โลณกสูตร

 
piman
วันที่  1 ก.ย. 2550
หมายเลข  4693
อ่าน  1,848

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

โลณกสูตร... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดแลพึงกล่าวอย่างนี้ว่า บุรุษนี้ทำกรรมไว้อย่างไรๆ เขาจะต้องเสวยกรรมนั้นอย่างนั้นๆ เมื่อเป็นเช่นนี้ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ของผู้นั้นย่อมมีไม่ได้ โอกาสที่จะทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบย่อมไม่ปรากฏ ส่วนผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า บุรุษนี้ทำกรรมที่จะต้องเสวยผลไว้ด้วยอาการใดๆ เขาจะต้องเสวยวิบากของกรรมนั้นด้วยอาการนั้นๆ เมื่อเป็นเช่นนี้ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ของผู้นั้นย่อมมีได้ โอกาสที่จะทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบย่อมปรากฏ ฯเนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ บรรทัดที่ ๖๕๖๖ - ๖๖๔๖. หน้าที่ ๒๘๐ - ๒๘๓.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=20&A=6566&Z=6646&pagebreak=0

ไม่เข้าใจตอนท้ายนี่แหละครับ ช่วยอธิบาย เป็นบุญหน่อยเถอะครับ ขอบคุณครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 2 ก.ย. 2550

ขอเชิญอ่านคำอธิบายจากอรรถกถาโดยตรงครับ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 496 อรรถกถาโลณกสูตร พึงทราบวินิจฉัยในโลณกสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้ :- .........บทว่า ตถาตถา ตํ ได้แก่ ตถา ตถา ตํ กมฺมํ. มีคำอธิบายดังนี้ว่า ผู้ใดพึงกล่าวไว้อย่างนี้ว่า บุคคลทำกรรมไว้โดยประการใดๆ ก็จะเสวยวิบาก (ผล) ของกรรมนั้นโดยประการนั้นๆ เพราะว่าใครๆ ไม่สามารถที่จะไม่เสวยวิบากของกรรมที่ทำไว้แล้ว เพราะฉะนั้น บุคคลทำกรรมไว้เท่าใด ก็จะเสวยวิบากของกรรมเท่านั้นทีเดียว. บทว่า เอวํ สนฺตํ คือ เอวํ สนฺเต แปลว่า เมื่อเป็นอย่างนี้. บทว่า พฺรหฺมจริยวาโส น โหติ ความว่า อุปปัชชเวทนียกรรมใดที่ทำไว้ก่อนการทำมรรคให้เกิดมี เพราะอุปปัชชเวทนียกรรมนั้นอันตนจะต้อง เสวยเป็นแน่แท้ พรหมจรรย์แม้อยู่จบแล้ว ก็ไม่เป็นอันอยู่เลย. บทว่าโอกาโส น ปญฺญายติ สมฺมา ทุกฺขสฺส อนฺตกิริยาย ความว่า ก็เพราะเหตุที่เมื่อเป็นเช่นนี้ การประมวลกรรม และการเสวยผลของกรรมยังคงมีอยู่ ฉะนั้น โอกาสแห่งการทำที่สุดแห่งวัฏทุกข์ โดยเหตุโดยนัยชื่อว่าไม่ปรากฏ. บทว่า ยถา ยถา เวทนิยํ ได้แก่ อันตนพึงเสวยโดยอาการใดๆ . บทว่า ตถา ตถาสฺส วิปากํ ปฏิสํเวทิยติ ความว่า เสวยวิบากของกรรมนั้นโดยอาการนั้นๆ . มีคำอธิบายดังนี้ว่า ในชวนจิตทั้ง ๗ กรรมในชวนจิตที่ ๑ นั้นใดเมื่อมีปัจจัย ก็ได้วาระที่จะให้ผลทันที กรรมนั้นจัดเป็นทิฏฐธรรมเวทนียกรรมเมื่อไม่มีปัจจัย ก็จะชื่อว่าเป็นอโหสิกรรม ส่วนกรรมในชวนจิตที่ ๗ อันใดกรรมนั้นเมื่อมีปัจจัย ก็จะเป็นอุปปัชชเวทนียกรรม เมื่อไม่มีปัจจัย ก็จะชื่อว่าเป็นอโหสิกรรม และกรรมในชวนจิตทั้ง ๕ ในท่ามกลางอันใด กรรมนั้นชื่อว่า อปราปริยเวทนียกรรม ตราบเท่าที่ยังท่องเที่ยวไปในสังสารวัฏฏ์ บุรุษ (บุคคล) นี้ทำกรรมนั้นไว้จะพึงเสวยได้ โดยอาการใดๆ ในบรรดาอาการเหล่านี้ ก็จะเสวยวิบากของกรรมนั้นโดยอาการนั้นๆ ทีเดียว. แท้จริง ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถาว่า กรรมที่ได้วาระให้ผลแล้วเท่านั้น ชื่อว่า ยถาเวทนิย-กรรม. บทว่า เอวํ สนตํ ภิกฺขเว พฺรหฺมจริยวาโส โหติ ความว่าคำที่กล่าวไว้ว่า ชื่อว่ามีการอยู่พรหมจรรย์ที่ทำกรรมให้สิ้นไป เพราะกรรมที่ จะต้องทำให้สิ้นไป ยังมีอยู่ดังนี้ เป็นอันกล่าวไว้ดีแล้วทีเดียว. บทว่า โอกาโส ปญฺญายติ สมฺมา ทุกฺขสฺส อนฺตกิริยายความว่า เพราะเหตุที่เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็จะไม่เกิดวัฏทุกข์ต่อไปในภพนั้นๆ เพราะอภิสัขารวิญญาณดับไปด้วยมรรคนั้นๆ ฉะนั้น โอกาสแห่งการทำที่สุดแห่งทุกข์ด้วยดีจึงปรากฏ.

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
wannee.s
วันที่ 2 ก.ย. 2550

การให้ผลของกรรม

ชวนจิตดวงที่ 1 ให้ผลชาตินี้ เช่น ทำบุญกับพระภิกษุที่ออกจากนิโรธสมาบัติ จะให้ผลทันตาเห็นภายใน 7 วัน

ชวนจิตดวงที่ 2 - 6 ให้ผลนับชาติไม่ถ้วน ถึงชาติสุดท้ายจะเป็นพระอรหันต์ กรรมก็ยังให้ผลจนกว่าจะปรินิพพานค่ะ

ชวนจิตดวงที่ 7 ให้ผลชาติหน้าค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
piman
วันที่ 6 ก.ย. 2550

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดแลพึงกล่าวอย่างนี้ว่า บุรุษนี้ทำกรรมไว้อย่างไรๆ เขาจะต้องเสวยกรรมนั้นอย่างนั้นๆ เมื่อเป็นเช่นนี้ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ของผู้นั้นย่อมมีไม่ได้ โอกาสที่จะทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบย่อมไม่ปรากฏ

หมายถึง ชวนจิตดวงที่ 2 - 6 ให้ผลนับชาติไม่ถ้วน ถึงชาติสุดท้ายจะเป็นพระอรหันต์ กรรมก็ยังให้ผลจนกว่าจะปรินิพพานค่ะ

ชวนจิตดวงที่ 7 ให้ผลชาติหน้าค่ะ

ส่วนผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า บุรุษนี้ทำกรรมที่จะต้องเสวยผลไว้ด้วยอาการใดๆ เขาจะต้องเสวยวิบากของกรรมนั้นด้วยอาการนั้นๆ เมื่อเป็นเช่นนี้ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ของผู้นั้นย่อมมีได้ โอกาสที่จะทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบย่อมปรากฏ ฯ

หมายถึง ชวนจิตดวงที่ 1 ให้ผลชาตินี้

ถูกไหมครับ

ขอบคุณครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
study
วันที่ 7 ก.ย. 2550

ถูกครับ ตามคำอธิบายในอรรถกถา หมายถึง ชวนจิตดวงที่ ๑ พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 497 ยถาเวทนิยกรรม บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงสภาพแห่งยถาเวทนิยกรรมนั้น พระผู้มีพระ- ภาคเจ้าจึงตรัสคำว่า อิธ ภิกฺขเว เอกจฺจสฺส เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้นบทว่า อปฺปมตฺตกํ ได้แก่ ปริตตกรรม คือ กรรมนิดหน่อย กรรมเบากรรมเล็กน้อย กรรมลามก. บทว่า ตาทิสํเยว ได้แก่ วิบากที่เห็นสมด้วยกับกรรมนั้นแล. บทว่า ทิฏฺ€ธมฺมเวทนิยํ ความว่า ในกรรมนั้นแล มีอธิบายว่า กรรมที่จะพึงให้ผล เมื่อได้วาระที่จะให้ผลในปัจจุบัน ก็จะกลายเป็นทิฏฐธรรมเวทนิยกรรม. บทว่า นาณุปิ ขายติ ความว่า (กรรมเล็กน้อยนั้น) ไม่ปรากฏแม้ (เพียง) เล็กน้อยในอัตภาพที่ ๒ อธิบายว่า ไม่ให้ผลแม้เพียงเล็กน้อยในอัตภาพที่ ๒.

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ