ทิฏฐิและมานะ ต่างกันหรือไม่

 
oom
วันที่  5 ก.ย. 2550
หมายเลข  4738
อ่าน  5,295

คนที่มีทิฏฐิและมานะนั้น เหมือนกันหรือต่างกันและมีวิธีแก้ไขอย่างไร


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 5 ก.ย. 2550

ตามหลักพระธรรมของ พระพุทธองค์ ทิฏฐิและมานะ เป็นสภาพธรรม ที่ต่างกันคือ

ทิฏฐิ หมายถึง ความเห็น ถ้ามีคำว่ามิจฉานำหน้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ หมายถึงความเห็นผิดจากความจริง

ส่วนมานะ หมายถึงความถือตัว ความสำคัญตัวว่าดีกว่า เก่งกว่า สวยกว่า รวยกว่า เป็นต้น อกุศลธรรมทุกประเภท แก้ไขด้วยการ อบรมเจริญปัญญา เมื่อปัญญามีกำลังคมกล้า ย่อมดับกิเลสอกุศลได้ตามลำดับมรรค

ขอเชิญอ่านคำอธิบายทิฏฐิ จากข้อความในพระไตรปิฎก ดังนี้

มิจฉาทิฏฐิ เป็นไฉน?

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
study
วันที่ 5 ก.ย. 2550

ขอเชิญคลิกอ่านได้ที่...

มานะ มานสัญโญชน์

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 5 ก.ย. 2550

ทิฏฐิ หมายถึง ความเห็นผิด เช่น เห็นว่าบุญบาปไม่มี ชาตินี้ ชาติหน้า ไม่มี คุณของมารดา บิดา ไม่มี สมณพราหมณ์ ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบไม่มี ฯลฯ

ส่วนมานะ หมายถึง ความสำคัญตน ดีกว่า เก่งกว่า ต่ำกว่า เช่น มีความสำคัญตนว่า เรามีทรัพย์ มีความรู้ มากกว่าเขา หรือสำคัญตนว่า ด้อยกว่าเขา เช่น เราเป็นคนจน ไม่มีความรู้ ฯลฯ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
Sam
วันที่ 5 ก.ย. 2550

พระโสดาบัน ดับมิจฉาทิฏฐิ เป็นสมุจเฉท คือ ดับหมดสิ้นไม่มีเหลือ ส่วนผู้ที่จะดับมานะ เป็นสมุจเฉท คือ พระอรหันต์

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
Khaeota
วันที่ 6 ก.ย. 2550

ขอเชิญคลิกอ่านได้ที่ ...

ว่าด้วยมิจฉาทิฏฐิ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 6 ก.ย. 2550

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ขณะที่มีทิฏฐิ คือความเห็นผิดเกิดขึ้น เช่น เห็นผิดว่า เที่ยง เป็นสุขและมีตัวตน ขณะนั้น ไม่มีความถือตัว (มานะ) ในขณะนั้น

ดังนั้น จากคำพูดที่พูดกันทั่วไปนั้น ที่บอกว่า คนนี้มี ทิฏฐิมานะ คำกล่าวนี้ จะหมายถึง มานะความสำคัญตนมากกว่า แต่โดยนัยของพระธรรมแล้ว เป็นสภาพธรรม คนละอย่างและไม่เกิดพร้อมกัน ขณะใดที่มานะขณะนั้นก็ไม่มีความเห็นผิดครับ

ขออนุโมทนา

ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
ไรท์แจกแล้วไง
วันที่ 8 ก.ย. 2550
ต่างกัน และแก้ด้วยความเข้าใจในสภาพธรรม ไม่แก้ด้วยเรา
 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
oom
วันที่ 9 ก.ย. 2550

กรณีที่เราพอใจในสิ่งที่มีอยู่ ไม่ขวนขวาย เนื่องจากเรารู้ตัวว่า เรามีความสามารถไม่พอเช่น ให้ทำซี ๘ โดยผู้ที่จะดำรงตำแหน่งนี้ ต้องมีคุณสมบัติต่างๆ ตามที่กำหนดไว้ เช่น ต้องทำผลงานทางวิชาการ ต้องเป็นวิทยากรได้ ต้องเป็นผู้นำ แต่เรามีไม่ครบโดยเฉพาะการเป็นวิทยากร ไม่มีความถนัดเลย และไม่ชอบด้วย เราจึงไม่ทำ ถือเป็นมานะหรือไม่

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
ajarnkruo
วันที่ 9 ก.ย. 2550

ขณะจิตเป็นเรื่องละเอียดมากครับ ถ้าขณะนี้ ยังไม่ประจักษ์ ก็จะเป็นแต่เพียงความเข้าใจในขั้นปริยัติ แล้วก็นึก ตรึก คิดไป สติเกิดบ้าง ไม่เกิดบ้าง ส่วนใหญ่ก็หลงลืมสติกันมาก

ในชีวิตประจำวัน เราก็เพียงคิด และอนุมานกันเองว่า น่าจะเป็นอกุศลประเภทนั้น ประเภทนี้ ความไม่ชอบ เกิดขึ้น ความคิดที่จะไม่ทำเกิดตาม ดับไปแล้วอย่างรวดเร็ว ขณะนั้นถ้าสติไม่เกิดกับจิต เราย่อมไม่มีทางรู้ได้ ผู้อื่นก็ยิ่งย่อมไม่มีทางรู้ถึงจิตของเราเช่นกันครับ

ขณะที่มานะเจตสิกเกิดกับจิต จิตคิดเกิด มีความสำคัญตน มีความเหิมเกริมในใจ มีความข่มในคนที่เราต้องการเหนือกว่า บางครั้งก็มีความตีเสมอ หรือ มีความคิดว่าตนต่ำต้อยกว่าคนนั้น ถ้าไม่ได้เป็นผู้มีปกติเจริญสติปัฏฐาน จะสั่งสมให้เป็นคนยังไง ขอยกตัวอย่างที่เห็นได้ ในชีวิตประจำวันครับ เช่น เวลาที่เราได้ยินคำพูดของบางคนที่กล่าวว่า "คนอย่างข้า ฆ่าได้แต่หยามไม่ได้"

เวลาที่เราไปรับประทานอาหารในภัตตาคาร แล้วเขานำอาหารไปเสิร์ฟให้ลูกค้าโต๊ะอื่นที่มาทีหลัง แต่เราเป็นผู้ที่มาก่อน เวลาที่เราไปใช้บริการอะไรก็ตาม แล้วพนักงานไม่สนใจ ไม่เรียก หรือลืมบริการ เวลาที่ได้รับคำชื่นชมยินดี แล้วเกิดความทรนงตน เกิดความกระหยิ่มในใจ เวลาที่แฟนไม่มาดูแล ลืมเอาใจใส่ในความรู้สึก ไม่เห็นความสำคัญของเรา ฯลฯ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
Sam
วันที่ 10 ก.ย. 2550

ตอบความคิดเห็นที่ 8

ผู้ที่ศึกษาธรรม ย่อมเข้าใจดีว่า ตราบใดที่ยังไม่เป็นพระอริยบุคคล ย่อมมีอกุศลเกิดขึ้นได้ครบทุกประการ โดยเฉพาะ มานะนั้น ผู้ที่จะดับได้คือ พระอรหันต์เท่านั้น ดังนั้น เราจึงควรศึกษาพระธรรม ให้เกิดความเข้าใจว่า "ขณะนี้เป็นธรรมะ ไม่ใช่เรา" อย่างไร

ส่วนการประกอบอาชีพ หรือกิจการงานต่างๆ ในชีวิต ก็เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำรงชีวิต ก็ควรเป็นผู้ตรง ซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ ปฏิบัติงานตามความรับผิดชอบ และที่ได้รับมอบหมายไปตามความสามารถ ส่วนผลที่จะตามมานั้นก็ขึ้นอยู่กับเหตุในอดีตด้วย

ชีวิตของผู้ศึกษาธรรม ก็คือชีวิตตามปกติที่ดำเนินไปอยู่ทุกวัน ไม่มีอะไรผิดปกติ แต่สิ่งที่จะค่อยๆ เจริญขึ้น ต่างจากผู้ไม่ได้ศึกษาคือ ความเข้าใจ ดังนั้น การที่หลายคนทำในสิ่งที่เหมือนกัน แต่อาจมีความเข้าใจในการกระทำนั้นต่างกัน

ความเข้าใจขั้นต้น ที่ควรเจริญขึ้น คือ ความเข้าใจว่า ที่เห็นเป็นตัวเรา เป็นสัตว์ เป็นสิ่งของ เป็นการกระทำ ฯลฯ นั้น แท้จริงแล้วเป็นธรรมะ ซึ่งความเข้าใจนี้ ก็จะเกิดได้จากการศึกษาจนรู้ว่า ธรรมะแต่ละประการ มีอะไรบ้าง มีกิจหน้าที่อย่างไร และมีลักษณะ (ลักษณะทั่วไป และลักษณะเฉพาะ) อย่างไร ซึ่งท่านสามารถศึกษาได้ ที่เว็บไซต์นี้ หรือเชิญที่มูลนิธิฯ ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
oom
วันที่ 11 ก.ย. 2550

ขอบคุณมากที่ช่วยตอบให้มีความเข้าใจ อ่านแล้วสบายใจและเข้าใจขึ้นมากเลยค่ะ

ขออนุโมทนาบุญด้วยค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
Komsan
วันที่ 11 ก.ย. 2550

ขอนอบน้อมพระรัตนตรัย และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
วิริยะ
วันที่ 7 ม.ค. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
chris773699
วันที่ 20 มี.ค. 2562

โมทนาสาธุกับผู้บรรยายธรรมทุกๆ ท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
chatchai.k
วันที่ 24 พ.ย. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 4 ก.ค. 2566

ยินดีในกุศลจิตค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ