รายละเอียดเจตสิก 52 อยู่ส่วนใดในพระไตรปิฏกครับ หาไม่เจอ

 
pong
วันที่  24 ก.พ. 2567
หมายเลข  47481
อ่าน  402

ได้สนทนากับเพื่อนที่ไม่ได้ศึกษาพระไตรปิฎก ผมได้กล่าว่าปรมัตถ์ มี 4 คือ จิต เจตสิก รูป นิพพพาน เพื่อนบอกว่าเอามาจากไหน ไปหามายืนยันให้ด้วย ผมก็ไม่เคยอ่านในพระไตรปิฏก ได้แต่อ่านในหนังสือปรมัตถธรรมสังเขปของมูลนิธิฯ ครับ จึงอยากทราบด้วยเหมือนกันครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 25 ก.พ. 2567

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

เจตสิก
เป็นสภาพธรรมที่ประกอบกับจิต เป็นสภาพธรรมที่มีจริงๆ ตามข้อความใน [เล่มที่ 75] พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ ๒๐๒ ดังนี้
สภาพธรรมที่ประกอบกับจิต โดยไม่พรากจากกัน ชื่อว่า เจตสิก


[เล่มที่ 75] พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ ๓๕๖ เป็นต้นไป ก็จะมีคำอธิบายเรื่องเจตสิกประการต่างๆ ไว้ เช่นข้อความที่ว่า


ผัสสะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

การกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ความถูกต้อง ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า ผัสสะมีในสมัยนั้น.


[เล่มที่ 76] พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ ๖๐๙ แสดงถึงธรรมที่เป็นเจตสิก ดังนี้

ธรรมเป็นเจตสิก เป็นไฉน?

เวทนาขันธ์ (ความรู้สึก) สัญญาขันธ์ (ความจำ) สังขารขันธ์ (สภาพธรรมที่ปรุงแต่งจิต มีผัสสะ สภาพธรรมที่กระทบอารมณ์ เจตนา ความจงใจ เป็นต้น) สภาพธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นเจตสิก.


**ถึงแม้ว่าเจตสิกจะมีทั้งหมด ๕๒ ประเภท แต่ก็ไม่ได้เกิดพร้อมกันทีเดียวหมดทั้ง ๕๒ ประเภท ก็ต้องเกิดตามควรแก่จิตประเภทนั้นๆ เจตสิกที่เป็นอกุศล จะเกิดร่วมกับจิตฝ่ายดีไม่ได้เลย เจตสิกฝ่ายดีก็จะเกิดกับอกุศลไม่ได้ และบางเจตสิก มีความเสมอกันกับจิตประเภทนั้นๆ เช่น เจตนาเจตสิก เกิดกับจิตฝ่ายดีก็ได้ ฝ่ายไม่ดี ก็ได้ ฝ่ายที่เป็นวิบาก ก็ได้ ที่เป็นกิริยา ก็ได้ ซึ่งจะต้องค่อยๆ สะสมความเข้าใจถูกเห็นถูกไปทีละเล็กทีละน้อยจริงๆ เพื่อความเข้าใจอย่างถูกต้อง ว่า เป็นธรรม ไม่ใช่เรา ครับ

... ยินดีในกุศลของคุณ pong และทุกๆ ท่านด้วยครับ ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
chatchai.k
วันที่ 1 เม.ย. 2567

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ