บุคลิกของผู้ศึกษาธรรม

 
jbk02
วันที่  1 ก.ย. 2550
หมายเลข  4700
อ่าน  1,421

สวัสดีค่ะ ดิฉันเคยได้ยินมาว่า "ผู้เคร่งในธรรม" จะไม่ค่อยใส่ใจคนรอบข้างแม้คนในครอบครัว การสนทนาก็น้อยลง นอกจากการสนทนาธรรม และมีความสุขมาก ถ้าได้สนทนาแต่เรื่องพระธรรม ถ้าใช่แล้ว คนรอบข้าง มิอึดอัดใจแย่หรือคะ ที่ไม่ยอมสนทนาเรื่องอื่นเลย ...

ขอบคุณค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 2 ก.ย. 2550

ควรทราบว่า ผู้ศึกษาพระธรรม ในสมัยครั้งพุทธกาล มีหลายประเภท คือ บางท่านเมื่อฟังธรรมแล้ว บรรลุเป็นพระอรหันต์ หมดกิเลส จะมีชีวิตเป็นคฤหัสถ์อย่างเดิมไม่ได้ต้องออกบวช บางท่านฟังธรรมแล้ว เป็นพระอนาคามี ออกบวช เป็นบรรพชิต ก็มี เป็นคฤหัสถ์ ก็มี บางท่านเป็น พระสกทาคามี พระโสดาบัน มีชีวิตตามปกติ ก็มี บางท่านไม่บรรลุอะไร ออกบวชก็มี และมีชีวิตตามปกติก็มี ฉะนั้น คฤหัสถ์ทั้งหลาย แม้ว่า เป็นผู้ศึกษาพระธรรม เข้าใจธรรมะ มีชีวิตตามปกติ สนทนากับทุกคน ทุกเรื่องด้วยเมตตาจิตได้ ไม่ขัดกับศีล ๕ หรือการอบรมเจริญสติปัฏฐาน แต่อย่างใด

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
wannee.s
วันที่ 2 ก.ย. 2550

ทุกคนสะสมมาไม่เหมือนกัน ร้อยคนก็ร้อยความคิด แม้แต่เรื่องของการพูด บางคนก็ชอบให้คนพูดธรรมะยาวๆ บางคนก็ชอบให้พูดปานกลาง บางคนก็ชอบให้พูดสั้นๆ เราไม่สามารถทำให้ใครชอบได้ทุกอย่าง เพราะคนเราชอบไม่เหมือนกันค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 2 ก.ย. 2550

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

เป็นผู้มีปกติ อบรมเจริญสติปัฏฐาน ลืมคำนี้ไม่ได้เลย เป็นปกติในชีวิตประจำวัน ศึกษาธรรมแล้ว (เป็นปุถุชน) ยังมีกิเลส ยังมีการพูดเรื่องอื่นบ้าง เป็นธรรมดา (เพ้อเจ้อละ เมื่อเป็นพระอรหันต์) ดังนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุด ไม่พูดเรื่องอื่นหรือพูดแต่ธรรม แต่ไม่รู้ว่าเป็นธรรม ไม่รู้ว่าขณะนั้นไม่ใช่เรา เป็นแต่ธรรม ก็ไม่ใช่การอบรมปัญญา พูดเรื่องอื่นทั่วไป พร้อมกับการศึกษาธรรม ด้วยเข้าใจว่าทุกอย่างเป็นธรรม แม้ขั้นการฟังก็ตาม นี่แหละจะเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สติเกิดระลึกสภาพธรรม ที่พูดเรื่องอื่น หรือไม่พูดก็ตามว่าขณะนั้นเป็นธรรมครับ ไม่มีใครบังคับให้ใครพูด หรือไม่พูดอะไรได้ แล้วก็บังคับให้ใครอึดอัดหรือไม่ให้อึดอัด แต่ที่สำคัญ ผู้ที่ศึกษาธรรม ไม่ได้ดูที่บุคคลิกดูน่าเชื่อถือ พูดแต่ธรรม แต่ปัญญาที่เป็นปกติต่างหาก ที่รู้ความจริงว่า ขณะใดเป็นธรรมไม่ใช่เราสำคัญมากครับ ดังข้อความในพระไตรปิฎกครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 2 ก.ย. 2550

เรื่อง พูดมาก (แม้พูดธรรม) ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ทรงธรรมขอเชิญคลิกอ่านได้ที่ ... ว่าด้วยลักษณะผู้ทรงธรรมและไม่ทรงธรรม [พระเอกุทานเถระ]

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 2 ก.ย. 2550

ขอเชิญคลิกอ่านได้ที่ ... อัญเดียรถีย์ [ผู้เป็นมุนีและผู้ไม่ใช่มุนี]

ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
Khaeota
วันที่ 2 ก.ย. 2550


อนุโมทนาค่ะ


 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
อิสระ
วันที่ 3 ก.ย. 2550
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 3 ก.ย. 2550

ถ้าเข้าใจธรรมแล้ว การดำเนินชีวิตจะไม่ผิดปกติ ไม่ใช่ให้หนีจากอกุศล แล้วไปติดในกุศล ทั้งกุศลและอกุศล ก็เป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง ควรทำความเข้าใจตรงนี้

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 3 ก.ย. 2550


"บุคคล ไม่ชื่อว่าทรงธรรม เพราะเหตุที่พูดมาก;ส่วนบุคคลใด ฟังแม้นิดหน่อย ย่อมเห็นธรรมด้วยนามกาย, บุคคลใด ไม่ประมาทธรรม, บุคคลนั้นแลเป็นผู้ทรงธรรม." ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
olive
วันที่ 3 ก.ย. 2550
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
พุทธรักษา
วันที่ 3 ก.ย. 2550

บุคลิกไม่ใช่ตัวตัดสิน เพราะจิตมนุษย์ ลึก และรู้ยาก.ปัญญา รู้ได้ด้วยการสนทนา และระยะเวลาพอสมควร.คนดีมีศีลธรรม ย่อมน้อมนำ "ความพอดี".

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
Komsan
วันที่ 4 ก.ย. 2550
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
สายัณห์-พิมสาร
วันที่ 5 ก.ย. 2550
ขออนุโมทนากับมิตรธรรมและบัณฑิตทุกๆ ท่านครับ.
 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
Sam
วันที่ 7 ก.ย. 2550

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
yuphin
วันที่ 11 ก.ย. 2550

เพราะจิตนั้นวิจิตรมาก ทำให้การบรรลุมรรคผลที่แตกต่าง เมื่อยังไม่ถึง ก็ยังต้องเร่าร้อนไปตามกิเลส ที่สะสมมา

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 30 ก.ย. 2550

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ขอเชิญคลิกอ่านได้ที่ ... บุคคลผุ้รู้และไม่รู้ตามความเป็นจริง

ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 10 ก.ค. 2566

ยินดีในกุศลจิตค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ