จะฟังคำของใครหรือจะฟังคำของพระพุทธเจ้า

 
nattawan
วันที่  7 พ.ย. 2566
หมายเลข  46927
อ่าน  320

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ณ กาลครั้งหนึ่ง สนทนาธรรมบ้านซอยพัฒนเวศม์ 31 ต.ค. 66

ธรรมะคืออะไร ... ธรรมะไม่ใช่เรา ... ฟังธรรมมะมาบ้างแต่ไม่สามารถนำมาปรับใช้ได้ในชีวิตประจำวัน ... จะฟังคำของใครหรือจะฟังคำของพระพุทธเจ้า พระองค์ไม่ได้สอนให้เกิดประโยชน์ในชีวิตจริง จะแก้คนอื่น ... แล้วนับถือใครที่จะให้เขาแก้ ต้องจริงใจ ... ตรงว่านับถือใครที่สามารถจะแก้ได้

ถ้าตัวเราคิดเองได้ก็ไม่ต้องฟังใครที่สำคัญที่สุดพระองค์เป็นพระบรมศาสดาฝึกบุรุษที่ควรฝึกฝึกให้คิดไตร่ตรองให้พิจารณาไม่ใช่เชื่อใครไม่ว่าได้ยินได้ฟังอะไรประโยชน์อยู่ที่ว่าเข้าใจคำที่เขาพูดหรือเปล่าว่าถูกต้องไหม

ต้องเริ่มหัดคิดเพราะว่าตลอดชีวิตที่จะเข้าใจพระธรรมยิ่งขึ้นต้องคิดไตร่ตรอง ขาดเมื่อไหร่ไม่มีทาง เพราะฉะนั้นถ้าเราไม่เริ่มฝึกที่จะเป็นคนตรง ใครในโลกแก้ได้หรือ ... ถ้าเราไม่แก้ตัวเอง ... แล้วเราจะเอาปัญญาที่ไหนมาแก้ตัวเอง

ต้องมีผู้ที่เหนือบุคคลใดทั้งสิ้น ... พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นใคร ... ไม่อยากรู้จักหรือ? พระองค์ทรงสอนละเอียดยิบ ที่จะเข้าใจคือต้องฟัง ฟังแล้วต้องคิด พระองค์ทรงตรัสรู้อะไร ... ทรงตรัสรู้เดี๋ยวนี้ แม้สิ่งที่มีเดี๋ยวนี้รู้ไหม? ทรงตรัสรู้ทุกอย่างไม่เว้นเลยไม่เหลือเลย แหนือบุคคลใดทั้งสิ้นในสากลจักรวาล ฟังอย่างนี้เชื่อไม่ได้หรอก ... ต้องฟังคำว่าพระองค์ตรัสว่าอะไรจึงเป็นอย่างนี้ แล้วถึงจะรู้จักว่าพูดจริงแค่ไหน มีความรู้แค่ไหน ไม่เช่นนั้นเราเผินหมดเลย

ทั้งประเทศนับถือพระพุทธศาสนา แต่ถามว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร ... จะตอบว่าอย่างไร ... นับถือจริงหรือเปล่าว่าเรานับถือพระองค์จริงใจหรือเปล่า หรือนับถือชื่อเท่านั้น แต่ไม่รู้ว่าเป็นอะไร พระคุณมากน้อยแค่ไหน ทรงตรัสรู้อะไร ... ไม่มีทาง ... ไม่รู้ว่าทรงตรัสรู้อะไร เพราะฉะนั้นที่นับถือนี่ไม่จริง หลงคิดว่าตัวเองนับถือใช่ไหม ... ต้องตรง

เราคิดว่าเรารู้เยอะ ... รู้อะไร? ... ไม่ใช่รู้สิ่งที่พระองค์ตรัสรู้และทรงแสดงแน่นอนที่สุด เป็นคนตรงที่จะรู้ว่าจริงไหม!!!

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์ด้วยความเคารพยิ่ง

ยินดีในความดีของทุกท่านค่ะ

เชิญคลิกชม ...

ณ กาลครั้งหนึ่ง “สนทนาธรรมที่ บ้าน ซ. พัฒนเวศม์” วันอังคารที่ ๓๑ ต.ค. ๖๖

🟥 youtu.be/6xJNtlSzjsI?si=5VmcwXYn6DS-_uK0


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
nattawan
วันที่ 7 พ.ย. 2566

เราพูดคำที่เราไม่รู้จัก ... จนกว่าจะรู้จัก ... ต้องทีละคำ

ศึกษาธรรมะ แต่ไม่รู้จัก "พระไตรปิฎก" เพราะฉะนั้นไม่ละเอียด

ไตร คือ 3 ปิฏก คือ หมวดหมู่ที่รวบรวมไว้เป็นประเภทใหญ่ๆ ได้แก่พระวินัย พระสูตร พระอภิธรรม

ศึกษาพระไตรปิฎกต้องรู้ว่าพระไตรปิฎกคืออะไร แต่ไม่ใช่บอกว่าศึกษา แต่ไม่รู้ว่าพระไตรปิฎกคืออะไร

ธรรมะคือสิ่งที่มีจริง ต้องเป็นความจริงของสิ่งที่มีจริง เดี๋ยวนี้อะไรมีจริงๆ

เรากำลังเรากำลังศึกษาพระไตรปิฎกกันหรือเปล่า ... ยังไม่ใช่ ... เพียงแต่ชื่อ เพราะฉะนั้นชื่อต้องรู้ว่าคืออะไร ไม่เช่นนั้นเราพูดผิด ทำไมถึงถามว่า "ธรรมะคือะไร เพื่อฝึกหัดการคิด ไตร่ตรอง ถ้าไม่เริ่มตั้งแต่เล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้ ไม่มีทางรู้ความลึกซึ้ง

ไม่ใช่ฟังแล้วเชื่อตามไปเลย แต่ต้องไตร่ตรองจนกระทั่งเป็นความเข้าใจถูกตรงตามความเป็นจริงของตัวเอง ... จึงถูก ... ฟังเพื่อเข้าใจใช่ไหม?

ตั้งต้นคำแรกเลย รู้จักพระพุทธเจ้า แล้วพระธรรมล่ะ แล้วพระสงสงฆ์ล่ะ พระพุทธเจ้ากับพระธรรมคืออะไรล่ะ เพราะฉะนั้นถ้าไม่รู้ว่าธรรมะคืออะไรจะตอบได้ไหม? เพราะไม่รู้ว่าคืออะไรจะบอกว่าโน่นนี่เป็นธรรมะได้ไหม ... แต่ถ้าเข้าใจ ต้องรู้ว่าธรรมะคืออะไร ... คือความจริงของสิ่งที่มีจริง ... เดี๋ยวนี้มีไหม คืออะไร ... เห็นเป็นธรรมะใช่ไหม แล้วความจริงของ "เห็น" คืออะไร?

พระพุทธเจ้าทรงฝึกบุรุษ ฝึกคนให้รู้จักไตร่ตรอง เดี๋ยวนี้เห็น ... ความจริงของเห็นคืออะไร ... ไม่ทราบ ... จึงต้องฟังคำของพระองค์

พระองค์ตรัสว่า เห็นมีจริง เห็นเป็นจิตเป็นสภาพรู้ นอกจากเห็นอะไรเป็นสภาพรู้อีก ... เจตสิกก็รู้ ... ตอบได้หมดเลย แล้วเจตสิกกับจิตต่างกันตรงไหน?

เดี๋ยวนี้อะไรเป็นจิต อะไรเป็นเจตสิก

จิตไม่ได้รู้ดีรู้ชั่ว ไม่อย่างนั้นเราจะหลง เพราะว่ามันละเอียดจนกระทั่งว่า กว่าจะรู้แต่ละอย่าง แต่ละขั้น ค่อยๆ รู้ตามความเป็นจริง ต้องอาศัยการไตร่ตรอง และกาลเวลานานเท่าไหร่ ไม่เช่นนั้นพระองค์ตรัสสิ่งที่มี ... เห็นที่กำลังมีเดี๋ยวนี้ กว่าจะรู้อย่างนี้ แสนโกฏิกัปป์พอไหม? สี่อสงไขยแสนกัปป์ที่ได้รับคำพยากรณ์ และก่อนนั้นอีกตอนเป็นพระโพธิสัตว์ที่ยังไม่ได้รับคำพยากรณ์

ฟังแล้วรู้ความจริง ... ประมาทไม่ได้เลย เกิดมามีความเข้าใจจากที่พระองค์ทรงตรัสรู้และทรงแสดง แค่นี้ได้ไหม เทียบกับแสนโกฏิกัปป์ที่ไม่รู้ จนถึงวันนี้ตั้งแต่เช้า ถึงพรุ่งนี้ ถึงต่อไปจนตายกว่าจะเอาพวกนี้ออกหมด ... ไม่เหลือเลยที่จะมีความเห็นผิดว่าเป็นเรา เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด กว่าจะรู้ความจริงที่ใช้คำว่า "ตรัสรู้อริยสัจจธรรม" ... ความไม่ความไม่รู้ปิดกั้นหมด ปิดบังหมด

เราไม่ตาม เราไม่ฟังเผินๆ ง่ายๆ แต่ทุกคำเราเข้าใจจริงๆ หรือเปล่า?

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
nattawan
วันที่ 7 พ.ย. 2566

เราเข้าใจทุกคำจริงๆ หรือเปล่า ... ไม่รู้สักอย่างเลย ... ถูกต้อง ... จะเริ่มรู้ได้อย่างไร ... ก็ฟัง ... ฟังแต่ก็ยังไม่เกิด ... ฟังดีๆ ฟังทุกคำ ... จิตคืออะไร จิตคือสภาพรู้เท่านั้น เจตสิกคืออะไร ... ปรุงแต่ง ... เดี๋ยวนี้กำลังมีทั้งสองอย่าง เพราะฉะนั้นจิตและเจตสิกต่างกันอย่างไร?

จิตรู้แจ้งอารมณ์ แต่เจตสิกไม่รู้แจ้งอารมณ์ ธรรมะเปลี่ยนไม่ได้ พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ตามความเป็นจริง เพราะฉะนั้นทุกคำเผินไม่ได้เลย เผินคือเราไม่รู้ว่าพระองค์ตรัสว่า "ธรรมะ" เราก็พูดว่า "ธรรมะ" แต่ต่างกันแค่ไหน? แม้แต่จิตและเจตสิกพระองค์ก็ตรัส แต่ต่างกันแค่ไหน?

ถ้าไม่เริ่มตั้งแต่ต้นให้ละเอียดจริงๆ ไม่ได้ไปไหนหรอก ... ชาติหน้าลืมหมด ... ถ้าเราแค่จำก็ลืมหมด แต่ถ้าเข้าใจแล้วไม่ลืม เพราะฉะนั้นอยู่ที่ความเข้าใจ ทุกคำกล่าวถึงสิ่งที่มีจริง เปลี่ยนไม่ได้เลย เป็นความจริงถึงที่สุด

ขั้นต้นทุกคำต้องมั่นคง เข้าใจถูก ละเอียด เพราะธรรมะลึกซึ้งกว่านี้มาก พระพุทธเจ้าฝึกให้เป็นคนละเอียดรอบคอบ ไม่เช่นนั้นไม่เข้าใจอริยสัจจธรรม

จิตและเจตสิกเกิดพร้อมกัน รู้สิ่งเดียวกัน แต่จิตไม่ใช่เจตสิก และเจตสิกก็ไม่ใช่จิต เพราะว่าที่กำลังมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดปรากฏเพราะจิตรู้แจ้ง แต่เจตสิกรู้แต่ไม่ได้ทำหน้าที่เดียวกับจิตที่รู้แจ้งเท่านั้น แต่ว่าพอใจหรือไม่พอใจเป็นสภาพธรรมะของเจตสิกแต่ละหนึ่งซึ่งแสดงโดยละเอียดยิบ ถึงแม้จะใกล้เคียงกัน ... แต่ต่างกัน ถ้าไม่พิจารณาก็แค่จำคำที่บอกไว้ว่าต่างกันอย่างไร เพราะฉะนั้นให้เข้าใจไม่ใช่จำ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
nattawan
วันที่ 7 พ.ย. 2566

ธรรมเตือนใจ ... เก็บไว้ในหทัย ... ณ กาลครั้งหนึ่ง สนทนาธรรมบ้าน ซอยพัฒนเวศม์ 31 ต.ค. 66

ความจริงของ "เห็น" คืออะไร?

คิดถึงสิ่งที่ไม่มีเดี๋ยวนี้ ด้วยความอยากรู้ในสิ่งที่ไม่ได้ปรากฏ แล้วเมื่อไหร่จะรู้สิ่งที่ปรากฏ

จะรู้อะไรก่อน? ในเมื่อสิ่งที่อยู่ใกล้ยังไม่รู้

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
chatchai.k
วันที่ 8 พ.ย. 2566

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์ ด้วยความเคารพยิ่ง

ยินดีในกุศลจิตครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ