คำบาลีต้องเป็นภาษามคธี
สนทนา ไทย - ฮินดี วันเสาร์ที่ ๙ มีนาคม ๒๕๖๗
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 329
การฟังพระสัทธรรมเป็นของยาก
กิจฺโฉ มนุสฺสปฏิลาโภ กิจฺฉํ มจฺจาน ชีวิตํ กิจฺฉํ สทฺธมฺมสฺสวนํ กิจฺโฉ พุทฺธานมุปฺปาโท. "ความได้อัตภาพเป็นมนุษย์ เป็นการยาก ชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย เป็นอยู่ยาก การฟังพระสัทธรรม เป็นของยาก การอุบัติขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นการยาก"
พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า คนที่ตายจากโลกนี้โอกาสจะกลับมาเป็นคนอีก เทียบเท่าฝุ่นที่ปลายเล็บ คนที่จะไปสวรรค์เท่ากับเขาของโค เกือบทั้งหมดตายไป จะไปเกิดใน นรกเปรต อสุรกาย เดรัจฉาน
ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น ภาษามคธีเป็นภาษาที่ชาวเมืองมคธพูด พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมในภาษานั้น
เพราะฉะนั้น ภาษาอื่นทั้งหมดต้องเข้าใจความหมายจริงๆ แต่ละคำในภาษาบาลี ซึ่งถ้าไม่ใช่ผู้ที่ศึกษาภาษาบาลีไม่สามารถจะเข้าใจได้ อาจจะพูดผิดเพราะฟังเสียงผิด หรือว่าเพราะ ภาษาของตัวเองพูดอย่างนั้นบ่อยๆ เขาก็ติดคำนั้น
เพราะฉะนั้น เป็นเรื่องที่ต้องมีผู้รู้ภาษาบาลี แล้วเราก็ถามผู้รู้ เพราะว่าใครก็ตามที่ไม่ได้ศึกษาบาลี คิดเองไม่ได้ เพราะภาษามคธีเป็นภาษามคธี ภาษาอังกฤษเป็นภาษาอังกฤษ ภาษาไทยเป็นภาษาไทย แต่ คำ ที่รักษาความหมายของมคธี คำนั้นใช้ คำว่า บาลี
เพราะฉะนั้น ภาษาบาลี คือภาษามคธี ถูกต้องไหม? ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัส แต่ว่าความหมายของ คำนั้น ในภาษาอื่น เราไม่ใช้คำว่า บาลี แต่เราใช้คำว่า ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย ภาษาญี่ปุ่น แต่คำบาลีต้องเป็นภาษามคธี
เพราะฉะนั้น ภาษาอังกฤษเป็นภาษาบาลีหรือเปล่า?
อาช่า: ไม่เป็น
ท่านอาจารย์: ภาษาไทยเป็นภาษาบาลีหรือเปล่า?
อาคิ่ล: ไม่ครับ
ท่านอาจารย์: ฮินดีเป็นภาษาบาลีหรือเปล่า?
อาคิ่ล: ไม่ครับ
ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น เข้าใจแล้วนะ บาลี ภาษาบาลี หมายความถึงภาษามคธีที่ดำรงคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น ภาษาอื่นไม่มี คำ อย่างภาษามคธี แต่สามารถเข้าใจความหมายที่จะเข้าใจพระพุทธศาสนาได้ แต่ต้องละเอียดต้องระวัง และใช้ คำ ให้ถูกต้อง
อย่างดิฉันใช้ คำว่า พระสัท + ทะ + ธรรม ไม่ถูกนะ ต้องขอโทษด้วย ต้องเป็น พระสัท + ธรรม เพราะว่าภาษาบาลีเราไม่มีความรู้ คนไทยไม่มีความรู้ในภาษาบาลี เพราะฉะนั้น เขาออกเสียงตามใจชอบจนติด
อาคิ่ล: ช่วยยกตัวอย่าง อย่างเช่นท่านอาจารย์ยกตัวอย่างของท่านเอง แม้ว่าท่านอาจารย์ก็ศึกษาพระธรรมมานานแล้ว แต่เพราะภาษาไทยนี่มันมีคลาดเคลื่อน เพราะฉะนั้น เราก็ต้องระวังด้วย หมายถึงว่าต้องรู้ว่ามันเป็นไปได้ว่า เราจะไม่เป๊ะเท่าไหร่
เพราะฉะนั้น เราจะไม่เป๊ะตลอดไม่ได้ แต่เข้าใจในใจว่า มันเป็นอย่างนี้ แล้วก็อย่างไรก็เพื่อเข้าใจที่พระพุทธองค์สื่อว่า ความจริงเป็นอย่างไรให้เราเข้าใจตรงนั้นไว้
ท่านอาจารย์: เข้าใจแล้วยังไม่พอนะ ต้องตรงต่อคำด้วย เพราะถ้าพูดไม่ถูกจะเข้าใจผิดได้ แต่คนที่เข้าใจพูดไม่ถูก เขาเข้าใจ แต่คนอื่นอาจจะเข้าใจผิดได้จาก คำ ที่เขาพูด
เพราะฉะนั้น ถ้าเรารู้ว่าอะไรถูก เราก็พูดในสิ่งที่ถูกให้คนอื่นได้เข้าใจถูกต่อไปด้วย
เพราะฉะนั้น สัท มาจาก คำว่า สันติ สงบ แต่ถ้าเป็นคำอื่นต่อ ต้องใช้ คำว่า สัท + ธรรมะ จะพูดไม่ต้องพูดภาษาอังกฤษ Dhamma ก็ได้ เพราะว่า สัท คำนั้นมาจากคำว่า สันติ เห็นไหม พอเปลี่ยนเป็นมี คำอื่นต่อ ภาษาบาลีก็เปลี่ยนไปแล้ว แต่ความหมายอย่างเดิม
เพราะฉะนั้น สัท + ธรรม ไม่ใช่ สัต + ตะ + ธรรม
เพราะว่า สัต แปลว่า ๗ แต่ถ้าคนไม่รู้แทนที่จะพูดว่า สัท + ธรรม ก็พูดว่า สัต + ตะ + ธรรม แม้ผิดนิดเดียวก็ไม่ถูกต้องค่ะ
เพราะฉะนั้น ต้องสมบูรณ์ทั้ง อรรถ ความหมาย และพยัญชนะด้วย เพราะถึงแม้ว่าจะมีความเข้าใจถูก แต่ถ้าใช้ คำผิด ก็ทำให้คนอื่นเข้าใจผิดได้ แต่ที่สำคัญที่สุด ภาษาไหนก็ตามเข้าใจธรรมแล้ว จะรู้ว่าภาษาไหนใช้คำไหน อย่างคนไทยจะใช้คำหนึ่งง่ายไ อะไรๆ ก็ใส่ สระอะ เข้าไป แต่ทางบาลีไม่ได้ จะเป็น สัท + ทะ + ธรรม ไม่ได้ต้องเป็น สัท + ธรรม
คุณสุคิน: ถ้าเป็นที่อินเดีย เขามีภาษาสันสกฤตด้วย ทำให้โอกาสผิดได้เยอะ
ท่านอาจารย์: ถูกต้อง นี่เป็นเหตุที่ต้องสมบูรณ์ทั้งพยัญชนะ และอรรถ
ขอเชิญอ่านได้ที่ ...
สมบูรณ์ด้วยอรรถและพยัญชนะ คืออย่างไร?
ขอเชิญฟังได้ที่ ...
พึงตรวจตราอรรถด้วยอรรถ พยัญชนะด้วยพยัญชนะ
ถ้าอรรถ พยัญชนะแตกแยกกัน ก็ไม่พึงยินดี ไม่พึงคัดค้าน
กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างยิ่งค่ะ และกราบยินดีในกุศลของคุณสุคิน ผู้ถ่ายทอดคำท่านอาจารย์เป็นภาษาฮินดีค่ะ