ความจริงของเห็นคืออะไร?

 
เมตตา
วันที่  27 ม.ค. 2567
หมายเลข  47322
อ่าน  361

อาช่า: อยากฟังเรื่องวิตก วิจารต่อค่ะ คือคำถามกับตัวเองว่า ในชีวิตประจำวัน วิตก วิจารที่เกิดก็เป็นเจตสิก เราสามารถรู้ได้เมื่อไหร่ แล้วเกิดตอนไหนในโอกาสไหนในชีวิตประจำวัน อยากจะเข้าใจเรื่องนี้ และสงสัยว่า ที่เราคิดว่า คิด นี่ ถ้าเจาะจงลงมา ก็พูดได้ว่า วิตก วิจารเป็นคิด หรือว่าอย่างไรค่ะ

ท่านอาจารย์: นี่เป็นคำถามของคนไม่รู้แน่นอน และต้องการจะรู้ แต่ว่าไม่รู้ตามลำดับ แล้วจะเป็นไปได้ไหม?

อาช่า: ที่ถามเพราะเคยได้ยินจากท่านอาจารย์ว่า จนกว่าเราเข้าใจถูก เราก็ไม่ควรจะข้าม เพราะฉะนั้น ที่ถามเพราะคิดในนัยนั้นว่า ถ้าไม่เข้าใจก็อย่าเพิ่งไปข้างหน้าต่อ ต้องพยายามเข้าใจให้ถูกก่อนแต่ละคำถามแต่ละธรรมที่เราถามถึง

ท่านอาจารย์: ตลอดชีวิตนี้คุณอาช่าสามารถจะจบความที่ต้องการรู้อย่างนี้ไหม?

คุณสุคิน: คุณอาช่าจะติดตรงที่ คำว่า วิจาร ในภาษาฮินดีก็มีคำว่า วิจาร ซึ่งหมายถึงการพิจารณา ตรงนี้แกก็เลยต้องกลับไปถามอยู่ตลอดว่า ในชีวิตประจำวันก็มีการพิจารณา อย่างตอนนี้ก็มีการพิจารณาอยู่ แกก็เลยสงสัยว่ามีการเกี่ยวข้องกันไหมตามที่พระพุทธองค์สอนว่า วิจารคืออะไร วิตกคืออะไร กับที่เป็นอยู่ตอนนี้เราเรียกว่าเรากำลังพิจารณา คำพูด สิ่งที่เราได้ยิน มีความเกี่ยวข้องการไหมครับท่านอาจารย์

ท่านอาจารย์: เวลาคนไปเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ตรัสให้เขาเข้าใจวิจารหรือเปล่า?

อาช่า: ไม่มี

ท่านอาจารย์: ทำไมล่ะ?

คุณสุคิน: ท่านอาจารย์ครับ อาช่าก็กลับไปที่เดิม เข้าใจว่าพระพุทธองค์ที่มีใครมาฟังพระพุทธองค์ ตอนนั้นพระพุทธองค์ก็จะให้เข้าใจสิ่งที่ปรากฏ สำหรับเขาก็เข้าใจได้ตอนนั้น คุณอาช่าก็ถามว่า ก็เป็นอย่างนี้อยู่ เวลานี้มีการพิจารณาอยู่ เพราะฉะนั้น อยากเข้าใจว่าอันนี้หรือเปล่าที่เราได้ยินที่เขาเคยอ่านมา แล้วคราวที่แล้วที่เราสนทนากันว่ามีเจตสิก ๒ คือ วิตก วิจาร คือเป็นตรงนี้หรือเปล่า แกก็กลับมาตรงนี้ว่า ที่เป็นอยู่ตอนนี้คืออันนั้นหรือเปล่า?

ท่านอาจารย์: อันนั้นหรือเปล่า ก็คือไม่เข้าใจ

อาช่า: ก็นั่นรู้อยู่ว่า ตัวเองเป็นคนไม่มีความรู้ และก็ไม่เข้าใจ

ท่านอาจารย์: ขอโทษค่ะ ตัวเองไม่มีความรู้ แล้วจะรู้อะไร จะรู้วิจารหรือ?

คุณสุคิน: ท่านอาจารย์ครับ เมื่อกี๊นี้ผิดหรือถูก ผมก็ถามคำถามอาช่าในลักษณะว่า ที่คุณรู้ว่าตัวเองไม่รู้นี่ ก็คือไม่รู้อะไร ไม่รู้เลยแม้กระทั่งที่ปรากฏตอนนี้ไม่รู้เลยใช่ไหม หรือว่าเป็นการไม่รู้คำศัพท์แล้วอยากได้คำอธิบายคำศัพท์ แกก็เลยตอบว่าก็เหมือนกับ เห็น เห็นก็เป็นความจริงที่เกิดอยู่ตอนนี้ แต่ก็มีคำศัพท์ เพราะฉะนั้น คำศัพท์ก็สำคัญเหมือนกัน ก็อยากเข้าใจคำศัพท์

ท่านอาจารย์: คุณอาช่ากำลังอยากรู้เรื่องวิจาร เขารู้ไหมว่า ขณะนั้นเป็นความอยากที่รู้ได้ ไม่ใช่วิจาร

คุณสุคิน: ท่านอาจารย์ครับ จะมีปัญหาอีกอันหนึ่งตรงที่ว่า อาช่าเวลานี้เขาอ่านหนังสืออื่นภาษาฮินดีด้วย ซึ่งพูดถึงวิจารนัยหนึ่ง ให้อธิบายอีกแบบหนึ่ง เวลาเดียวกันที่ฟังมาเกี่ยวกับคิด เกี่ยวกับพิจารณา แกก็ได้ยินมาเหมือนกัน ตอนนี้ก็สับสนว่า อะไรคืออะไร อะไรเป็นจิต อะไรเป็นเจตสิก แกถึงถามคำถามแบบนี้ครับ

ท่านอาจารย์: พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่าอย่างไร ยังไม่รู้จักพระพุทธเจ้า เพราะฉะนั้น ยังสงสัยในคำของพระพุทธเจ้า

เพราะฉะนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นใคร มีใครนอกจากพระองค์ที่ตรัสคำที่จะให้เข้าใจสิ่งที่กำลังมีเดี๋ยวนี้ไม่ว่าในภาษาไหน เดี๋ยวนี้กำลังเห็น มีภาษาไหนที่พูดเรื่องเห็นให้เข้าใจความจริงของเห็น เพราะฉะนั้น เขาจะฟังคำของใคร?

อาช่า: คำสอนของพระพุทธองค์

ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น ขณะที่กำลังคิดอยากจะเข้าใจ วิจาร ขณะนั้นกุศลจิต หรืออกุศลจิต?

อาช่า: เพราะเห็นอยู่ว่าตอนนั้นไม่เข้าใจ เพราะฉะนั้น ต้องเป็นอกุศล

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างยิ่งค่ะ และกราบยินดีในกุศลของคุณสุคิน ผู้ถ่ายทอดคำท่านอาจารย์เป็นภาษาฮินดีค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
เมตตา
วันที่ 27 ม.ค. 2567

ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น โลภะ อวิชชา พูดเท่าไหร่ก็ไม่สามารถจะทำให้เข้าใจความจริงซึ่งเป็นลักษณะจริงๆ ของวิจารได้ สิ่งที่สำคัญที่สุด คือคนไม่รู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในความลึกซึ้ง ธรรมลึกซึ้ง ไม่มีใครจะสามารถเข้าใจธรรมได้ด้วยโลภะ คือความต้องการ นี่เป็น คำ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ลึกซึ้งไหมที่จะรู้ว่า ขณะใดที่มีความต้องการเพราะไม่รู้แล้วอยากรู้ ขณะนั้นเป็นอกุศล ไม่สามารถจะรู้ได้เลย เพียงแต่เข้าใจคำในภาษาต่างๆ เท่านั้น

อาช่า: ค่ะ

ท่านอาจารย์: เดี๋ยวนี้ได้ยินคำว่า โลภะ รู้ว่าภาษาอะไร รู้เข้าใจความหมายของโลภะ แต่ไม่รู้จัก ภาวะ ที่เป็นโลภะ ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ กว่าจะรู้ว่าเป็นจิต ไม่ใช่อะไรเลยทั้งสิ้น ไม่ใช่ชื่อวิญญาณ ไม่ใช่ชื่อมโน นั่นคิดว่ารู้จักแล้ว แต่ความจริงเดี๋ยวนี้มีจิต แต่ไม่รู้จักจิตเลย นี่คือความลึกซึ้งของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงบำเพ็ญพระบารมีที่จะตรัสรู้ความจริง แล้วทรงแสดงความจริงด้วยคำในภาษาที่พระองค์ใช้

เพราะฉะนั้น เดี๋ยวนี้มีวิจาร แต่พยายามที่จะไปจำว่า วิจารคืออะไร หมายความว่าอะไร นั่นไม่ใช่การตรัสรู้ การตรัสรู้ไม่ใช่ชื่อ แต่รู้ความจริงที่กำลังเป็นวิจาร

ทุกคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ใช่ให้จำ แล้วไปค้นหาชื่อต่างๆ แต่ว่า สิ่งนี้กำลังมี ลึกซึ้งไหมกว่าจะรู้?

เดี๋ยวนี้กำลังมี ภาวะ ที่เป็นวิจาร แล้วก็ชื่อต่างๆ ไม่ว่าในภาษาอะไรทั้งหมด สามารถจะทำให้เข้าใจวิจารได้ไหม ถ้าไม่ฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

เพราะฉะนั้น เริ่มเคารพในความลึกซึ้งอย่างยิ่งของความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือยัง?

อาช่า: คำพูด คืออย่างหนึ่ง จนกว่าจะเข้าใจความจริง ไม่เช่นนั้นเราก็ไม่มีความนับถือจริงๆ

ท่านอาจารย์: ขณะนี้เห็น กำลังเห็น ต้องพูดว่าเห็นไหม?

อาช่า: ไม่ต้องค่ะ

ท่านอาจารย์: แต่ถ้าไม่ใช้คำว่า เห็น ก็ไม่รู้ว่ากำลังมุ่งที่จะพูดถึงสิ่งนี้ที่กำลังมีสิ่งเดียว

อาช่า: ถ้าไม่มีคำที่ท่านอาจารย์พูดว่า ถ้าไม่มีคำที่จะพูดถึงเห็น ตอนนี้เราก็คิดไม่ออกไม่สามารถรู้ได้ว่าเป็นสิ่งที่มีจริง แต่ไม่ได้อยู่ที่ชื่อความจริงก็เป็นความจริง

ท่านอาจารย์: เมื่อทุกคำ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากล่าวถึงสิ่งที่มีจริง ให้เข้าใจความจริง ไม่ได้ให้ไปจำชื่อถูกต้องไหม หรือไม่ได้ให้ไปคิดเรื่องชื่อ?

อาช่า: ค่ะ

ท่านอาจารย์: นี่เป็นความเริ่มมั่นคงในความลึกซึ้งของ พระธรรม ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญพระบารมีเพื่อตรัสรู้ และกล่าวถึงความจริงแต่ละคำ ที่ลึกซึ้ง

สิ่งที่มีจริงๆ ในชีวิตประจำวันทุกวัน แม้วันนี้ใครรู้ความจริงแต่ละขณะบ้าง? ใครรู้ความจริงของสิ่งที่มีเดี๋ยวนี้บ้าง? เพราะฉะนั้น เริ่มเข้าใจ คำว่า ธรรม สิ่งที่มีจริง แต่ไม่มีใครรู้ความจริง แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ความจริงของสิ่งที่มีจริงทุกอย่าง พระองค์ตรัสว่า สิ่งที่มีขณะนี้ลึกซึ้ง ธรรมทั้งหมดทั้งปวงลึกซึ้ง เพราะแม้กำลังปรากฏ กี่ชาติในสังสารวัฏฏ์ ก็ไม่สามารถจะรู้ความจริงได้ จนกว่าจะมีการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และทรงแสดงความจริงให้เราเริ่มฟัง

เพราะฉะนั้น ฟังทุกคำของพระองค์ด้วยความเคารพสูงสุดในความลึกซึ้ง เพื่อเริ่มฟังคำของพระพระองค์ เข้าใจแต่ลำคำ เพิ่มความเคารพสูงสุดในคำที่ลึกซึ้งของพระองค์ทุกคำ ถ้าไม่เข้าใจคำของพระองค์ จะเคารพสูงสุดในความลึกซึ้งไหม

อาช่า: ไม่ได้

ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น ฟังแล้วเข้าใจเมื่อไหร่ เริ่มเห็นความลึกซึ้ง และเคารพในพระองค์ยิ่งขึ้นทุกครั้งที่ได้เริ่มเข้าใจถูกต้อง

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพยิ่งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
เมตตา
วันที่ 27 ม.ค. 2567

ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น เริ่มรู้ว่า ถ้าไม่ได้ฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะไม่รู้ความจริงของอะไรเลยทั้งสิ้น เพราะฉะนั้น เดี๋ยวนี้กำลังไม่รู้อะไร?

อาช่า: ธรรมที่เกิดอยู่ และดับอยู่ นั่นแหละที่เราไม่เข้าใจ

ท่านอาจารย์: ถามว่า อะไร?

อาช่า: ถามว่าสิ่งที่ไม่รู้ คืออะไร คำตอบก็คือธรรมที่มีจริงตอนนี้ไม่รู้

ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น ถามว่า อะไรที่ไม่รู้ กำลังไม่รู้อะไร? ไม่ใช่ตอบอย่างนั้น

อาช่า: เช่น เห็น

ท่านอาจารย์: เห็นความลึกซึ้งไหม กำลังเห็น ถ้าไม่ถามไม่รู้ว่า กำลังไม่รู้เห็นที่กำลังเห็น วันนี้เห็นเยอะไหม เฉพาะวันนี้ เมื่อวานนี้ ตั้งแต่เกิดมาชาติก่อนๆ ไม่รู้จักเห็นใช่ไหม?

อาช่า: ค่ะ

ท่านอาจารย์: การที่จะเข้าใจธรรมที่ลึกซึ้ง จะขาดการไตร่ตรองจนกระทั่งสามารถเข้าถึงธรรมที่ลึกซึ้งไม่ได้เลย เพราะฉะนั้น เริ่มรู้ว่า ธรรมลึกซึ้งเมื่อมีคำถามเรื่องธรรม ทุกคำเป็นคำเตือน ให้เริ่มคิดไตร่ตรองใช่ไหม?

ถ้าฟังแล้วไม่ไตร่ตรอง จะสามารถเข้าใจความจริงได้ไหม?

อาช่า: ไม่ได้

ท่านอาจารย์: การไตร่ตรองมีจริงหรือเปล่า?

อาช่า: มี

ท่านอาจารย์: พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า ภาวะที่ไตร่ตรองเป็นอะไรหรือเปล่า พระองค์ตรัสว่าอย่างไร?

อาช่า: ก็คือ กลับมาที่นั่นแหละ ตรงนี้ไม่เข้าใจ แต่เคยอ่านมาได้ยินมาว่า มีการไตร่ตรองมีการพิจารณาอยู่ นั่นคือสิ่งที่มีจริง

ท่านอาจารย์: นี่คือความลึกซึ้ง เพราะฉะนั้น ทุกอย่างต้องมี สภาวธรรม หลากหลายมากที่เกิดพร้อมกัน ทำให้ยากที่จะรู้ได้ว่า แม้คำว่า ไตร่ตรอง เป็นจริง แต่เป็น ภาวะอะไร?

อาช่า: ค่ะ

ท่านอาจารย์: ขณะที่ไตร่ตรองเป็นจิตหรือเปล่า?

อาช่า: มีจิตค่ะ

ท่านอาจารย์: ถามว่า กำลังไตร่ตรอง ไตร่ตรองเป็นจิตหรือเปล่า?

อาช่า: การไตร่ตรองเป็นจิต

ท่านอาจารย์: ไม่ใช่เลย เราได้ยินคำว่า จิต แต่เราไม่ได้เข้าใจเพราะไม่ได้คิดไตร่ตรองดีๆ จึงคิดว่า อะไรๆ ก็เป็นจิต แต่การตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น ที่ตรัสรู้แล้ว ทรงแสดงความจริงว่า ไตร่ตรอง ไม่ใช่จิต

อาช่า: ไม่ใช่เป็นจิต

ท่านอาจารย์: เพราะเขาได้ยินคำว่า จิตบ่อยๆ แสดงว่าเข้าใจจิตเพิ่มขึ้นจริงๆ หรือเปล่า?

อาช่า: ค่ะ

ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น จิต คืออะไร?

อาช่า: จิต ก็คือธรรมที่ตอนนี้มี ที่รู้สิ่งที่จิตรู้ รู้อย่างชัด รู้อย่างทั่ว

ท่านอาจารย์: ยกตัวอย่างจิต ๑ จิต

อาช่า: เห็น

ท่านอาจารย์: เห็นรู้อะไร?

อาช่า: รู้สิ่งที่เห็น

ท่านอาจารย์: อะไรเป็นสิ่งที่ถูกเห็นเดี๋ยวนี้?

อาช่า: สิ่งที่ปรากฏให้เห็นตอนนี้อยู่

ท่านอาจารย์: จิตเห็นตุ๊กตาได้ไหม จิตเห็นคนได้ไหม?

อาช่า: ไม่ได้

ท่านอาจารย์: เห็นคน เห็นดอกไม้ เห็นภูเขาได้ไหม?

อาช่า: ไม่ได้

ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น เริ่มรู้จักจิตจริงๆ ว่า ขณะใดก็ตามที่มีการเห็นเท่านั้น มีสิ่งที่กระทบตาเท่านั้นที่ปรากฏ ขณะนั้นจึงรู้ว่า ขณะอื่นที่กำลังเป็นความโลภ ความโกรธ ไม่ใช่จิต

อาช่า: ค่ะ

ท่านอาจารย์: แล้วโกรธมีจริงไหม?

อาช่า: มีจริง

ท่านอาจารย์: และโกรธไม่ใช่จิตใช่ไหม?

อาช่า: ไม่ใช่

ท่านอาจารย์: แล้วโกรธมีจริง โกรธไม่ใช่จิต แล้วโกรธรู้อะไรไหม?

อาช่า: โกรธรู้อารมณ์เดียวกันที่จิตรู้

ท่านอาจารย์: เดี๋ยวนี้โกรธอะไร?

อาช่า: เวลานี้ไม่ได้โกรธ

ท่านอาจารย์: เดี๋ยวนี้ติดข้องพอใจในอะไร?

อาช่า: ติดข้องในการที่จะรู้คำตอบ

ท่านอาจารย์: กำลังเห็นนี่ ติดข้องในการรู้คำตอบหรือ?

อาช่า: ติดข้องสิ่งที่เห็นอยู่

ท่านอาจารย์: พร้อมกันกับเห็นหรือเปล่า?

อาช่า: ไม่พร้อม

ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น กำลังเข้าใจธรรม เพราะได้ฟังธรรม และสนทนาธรรมบ่อยๆ ใช่ไหม จะได้ไม่ลืมความจริง?

อาช่า: ค่ะ

ท่านอาจารย์: ถ้าไม่รู้จักจิต ไม่รู้ความติดข้อง ไม่รู้ความโกรธ จะเข้าใจความเป็นจริงของสิ่งที่มีจริงหรือเปล่า?

อาช่า: ไม่มีความเข้าใจ

ท่านอาจารย์: พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่าอะไร?

อาช่า: พระพุทธองค์สอนว่า ธรรมเป็นสิ่งที่มีจริง กำลังปรากฏอยู่ ให้เข้าใจสิ่งนี้แหละ

ท่านอาจารย์: เพื่อประโยชน์อะไร?

อาช่า: เริ่มจากเข้าใจว่า ไม่มีเรา แล้วค่อยๆ เพิ่มความรู้ขึ้นจนดับความไม่รู้ และกิเลสทั้งหมด

ราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพยิ่งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
เมตตา
วันที่ 27 ม.ค. 2567

ท่านอาจารย์: ความรู้ที่เพิ่มขึ้นทำหน้าที่อะไร?

อาช่า: ทำหน้าที่ลดความไม่รู้

ท่านอาจารย์: ค่อยๆ ละความไม่รู้ อีกนานไหมกว่าจะหมดความไม่รู้?

อาช่า: ใช้เวลานานมาก เพราะความไม่รู้เยอะมากจริงๆ

ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น ปัญญารู้ความจริงใช่ไหม?

อาช่า: ใช่

ท่านอาจารย์: ปัญญาตรงข้ามกับธรรมอะไร?

อาช่า: ตรงข้ามกับความไม่รู้

ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น เดี๋ยวนี้รู้จักเห็นหรือยัง?

อาช่า: ยังไม่รู้

ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น ไม่ใช่คุณอาช่า แต่เป็นปัญญาที่ยังไม่เกิดขึ้นเข้าใจเห็น

อาช่า: ค่ะ

ท่านอาจารย์: การที่เราพูดถึงเห็นเดี๋ยวนี้ที่กำลังเห็น มีประโยชน์อะไรไหม?

อาช่า: เห็นเกิดขึ้นทั้งวัน แล้วไม่รู้ค่ะ เพราะฉะนั้น ถ้าฟังเรื่องเห็นบ่อยๆ ก็ค่อยๆ เริ่มมีความเข้าใจได้

ท่านอาจารย์: เริ่มระลึกถึงเห็น เริ่มรู้ว่ายังไม่รู้เรื่องเห็น เพราะฉะนั้น ก็เป็นปัญญาที่จะเห็นประโยชน์อย่างยิ่งของการพูดถึงความจริงของสิ่งที่กำลังมีทุกครั้ง ถ้าเราไม่พูดถึงเห็นที่กำลังเห็น แล้วจะมีเวลาที่จะรู้จักเห็น เข้าใจเห็นไหม?

อาช่า: ถ้าไม่พูดถึงก็ไม่มีวันเข้าใจ

ท่านอาจารย์: นี่เป็นเหตุที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสถึงสิ่งที่กำลังมีกับคนที่ได้เข้าเฝ้าพระองค์ เพราะถ้าไม่พูดถึงเห็นเดี๋ยวนี้บ่อยๆ ก็ไม่คิดถึงเห็นเลย แล้วจะรู้จักเห็นได้อย่างไร

คุณอาช่าเริ่มเบื่อไหมที่เราพูดแต่เรื่องเห็น?

อาช่า: ตอนที่ฟังใหม่ๆ บางทีก็มีโทสะว่า ทำไมพูดถึงแต่เรื่องเห็น แต่ตอนนี้ยิ่งฟังยิ่งรู้ว่า ไม่เหมือนเมื่อก่อน ตอนนี้ฟังแล้วก็เห็นความสำคัญของการฟังเรื่องเห็น

ท่านอาจารย์: แล้วทราบไหมว่า นี่คืออริยสัจจะที่ ๔ มรรคมีองค์ ๘ ที่จะทำให้ค่อยๆ เข้าใกล้สิ่งที่มีจริงแล้วถึงความถูกต้องในสิ่งนั้นได้

เพราะฉะนั้น หนทางเดียวที่จะเป็นมรรคมีองค์ ๘ ที่เป็นอริยสัจจธรรม ๔ คือต้องรู้ความจริง โดยการฟังทุกคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้เห็นความลึกซึ้งอย่างยิ่งว่า ยากที่จะรู้ได้ แต่รู้ได้ เมื่อค่อยๆ เข้าใจขึ้น

อาช่า: ค่ะ

ท่านอาจารย์: เดี๋ยวนี้นะ รู้จักจริงๆ ในความต่างของจิต และเจตสิกหรือเปล่า?

อาช่า: ยังไม่รู้จริง

ท่านอาจารย์: ถูกต้อง เพราะว่า เดี๋ยวนี้ยังไม่รู้จักเห็น แล้วจะรู้จักสภาพธรรมอื่นได้หรือ? ถ้าพระองค์ไม่ทรงแสดงความต่างของจิต เจตสิก เราก็คิดว่าเรารู้ แต่ความจริงเราไม่ได้เข้าใจแต่ละหนึ่งตามความเป็นจริง ขณะที่กำลังพูดเรื่องนี้ ทำให้มีการค่อยๆ ไม่ลืมความจริงที่ได้ฟัง ไม่ใช่เพียงจำได้ว่า จิตไม่ใช่เจตสิกที่ไตร่ตรอง

อาช่า: ไม่เหมือนกับตอนที่เราฟังใหม่ๆ เราได้ยินเรื่องจิต เจตสิก เราคิดว่าเราเข้าใจแล้ว ตอนใหม่ๆ ก็เป็นอย่างนั้นแหละ เราคิดว่าเราฟังแล้วจิตเป็นอย่างนี้ เจตสิกเป็นอย่างนี้ แล้วทำไมท่านอาจารย์พูดเรื่อยๆ แต่ตอนนี้ไม่ได้เป็นแบบนั้นแล้ว

ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น กว่าจะเป็นปริยัติ รอบรู้ในความลึกซึ้งของธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ ต้องเป็นผู้ที่ตรง เพราะฉะนั้น คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในอริยสัจจ์ ๔ จึงมี ๓ รอบ

เดี๋ยวนี้มีธรรมอะไร?

อาช่า: ได้ยิน

ท่านอาจารย์: ถ้าไม่รู้ไม่เข้าใจขณะที่กำลังได้ยิน จะสามารถถึงปฏิปัตติไหม?

อาช่า: ไม่ได้ค่ะ

ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น ต้องเข้าใจอีกให้ลึกซึ้งว่า ปฏิปัตติ คืออะไร?

อาช่า: อย่างเช่นตอนนี้ เรารู้ว่าเห็นมีจริงเป็นขั้นปริยัติ เมื่อไหร่รู้มากกว่านี้ ไม่ใช่แค่เป็นขั้นปริยัติก็เป็นปฏิปัตติ

ท่านอาจารย์: จะรู้เองได้ไหม?

อาช่า: ไม่ได้

ท่านอาจารย์: ถูกต้อง แสดงว่าปริยัติเริ่มมั่นคง แสดงว่าถ้าความเข้าใจสิ่งที่กำลังมีไม่พอเป็นเบื้องต้น จะไม่มีการปฏิปัตติ รู้ตรงลักษณะที่กำลังเป็นอย่างที่เข้าใจได้เลย

กำลังมีเห็น ฟังเรื่องเห็น แต่ยังไม่รู้ความจริงของเห็น เพราะฉะนั้น ต้องรู้ความต่างกัน เราเข้าใจว่า เห็นมีจริง แต่ขณะนั้นไม่ได้เข้าใจลักษณะของเห็นที่กำลังมีจริงๆ จึงเป็นความรู้ขั้นเข้าใจเป็นปริยัติ

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพยิ่งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
เมตตา
วันที่ 27 ม.ค. 2567

ท่านอาจารย์: กำลังมีเห็น เดี๋ยวนี้ไม่รู้จักเห็น ความเป็นเห็น ไม่ใช่เรา ไม่ใช่สิ่งหนึ่งสิ่งใด แต่ถ้าเราไม่พูดถึงเห็น จนมั่นคงว่า ถ้าไม่รู้จักเห็นที่กำลังเห็น ก็จะไม่รู้อะไร

กำลังเห็นจริงๆ และก็ยังไม่รู้จักเห็น แต่ควรรู้จักไหม?

อาช่า: ควรรู้จัก

ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น ความจริงของเห็นคืออะไร?

อาช่า: ก็ตอนนี้เห็นอยู่ เห็นสิ่งที่ปรากฏ

ท่านอาจารย์: ไม่ใช่อย่างนั้นเลยนะ ต้องรู้ว่า เห็นเป็นเห็น สัจจธรรม ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ใคร ไม่ใช่อะไรทั้งหมด แต่เป็นธรรมที่เกิดขึ้นเห็น

อาช่า: ตรงนี้เข้าใจว่า เห็นเป็นสิ่งที่มีจริงเป็นธรรม ตรงนี้ก็จริง แต่ตรงที่ตอบว่า ที่เห็นอยู่ก็จริง ทั้งสองถูกค่ะ

ท่านอาจารย์: แต่ว่า ขณะนี้เป็นเราเห็นจริงใช่ไหม?

อาช่า: ตอนนี้เราเห็น

ท่านอาจารย์: ผิด หรือถูก?

อาช่า: ผิดค่ะ

ท่านอาจารย์: อะไรถูก?

อาช่า: ถูกก็คือ ธรรมหนึ่งเกิดแล้วทำหน้าที่เห็น

ท่านอาจารย์: ไม่ใช่ใครทั้งสิ้น ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเราหรือของใคร เพราะฉะนั้น เข้าใจที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตาทีละน้อยใช่ไหม?

อาช่า: ค่ะ

ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น ความเห็นผิดว่าเป็นเรามีจริงไหม?

อาช่า: ความเห็นผิดก็เป็นธรรมค่ะ

ท่านอาจารย์: เป็นธรรมอะไร?

อาช่า: เป็นเจตสิก

ท่านอาจารย์: เป็นเจตสิกอะไร?

อาช่า: ไม่ใช่อวิชชา แต่ว่าเจตสิกไหนไม่ทราบค่ะ

ท่านอาจารย์: เคยได้ยินคำว่า ทิฏฐิเจตสิกไหม?

อาช่า: เคยได้ยิน

ท่านอาจารย์: กำลังเห็น เป็นเราเป็นทิฏฐิหรือเปล่า?

อาช่า: เป็นทิฏฐิ

ท่านอาจารย์: เป็นเจตสิกหรือเปล่า?

อาช่า: เป็นเจตสิก

ท่านอาจารย์: กำลังมีทิฏฐิ รู้จักทิฏฐิเจตสิกหรือยัง?

อาช่า: ไม่รู้

ท่านอาจารย์: มีหนทางรู้ไหม?

อาช่า: มีหนึ่งหนทาง

ท่านอาจารย์: อะไร?

อาช่า: ก็คือ ฟัง แล้วก็พิจารณาให้เข้าใจ

ท่านอาจารย์: แล้วเมื่อไหร่จะปฏิปัตติ?

อาช่า: เมื่อไหร่ความเข้าใจเพิ่มขึ้นจนถึงระดับ

ท่านอาจารย์: เพิ่มขึ้นสักหนึ่งซิว่า อะไรเป็นหนทางที่รู้ตรงลักษณะ?

อาช่า: ก็คือ การพิจารณา

ท่านอาจารย์: พอไหม?

อาช่า: ไม่พอ แต่ว่าเป็นทางเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ถึงจุดนั้นได้

ท่านอาจารย์: ถ้าไม่พึ่งคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะรู้ไหมว่าขณะนั้นต้องมีธรรมอะไรเป็นเหตุให้สามารถรู้ตรงลักษณะของสภาพธรรมที่เข้าใจแล้วที่กำลังปรากฏอยู่

อาช่า: เข้าใจว่าต้องเข้าใจทุกอย่าง

ท่านอาจารย์: พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงเท่านี้ หรือมากกว่านี้ เพราะธรรมมีมากกว่านี้

อาช่า: ก็คือฟัง พิจารณา แล้วก็ในชีวิตประจำวัน ก็คือให้เกิดขึ้นหมายความว่า จะใช้คำว่าปฏิบัติก็ไม่ใช่ เหมือนกับว่าแค่ฟังแล้วพิจารณาอย่างเดียว ถ้าในชีวิตประจำวันไม่มีการเจริญความเข้าใจ และกุศลอื่นๆ ก็คงไม่มีหนทาง

ท่านอาจารย์: ถูกต้อง เพราะฉะนั้น คิดเองไม่ได้แน่ ต้องฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถูกต้องไหม?

อาช่า: ค่ะ

ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงความจริงของสิ่งที่มีจริงทุกขณะในชีวิตประจำวันทั้งหมดทุกชาติ ให้รู้ว่าเราไม่รู้อะไรบ้าง

อาช่า: ค่ะ

ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น พระองค์ทรงแสดงสิ่งที่มีจริงซึ่งเป็นธรรม เป็นปรมัตถธรรม ว่า มีเท่าไหร่ พระองค์ทรงแสดงความต่างกันของจิต ว่า จิตทั้งหมดมีเท่าไหร่อย่างใหญ่ๆ และความละเอียดอีกมาก นอกจากจิตแล้วมีอะไรอีกที่พระองค์ตรัสว่ามี แต่ไม่ใช่จิต?

อาช่า: ปรมัตถธรรมมี ๔ มีจิต เจตสิก รูป นิพพาน

ท่านอาจารย์: เริ่มมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง เพื่อที่จะได้เข้าใจว่าสิ่งที่มี มีอะไรบ้าง มากมายใช่ไหมที่เราไม่รู้ พระองค์ตรัสรู้ว่า ทุกขณะต่างกันตามเหตุตามปัจจัย เพราะฉะนั้น จิตเป็นสภาพที่เป็นใหญ่ในการรู้แจ้งสิ่งที่กำลังปรากฏ แล้วเจตสิกมีเท่าไหร่?

อาช่า: เจตสิกมี ๕๒

ท่านอาจารย์: ลองบอกมาซิว่า อะไรบ้าง?

อาช่า: มีความโกรธ ๑ ค่ะ

ท่านอาจารย์: และอะไรอีก จะได้รู้ว่าคุณอาช่าได้ยินมาเท่าไหร่ จำได้เท่าไหร่ เข้าใจเท่าไหร่

อาช่า: ความเข้าใจ

ท่านอาจารย์: ๒ แล้ว

อาช่า: สมาธิ

ท่านอาจารย์: ถ้าไม่ฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า รู้ไหมว่าเดี๋ยวนี้มีสมาธิ?

อาช่า: มีค่ะ

ท่านอาจารย์: สมาธิที่ไม่ใช่ปัญญา สามารถที่จะรู้สิ่งที่กำลังปรากฏเดี๋ยวนี้ได้ไหม?

อาช่า: ไม่ได้

ท่านอาจารย์: เวลาที่คุณอาช่าพูดถึงเจตสิก ๒-๓ เจตสิก คุณอาช่าคิดถึงสติเจตสิกไหม?

อาช่า: ไม่ได้คิดถึง

ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น ชีวิตประจำวันทุกขณะที่เป็นจิตที่ดี จะต้องมีเจตสิกที่ระลึก ไม่ลืมเป็นไปในสิ่งที่ดี

อาช่า: เข้าใจว่า ถ้าเป็นการที่ระลึกในสิ่งที่ดีการกระทำที่ดี มีศัพท์หนึ่งที่เข้าใจตรงนั้น

ท่านอาจารย์: ไม่ใช่เข้าใจ คำ แต่เข้าใจลักษณะของธรรมที่เป็นสติ

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพยิ่งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
เมตตา
วันที่ 28 ม.ค. 2567

ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น ทุกคำที่เราพูดถึง เราจะเริ่มให้เข้าใจไม่ใช่เป็นการพูดถึงคำ ให้เข้าใจสิ่งนั้นที่มีจริงๆ ไม่ใช่คำที่เราเรียก เพราะฉะนั้น คนดีมีไหม คนไม่ดีมีไหม?

อาช่า: มีคนดีมีคนไม่ดี

ท่านอาจารย์: เราเข้าใจว่าเป็นคนไม่ดีแต่ความจริงเป็นธรรมที่ไม่ดี เราเข้าใจคนดีแต่ความจริงเป็นธรรมที่ดี เพราะฉะนั้น ให้รู้ว่า ทุกอย่างเป็นธรรมเป็นอนัตตา นี่เป็นสิ่งที่เราจะลืมไม่ได้ เพื่อให้เข้าใจถึงความประจักษ์แจ้งที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้

เพราะฉะนั้น สิ่งที่มีในชีวิตประจำวัน เราเริ่มรู้ความจริงว่า เป็นธรรมอะไร ทุกคนไม่สามารถจะเข้าใจสิ่งที่มีจริงได้เลย ถ้าไม่ได้ฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมถึง ๔๕ พรรษา เพื่อให้รู้ความจริงของสิ่งที่มีจริงๆ เดี๋ยวนี้ทุกขณะ

ความจริงเดี๋ยวนี้มีคุณอาช่าไหม?

อาช่า: ไม่มี

ท่านอาจารย์: เป็นอะไรถ้าไม่ใช่คุณอาช่า?

อาช่า: เป็นธรรม

ท่านอาจารย์: เป็นธรรมอะไร เห็นไหมต้องเพิ่มความเข้าใจขึ้นตามที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ๔๕ พรรษา จนกว่าจะถึงปฏิปัตติ ตรงลักษณะที่เป็นธรรมจริงๆ

อาช่า: มีจิต เจตสิก รูป

ท่านอาจารย์: เดี๋ยวนี้มีคุณสุคินไหม?

อาช่า: ไม่มี

ท่านอาจารย์: แล้วเป็นอะไร เดี๋ยวนี้ ที่ปรากฏ?

อาช่า: สิ่งที่เห็นที่เห็นได้

ท่านอาจารย์: สิ่งที่ถูกเห็น รู้อะไรได้ไหม?

อาช่า: ไม่ได้

ท่านอาจารย์: เดี๋ยวนี้ไม่มีคุณสุคิน แล้วมีคุณอาช่าไหม?

อาช่า: ไม่มี

ท่านอาจารย์: มั่นคงไหม?

อาช่า: มั่นคงค่ะ

ท่านอาจารย์: ถ้ารู้เพียงเท่านี้ มั่นคงไหม?

อาช่า: ตามที่ระดับความเข้าใจรู้ว่าเข้าใจแค่นี้ไม่พอ ความมั่นคงก็ยังไม่มั่นคง

ท่านอาจารย์: คิดว่าสมควรจะรู้มากกว่านี้ยิ่งขึ้นไหม?

อาช่า: สมควร

ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น เดี๋ยวนี้ได้ยินคำว่า เจตสิก เจตสิกที่ดีก็มีที่ไม่ดีก็มีใช่ไหม?

อาช่า: ค่ะ

ท่านอาจารย์: ถ้ารู้เพียงเท่านี้ ะกิเลส ละความเป็นเราได้ไหม?

อาช่า: ไม่ได้ค่ะ

ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น ต้องฟังต่อไปใช่ไหม ฟังต่อไปแล้วรู้ว่า สามารถจะเข้าใจอะไรได้ และไม่สามารถที่จะเข้าใจอะไรได้ เพราะอะไร?

อาช่า: เพื่อที่จะรู้ว่าเราเข้าใจแค่ไหน

ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น เดี๋ยวนี้เราจะพูดถึงอะไรที่เรายังไม่เข้าใจ ควรเข้าใจใช่ไหม?

อาช่า: ใช่ค่ะ

ท่านอาจารย์: พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงความจริงทั้งหมด ทั้งที่ปรากฏ และไม่ปรากฏใช่ไหม?

อาช่า: ใช่

ท่านอาจารย์: อะไรเป็นสิ่งควรเข้าใจได้เดี๋ยวนี้?

อาช่า: อะไรที่ปรากฏตอนนี้

ท่านอาจารย์: ถูกต้อง เพราะฉะนั้น เรากำลังพูดถึงว่า ขณะนี้มีอะไรบ้างที่เรายังไม่รู้ เพื่อจะค่อยๆ รู้ขึ้น

อาช่า: ค่ะ

ท่านอาจารย์: ขณะที่กำลังเข้าใจธรรม มีจริงๆ หรือเปล่า?

อาช่า: ตอนที่เข้าใจก็แปลว่าธรรมตอนนั้นมีจริง

ท่านอาจารย์: หมายความว่าอย่างไร?

อาช่า: ท่านอาจารย์ถามว่า ตอนที่เกิดความเข้าใจตอนนั้นมีธรรมจริงๆ ไหม

ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น ความเข้าใจเป็นคุณอาช่าหรือเปล่า?

อาช่า: ไม่ใช่

ท่านอาจารย์: ขณะนั้นมีโลภะไหม?

อาช่า: ไม่มี

ท่านอาจารย์: มีโทสะไหม?

อาช่า: ไม่มี

ท่านอาจารย์: มีโมหะความไม่รู้ไหม?

อาช่า: ถ้ามีความเข้าใจ ตอนนั้นมีอวิชชาเกิดพร้อมกันไม่ได้

ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น ขณะนั้น มีสภาพธรรมที่ไม่ใช่ฝ่ายไม่ดีเกิดขึ้น จึงเป็นสภาพธรรมที่ดีได้ แม้ขณะนั้น เป็นสภาพจิตที่ดีงามก็ยังไม่รู้ว่า มีเจตสิกอะไรเกิดพร้อมกับจิตนั้น แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงโดยละเอียดยิ่งซึ่งต้องเริ่มค่อยๆ เข้าใจ มิเช่นนั้น จะไม่รู้เลย จิตที่ไม่ดีกับจิตที่ดี จิตอะไรสะอาด?

อาช่า: เมื่อกี๊เรื่องภาษาว่า จะใช้ภาษาศัพท์อะไรดี ก็ไม่แน่ใจว่าจะใช้ศัพท์ใด แต่เข้าใจว่าถ้าระหว่างกุศลจิตกับอกุศลจิตแล้วกุศลจิตสะอาด

ท่านอาจารย์: แต่ไม่รู้จักสภาพธรรมที่สะอาดที่ทำให้จิตขณะนั้นไม่มีอกุศล

อาช่า: ไม่รู้ค่ะ

ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสคำหนึ่ง ไม่ต้องไปคิดถึงว่าภาษาอะไร หมายความถึงคำไหนในภาษานั้นๆ แต่พระองค์ตรัสว่า สภาพนั้นมีจริงๆ พระองค์ตรัสใช้คำว่า ศรัทธาเจตสิก

อาช่า: ค่ะ

ท่านอาจารย์: ปกติจิตไม่สะอาดเลย มีอกุศลเยอะเยะ เพราะศรัทธาไม่ได้เกิดขึ้น ทุกอย่างเป็นอนัตตา เราจะไม่รู้เลยเพราะอะไรจิตบางครั้งเป็นกุศลบางครั้งเป็นอกุศล

ลึกซึ้งไหม ธรรม แม้แต่เพียงฟังก็ต้องไตร่ตรองให้เข้าใจความจริงว่า ไม่ใช่เรา แต่เป็นธรรมแต่ละอย่าง ตามธรรมดาเราไม่เคยเห็นโทษของอกุศล เราไม่รังเกียจ เราไม่ละอายในความเป็นอกุศล เพราะฉะนั้น เมื่อสภาพธรรมที่ไม่เห็นโทษของอกุศล ไม่ละอายในสภาพที่เป็นอกุศล จึงมีอกุศลธรรมเกิดขึ้นได้

เพราะฉะนั้น ในขณะที่สภาพที่เป็นกุศลเกิดขึ้น ไม่มีใครรู้ว่า มีศรัทธา และมีหิริ และโอตัปปะ หิริ คือความละอายในความไม่ดี โอตัปปะ คือรู้ว่าเป็นภัย

คุณสุคิน: เมื่อกี๊นี้ ความหมายของโอตัปปะ ท่านอาจารย์ว่าอย่างไรครับ

ท่านอาจารย์: เห็นโทษเห็นอันตรายของอกุศล

คุณสุคิน: กลายเป็นว่า ผมพูดว่า เห็นโทษตรงนี้ ไม่รู้ว่าอาช่าจะไปสับสน หรือทีหลังจะมาคิดว่า มีแต่ปัญญาเห็นโทษ แล้วจะเห็นโทษอย่างไรในนัยไหน

ท่กุศลธรรมที่ต้องอาศัยานอาจารย์: ปัญญาเห็นโทษของความไม่รู้จึงได้รู้ว่าปัญญาดีกว่า แต่ความโลภะ โทสะ อกุศลอื่นๆ ความทุจริตต่างๆ เห็นโทษไหมแม้ไม่มีความเข้าใจในความเป็นธรรม แต่ก็มีสภาพธรรมที่เกิดขึ้นเห็นโทษของอกุศล

สุคิน: นี่ก็เข้าใจว่า โอตัปปะ ตรงข้ามกับอโนตตัปปะว่า ไม่ละอายใจ

ท่านอาจารย์: นั่นคิดเผินๆ แต่ถ้าเราจะรู้จักธรรมจริงๆ ลึกซึ้งไหมว่า ขาดกุศลธรรมที่จะต้องอาศัยกันเกิดขึ้นสักหนึ่งไม่ได้เลยในขณะที่จิตเป็นกุศล และประเภทต่างๆ ก็ต้องมีปัจจัยที่ทำให้หลากหลายไปด้วย

อ าช่า: เข้าใจว่า ตอนนี้เราเข้าใจได้แค่ไหนก็เข้าใจว่า คนลัเจตสิกกันคนละธรรมกันซึ่งทำหน้าที่ของตัวเอง

ท่านอาจารย์: นี่เป็นเหตุที่จะทำให้เราค่อยๆ ละการยึดถือว่า ขณะนั้นเราทำดี เราเห็นโทษ เราละอายต่อความไม่ดี

เพราะฉะนั้น ในขณะนั้นถ้ามีความเข้าใจเพียงเล็กน้อยเริ่มต้นว่า ไม่ใช่เรา ขณะนั้นก็เป็นการเริ่มต้นของปัญญาที่จะรู้ความจริง นี่เป็นสิ่งที่พอจะเข้าใจได้ แต่ว่ายังไม่ถึงการที่รู้ความจริงของแต่ละหนึ่ง ทั้งๆ ที่กำลังมี

เพราะฉะนั้น คุณอาช่าอยากจะรู้อะไรอีก หรืออยากจะเข้าใจสิ่งที่มีทีละน้อยด้วยความเข้าใจที่มั่นคงว่า ไม่ใช่เรา และไม่มีเรา เป็นธรรมเท่านั้น

อาช่า: เข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏตอนนี้

ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น การศึกษาธรรมที่ไม่ถูกต้องเป็นโทษไหม?

อาช่า: เป็นโทษค่ะ และไม่ควรเป็นเพราะว่า พาไปทางที่ผิดได้

ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น ทรงแสดงโทษของการศึกษาธรรมโดยวิธีที่ไม่ถูกต้อง วิธีที่ผิดว่า เปรียบเสมือนงูพิษที่จะทำร้ายบุคคลนั้น เพราะไม่ทำให้เกิดความเข้าใจอะไรเลย แล้วก็ทำให้เกิดความเห็นผิดด้วย

ทางผิดมีง่ายมาก ถ้าพระองค์ไม่ทรงแสดงโดยละเอียด ใครจะรู้บ้างว่าผิด เพราะว่า ศึกษาด้วยความอยากความต้องการ แต่ไม่รู้จักธรรมเลย เข้าใจเพียงแต่ชื่อ

เพราะฉะนั้น ต้องฟังคำของพระพุทธเจ้าละเอียดขึ้นๆ เพื่อที่จะรู้ว่า พระองค์ทรงแสดงให้สามารถประจักษ์ความจริงตามที่พระองค์ได้ประจักษ์แล้ว ไม่ใช่ให้จำ

ก็ขอบคุณคุณสุคิน และยินดีกับกุศลคุณสุคินที่ช่วยให้คนอื่นได้เข้าใจธรรม และยินดีกับกุศลของทุกท่านที่ได้มีความเข้าใจละเอียดขึ้น

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพยิ่งค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ