พระ ประจบ คฤหัสถ์ และ การมี เมตตา กรุณา  คืออะไร

 
polarwood2
วันที่  13 ธ.ค. 2566
หมายเลข  47069
อ่าน  1,711

เส้นบางๆ ที่กั้น ระหว่าง ศีลพระข้อ การ ประจบ คฤหัสถ์ และ การมี เมตตา กรุณา คืออะไรบ้างครับ? ใช้อะไรเป็นเกณฑ์ ในการตัดสินได้บ้างครับ?

ตัวอย่างเช่น เราเป็นพระ แล้ว โยมเพื่อน มีงานแต่ง งานศพ ถ้ามองในมุมนึง ถ้าเราให้ไวยวจกร ช่วยใส่ซองงานของเขา เพราะ เรามีความสงสาร (งานศพ) เรามีความเมตตา + เกรงใจ เช่น เขาเคยช่วยเรามา มีบุญคุณต่อเรา ในตอนที่เราเป็นโยม จะได้ไหมครับ? ถ้า อีกมุมหนึ่ง จะเข้าข่าย ประจบคฤหัส หรือไม่? เราควรจะ ใส่ซองอย่างเดียว หรือ ไปได้ ใส่ซองได้ด้วย ครับ

1 พระ (ให้ไวยวจกร ใส่ซองงานแต่ง งานศพ)

2 พระช่วยผู้ประสบภัย

3 พระจัดช่วยโยมเก้าอี้งานบุญ

4 พระรักษาคนไข้

5 โยมใช้ให้พระหยิบของให้

6 พระนั่งอยู่ โยมบอก ฝากของแปปนึง

7 โยมเพื่อน ชาวต่างชาติ หลงทาง กลางเมือง พูด ไทยไม่ได้

พอไม่ช่วย ก็จะกลายเป็นไร้น้ำใจ ได้หรือเปล่าครับ?

แต่ถ้า อย่างศีล 5 มี องค์ของศีล เช่น

องค์แห่งศีลที่ผิดจากการลักทรัพย์ต้องประกอบด้วย คือ

1. ทรัพย์หรือสิ่งของนั้นมีเจ้าของหวงแหน

2. รู้อยู่ว่าทรัพย์นั้นมีเจ้าของหวงแหน

3. มีจิตคิดจะลักทรัพย์นั้น

4. มีความพยายามลักทรัพย์นั้น

5. ลักทรัพย์ได้ด้วยความพยายามนั้น

ลักษณะของการลักทรัพย์

ส่วน ศีลพระข้อประจบคฤหัส จะมี หลักวินิจฉัยอย่างไรครับ? ถ้าทำแล้ว แต่ไม่มีสงฆ์สวดเตือน จะบาปไหมครับ? หรือ ต้องเตือนครบ จำนวนครั้ง ครับ?


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 13 ธ.ค. 2566

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระภิกษุในพระธรรมวินัยไม่รับและไม่ยินดีในเงินและทอง พระภิกษุจะยุ่งเกี่ยวกับเรื่องเงินทองไม่ได้เลยโดยประการทั้งปวง การช่วยที่ดีที่สุดในฐานะของความเป็นพระภิกษุ คือ ช่วยให้คฤหัสถ์ได้มีความเข้าใจอย่างถูกต้องตรงตามพระธรรมวินัย นี่แหละคือ เมตตาจริงๆ กรุณาจริงๆ ไม่ต้องกังวลถึงการช่วยเหลือในด้านอื่นๆ เพราะด้านอื่นๆ คฤหัสถ์ด้วยกันซึ่งมีเป็นอย่างมาก ตลอดจนถึงหน่วยงานราชการ หน่วยงานเอกชนต่างๆ ก็ทำการช่วยเหลืออยู่แล้ว ในเมื่อตนเองสละชีวิตของความเป็นคฤหัสถ์แล้ว ก็ต้องเป็นพระภิกษุที่ดี เป็นพระภิกษุในพระธรรมวินัยของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยการตั้งใจศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย ขัดเกลากิเลสของตนเอง สิ่งใดก็ตามที่ไม่ได้เป็นไปเพื่อขัดเกลากิเลส แต่เพิ่มกิเลสให้มากขึ้น ย่อมไม่ควรแก่เพศบรรพชิตโดยประการทั้งปวง

เรื่องพระวินัย ละเอียดอย่างยิ่ง ต้องศึกษา จึงจะมีความเข้าใจอย่างถูกต้องได้ คิดเอาเองไม่ได้ ตัดสินเอาเองไม่ได้ ก็ต้องเป็นไปตามพระธรรมวินัยทั้งหมด

สำหรับในเรื่องการประจบคฤหัสถ์ นั้น มุ่งหมายถึงการกระทำในสิ่งที่ไม่เหมาะควรประการต่างๆ กล่าวคือ ให้ผลไม้ ให้ดอกไม้ ทำยาให้ ตลอดจนถึงรับส่งข่าวสารให้กับคฤหัสถ์ เป็นต้น เพื่อเป็นการเอาอกเอาใจคฤหัสถ์ ซึ่งทำให้ตนเองเป็นคนสำคัญ เป็นที่รัก ทำให้คฤหัสถ์หันมาให้ความสำคัญกับตนเองมากกว่าพระรัตนตรัย เป็นการกระทำที่ไม่เหมาะไม่ควรเลย การกระทำดังกล่าวนั้นนอกจากตนเองจะเป็นผู้หันหลังให้กับพระรัตนตรัยแล้วยังทำให้คฤหัสถ์เสียหายด้วย ด้วยการเป็นอกุศล

ที่จะถึงอาบัติหนักคือเป็นสังฆาทิเสส สิกขาบทที่ ๑๓ คือ ถูกสงฆ์ลงโทษด้วยการขับไล่ออกจากวัด อันเนื่องมาจากการประจบคฤหัสถ์ แล้วยังมากล่าวหาสงฆ์ว่าสงฆ์ลำเอียงอีก สงฆ์จึงต้องสวดประกาศให้ได้รับรู้ ถ้าครบ ๓ รอบแล้วยังไม่สละความเห็นเช่นนั้น ก็เป็นอาบัติสังฆาทิเสส ครับ

... ยินดีในกุศลของทุกๆ ท่านครับ ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
polarwood2
วันที่ 14 ธ.ค. 2566

ขอบพระคุณครับ ขออนุโมทนาครับผม

ขออนุญาตสอบถามเพิ่มเติมนะครับ

ในกรณี ของการประจบคฤหัส

ในกรณีที่ วัดแห่งนึง ที่เป็นศูนย์รักษาผู้ป่วยโรคเอดส์ ที่มีผู้ป่วยโรคเอดส์ จำนวนมาก ถ้าหากพระช่วยเหลือผู้ป่วยเหล่านี้ จะอาบัต ข้อประจบคฤหัสหรือไม่ครับ?

หรือในกรณีที่ ช่วย แบบ ปิดทองหลังพระ

ช่วยโดยไม่ให้โยมรู้ตัว เป็นอาบัต ไหมครับ

การช่วยเหลือโยม นอกจากการให้ความรู้ธรรมะแล้ว

อาจจะไม่ได้เป็นอาบัต ในทุกกรณี ใช่ไหมครับ?

จุดสำคัญอยู่ที่ว่า ถ้าหากว่า อาบัตหรือ ไม่อาบัต เราจะใช้เกณฑ์ อะไรบ้าง ในการวินิจฉัย ว่า กรณีนี้ อาบัต หรือ กรณีนี้ ไม่อาบัต ครับ?, ผมลองค้นหาข้อมูลแล้วแต่ยังไม่เจอในส่วนของ องค์ประกอบของศีลข้อนี้ ครับ?

เช่น กรณี น้ำท่วม ไฟไหม้

และถ้าหากว่า ในกรณีที่ มีเหตุจำเป็น แล้วในบริเวณนั้น ไม่มีใครอยู่ เช่น

โยมจมน้ำ, โยมเกิดอุบัติเหตุ ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาล,โยมป่วยหนักใกล้ตาย, ถ้าพระไปช่วย จะอาบัต ไหมครับ?

หรือในกรณีที่ รับส่งข่าวสาร

หากหมอมาที่ วัด ถามพระว่า เจ้าอาวาสฉัน ยา ชนิดใด จะได้จัดให้ถูก

จึงต้องให้พระถามกับเจ้าอาวาส

แต่เจ้าอาวาสไม่อยู่วัด พอเจ้าอาวาสกลับมา จึงถาม ชื่อยา กับเจ้าอาวาส

เมื่อพบหมอ จึงแจ้งให้ หมอทราบ

กรณีนี้ เข้าข่าย รับส่งข่าวสารให้โยม ไหมครับ?

ขอบพระคุณมากครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
lada
วันที่ 14 ธ.ค. 2566

แล้วถ้าพระสงฆ์ให้พระเครื่องกับเราเพื่อตอบแทนที่เราเคยช่วยเหลือท่านไว้แบบนี้พระท่านจะอาบัติไหมคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
khampan.a
วันที่ 17 ธ.ค. 2566

เรียนความคิดเห็นที่ ๒ ครับ

-วัดไม่ใช่สถานที่รักษาโรคภัยไข้เจ็บของผู้คน แต่เป็นที่สำหรับพักอาศัยของเพศบรรพชิตเพื่อศึกษาพระธรรมอบรมเจริญปัญญาขัดเกลากิเลสของตนเอง

-พระภิกษุสามารถทำกิจที่ควรทำได้ ที่เหมาะควรแก่เพศบรรพชิตเท่านั้น อย่างนี้ครอบคลุมทุกกรณี

-การดูแลพระภิกษุด้วยกัน เป็นหน้าที่ของพระภิกษุด้วยกันอยู่แล้ว กิจใดที่เนื่องกับการพยาบาลดูแลรักษาภิกษุด้วยกัน ก็ย่อมกระทำได้ ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
khampan.a
วันที่ 17 ธ.ค. 2566

เรียนความคิดเห็นที่ ๓ ครับ

เป็นความประพฤติไม่เหมาะควรของพระภิกษุ ย่อมเป็นอาบัติของพระภิกษุครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
chatchai.k
วันที่ 20 ธ.ค. 2566

ยินดีในกุศลจิตครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
polarwood2
วันที่ 7 ม.ค. 2567

ขออนุโมทนา และ ขอขอบคุณมากครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ