ถามปัญหาของอุโบสถศีลในข้อที่ ๖ และข้อที่ ๘

 
JYS
วันที่  1 มี.ค. 2567
หมายเลข  47557
อ่าน  331

ถามปัญหาของอุโบสถศีลข้อที่ ๖ " ... วิกาลโภชนา เวรมณี ... "

- เว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล คือ นับตั้งแต่เวลาเที่ยงตรง ไปจนถึง อรุณขึ้นของวันใหม่ ใช่หรือไม่?

- สามารถบริโภคและบริโภคกี่ครั้งก็ได้ นับตั้งแต่เวลาที่อรุณขึ้นผ่านไปแล้ว ไปจนถึง เวลาห้ามเกินเที่ยงตรง ใช่หรือไม่?

- เวลาที่เป็นวิกาล เว้นน้ำเปล่าแล้ว สามารถบริโภคอะไรได้บ้าง? เช่น ดื่มน้ำเกลือแร่ได้หรือไม่?

ถามปัญหาของอุโบสถศีลข้อที่ ๘ " ... อุจฺจาสยนมหาสยนา เวรมณี ... "

- เว้นจากที่นอนสูงใหญ่ ที่นอนขนาดไหนที่จัดเป็นที่นอนสูงใหญ่?

- ปกติเวลาที่ผมจะนอน ผมใช้ผ้าห่มหนาประมาณครึ่งนิ้ว มาเป็นที่รองนอนของผ้าปูนอนที่บาง เพื่อไม่ให้เจ็บหลัง ส่วนหมอนผมใช้เป็นหมอนหนาและใหญ่ซ้อนกัน ๓ ชั้น ที่ผมต้องทำเช่นนี้ เพราะคอของผมไม่ชินและทำให้เจ็บคอ จึงทำให้ผมไม่สามารถนอนหลับได้ ผมมีความสงสัยอย่างนี้ว่า ถ้าผมทำแบบนี้ อุโบสถศีลของผมจะบริสุทธิ์หรือไม่?

- กล่าวคือ ผมไม่ได้ปรารถนาความสบาย แต่ผมก็ไม่ได้ปรารถนาความทุกข์ ผมปรารถนาที่จะให้ตัวเองนอนหลับได้เท่านั้น ผมสงสัยว่าอะไรเป็นมาตรวัด อะไรเป็นค่ากลาง อะไรเท่าไหนจึงจะทำได้ ในการรักษาอุโบสถศีลให้บริสุทธิ์ ให้เป็นมาตรฐาน?

เหตุปัจจัยที่ทำให้ผมมีความปรารถนาที่จะรักษาอุโบสถศีล เพราะผมมีความปรารถนา ๒ ประการ ดังนี้ คือ

ประการที่ ๑ ผมปรารถนาที่จะรักษาอุโบสถศีลเพื่อขัดเกลากิเลสให้ยิ่งขึ้นไป ผมปรารถนาที่จะเข้าอยู่จำอุโบสถศีล ประพฤติพรหมจรรย์เหมือนพระอนาคามีและพระอรหันต์ทั้งหลาย

ประการที่ ๒ ผมยินดีติดข้องในเบญจกามคุณอย่างยิ่ง ผมมีความปรารถนาในอานิสงส์ของการรักษาอุโบสถศีล เพราะอานิสงส์ของการักษาอุโบสถศีล มีอานิสงส์มาก และผมปรารถนาการเกิดเป็นเทวดาในสวรรค์

ขอบพระคุณในคณาจารย์และสมาชิกมูลนิธิฯ ทุกท่านที่มาตอบคำถามผมครับ 🙏🙏🙏🙇🙇🙇💐💐💐🕊️🕊️🕊️


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 2 มี.ค. 2567

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขอโอกาสแสดงความคิดเห็นในประเด็นคำถาม ดังนี้


ถามปัญหาของอุโบสถศีลข้อที่ ๖ " ... วิกาลโภชนา เวรมณี ... "

- เว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล คือ นับตั้งแต่เวลาเที่ยงตรง ไปจนถึง อรุณขึ้นของวันใหม่ ใช่หรือไม่?
**ถูกต้อง ครับ

- สามารถบริโภคและบริโภคกี่ครั้งก็ได้ นับตั้งแต่เวลาที่อรุณขึ้นผ่านไปแล้ว ไปจนถึง เวลาห้ามเกินเที่ยงตรง ใช่หรือไม่?
**ถูกต้องครับ จะบริโภคกี่ครั้งก็ได้ ในช่วงระยะเวลาตั้งแต่อรุณขึ้นจึงถึงเที่ยง

- เวลาที่เป็นวิกาล เว้นน้ำเปล่าแล้ว สามารถบริโภคอะไรได้บ้าง? เช่น ดื่มน้ำเกลือแร่ได้หรือไม่?
**ในเวลาวิกาล นอกจากน้ำเปล่าแล้ว ก็สามารถดื่มน้ำปานะได้ น้ำปานะได้แก่น้ำเหล่านี้

๑. อมฺพปานํ น้ำมะม่วง

๒. ชมฺพุปานํ น้ำชมพู่หรือน้ำหว้า

๓. โจจปานํ น้ำกล้วยมีเม็ด

๔. โมจปานํ น้ำกล้วยไม่มีเม็ด

๕. มธุกปานํ น้ำมะทราง (ต้องเจือน้ำจึงจะควร)

๖. มุทฺทิกปานํ น้ำลูกจันทร์หรือองุ่น

๗. สาลุกปานํ น้ำเหง้าอุบล

๘. ผารุสกปานํ น้ำมะปรางหรือลิ้นจี่

สำหรับ น้ำเกลือแร่ ไม่ใช่น้ำปานะ แต่เป็นประเภทเภสัช จะบริโภคได้ก็ต่อมีเหตุ คือ เป็นโรค เช่น เกิดอาการท้องเสีย เป็นต้น
ถ้ามุ่งที่จะขัดเกลายิ่งขึ้น แม้น้ำปานะ ท่านก็ไม่บริโภคในเวลาวิกาล ครับ


ถามปัญหาของอุโบสถศีลข้อที่ ๘ " ... อุจฺจาสยนมหาสยนา เวรมณี ... "

- เว้นจากที่นอนสูงใหญ่ ที่นอนขนาดไหนที่จัดเป็นที่นอนสูงใหญ่?
**ที่นอนขนาดใหญ่ ได้อาศัยเทียบเคียงกับข้อความใน พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ ๙
(๑๓) ๕. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการนั่งนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่ อย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉัน โภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังนั่งนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงให้เห็นปานนี้อยู่เนืองๆ คือเตียงมีเท้าเกินประมาณ เตียงมีเท้าทำเป็นรูปสัตว์ร้าย พรมทำด้วยขนสัตว์ เครื่องลาดทำด้วยขนแกะอันสวยงาม เครื่องลาดทำด้วยขนแกะสีขาว เครื่องลาดทำด้วยขนแกะเป็นรูปดอกไม้ เครื่องลาดที่ยัดนุ่นเครื่องลาดทำด้วยขนแกะวิจิตรด้วยรูปสัตว์ต่างๆ เครื่องลาดทำด้วยขนแกะมีขนตั้ง เครื่องลาดทำด้วยขนแกะมีขนข้างเดียว เครื่องลาดทำด้วยทองและเงินแกมไหม เครื่องลาดไหมขลิบทองและเงิน เครื่องลาดขนแกะและจุหญิงฟ้อนได้ ๑๖ คน เครื่องลาดหลังช้าง เครื่องลาดหลังม้าเครื่องลาดในรถ เครื่องลาดที่ทำด้วยหนังเสือ เครื่องลาดอย่างดี ที่ทำด้วยหนังชะมด เครื่องลาดมีเพดาน เครื่องลาดมีหมอนสองข้าง


- ปกติเวลาที่ผมจะนอน ผมใช้ผ้าห่มหนาประมาณครึ่งนิ้ว มาเป็นที่รองนอนของผ้าปูนอนที่บาง เพื่อไม่ให้เจ็บหลัง ส่วนหมอนผมใช้เป็นหมอนหนาและใหญ่ซ้อนกัน ๓ ชั้น ที่ผมต้องทำเช่นนี้ เพราะคอของผมไม่ชินและทำให้เจ็บคอ จึงทำให้ผมไม่สามารถนอนหลับได้ ผมมีความสงสัยอย่างนี้ว่า ถ้าผมทำแบบนี้ อุโบสถศีลของผมจะบริสุทธิ์หรือไม่?
**เข้าใจว่าเป็นเหมือนการใช้ผ้าปูนอนรองแผ่นหลังและรองศีรษะ จึงไม่จัดว่าล่วงสิกขาบทในข้อนี้ เนื่องจากว่าไม่ใช้ที่นอนสูงใหญ่ เพราะที่นอนสูงใหญ่ย่อมไม่เหมาะควรสำหรับผู้ที่ขัดเกลากิเลส

- กล่าวคือ ผมไม่ได้ปรารถนาความสบาย แต่ผมก็ไม่ได้ปรารถนาความทุกข์ ผมปรารถนาที่จะให้ตัวเองนอนหลับได้เท่านั้น ผมสงสัยว่าอะไรเป็นมาตรวัด อะไรเป็นค่ากลาง อะไรเท่าไหนจึงจะทำได้ ในการรักษาอุโบสถศีลให้บริสุทธิ์ ให้เป็นมาตรฐาน?
**เจตนาที่จะขัดเกลากิเลสเป็นสิ่งสำคัญ ครับ

เหตุปัจจัยที่ทำให้ผมมีความปรารถนาที่จะรักษาอุโบสถศีล เพราะผมมีความปรารถนา ๒ ประการ ดังนี้ คือ

ประการที่ ๑ ผมปรารถนาที่จะรักษาอุโบสถศีลเพื่อขัดเกลากิเลสให้ยิ่งขึ้นไป ผมปรารถนาที่จะเข้าอยู่จำอุโบสถศีล ประพฤติพรหมจรรย์เหมือนพระอนาคามีและพระอรหันต์ทั้งหลาย

ประการที่ ๒ ผมยินดีติดข้องในเบญจกามคุณอย่างยิ่ง ผมมีความปรารถนาในอานิสงส์ของการรักษาอุโบสถศีล เพราะอานิสงส์ของการักษาอุโบสถศีล มีอานิสงส์มาก และผมปรารถนาการเกิดเป็นเทวดาในสวรรค์

ขอบพระคุณในคณาจารย์และสมาชิกมูลนิธิฯ ทุกท่านที่มาตอบคำถามผมครับ


***ประการที่ ๑ เป็นจุดประสงค์ที่ถูกต้องเพื่อขัดเกลากิเลส
แต่ประการที่ ๒ เป็นการหวังผลจากการรักษาอุโบสถศีล ย่อมไม่บริสุทธิ์ จึงต้องพิจารณาประการที่ ๑ เป็นสำคัญ ครับ


สาระสำคัญจุดประสงค์ของการรักษาอุโบสถศีล จากคำบรรยายของท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ มีดังนี้

" ... ผู้ที่จะรักษาอุโบสถศีลต้องเป็นคนดี คือ ต้องเป็นผู้เห็นโทษของอกุศล แล้วต้องเป็นผู้มีปัญญา เป็นผู้มีปกติรักษาศีล ๕ ถ้าเป็นผู้ที่ไม่ได้รักษาศีล ๕ เป็นปกติแล้ว จะรักษาอุโบสถศีล ก็คิดดูว่า จะรักษาเพื่ออะไร ในเมื่อปกติก็ไม่ได้เป็นผู้รักษาศีล ๕

ด้วยเหตุนี้ การรักษาอุโบสถศีลจึงต้องเป็นผู้เจริญกุศล และขัดเกลากิเลสด้วยการอบรมเจริญปัญญา ระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมตามปกติตามความเป็นจริง ต้องเป็นผู้มีความจริงใจ มีสัจจะต่อตนเอง ไม่ใช่รักษากันเพราะต้องการอานิสงส์ หรือว่า ต้องการผลของอุโบสถศีล โดยที่ตัวเองก็ยังเป็นผู้ไม่มีสัจจะ ไม่มีความจริงใจ หรืออาจจะเป็นผู้มี มายา หลอกลวง แข่งดี โอ้อวด แล้วก็จะรักษาอุโบสถศีล นี่ก็แสดงให้เห็นว่า การกระทำทุกอย่าง ควรจะต้องเป็นผู้มีปัญญา รู้เหตุผลในกุศลที่จะกระทำ ไม่ใช่เพียงต้องการได้รับอานิสงส์ หรือผลของอุโบสถศีลเท่านั้น ... "


... กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ที่เคารพยิ่ง
ยินดีในกุศลของคุณ JYS และทุกๆ ท่านด้วยครับ ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
chatchai.k
วันที่ 1 เม.ย. 2567

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ