พระภูมิเจ้าที่ ผีบ้านผีเรือน
ได้ดูรายการโทรทัศน์ รายการหนึ่ง พูดถึงความมีจริง ของพระภูมิเจ้าที่ และผีบ้านผีเรือน พุทธศาสนา มีกล่าวเรื่องนี้ไว้อย่างไร
ตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า มีแสดงถึงภพภูมิอื่นๆ กำเนิดอื่นๆ ที่นอกจากภูมิของมนุษย์มีอยู่จริง รุกขเทวดา เทวดาที่อาศัยต้นไม้ ภุมมัฏฐเทวดา เทวดาที่อาศัยตามภาคพื้น มีอยู่จริง แต่เทวดาเหล่านี้ เกิดขึ้นเพราะกรรมดีของท่าน ท่านมีวิมาน ที่เกิดเพราะบุญของท่าน พวกเราที่เป็นมนุษย์ ก็เกิดเพราะกรรมดีทั้งสิ้น อนึ่ง พระพุทธองค์ทรงแสดงการบูชาเทวดาที่ถูกต้องคือ การทำความดีแล้วอุทิศให้เทวดาอนุโมทนา การสร้างศาล และการบวงสรวง ย่อมไม่สำเร็จประโยชน์แก่เทวดาเลย
ถ้าเราเชื่อว่า ภพภูมิอื่นมีจริง ทำให้เรามั่นคง ในเรื่องของการเจริญกุศล โดยเฉพาะชาตินี้ เราก็ได้เกิดเป็นมนุษย์ มีโอกาสศึกษาธรรมแล้ว ก็อย่าประมาทค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
ผีบ้านผีเรือน พระภูมิเจ้าที่ เป็นเทวดา แต่ไม่ใช่เป็นผี ตามที่เข้าใจ เป็นเทวดาชั้น จาตุมหาราชิกา เทวดาชั้นนี้ บางพวก ท่านมีวิมาน แต่ก็อาศัยสถานที่อยู่ของวิมานคือ ต้นไม้ หรือหน้าต่าง ซุ้มประตู เป็นต้น แต่ไม่ใช่เราไปสร้างให้ท่านอยู่ ไม่ใช่อย่างนั้นครับ อาหารของท่าน เป็นอาหารทิพย์ ไม่ใช่อาหารของมนุษย์ครับ ดังข้อความในพระไตรปิฎก
[เล่มที่ 55] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 366
ข้อความบางตอนจาก ...
ขทิรังคารชาดก
ก็เรือนนั้น มี ๗ ชั้น ประดับด้วยซุ้มประตู ๗ ซุ้ม มีเทวดาผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิองค์หนึ่ง สิงอยู่ที่ซุ้มประตูที่ ๘ ของเรือนนั้น เทวดานั้น เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จเข้าเรือนและเสด็จออกไป ไม่อาจดำรงอยู่ในวิมานของตน จับเอาทารกลงมายืนอยู่เฉพาะบนภาคพื้น แม้เมื่อพระมหาเถระทั้ง ๘๐ องค์ เข้าไปและออกมา ก็กระทำเหมือนอย่างนั้น.
ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
ท่านคิดว่า ภพภูมิอื่น เป็นอย่างที่เราทั่วไปเข้าใจหรือไม่ เทวดา เป็นเหมือนที่วาดในรูป ที่เราเห็นอยู่ เทพ มีเป็นพระอินทร์ พระนารายณ์ อย่างที่เราเคยได้เห็น ได้ยิน มาครั้งแต่ก่อนหรือ
ในพระไตรปิฏก แสดงไว้ว่า เทวดาเป็นกายทิพย์ ท่านมีรูปงามมาก เช่น นางงามจักรวาลในโลกมนุษย์ เมื่อไปเทียบกับนางฟ้าบนสวรรค์ ก็เปรียบเหมือนลิงหางด้วนค่ะ
อ้างอิงจาก : ความคิดเห็นที่ 7 โดย keaw10
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
เมื่อเปรียบเทียบตามหลักเหตุผลแล้ว ในเรื่อง เทวดามีจริงหรือไม่ เมื่อยังมีกิเลสก็ย่อมจะต้องเกิด ข้อนี้เราเข้าใจกันอยู่แล้ว ยกตัวอย่าง ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เป็นพระโสดาบัน เมื่อตายไปแล้ว พระโสดาบันย่อมไม่ไปทุคติ คืออบายภูมิ มีสัตว์เดรัจฉาน เป็นต้น ซึ่งท่านได้ตายไป ไปเกิดเป็นเทวดาที่ชั้นดุสิต ถ้าปฏิเสธการมีของเทวดาแล้ว ท่านจะเกิดในภพภูมิไหน อบายภูมิ ไม่แน่นอน ถ้าอย่างนั้นก็คงเป็นมนุษย์ ก็ต้องอยู่ในท้องมารดาก่อน ก็เท่ากับว่า มีภพภูมิแค่ สัตว์เดรัจฉาน มนุษย์เท่านั้น สิ่งที่เราไม่เห็น ไม่มี และก็เท่ากับปฏิเสธ กำเนิด ๔ คือ เกิดจากครรภ์ เกิดจากเถ้าไคล เกิดจากไข่ เกิดเป็นโอปปาติกะที่โตขึ้นทันที ที่เป็นสัตว์นรก หรือเทวดา และที่แสดงถึงความเห็นผิด ๑๐ ประการ มีแสดงไว้ว่า บุคคลที่ไม่เชื่อว่า สัตว์ที่เป็นโอปปาติกะ เกิดขึ้นทันที มี หรือถ้าปฎิเสธว่า ไม่มีเทวดา เมื่อคราวพระโพธิสัตว์ ก่อนจะเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ ก็เป็นเทวดาในชั้นดุสิต ก็ไม่ถูก ท่านคงเป็นแต่มนุษย์เท่านั้น หรือสัตว์เดรัจฉาน เพราะเราเห็นๆ อยู่ หรือการจะบรรลุ ก็เฉพาะมนุษย์เท่านั้น เพราะภพอื่นไม่มี ถ้าบุคคลทำดี ถ้ายังมีกิเลส กรรมดีให้ผล ตายไปก็เกิดเป็นมนุษย์เท่านั้น
แต่เมื่อพิจารณากุศลที่ทำ มีหลายระดับใช่ไหม ความประณีตของกุศล ก็ต่างกันไป กุศลที่ประณีตมาก ย่อมส่งผลให้เกิดในที่ประณีต ตามระดับของกุศลด้วย อกุศลก็เช่นกัน กุศลที่เป็นในรูป เสียง ... ก็มี กุศลที่เป็นสมถภาวนา ที่ตัดความพอใจในรูป.. ก็มี ดังนั้น กุศลที่กล่าวมา ข้างต้น ย่อมต่างระดับกัน เมื่อต่างระดับกัน เมื่อกุศลทั้ง ๒ นี้ให้ผลนำเกิด ที่เกิดก็ต่างกันด้วย ตามหลักเหตุผล ไม่เช่นนั้น เหตุคนละอย่าง แต่ผลอย่างเดียวกัน คือไปเกิดเป็นมนุษย์อย่างเดียว นี้คงไม่ถูกครับ ลองอ่านข้อความในพระไตรปิฎกนะ
[เล่มที่ 16] พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 354
เรื่อง กำเนิด ๔
ข้อว่า โยนิโย แปลว่า ส่วนทั้งหลาย เหล่าสัตว์ที่ชื่อว่า อัณฑชะ เพราะอรรถว่า เกิดในไข่. ชื่อว่า ชลาพุชะ เพราะอรรถว่า เกิดในครรภ์. ชื่อว่า สังเสทชะ เพราะอรรถว่า เกิดในเหงื่อไคล คำนี้เป็นชื่อของสัตว์ ที่เกิดในที่นอน และในที่โสโครก มีปลาเน่า เป็นต้น ที่ชื่อว่า โอปปาติกะ เทวดาชั้นสูงๆ ขึ้นไปตั้งแต่ ชั้นจาตุมมหาราชิกา จัดเป็นจำพวกโอปปาติกะทั้งนั้น. สัตว์นรกก็เช่นกัน ในจำพวกเปรตก็หากำเนิดได้ครบทั้ง ๔ การก้าวละสู่ครรภ์ ท่านกล่าวไว้แล้วในสัมปสาทนียสูตร นั่นแล.
เรื่อง ความเห็นถูกคืออย่างไร
ขอเชิญคลิกอ่านได้ที่...
ว่าด้วยความเห็นถูกคืออย่างไร [อยสูตร]
ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
(๓) การบวงสรวง มีผล
รบกวนช่วยอธิบายด้วยค่ะว่า บวงสรวงอย่างไร คงไม่ใช่เป็นพิธีกรรม หรืออย่างไรกันคะ งง
การบวงสรวง หมายถึง การบูชา ด้วยการะประพฤติที่เป็นกุศล เป็นมงคล เช่น การต้อนรับแขก เป็นต้น ซึ่งการทำความดีเล็กน้อย หมายถึง การบวงสรวง ซึ่ง ทำความดี ย่อมมีผล คือ ให้ผลที่ดีนั่นเอง
ขออนุโมทนาครับ