สงสัย สัญญาเจตสิกกับสติเจตสิก
สัญญาเจตสิก คือ เจตสิกที่เกิดกับจิตทุกดวงมีลักษณะจำอารมณ์ที่จิตกำลังรู้
สติเจตสิก คือ เจตสิกที่เกิดกับกุศลจิตทุกดวงมีลักษณะระลึกได้ในกุศล ตั้งแต่ขั้นทาน ศีล ภาวนา
สติจึงจำปรารถนาในที่ทั้งปวง
สัญญาเจตสิกมีลักษณะจำ เกิดกับจิตทุกประเภท สติเจตสิกมีลักษณะระลึก เกิดโสภณจิตเท่านั้น
ขอเชิญคลิกอ่านได้ที่ ...
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
ถามว่า เมื่อวานทานอะไร
ตอบว่า แกงไก่ครับ จึงไม่ใช่พูดว่าจำได้ ชาวบ้านทั่วๆ ไป ก็จะบอกว่า จำได้ แต่จำได้ในที่นี้ไม่ใช่สัญญาเจตสิกที่นึกขึ้นได้ แต่เป็นวิตกเจตสิกที่นึกขึ้นได้ แต่สัญญาเขาทำหน้าที่จำ ตั้งแต่ตอนที่ทานแล้ว (เมื่อวาน) แต่นึกขึ้นได้เป็นวิตกเจตสิก แต่ถ้านึกขึ้นได้ (ระลึก) เป็นไปในทางกุศล เป็นหน้าที่ของ สติเจตสิก ไม่ใช่วิตกเจตสิกครับ
ขออนุโมทนา
ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
ทันทีที่เห็น ทันทีที่ได้ยิน ทันทีที่ได้กลิ่น ทันทีที่ลิ้มรส ทันทีที่กระทบสัมผัส สัญญาทำหน้าที่จำ จำทุกอย่างที่ดีและไม่ดี เช่น ขณะที่ได้ลิ้มรสอาหาร สัญญาก็จำว่าอาหารชนิดนี้อร่อย หรือไม่อร่อย เป็นต้น
ส่วนสติเจตสิกไม่เกิดร่วมกับทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐ เพราะขณะที่เห็น ฯลฯ เป็นวิบาก สติ จะเกิดกับจิตที่เป็นฝ่ายดีเท่านั้น สติเกิด มีปัญญาเกิดร่วมด้วยก็ได้ ไม่มีปัญญาเกิดร่วมด้วยก็ได้ เช่น ขณะที่ให้ทานมีสติเกิดร่วมด้วย แต่ไม่ประกอบด้วยปัญญาก็ได้ แต่ถ้าปัญญาเกิด ต้องมีสติเกิดร่วมด้วยเสมอค่ะ