สำนักปฏิบัติธรรม และ เจริญวิปัสสนา

 
weerasak123456
วันที่  2 ก.ย. 2550
หมายเลข  4705
อ่าน  2,098

สรุปได้ว่า สำนักปฏิบัติธรรม และเจริญวิปัสสนา ที่ให้กำหนดอิริยาบถ ไม่ควรเอาเยี่ยงอย่าง ใช่หรือไม่ จากการฟังธรรมที่บ้านธัมมะ และการติดต่อสื่อสารผ่านทางเว็บไซต์ ได้ผลสรุปว่า การปฏิบัติตามหลักบ้านธัมมะนั้น ง่าย และสะดวก ผลระยะสั้นสามารถควบคุม ประคับประคอง ตลอดจนการระลึกรู้สติ ดีขึ้นอย่างรวดเร็ว อย่างเห็นได้ชัด ทั้งๆ ที่การปฏิบัติธรรมจากสำนักอื่นๆ นั้น มีอรรถ มีเนื้อความ มีขั้นตอนมากมาย แต่หาได้ทำให้เกิดผลในระยะยาวไม่ ทั้งนี้ เพราะสำนักปฏิบัติธรรม และเจริญวิปัสสนา ที่มีชื่อเสียง ส่วนใหญ่ มักชอบให้ใช้การกำหนดคือ ถ้ายืน ก็ต้องกำหนดรู้ว่าจะต้องกำหนดทั้งสองข้าง จะต้องวางอิริยาบถอย่างนั้น จะต้องวางมืออย่างนี้ จะต้องคู้แขนอย่างนั้น จะต้องยืดตัวอย่างนั้น จะต้องทำความรู้สึกที่เท้าทั้งสองข้างอย่างนั้น หรือแม้กระทั่งในท่าเดิน ก็ต้องกำหนดว่า ซ้ายย่างหนอ ขวาย่างหนอ ดังนี้เป็นต้น เมื่อเป็นเช่นนั้น ผลในระยะสั้น จึงรู้สึกว่าตึงเครียด ส่วนผลในระยะยาว อาจทำให้เสียสติหรือกลายเป็น คนมีทิฏฐิแรงกล้าไปในทางที่ผิด กล่าวคือปฏิบัติผิด ส่วนการปฏิบัติธรรม ที่บ้านธัมมะ พิจารณาอิริยาบถทั้งสี่ ที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง ส่วนอิริยาบถย่อยก็เช่นเดียวกัน ไม่ใช่ไปบังคับ ไม่ใช่ไปฝืนให้ผิดปกติไปจากการอิริยาบถปกติที่มีอยู่จริง ในชีวิตประจำวัน ขอให้ช่วยตรวจสอบว่า ข้อความนี้ถูกต้องหรือไม่ ส่วนใดต้องแก้ไข


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 3 ก.ย. 2550

ควรปฏิบัติด้วยความเข้าใจ ดีกว่าทำตามๆ กันไปด้วยความไม่รู้ การอบรมเจริญภาวนา มี ๒ อย่าง ถ้าไม่ใช่ สมถและวิปัสสนาก็เป็นมิจฉาปฏิปทาทั้งหมด

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
อิสระ
วันที่ 3 ก.ย. 2550

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
narong.p
วันที่ 3 ก.ย. 2550

ควรทำความเข้าใจ คำว่า "การปฏิบัติ" ซึ่งในภาษาไทยหมายความถึง การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง จึงเข้าใจว่ามีความหมายว่า "ทำ" แต่คำว่า "ปฏิบัติ" มาจากภาษาบาลีว่า "ปฏิปัตติ" แปลว่า "ถึงเฉพาะ" ซึ่งหมายถึง สติเจตสิก ระลึกรู้ (ถึงเฉพาะ) สภาพธรรมตามความเป็นจริง ปริยัติเป็นขั้นต้น คือการฟังเพื่อให้เกิดความเข้าใจขั้นการฟัง ยังเป็นเพียงเรื่องราวของสภาพธรรม ไม่ใช่การรู้สภาวะของสภาพธรรม ซึ่งต้องเป็นขั้นปฏิบัติ มีสติสัมปชัญญะเกิดขึ้น ระลึกรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 3 ก.ย. 2550

ฟังต่อไป ธรรมจะทำหน้าที่ ให้เข้าใจเอง ไม่ทิ้งการฟังนะครับ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
orawan.c
วันที่ 4 ก.ย. 2550

ปัญญามี ๓ ขั้นคือ ปริยัติ ปฏิบัติและปฏิเวธ ต้องอบรมเจริญไปตามลำดับ ไม่ควรข้ามขั้น เพราะปฏิบัติ โดยไม่รู้ปริยัติ ย่อมผิดแน่นอน จึงควรเริ่มต้นที่ฟังพระธรรมให้เข้าใจจริงๆ ว่า ทุกอย่างเป็น ธรรมะ และเป็น อนัตตา

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
oom
วันที่ 5 ก.ย. 2550

ฟังธรรมแล้วเข้าใจ แต่ปฏิบัติยังไม่ได้จะทำอย่างไร เช่น ความโกรธเป็นอกุศลก็รู้ แต่ก็ยังโกรธอยู่ บางครั้งก็ระงับได้ บางครั้งก็ไม่ได้ เป็นเพราะเราหลงลืมสติใช่หรือไม่

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
wannee.s
วันที่ 6 ก.ย. 2550

ขั้นการฟัง เพียงละความไม่รู้ แต่ยังไม่สามารถละคลายกิเลสได้ ผู้ที่ดับความโกรธได้เป็นสมุจเฉทคือ พระอนาคามี ขณะที่อกุศลเกิด ขณะนั้นหลงลืมสติค่ะ เราสะสมกิเลสและอวิชชามามากมายในสังสารวัฏฏ์ เราก็ต้องค่อยๆ อบรมปัญญาคือสติปัฏฐาน จนกว่าจะดับกิเลสหมดไม่เกิดอีกเลย ก็ต้องใช้เวลานานแสนนานนับไม่ได้ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
ไรท์แจกแล้วไง
วันที่ 8 ก.ย. 2550

ไม่แก้ที่ข้อความ แต่แก้ที่ความเข้าใจว่าการอบรมเจริญปัญญานั้นไม่ง่าย

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 10 ก.ค. 2566

ยินดีในกุศลจิตค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ