เข้าถึงธรรม
ผู้ปฏิบัติธรรมที่เข้าถึงธรรม จะสามารถอยู่ได้ ในทุกสถานการณ์ ทั้งชอบและไม่ชอบ อยู่ด้วยจิตที่ไม่หวั่นไหว ตั้งมั่น ใช่หรือไม่
ขึ้นอยู่กับว่าผู้นั้นเข้าถึงธรรมขั้นไหน ถ้าเป็นพระอรหันต์ซึ่งเป็นการบรรลุธรรมขั้นสูงสุด ท่านจะไม่มีความหวั่นไหวต่อสิ่งใดๆ ทั้งสิ้น เพราะท่านได้กระทำที่สุดแห่งทุกข์แล้ว
ปัญญามีหลายระดับ ก็แล้วแต่ว่า จะเป็นปัญญาระดับไหนค่ะ เช่น ความศรัทธาของพระโสดาบันที่เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าน้อยกว่าศรัทธาของพระสกทาคามี และศรัทธาของพระสกทาคามีที่เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า ก็น้อยกว่าพระอนาคามี และศรัทธาพระอนาคามีที่เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า ก็น้อยกว่าศรัทธาของพระอรหันต์ค่ะ ฯลฯ
การเข้าถึงธรรมนั้น มีหลายระดับ เช่นกรณีที่เราถูกคนนินทาว่าร้าย เราไม่หวั่นไหวและทำใจได้ว่า เป็นโลกธรรม ๘ ที่ทุกคนต้องเจอ แสดงว่าเราก็เข้าถึงธรรมแล้ว ระดับหนึ่ง ใช่หรือไม่ เพราะเราพิจารณาตามความเป็นจริงว่า ไม่มีใครในโลกไม่ถูกนินทา เราจึงไม่โกรธเขา แต่บางครั้งเราก็โกรธ ทำไม่ได้ ซึ่งขณะนั้นแสดงว่าเราหลงลืมสติจึงไม่เข้าถึงธรรมใช่หรือไม่
ผู้ที่ไม่เข้าถึงธรรม ก็สามารถอยู่ได้ในทุกสถานการณ์ ทั้งที่ชอบและไม่ชอบ แต่ย่อมหวั่นไหว ผู้ที่เข้าถึงธรรม แต่ยังไม่ถึงขั้นพระอรหันต์ สามารถอยู่ได้ในทุกสถานการณ์ทั้งที่ชอบและไม่ชอบ แต่ย่อมหวั่นไหว ตามกำลังกิเลส ที่ยังละไม่หมด ผู้ที่เข้าถึงธรรมขั้นพระอรหันต์ สามารถอยู่ได้ในทุกสถานการณ์ โดยปราศจากความชอบและไม่ชอบและย่อมไม่หวั่นไหว ตราบใดที่ยังมีความชอบและไม่ชอบ ย่อมมีความหวั่นไหว
ถึงความคิดเห็นที่ 3
ในขณะที่โกรธ ก็สามารถเข้าถึงธรรมได้ โดยรู้ในขณะนั้นว่าโกรธเป็นธรรมะ ไม่ใช่เรา และความไม่หวั่นไหว การทำใจได้ ความไม่โกรธ ความโกรธ และการหลงลืมสติ (ตามที่กล่าวไว้ทั้งหมดในความคิดเห็นที่ 3) ก็เป็นธรรมะ ไม่ใช่เรา ซึ่งจะเข้าใจว่าเป็นธรรมะไม่ใช่เราอย่างไร ได้ด้วยการศึกษาและพิจารณา พระธรรมคำสอน ด้วยความละเอียดรอบคอบ
ขอบพระคุณทุกท่านที่ให้ข้อคิดเห็นอันเป็นประโยชน์ ซึ่งบางครั้งก็พิจารณาไม่ทันว่าโกรธก็เป็นธรรมะ มาระลึกได้ในภายหลัง เป็นแบบนี้บ่อยๆ
ขอชื่นชมท่านเจ้าของคำถาม ที่มีความสนใจในการศึกษาธรรม และเลือกใช้คำว่า "เข้าถึงธรรม" ในการตั้งคำถาม คำๆ นี้สื่อความหมายคล้ายกับคำว่า "ถึงเฉพาะ" ซึ่งเป็นความหมายตามตัวของคำบาลีว่า "ปฏิบัติ" ใน ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ อันเป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาธรรมะควรเข้าใจ การที่จะเข้าถึงธรรมได้นั้น ต้องมาจากเหตุ คือความเข้าใจเสียก่อน ในขั้นต้น คือความเข้าใจจากการฟัง การอ่าน หรือการสนทนา เมื่อความเข้าใจขั้นต้นนี้มั่นคงพอ ก็จะทำให้มีความเข้าใจขั้นเข้าถึงธรรม และเมื่อเข้าถึงธรรมได้ทั่วและละเอียดตามความเป็นจริง ก็จะสามารถดับความชอบและไม่ชอบอันเป็นเหตุแห่งทุกข์ไปตามลำดับขั้น จนหมดสิ้นในที่สุด
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
การเข้าถึงธรรมมีหลายระดับ แต่จริงแล้วก็คือ เข้าถึงลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังมีในขณะนี้ว่าเป็นธรรม ไม่ใช่เรา นี่คือเข้าถึงธรรม คือลักษณะของธรรมจริงๆ การอบรมปัญญาหรือเข้าถึงธรรม (สติปัฏฐาน) ไม่ได้หมายความว่า จะให้ไม่ให้มีชอบหรือไม่ชอบ เพราะมีเหตุ ย่อมเกิดขึ้น แต่การเข้าถึงธรรม คือรู้ลักษณะ แม้ของอกุศลที่ชอบหรือไม่ชอบที่เกิดขึ้นว่าเป็นธรรม นี่คือความมั่นคงและตั้งมั่นในลักษณะของสภาพธรรม ที่กำลังเกิดขึ้น ขณะที่ระลึกสภาพธรรม ทีเกิดในขณะนั้น ไม่หวั่นไหวไป ในความยินดี ยินร้ายครับ
ขออนุโมทนา ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
ทุกวันนี้ ก็พยายามศึกษา ฟังธรรม ให้เข้าใจ ตามที่อาจารย์สุจินต์สอน สำหรับตัวเองได้ผลดีมากเลย เพราะมีความเข้าใจมากขึ้น ทำให้อยู่ได้ในทุกสถานการณ์ ไม่ว่าสิ่งที่ชอบ หรือไม่ชอบก็ตาม บางครั้งอาจจะเป็นทุกข์บ้าง แต่ก็ไม่นาน สามารถแก้ปัญหาต่างๆ ได้ดีขึ้น ทำให้ซาบซึ้งในพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้ามาก เพราะให้ผลได้ ไม่จำกัดกาลจริงๆ ทุกวันนี้มีความสุขมาก