ใบไม้ในกำมือ

 
nattawan
วันที่  28 ม.ค. 2567
หมายเลข  47325
อ่าน  203

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ใบไม้ในกำมือ คือ พระธรรมที่ทรงแสดงดีแล้ว ที่เป็นประโยชน์ เพราะนำมาซึ่งประโยชน์โลกนี้ โลกหน้าและประโยชน์อย่างยิ่ง คือ พระธรรมที่เป็นไปในหนทางดับกิเลส คือ รู้ความจริงของสภาพธรรมในขณะนี้ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา อันเป็นประโยชน์ เพราะนำมาซึ่งการดับกิเลส
แท้ที่จริงมีแต่เพียงธรรมที่เกิดขึ้นและดับไป ทีละขณะ อย่างรวดเร็ว การเข้าใจถูก คือ ไม่ใช่ไปรู้การเกิดดับแต่ละขณะ แต่ค่อยๆ เข้าใจถูกในขั้นการฟังว่า ไม่พ้นจากความเป็นธรรมแต่ละขณะ และเป็นธรรมไม่ใช่เรา
การเข้าใจเช่นนี้ ไม่ว่าอ่าน ฟังเรื่องใด น้อมไปในความเข้าใจถูก ว่าก็คือ ขณะนี้ เป็นธรรมไม่ใช่เรา ขณะที่เข้าใจถูกเช่นนั้นเป็นสัจจญาณ ที่จะนำไปสู่กิจญาน การรู้ลักษณะของสภาพธรรมในขณะนี้ ซึ่งก็ต้องสะสมการฟังในความเป็นจริงของสภาพธรรมว่าเป็นธรรมไม่ใช่เราต่อไป

กลุ่มทำดีและศึกษาพระธรรม
www.dhammahome.com
Photo cr. Buddhism-Path To Peace

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์ด้วยความเคารพยิ่ง

ยินดีในความดีของทุกท่านค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
nattawan
วันที่ 28 ม.ค. 2567

นับถอยหลังสู่ความตายไปทุกขณะ ระลึกถึงความตาย สะสมเสบียง คือ กุศลและปัญญา ประเสริฐสุด

"บัดนี้ ท่านเป็นผู้มีวัยอันชรานำเข้าไปแล้ว, เป็นผู้เตรียมพร้อม เพื่อจะไปสำนักของพระยายม อนึ่ง แม้ที่พักในระหว่างทางของท่าน ก็ยังไม่มี, อนึ่ง ถึงเสบียงทางของท่าน ก็หามีไม่, ท่านนั้นจงทำที่พึ่งแก่ตน, จงรีบพยายาม จงเป็นบัณฑิต ท่านเป็นผู้มีมลทินอันกำจัดได้แล้ว ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน จักไม่เข้าถึงชาติชราอีก."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ ๑๑

ชีวิตของสัตว์โลกย่อมมีความตายเป็นที่สุด ไม่มีใครรู้ว่าความตายจะมีวันไหน เมื่อบุคคลตายไป ย่อมไม่มีใครนำสิ่งใดติดตามตัวไปได้ นอกจากกุศลและอกุศลกรรมที่ทำไว้ คนที่เดินทางพอจะมีที่พักระหว่างทางได้ เพื่อทำกิจธุระ แต่ผู้ที่จะจากไปสู่ความตาย ไม่สามารถขอให้พักหยุดรอก่อน แม้สักนาทีเดียว เพื่อที่จะให้ทานทำบุญ แต่ความตายย่อมพรากเขาไป เสบียงทางที่จะติดตามไปได้ คือกุศลกรรมที่ทำไว้ จึงไม่ประมาทในการเจริญทุกๆ ประการ อบรมปัญญา เพราะไม่มีสิ่งใดที่จะเป็นที่พึ่งได้ นอกจากกุศลธรรมและปัญญาที่อบรมเจริญดีแล้ว

กลุ่มทำดีและศึกษาพระธรรม
www.dhammahome.com
Photo cr. Buddhism-Path To Peace

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
nattawan
วันที่ 28 ม.ค. 2567

คำว่า ควรทำดี ควรละอกุศล อย่าทำชั่ว จงทำความดี แต่ต้องละ ต้องทำความดี สำนวนเหล่านี้ ไม่ใช่การเข้าใจคำว่า "ละ" ในพระพุทธศาสนา แต่เป็นเรา ตัวตน เพราะลืมคำว่า อนัตตา บังคับไม่ได้ ตามเหตุปัจจัย เป็นธรรมไม่ใช่เรา ฟังดูเหมือนดี ในคำเหล่านี้ ควร แต่ ต้อง อย่า แต่ ไม่ใช่เรื่องปัญญา แต่เป็นเรื่องที่จะทำด้วยความเป็นเรา
ดังนั้น การศึกษาธรรมเป็นไปเพื่อละ ก็ต้องเข้าใจถูกว่า ถ้าไม่มีปัญญา ความรู้ จะละได้อย่างไร และการละกิเลสก็ต้องเป็นตามลำดับ คือ ละความยึดถือว่าเป็นเรา เป็นสัตว์ บุคคล ซึ่งก็เริ่มจากการฟัง ศึกษาพระธรรม สนทนาในเรื่องความเข้าใจสภาพธรรมว่าไม่ใช่เรา จนมั่นคงต่อไป สะสมความเข้าใจไม่มีเรา มีแต่ธรรม จากการฟัง ศึกษาพระธรรม สนทนาธรรม หนทางเดียว

กลุ่มทำดีและศึกษาพระธรรม
www.dhammahome.com
Photo cr. Buddhism-Path To Peace

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
nattawan
วันที่ 28 ม.ค. 2567

การเห็น เห็นแล้วก็คิดนึกต่อทันที ไม่ว่าบุคคลใด เพียงแต่จะรู้ความจริงในขณะนั้น ว่าเป็นแต่เพียงธรรมไม่ใช่เราหรือไม่ หรือยึดถือว่าเป็นเรา เป็นสัตว์ บุคคล เพราะฉะนั้น การอบรมปัญญา ไม่ได้ห้ามไม่ให้คิดนึกต่อ ห้ามไม่ได้ แต่เข้าใจถูกในสิ่งที่เกิดแล้ว ว่าเป็นแต่เพียงธรรมไม่ใช่เรา

กลุ่มทำดีและศึกษาพระธรรม
www.dhammahome.com
Photo cr. Amazing World

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
nattawan
วันที่ 28 ม.ค. 2567

ขณะที่เข้าใจถูกว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา แม้ขั้นการฟัง ขณะนั้นจิตเป็นกุศลประกอบด้วยปัญญา ความดีที่ประเสริฐก็เจริญขึ้นหลั่งไหลแล้ว
สมกับพระพุทธพจน์ที่ว่า วิชชา ปัญญา เป็นหัวหน้าของกุศลธรรมทั้งหลาย เพราะทำให้กุศลประการอื่นๆ เจริญขึ้น

กลุ่มทำดีและศึกษาพระธรรม
www.dhammahome.com

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
nattawan
วันที่ 28 ม.ค. 2567
 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
chatchai.k
วันที่ 28 ม.ค. 2567

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์ ด้วยความเคารพยิ่ง

ยินดีในกุศลจิตครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ