อิริยาบทบรรพ และสัมปชัญญะบรรพ
อิริยาบถบรรพ และสัมปชัญญะบรรพ มีนัยต่างกันอย่างไรครับ เพราะก็มีลักษณะของการเคลื่อน การทรงลักษณะของกายเหมือนกัน
อิริยาบถบรรพ หมายถึง อริยาบถใหญ่ นั่ง นอน ยืน เดิน สัมปชัญญะบรรพ หมายถึง อริยาบถย่อย การเหลียว การคู้เข้าเหยียดออก ฯ
ทั้งหมดเป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นธรรมอย่างหนึ่ง เท่านั้น ปรากฏแล้วก็ดับไป ในโลก ๖ โลกนี้ ย่อแล้วเหลือแค่ นามธรรมและรูปธรรมเท่านั้นจะปรากฏต่อเมื่อมี สติสัมปชัญญะ เกิดร่วมด้วยค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
ไม่ว่าจะเป็นอิริยาบถใด ขณะนั้นก็มีธรรม กำลังปรากฏ ไม่ว่ายืน ก็มีธรรม ไม่ว่าจะเหลียวขณะนั้นก็มีธรรม จึงไม่เว้นจากธรรมเลย แต่ปัญญาคือ การอบรมสติปัฏฐาน เมื่อสติเกิด ย่อมรู้ตามความเป็นจริงในสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ไม่ว่าในอิริยาบถใด ไม่ว่าจะย่อยหรือใหญ่ก็ตาม เพราะธรรม มีอยู่ทุกขณะ ที่สำคัญต้องเริ่มจากการฟังก่อนว่า ธรรมคืออะไร และไม่ลืมเสมอว่า ไม่มีการเลือกเจาะจงว่า จะเจริญหมวดไหน เพราะสติเป็นอนัตตา แล้วแต่สติว่าจะเกิดระลึกสภาพธรรมอะไรครับ
ขออนุโมทนา
ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
ขออนุโมทนา กับคำตอบครับ และผมก็เห็นว่าถูกต้องทั้งหมด เพียงแต่จริงอยู่ทุกอย่างเป็นปรมัตถธรรม กล่าวโดยย่อ คือนาม-รูป หรือสิ่งที่ปรากฏทาง ๖ ทวารแต่ที่พระพุทธองค์ ทรงตรัสสั่งสอน โดยนัยต่างๆ ทั้งวินัย สุตะ และอภิธรรม ก็น่าจะมีประโยชน์ มุ่งต่อนัยใดนัยหนึ่ง มิใช่หรือครับ ถ้าเช่นนั้นพระพุทธองค์ไปโปรดใคร ก็คงจะกล่าวเหมือนกันไปหมด ว่าทุกอย่างคือนาม-รูป ทุกอย่างเป็น ไตรลักษณ์และจงกำหนดรู้โดยสติปัฏฐานเถิด ดังนี้ เท่านั้น ไม่ต้องกล่าวบัญญัติธรรมเลย มิฉะนั้น ถ้าจะไปกล่าวธรรมกับใคร ก็ไม่ต้องเรียนมาก รู้มากหรอก บอกแค่ว่าทุกอย่าง คือนาม-รูป ให้กำหนดรู้ตามความเป็นจริงทาง ๖ ทวาร ถ้าเพียงนี้เพียงพอก็คงไม่ต้องมีพระธรรม ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์