้ แก่บุคคลเช่นนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดำนี้ว่า ดูก่อนอานนท์ ความมีมิตรดี ความมีสหายดี ความมีเพื่อนดี เป็นพรหมจรรย์ทั้งสิ้น ดังนี้ ทรงหมายว่า มรรค ๔ ผล ๔ วิชชา ๓ อภิญญา ๖ ทั้งหมด มีมิตรดีเป็นมูลทั้งนั้น. บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดง เหตุ โดยการเปล่งพระวาจานั่นแล จึงตรัสดำว่า กลฺยาณมิตฺตสฺเสต เป็น ต้น. บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า ปาฏิกงฺข ความว่า พึงหวัง พึงปรารถนา ว่ามีอยู่แท้.
บทว่า อิธ แปลว่า ในศาสนานี้. ก่อนอื่น อาทิบททั้ง ๘ ใน คำว่า สมฺมาทิฏฺึ ภาเวติ เป็นต้น มีพรรณนาสังเขปดังนี้ สัมมาทิฏฐิมี ลักษณะเห็นชอบ สัมมาสังกัปปะ มีลักษณะยกสหชาตธรรมขึ้นสู่อารมณ์ชอบ สัมมาวาจา มีลักษณะกำหนดอารมณ์ชอบ สัมมากัมมันตะ มีลักษณะตั้งตนไว้ ชอบ สัมมาอาชีวะ มีลักษณะทำอารมณ์ให้ผ่องแผ้วชอบ. สัมมาวายามะ มี ลักษณะประคองชอบ สัมมาสติ มีลักษณะปรากฏชอบ สัมมาสมาธิ มีลักษณะ ตั้งมั่นชอบ บรรดามรรคมีองค์ ๘ นั้น มรรคองค์หนึ่งๆ มีกิจ ๓ คือ ก่อนอื่น สัมมาทิฏฐิ ย่อมละมิจฉาทิฏฐิ พร้อมกับเหล่ากิเลสที่เป็นข้าสึกของตนอย่างอื่นๆ ๑ ทำนิโรธให้เป็นอารมณ์ ๑ และเห็นสัมปยุตธรรมเพราะไม่ลุ่มหลง โดยกำจัด โมหะอันปกปิดสัมปยุตธรรมนั้น ๑ แม้สัมมาสังกัปปะเป็นต้น ก็ละมิจฉาสังกัปปะเป็นต้น และทำนิโรธให้เป็นอารมณ์ อย่างนั้นเหมือนกัน แต่โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง ในมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมาสังกัปปะ ย่อมยกอารมณ์ขึ้นสู่สหชาตธรรม
สัมมาวาจา ย่อมกำหนดถือเอาชอบ สัมมากัมมันตะ ย่อมตั้งตนไว้ ชอบ สัมมาอาชีวะ ย่อมผ่องแผ้วชอบ สัมมาวายามะ ย่อมประคองความ เพียรชอบ สัมมาสติ ย่อมตั้งไว้ชอบ สัมมาสมาธิ ย่อมตั้งมั่นชอบ. อนึ่งเล่า ธรรมดาสัมมาทิฏฐินี้ ในส่วนเบื้องต้น ย่อมมีขณะต่างๆ มี อารมณ์ต่างๆ แต่ในขณะมรรคจิตมีขณะอันเดียว มีอารมณ์อย่างเดียว แต่ ว่าโดยกิจ ย่อมได้ชื่อ ๔ ชื่อ มี ทุกฺเข าณ รู้ในทุกข์ดังนี้เป็นต้น แม้ สัมมาสังกัปปะเป็นต้น ในส่วนเบื้องต้น ก็มีขณะต่างกัน มีอารมณ์ต่างกัน แต่ ในขณะแห่งมรรคจิต ย่อมมีขณะอันเดียว มีอารมณ์อย่างเดียว ในมรรคมี องค์ ๘ นั้น สัมมาสังกัปปะว่าโดยกิจ ย่อมได้ชื่อ ๓ ชื่อ มีเนกขัมมสังกัปปะ เป็นต้น. สัมมาวาจาเป็นต้น ย่อมเป็นวิรัติ ๓ บ้าง เป็นเจตนาเป็นต้นบ้าง แต่ในขณะแห่งมรรคจิต ก็เป็นวิรัติเท่านั้น
สัมมาวายามะและสัมมาสติทั้งสองดังว่ามานี้ ว่าโดยกิจ ก็ได้ชื่อ ๔ ชื่อโดย สัมมัปปธาน ๔ สติปัฏฐาน ๔ ส่วนสัมมาสมาธิ ทั้งในส่วนเบื้องต้น ทั้งในขณะ แห่งมรรคจิต ก็สมาธิอย่างเดียว. ครั้นทราบการพรรณนาอาทิบททั้ง ๘ ที่ท่าน กล่าวโดยนัยว่า สมฺมทิฏฺึ ดังนี้เป็นต้นอย่างนี้ก่อนแล้ว บัดนี้ พึงทราบ ความ ในคำว่า ภาเวติ วิเวกนิสฺสิต เป็นต้น ดังนี้
บทว่า ภาเวติ แปลว่าเจริญ อธิบายว่า ทำให้เกิด บังเกิดในจิตสันดานของตน.
บทว่า วิเวกนิสฺสิต แปลว่า อาศัยวิเวก
บทว่า วิเวโก ได้แก่ ความเป็นผู้สงัด พึงทราบความดังนี้ว่า ความเป็นผู้สงัดนี้ ได้แก่ วิเวก ๕ อย่างคือ ตทังควิเวก วิกขัมภนวิเวก สมุจุเฉทวิเวก ปฏิปัสสัทธิวิเวก นิสสรณวิเวก วิเวกมี ๕ อย่างดังนี้
บทว่า วิเวกนิสฺสิต ก็ได้แก่ เจริญสัมมาทิฏฐิ ที่อาศัย ตทังควิเวก อาศัยสมุจเฉทวิเวก และอาศัยนิสสรณจะวก อนึ่งเล่า พระโยคี [โยคาวจร] ผู้ประกอบเนืองๆ ซึ่งอริยมรรคภาวนานี้ ในขณะเจริญวิปัสสนา ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ ที่อาศัยตทังควิเวก โดยกิจ ที่อาศัยนิสสรณวิเวกโดย อัธยาศัย แต่ในขณะแห่งมรรคจิต ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิที่อาศัยสมุจเฉทวิเวกโดย กิจ ที่อาศัยนิสสรณวิเวกโดยอารมณ์ ในบทว่าที่อาศัยวิราคะเป็นต้น ก็นัยนี้ ก็วิราคะเป็นต้น ก็มีวิเวกความสงัดเป็นอรรถนั่นแหละ ก็ในที่นี้อย่าง เดียว โวสสัคคะ มี ๒ อย่างคือ ปริจาคโวสสัคคะ และปักขันทนโวสสัคคะ. บรรดาโวสสัคคะ ๒ อย่างนั้น การละกิเลสด้วยอำนาจตทังคปหานในขณะเจริญ วิปัสสนา และการละกิเลสด้วยอำนาจสมุจเฉทปหาน ในขณะแห่งมรรคจิตชื่อ ว่าปริจาคโวสสัคคะ. ในขณะเจริญวิปัสสนา ก็แล่นไปสู่พระนิพพานด้วยความ เป็นผู้น้อมไปในพระนิพพานนั้น แต่ในขณะแห่งมรรคจิต ก็แล่นไปสู่พระนิพพาน ด้วยการทำพระนิพพานให้เป็นอารมณ์ ชื่อว่าปักขันทนโวสสัคคะ. โวสสัคคะแม้ทั้งสองนั้น ย่อมควรในอรรถกถานัย ที่ผสมทั้งโลกิยะและโลกุตระ นี้. จริงอย่างนั้น สัมมาทิฏฐินี้ ย่อมสละกิเลสและแล่นไปสู่พระนิพพาน โดย ประการตามที่กล่าวแล้ว ด้วยคำทั้งสิ้นนี้ว่า โวสฺสคฺคปริณามึ ท่านอธิบายไว้ ดังนี้ว่า กำลังน้อมไปและน้อมไปแล้ว กำลังบ่มและบ่มสุกแล้ว เพื่อโวสสัคคะ. จริงอยู่ ภิกษุผู้ประกอบเนืองๆ ซึ่งอริยมรรคภาวนานี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ โดยอาการที่สัมมาทิฏฐินั้น กำลังบ่มเพื่อโวสสัคคะคือการสละกิเลส และเพื่อ โวสสัคคะ คือการแล่นไปสู่พระนิพพาน และโดยอาการที่สัมมาทิฏฐินั้นบ่มสุก แล้ว ในองค์มรรคที่เหลือก็นัยนี้
บทว่า อาคมฺม ได้แก่ ปรารภหมายถึง อาศัยแล้ว
บทว่า ชาติธมฺมา ได้แก่มีการเกิดเป็นสภาวะ คือมีการเกิดเป็นปกติ [ธรรมดา]
บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะเหตุที่แม้อริยมรรคทั้งสิ้นอาศัยกัลยาณมิตรจึงได้ ฉะนั้น ศัพท์ว่า หนฺท เป็นนิบาตลงในอรรถว่าเชื้อเชิญ
บทว่า อปฺปมาท ปสสนฺติ ได้แก่ บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญความไม่ประมาท เพราะฉะนั้น จึงควรทำความไม่ประมาท
บทว่า อตฺถาภิสมยา แปลว่า เพราะได้ประโยชน์
จบ อรรถกถาทุติยอัปปมาทสูตรที่ ๘
เพื่อนดีเป็นทั้งหมดของพรหมจรรย์คือการบรรลุธรรมเลยนะ
ขออนุโมทนา
วันนี้ได้เข้าไปเยี่ยม ที่มูลนิธิ ตอนบ่าย คุณเต้ยมาต้อนรับ แล้วพาไปกราบพระบรมสารีริกธาตุที่ อัญเชิญมาจากประเทศอินเดีย เลยขออธิฐาน ว่าหากข้าพเจ้ามีบุญกุศลที่ถึงพร้อม ขอให้ได้มีโอกาสมาได้ยินได้ฟังท่านอ.สุจินต์ และที่สำคัญขอให้เกิดปัญญาด้วย ขอขอบคุณคุณเต้ย กัลยาณมิตรด้วยคะ ที่ให้หนังสือ พระอภิธรรมมาอ่านล่วงหน้า บอกคุณเต้ยว่า เป้าหมาย ขอเป็นครูสอนพระอภิธรรมคะ
ขอความสุขและเจริญในธรรม
ธนภร (นวล)
กรุณาช่วยอธิบาย ความเห็นที่ 2
อรรถกถาทุติยอัปปมาทสูตร
เพราะอ่านแล้วไม่เข้าใจ ตรงข้อความที่ว่า วิชชา ๓ อภิญญา ๖ หมายถึงอะไร และ ข้อความจาก บรรดามรรคมีองค์ ๘ นั้น มรรคองค์หนึ่งๆ มีกิจ ๓ ขอความกรุณาอธิบาย สรุปให้หน่อยนะค่ะ
กราบขอบพระคุณมากค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
วิชชา ๓ และอภิญญา ๖ เป็นคุณธรรมที่บุคคลผู้ที่บรรลุเป็นพระอรหันต์ บางรูปได้ คือ ได้ วิชชา ๓ และ อภิญญา ๖ วิชชา ก็มี
1. ระลึกชาติได้
2. เห็นสัตว์เกิด สัตว์ตาย เป็นต้น
3. ปัญญาที่ดับกิเลสได้
ส่วนอภิญญา ๖ ก็เพิ่ม จาก วิชชา ๓ อีก ๓ คือ แสดงฤทธิ์ได้ หูทิพย์ รู้ใจได้
ส่วนประเด็น มรรคองค์หนึ่งๆ ทำกิจ ๓ คือ เมื่อมรรคจิตเกิด ต้องมี มรรค มีองค์ ๘ มี สัมมาทิฎฐิ เป็นต้น สัมมาทิฏฐิ ก็เป็นมรรค องค์หนึ่ง ในมรรค ๘ เมื่อเกิดขึ้น สัมมาทิฎฐิ เมื่อเกิดขึ้น ทำหน้าที่ กิจ ๓ อย่างคือ
1. ละความเห็นผิดขณะนั้นและกิเลสประการต่างๆ
2. ทำนิโรธให้เป็นอารมณ์ คือ ขณะนั้น สัมมาทิฏฐิ มีนิพพานเป็นอารมณ์
3. เห็นตาม ความเป็นจริงในสภาพธัมมะขณะนั้น
ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
ใครช่วยเหลือ ให้คำตอบด้วยคะ
สงสัยว่าทำไม ถึงได้มาฟังธรรมที่นี่ แล้ว ไม่มีใครชวนมา เปิดฟังจาก Web พลังจิตแล้ว ชื่นชอบเสียงท่านอาจารย์ เลยลอง Search ใน Google ด้วยชื่อท่านอาจารย์ เจอWeb บ้านธรรมะ พอได้ที่อยู่คืนนั้น รุ่งขึ้นก็เดินทางไปที่ซอย 78 แค่ 15 นาทีถึง ใกล้จัง เห็นสภาพแวดล้อมแล้ว ปิ้งเลย ความรู้สึกแรกโดยไม่ต้องคิด ที่นี่แหละ ต้องพยายามและตั้งใจเพียรเรียนธรรม วันเสาร์ที่ 1 กันยายน 2550 ได้พบกัลยาณมิตร คือคุณแก้ว รัชฎา ดูแล ขอขอบคุณในน้ำใจคะ ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา ท่านอาจารย์สุจินต์ ไม่ทอดทิ้งเลย ตลอดเวลายกเว้นเวลาเข้านอน มีท่านอาจารย์ ประทับอยู่ใน IPOD ชี้แนะให้ความเข้าใจ และเกิดปัญญาเจริญสติทุกวัน งานที่ทำราบรื่น คอยระวัง กาย วาจา ใจ เท่านี้เพียงพอ เอาตัวรอดได้ไปอีกชาติ
ไม่เป็นนักกีฬาข้ามชาติ หวังชาติหน้า
ช่วยบอกเอาบุญ จาก พจมาน สว่างวงศ์ ผู้หลงเข้ามาบ้านทรายทอง
ข้าพระพุทธเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น และขอน้อมรำลึกถึงพระพุทธโอวาท ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีจิตน้อมไปในคนที่ดีนี้ เป็นพรหมจรรย์ทั้งหมด. บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมสรรเสริญความไม่ประมาท ในบุญกิริยาทั้งหลาย บัณฑิตผู้ไม่ประมาท ย่อมยึดไว้ได้ซึ่งประโยชน์ทั้ง ๒ คือ ประโยชน์ปัจจุบัน และ ประโยชน์ในภพหน้า
ขออนุโมทนากัลยาณมิตร