วันออกพรรษา ตามพระธรรมวินัย

 
Nuchareeya
วันที่  4 พ.ย. 2566
หมายเลข  46914
อ่าน  641

สมาชิก Line OpenChat ชมรมบ้านธัมมะ มศพ. ผู้ใช้นามว่า CONNITE มีประเด็นสอบถามดังนี้

สืบเนื่องจากข้อความในสมุดปฏิทินบันทึกธรรม 2567 ตอนท้ายหน้าของเดือนตุลาคมระบุไว้ว่า

"วันขึ้น ๑๕ ค่ํา เดือน ๑๑ เปนวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจาเสด็จลงจากสวรรคชั้นดาวดึงส หลังจากที่ไดทรงแสดงพระอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดา

วันแรม ๑ คํ่า เดือน ๑๑ เปนวันออกพรรษา ตามพระธรรมวินัย"

ประเทศไทยเถรสมาคมทั่วไป วันออกพรรษาคือ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 และแรม 1 ค่ำ คือตักบาตรเทโว แม้กระทั่งปีนี้ ถ้าแตกต่างจากนี้ช่วยอธิบายด้วยว่ามาจากไหนครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 5 พ.ย. 2566

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ก็ต้องกล่าวตามหลักฐานที่ปรากฏในพระไตรปิฎกและอรรถกา เพราะมีที่มาทั้ง ๒ แห่ง วันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ หลังจากที่พระองค์เสด็จไปทรงแสดงพระอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดา ที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ซึ่งเป็นวันมหาปวารณา ตามข้อความใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ ๒๙๒ ดังนี้

... พระองค์ทรงแสดงพระอภิธรรมในภพดาวดึงส์นั้น ๓ เดือน ในวันมหาปวารณา ทรงแวดล้อมแล้วหมู่เทพ เป็นเทพยิ่งกว่าเทพ เสด็จจากเทวโลกลงสู่สังกัสนคร


และถ้ากล่าวถึงวันออกพรรษา ก็ต้องพิจารณาความจริงว่า เข้าพรรษา วันไหนตามพระวินัย คือ เข้าพรรษา วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ดังนั้น ที่จะครบ ๓ เดือน ก็ต้องเป็นวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ดังนั้น วันขั้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๑ จึงไม่ใช่วันออกพรรษาตามพระวินัย ภิกษุใด ไปค้างแรม ณ ที่อื่นในวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๑ ภิกษุนั้น เป็นผู้ขาดพรรษา วันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๑ เป็นวันมหาปวารณา คือ เปิดโอกาสให้ภิกษุที่อยู่ด้วยกันสามารถว่ากล่าวตักเตือนกันได้ ส่วนวันออกพรรษา ต้องเป็นวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑

ข้อความใน พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า ๓๐๖

แสดงไว้ชัดเจนว่า วันเข้าพรรษาสิ้นสุดวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๑ ซึ่งหมายความว่า ต้องอยู่ให้ครบวันขึ้น ๑๕ ค่ำก่อน ดังนี้

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วสฺสูปนายิกา แปลว่า วันเข้าพรรษา. บทว่า ปุริมิกา ความว่า เมื่อถึงวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ พึงเข้าพรรษา ๓ เดือนแรก มีวันเพ็ญเดือน ๑๑ เป็นที่สุด


ประเพณีตักบาตรเทโว มีมาในภายหลัง เพราะความจริง การตักบาตร หรือ การใส่บาตร ถวายอาหารแก่พระภิกษุนั้น สามารถกระทำได้โดยตลอดภายในเวลาเช้าถึงเที่ยง เพื่อประโยชน์ในการดำรงชีวิตอยู่ของพระภิกษุสามเณร ไม่จำกัดอยู่ที่เฉพาะวันใดวันหนึ่งเท่านั้น และไม่ควรถวายเงินแก่ท่าน เพราะเงินทองไม่ควรแก่เพศบรรพชิตโดยประการทั้งปวง ครับ

... ยินดีในกุศลของทุกๆ ท่านครับ ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
chatchai.k
วันที่ 5 พ.ย. 2566

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
ทรงศักดิ์
วันที่ 7 พ.ย. 2566

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
wittawat
วันที่ 8 พ.ย. 2566

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ