สัทธรรม ๗ [ธรรมที่สงบ ๗ ประการของผู้สงบ]

 
เมตตา
วันที่  12 มี.ค. 2567
หมายเลข  47607
อ่าน  479

สนทนา ไทย - ฮินดี วันเสาร์ที่ ๙ มีนาคม ๒๕๖๗

[เล่มที่ 16] พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 229
[๓๓๐] สัทธรรม ๗ ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้

๑. เป็นผู้มีศรัทธา

๒. เป็นผู้มีหิริ

๓. เป็นผู้มีโอตตัปปะ

๔. เป็นผู้มีพหูสูต

๕. เป็นผู้ปรารภความเพียร

๖. เป็นผู้มีสติมั่นคง

๗. เป็นผู้มีปัญญา.

๔. ทุติยโกธสูตร


[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ หน้า ๒๘๖

[๘๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสัทธรรม ๗ ประการนี้ ๗ประการเป็นไฉน คือ อสัตบุรุษเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๑ ไม่มีหิริ ๑ไม่มีโอตตัปปะ ๑ ไม่มีสุตะ (ไม่สดับฟังพระธรรม) ๑ เป็นผู้เกียจคร้าน ๑ มีสติหลงลืม ๑ มีปัญญาทราม ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสัทธรรม ๗ ประการนี้แล. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัทธรรม ๗ ประการนี้ ๗ ประการนี้เป็นไฉน คือสัตบุรุษเป็นผู้มีศรัทธา ๑ มีหิริ ๑ มีโอตตัปปะ ๑ เป็นพหูสูต ๑ปรารภความเพียร ๑ มีสติ ๑ มีปัญญา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายสัทธรรม ๗ ประการนี้แล.


คำว่า "สัทธรรม" หมายถึงธรรมของผู้สงบคือสัตบุรุษ ในพระไตรปิฎกแสดงไว้หลายนัยคือ บางแห่งแสดงสัทธรรม ๓ บางแห่งแสดง ๔ บางแห่ง ๗ บางแห่ง ๘ บางแห่ง ๑๐ เป็นต้น

[เล่มที่ 38] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ หน้าที่ 129

บทว่า สทฺธมฺมฏฐิติยา ความว่า สัทธรรมมี ๓ อย่าง คือ ปริยัตติสัทธรรม ปฏิปัตติสัทธรรม อธิคมสัทธรรม. บรรดาสัทธรรม ๓ อย่างนั้น พุทธวจนะแม้ทั้งสิ้น ชื่อว่า ปริยัตติสัทธรรม สัทธรรมนี้คือธุดงค์คุณ ๑๓ จาริตศีล วาริตศีล สมาธิ วิปัสสนา ชื่อว่า ปฏิปัตติสัทธรรม โลกุตรธรรม ๙ ชื่อว่า อธิคมสัทธรรม

สัทธรรมนั้นแม้ทั้งหมด เพราะเหตุที่เมื่อมีบัญญัติสิกขาบท ภิกษุทั้งหลายย่อมเรียนสิกขาบทวิภังค์แห่งสิกขาบทนั้น และพระพุทธวจนะอื่น เพื่อส่องความสิกขาบทและวิภังค์นั้น และเมื่อปฏิบัติสิกขาบทตามที่ทรงบัญญัติ บำเพ็ญข้อปฏิบัติย่อมบรรลุโลกุตรธรรมพี่พึงบรรลุด้วยข้อปฏิบัติ ฉะนั้น พระสัทธรรมจึง


ท่านอาจารย์: ที่มูลนิธิศึกษา และเผยแพร่พระพุทธศาสนา เราต้องมีผู้ที่รู้ภาษาบาลีอย่างดี เพราะเหตุว่า ต้องถูกต้องทั้งพยัญชนะ และอรรถ หรือเพราะทั้งอรรถ ความหมายที่ทุกคนเข้าใจได้ แต่พยัญชนะต้องสมบูรณ์ด้วย

คนไทยที่ไม่ได้ศึกษาบาลี จะไม่รู้เลยว่า คำนี้ อย่าง สันติ เป็นความสงบ แต่ถ้าจะพูดถึงธรรมที่สงบใช้ คำว่า สัท +ธรรม สัทธรรม ไม่ใช้ คำว่า สันติธรรม

เพราะฉะนั้น สนใจที่จะเข้าใจ คำว่า สัต + ตะ คือ ๗ สัต + ตะ + ธรรมะ หรือ สัทธรรม สัท + ทะ + ธรรมะ

ตอนนี้เข้าใจแล้วนะ สัต + ตะ + ธรรมะ สัตตธรรมะ ๗ อะไรก็ได้ ๗ ๗ ๗ นะ พูดถึง ๗ ธรรมะนี้ หรือ ๗ ธรรมะนั้น หรือ ๕ ธรรมะนี้ หรือ ๕ ธรรมะนั้นก็ได้

แต่ถ้า สัทธรรม (สัท + ธรรมะ) หมายความถึง ธรรมที่สงบของผู้สงบ

อาคิ่ล: ครับ

ท่านอาจารย์: สนใจ สัทธรรมะ ใช่ไหม?

อาคิ่ล: ใช่ครับ

ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น ดิฉันจะขอเชิญให้คุณคำปั่นกล่าวถึง สัทธรรมะ

อ.คำปั่น: กราบเท้าท่านอาจารย์ กราบสวัสดี อ.สุคิน และทุกท่านด้วยครับ ก็อย่างที่ท่านอาจารย์ได้กล่าวถึงความหมายของสัทธรรม ก็คือธรรมที่สงบ หรือธรรมของบุคคลผู้สงบ ธรรมที่ทำให้ถึงสงบ ซึ่งคำว่า สัทธรรม จะปรากฏมากมายหลายที่มากเลยครับ

แต่ที่ ท่านอาจารย์ กำลังจะกล่าวถึงก็จะกล่าวถึง ธรรม ๗ ประการที่เป็น สัทธรรมะ ทั้ง ๗ ครับ

ท่านอาจารย์: คุณสุคิน เราจะสรุปธรรมดาง่ายๆ ไม่ใช่สำหรับคนที่รู้เรื่องภาษา แต่สามารถที่จะเข้าใจความหมายได้

สัต + ตะ = ๗

สันติ = สงบ

แต่เราแต่เราไม่พูดว่า สันติธรรมะ แต่เราพูดว่า สัทธรรมะ (สัท + ธรรมะ)

เพราะฉะนั้น จะพูดถึง สัต + ตะ + ธรรมะ อะไรก็ได้ที่เป็นธรรมะ ๗ เป็นสัตตธรรมะ

เพราะฉะนั้น ถ้าเราจะพูดถึง สัทธรรม ๗ หมายความว่า พูดถึงธรรมที่สงบ ๗ ของผู้สงบ

ถ้าเราไม่รู้ความหมายของ คำว่า สงบ เราจะสามารถจะเข้าใจ สัทธรรม ๗ ได้ไหม?

อาคิ่ล: ไม่ได้

ท่านอาจารย์: นี่คือความละเอียดความลึกซึ้ง เพราะ สัทธรรม อยู่ไหน?

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างยิ่งค่ะ และกราบยินดีในกุศลของคุณสุคิน ผู้ถ่ายทอดคำท่านอาจารย์เป็นภาษาฮินดีค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
orawan.c
วันที่ 14 มี.ค. 2567

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
wittawat
วันที่ 16 มี.ค. 2567

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
chatchai.k
วันที่ 1 เม.ย. 2567

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์ ด้วยความเคารพยิ่ง

ยินดีในกุศลจิตครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ