น้อมถาม ทำอย่างไรจึงจะสร้างศรัทธาให้มั่นคง?

 
keag
วันที่  6 ก.ย. 2550
หมายเลข  4749
อ่าน  1,838

ผมมีคำถามสำหรับตัวเองอยู่ตลอดมา ถึงการมีศรัทธา ในพุทธศาสนา ซึ่งได้ศึกษาและอ่าน และปฏิบัติบ้าง พอสมควร แต่ยังไม่สามารถ ทำความศรัทธาให้มั่นคงได้ มีบางโอกาส ที่สงสัยในพระพุทธเจ้า ซึ่งตัวตนไม่อยากให้มีความคิดนี้ปรากฎอยู่ แต่มันเป็นความจริงที่เกิดขึ้น จึงอยากเรียนถามทุกท่านที่พอกรุณา เผื่อจะมีแนวทางให้เกิดศรัทธาที่มั่นคง ขอกราบขอบพระคุณ มาล่วงหน้า


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 6 ก.ย. 2550

ผู้ที่มีศรัทธามั่นคง ในพระพุทธศาสนา คือ ผู้ที่มีปัญญาระดับ พระอริยบุคคลตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป สำหรับปุถุชนทั้งหลาย ชื่อว่าเป็นผู้ที่ยังไม่มีศรัทธามั่นคงจริงๆ แต่บางท่านที่มีการศึกษาพระธรรมอย่างละเอียด ทั้งพระไตรปิฎก และอรรถกถาจนเข้าใจ และปัญญาเริ่มที่จะรู้ตามจริงที่ทรงแสดง ย่อมคลายความสงสัย ที่เคยมีมาแต่ก่อน และมีศรัทธามั่นคงยิ่งขึ้น ฉะนั้น แนวทางให้เกิดศรัทธามั่นคงยิ่งขึ้นก็คือ การศึกษาพระธรรมคำสอนให้มากยิ่งขึ้น และอบรมเจริญสติปัฏฐาน อบรมปัญญา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
wannee.s
วันที่ 6 ก.ย. 2550
ถ้าศึกษาธรรมะมากขึ้น เข้าใจธรรมะมากขึ้น ศรัทธาก็มากขึ้นค่ะ ตามความเข้าใจค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
พุทธรักษา
วันที่ 6 ก.ย. 2550

อนุโมทนา.

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 6 ก.ย. 2550

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ตราบใดที่ยังเป็นปุถุชน ก็ยังไม่มั่นคง ดังนั้น เราต้องเข้าใจคำว่าศรัทธา ไม่ใช่แค่ความเชื่อเท่านั้น แต่เป็นสภาพธรรมที่เป็นฝ่ายดี ขณะที่กุศลเกิด ขณะนั้นมีศรัทธา ถ้าเราเชื่อในหนทางผิด ซึ่งก็ไม่รู้ว่าผิด ใช่ศรัทธาหรือเปล่า ไม่ใช่ครับ เพราะเป็นความเห็นผิด ศรัทธา จะไม่เกิดกับอกุศลเลย ศรัทธา ก็ต้องมีวัตถุที่ตั้ง ให้ศรัทธา คือ ศรัทธาในพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ คงไม่ใช่กล่าวเป็นคำพูดว่า มีศรัทธา แต่ศรัทธาจะเกิดมากขึ้นได้ ก็เพราะปัญญาเจริญขึ้นนั่นเอง อันเนื่องมาจากการฟังพระธรรม และเข้าใจหนทางที่ถูก เพราะไม่เช่นนั้น เราก็สำคัญความเชื่อ ที่เชื่อในหนทางผิดว่า เป็นศรัทธาได้ครับ ดังนั้น เหตุให้เกิดศรัทธา ก็ต้องเกิดจากการฟังพระธรรม การคบสัตบุรุษ เป็นต้นครับ ดังข้อความในพระไตรปิฎก

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 6 ก.ย. 2550

เรื่อง เหตุให้เกิดศรัทธา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้าที่ 203

แม้ศรัทธาก็กล่าวว่ามีอาหาร (นำมาซึ่งผล) มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของศรัทธา ควรกล่าวว่า การฟังสัทธรรม แม้การฟังสัทธรรม เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของการฟังสัทธรรม ควรกล่าวว่า การคบหาสัปบุรุษ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังนี้ การคบสัปบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมยังการฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์ การฟังสัทธรรมที่บริบูรณ์ ย่อมยังศรัทธาให้บริบรูณ์

ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
แล้วเจอกันนะ
วันที่ 6 ก.ย. 2550

การฟังพระธรรม จะช่วยแก้ปัญหาชีวิตได้ค่ะ อนุโมทนาค่ะทุกท่าน

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
orawan.c
วันที่ 6 ก.ย. 2550

การฟังพระธรรมให้เข้าใจจริงๆ ฟังบ่อยๆ เนืองๆ พิจารณาไตร่ตรองตามด้วยเหตุผล เพื่อให้เกิดปัญญาของเราเองจริงๆ ถึงแม้เพียงขั้นฟัง (สุตมยปัญญา) ก็จะเป็นเหตุปัจจัยให้ศรัทธาค่อยๆ มั่นคง ยิ่งๆ ขึ้น ตามกำลังของปัญญา และอย่าลืมว่าทุกอย่างเป็นธรรมะและเป็นอนัตตาจริงๆ จนกว่าจะจรดเยื่อในกระดูก

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
ajarnkruo
วันที่ 6 ก.ย. 2550

แนวทาง ที่จะทำให้เกิดศรัทธาที่ค่อยๆ มั่นคงขึ้น คือ ฟังพระธรรม เพื่ออบรมเจริญปัญญา ให้เห็นโทษของอกุศล เห็นประโยชน์ของการเจริญกุศล เจริญสติปัฏฐานเนืองๆ และบำเพ็ญบารมีทั้ง ๑๐ ประการ ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
Charlie
วันที่ 7 ก.ย. 2550

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
ตุลา
วันที่ 7 ก.ย. 2550

ขออนุโมทนากับความคิดเห็นของทุกท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
Komsan
วันที่ 7 ก.ย. 2550
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
ไรท์แจกแล้วไง
วันที่ 8 ก.ย. 2550

ฟังธรรมบ่อยๆ เท่าที่มีปัจจัยให้ฟัง และเจริญกุศลเท่าที่มีปัจจัยให้เจริญทุกประการ
โอกาสเจริญกุศล ย่อมเสียไปเพราะอกุศล คือ ไม่รู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 30 มิ.ย. 2566

ยินดีในกุศลจิตของทุกท่านค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ