อภิชฌา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่ มีความเพียรให้กิเลสเร่าร้อน มีสัมปชัญญะ มีสติ ละอภิชฌาและโทมนัส (ความยินดียินร้าย) เสียได้
อภิชฌาต่างจากโสมนัสอย่างไรครับ
อภิชฌาเป็นอีกชื่อหนึ่งของโลภเจตสิก แต่โสมนัสเป็นเวทนาเจตสิก ซึ่งมีทั้งที่เป็นโสภณและเป็นอกุศลทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสัมปยุตธรรมที่เกิดร่วมด้วย
อภิชฌา หมายถึงความยินดี ติดข้องในกามคุณ ๕ ถ้ามีกำลังมากๆ ก็ทำให้ล่วงศีลได้เช่น ติดในอาหารที่อร่อย ไม่มีเงินซื้อก็ขโมยเขามา เป็นต้น ส่วนโสมนัส หมายถึงความดีใจ ความสุขใจ เกิดกับกุศลจิตก็ได้ อกุศลจิตก็ได้ แล้วแต่โสมนัสประกอบด้วยกุศล หรืออกุศล
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
ตามปกติชีวิตของคนเราส่วนใหญ่มักเป็นไปในอกุศล เช่นโลภะบ้าง โทสะบ้าง เป็นต้น และที่สำคัญก็ยึด อกุศลและสภาพธรรมอื่นๆ ว่าเป็นเรา เป็นสัตว์ บุคคล แต่การเจริญสติปัฏฐาน ตามข้อความข้างต้นนั้น แสดงให้เห็นว่า เมื่อสติปัฏฐานเกิด ขณะนั้น ย่อมกำจัด อภิชฌา (โลภะ) และโทมนัส (โทสะ) ในโลก คือขันธ์ ๕ ได้ โดยรู้ตามความเป็นจริงในขณะนั้นว่าเป็นธรรม ไม่ใช่เรา นี่คือหนทางที่จะกำจัดหรือดับอกุศลคือ โลภะคืออภิชฌา และอกุศลประการต่างได้หมด ด้วยการเจริญสติปัฏฐาน ระลึกสภาพธรรมที่มีในขณะนี้
ขออนุโมทนา ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์