ให้ภาพเล่าเรื่อง ณ เมืองไซ่ง่อน ๒๖ กุมภาพันธ์ - ๑ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๖๗

 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่  23 มี.ค. 2567
หมายเลข  47639
อ่าน  21,224

สืบเนื่องจากการที่ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ประธานกรรมการมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา ได้รับเชิญจาก บ้านธัมมะเวียดนาม (Vietnam Dhamma Home) เพื่อไปสนทนาธรรม ณ ประเทศเวียดนาม ระหว่างวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ถึง วันที่ ๘ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๖๗ ร่วมกับ คุณ Jonathan Abbott และ คุณ Sarah Procter Abbott ที่เดินทางมาจากประเทศออสเตรเลีย โดยมีคุณ Tam Bach ( Bach Minh Tam - คุณสุจินต์เวียดนาม) เป็นผู้ดำเนินรายการสนทนาตลอดระยะเวลา ๑๒ วัน ใน ๓ เมือง คือ ไซ่ง่อน ( Saigon ) บินห์ เชา ( Binh Chau ) และ หวุง เต่า ( Vung Tau ) ตามข่าวที่ได้นำเสนอไปก่อนหน้านี้แล้วนั้น : คลิกอ่านที่นี่ : ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ไปสนทนาธรรมที่ประเทศเวียดนาม ๒๖ กุมภาพันธ์ ถึง ๘ มีนาคม ๒๕๖๗

(ท่านอาจารย์ ณ ที่พัก : Garden View Court กลางกรุงไซ่ง่อน)

เพื่อเป็นการบันทึกภารกิจในต่างแดน ณ ประเทศเวียดนามในครั้งนี้ของท่านอาจารย์สุจินต์ บริหาวนเขตต์ ไว้สำหรับท่านที่สนใจจะสามารถติดตามได้ทั้งในวาระนี้และในอนาคต จึงจะขออนุญาตนำภาพ และอาจมีข้อความบรรยายสั้นๆ มาบันทึกไว้ เป็นจำนวน ๓ กระทู้ ใน ๓ สถานที่ดังกล่าว ซึ่งก็จะขอตั้งชื่อกระทู้ไว้ตามความตั้งใจที่จะให้ภาพได้บรรยายกิจกรรมต่างๆ ที่ท่านอาจารย์เดินทางไปในครั้งนี้ด้วยตัวเอง

อนึ่ง เนื่องจากในช่วงของการสนทนาธรรมที่ไซ่ง่อน คุณตรัสวิน จิตติเดชารักษ์ (พี่จิ๋ว) มีโอกาสเข้าร่วมในการสนทนาด้วย และได้กรุณาแปลความการสนทนาสดๆ ในขณะนั้น ให้เพื่อนๆ สหายธรรมชาวไทยบางท่านที่แม้พอเข้าใจภาษาอังกฤษจากการสนทนาอยู่บ้าง แต่ก็ยังไม่ละเอียดลึกซึ้งตามที่ควรจะเป็นให้ได้อ่านและเข้าใจตามไปด้วย ซึ่งก็จะขออนุญาตพี่จิ๋วนำข้อความนั้นมาลงบันทึกไว้ด้วยในที่นี้ เพราะจะเป็นประโยชน์มากสำหรับท่านที่ติดตามข่าวคราวพอที่จะทราบความการสนทนาธรรมที่สหายธรรมชาวเวียดนามมีความสนใจ แต่ในอีกสองที่ที่มีการสนทนาธรรม คือ Binh Chau และ Vung Tau จะมีเพียงภาพเล่าเรื่องเท่านั้น (เนื่องจากพี่จิ๋วมีภารกิจที่ต้องเดินทางกลับหลังเสร็จการสนทนาที่ไซ่ง่อน) ซึ่งท่านที่สนใจสามารถคลิกชมและฟังบันทึกการสนทนาธรรมทั้งหมดได้ตามลิงก์ที่ได้แนบไว้แล้ว

วันอังคารที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๖๗

สถานที่สนทนาธรรม : Nam Thi House

ข้อความบางตอนจากการสนทนา :

คำถาม : สัตว์ที่เกิดในภูมิต่ำ จะมีปัจจัยให้เกิดปัญญาหรือไม่? และคนที่เกิดในสภาพทุกข์ยาก ปัญญาจะเกิดได้ไหม? ปัญญาที่สะสมมาจะไปไหน?

(พี่จิ๋ว-กำลังแปลและพิมพ์ความการสนทนาลงไลน์กลุ่มอย่างขมักเขม้น)

ซาราห์ : ปัญญาที่สะสมมาไม่หายไปไหน แต่เมื่อเกิดในภูมิต่ำ อาจจะไม่มีปัจจัย แต่เมื่อมีปัจจัย ปัญญาไม่หาย กิเลสที่ติดข้องก็ไม่หายไปไหน จนกว่าจะบรรลุ จึงจะกำจัดได้ จึงไม่มีประโยชน์ที่จะกังวล อะไรที่จะเป็นเหตุให้ยินดีกว่าที่รู้ว่ากุศลที่ทำจะไม่หายไป

ท่านอาจารย์ : ถ้าฟังคำพระพุทธเจ้า อะไรที่เป็นจริง ก็เป็นจริง ที่มีปัจจัยทำให้เกิด เมื่อเกิดก็ดับไม่มีระหว่างคั่น ขณะที่เห็น มีปัจจัยให้เห็นสิ่งที่ถูกเห็น เกิดขึ้นให้จิตรู้ เป็นเหมือนจุดที่เกิดต่อต่อๆ กัน ทำให้เป็นรูปร่าง ที่ไม่ได้เกิดจากปัจจัยเดียว ควรพิจารณาให้ดี ให้เกิดความเข้าใจ สิ่งที่ปรากฎแต่ละหนึ่งๆ ไม่อาจเกิดพร้อมกัน นี่คือสิ่งที่พระพุทธเจ้าสอนความจริงที่ถูกปกปิดแต่ละขณะ ในแต่ละขณะที่เห็นไม่อาจเห็นสิ่งที่เกิดให้เห็นสองสิ่งพร้อมกัน แต่ละขณะเกิดดับอย่างรวดเร็ว ก่อนจะตรัสรู้ใครรู้บ้าง นี่คืออนัตตา

ทรงตรัสรู้ว่า หากไม่มีปัจจัยก็ไม่มีสิ่งที่ถูกเห็นให้เห็นได้ นี่คือเหตุที่คนแต่ละคนไม่เหมือนกัน และเราจะต้องเข้าใจและเป็นผู้ตรงว่า ทรงสอนถึงความจริงที่ปกปิดไว้ ความจริงแต่ละหนึ่งไม่ซ้ำ ไม่เหมือนกันเลย นี่คืออนัตตา

ต้องศึกษาและมั่นคงว่า ความจริงที่เกิดแต่ละขณะที่ “จิต” รับรู้ เป็นประธานในการรับรู้แต่ละขณะ ใส่ใจแต่ละขณะ นี่เป็นบารมี ค่อยๆ เข้าใจ ธรรม และ อธรรม ที่ยังมีความเป็นเรา ที่ยังขจัดไม่ได้เมื่อยังไม่เข้าใจ ดังนั้นเมื่อเห็น ก็ให้เข้าใจทีละน้อย ว่าเป็นความจริง การศึกษาธรรมะ คือทำความเข้าใจเดี๋ยวนี้ ความจริงขณะนี้ มิฉะนั้นก็เป็นเพียงเรียนความหมายของคำเท่านั้น

ซาร่าห์ : ถ้าเราพูดถึงขณะนี้ เราก็ไม่ต้องกังวลถึงชาตินี้ ชาติหน้า ท่านอาจารย์จึงเน้นถึงเดี๋ยวนี้

ถาม : ขอให้ท่านอาจารย์อธิบาย "วัตถุปิดบังจิต"

ท่านอาจารย์ : ต้องเข้าใจว่าทุกอย่างเป็นธรรมะ และต้องมั่นคง เมื่อไม่เข้าใจความจริงว่าปรากฎแต่ละขณะ อวิชชาก็เห็นทุกอย่างเป็นสิ่งของ ไม่รู้ว่าจิตเป็นสภาพรู้ที่รู้สิ่งที่ปรากฎแต่ละขณะ

ถาม : แล้วคิดล่ะครับ

ซาร่าห์ : ความคิดไม่ใช่สิ่งที่ปรากฎในขณะนั้น แต่เป็นสิ่งที่เกิดแล้ว

โจานาธาน : เราเหมาว่าวัตถุที่เห็นคือสิ่งที่ปรากฎ พระพุทธเจ้าตรัสว่า ในแต่ละวัน โลภะ มานะ ทิฏฐิ เกิดขึ้นแทบทุกขณะ แต่ทั้งหมดก็เป็นความจริง ไม่จำเป็นที่เราจะต้องแยกแยะ ทิฏฐิ ความเห็นผิด คือ เราเห็น เราได้ยิน เราคิด ไม่ได้พิจารณา ว่าไม่มีเรา สิ่งที่ปรากฏจึงติดข้องกับทุกอย่าง

(บ้านธัมมะเวียดนาม จัดให้มีการถ่ายทอดสดไปยังผู้ชมและผู้ฟังทางบ้านทั่วประเทศและทั่วโลก เฉพาะอย่างยิ่งผู้ชมผู้ฟังชาวเวียดนามที่อาศัยอยู่ในประเทศออสเตรเลียจำนวนหนึ่งที่สนใจติดตามฟังและศึกษาธรรมจากทั้งทางบ้านธัมมะเวียดนามและจากสื่อต่างๆ ของมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา โดยครั้งนี้ได้จัดให้มีการแปลความการสนทนา ถาม-ตอบ สดๆ คำต่อคำ จากภาษาอังกฤษเป็นภาษาเวียดนาม และจากภาาาเวียดนามเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อความสะดวกในการรับชมและฟังการสนทนาธรรม ซึ่งเป็นประโยชน์มาก

ถาม : แล้วโกรธล่ะครับ เช่นผมโกรธใครสักคน เมื่อโกรธเกิด โกรธเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดอีก

ซาร่าห์ : เป็นแนวคิดแต่ไม่รูจักลักษณะของความโกรธจริงๆ ... แปลไม่ทัน 😥
ถาม : กรุณาอธิบายการเริ่มต้น และการศึกษา

ซาร่าห์ : การเริ่มต้น คือ เดี๋ยวนี้ ความเข้าใจเดี๋ยวนี้ ไม่ว่าจะเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส สัมผัส ที่ ท่านอาจารย์ พูดซ้ำแล้วซ้ำเล่า เพราะอวิชชาที่ฝังลึก

ท่านอาจารย์ : เราพูดถึงสมถะ คุณเข้าใจว่าสมถะคืออะไร?

ตอบ : เราเข้าใจว่า สมถะคือนั่งขัดสมาธิ ทำใจให้สงบ แล้วค่อยศึกษา

ท่านอาจารย์ : สมถะ เป็นธรรมะไหม? เป็นธรรมะอะไร? ถ้าไม่เข้าใจว่าสมถะเป็นอะไร จะเข้าใจอะไร เป็นความจริงหรือไม่ เป็นรูป หรือ นาม

ตอบ เป็นนาม

ท่านอาจารย์ : ถ้าเป็นนาม เป็น จิต หรือ เจตสิก? แล้วรู้ไหมว่าเป็น กุศล หรือ อกุศล?

ตอบ ไม่ทราบครับ

ท่านอาจารย์ : ความหมายของสมถะคืออะไร?

ตอบ : สงบค่ะ

ท่านอาจารย์ : สงบ คืออะไร? เป็น กุศล หรือ อกุศล?

ถ้าไม่เข้าใจ ก็รู้แต่คำ ทำไมคนถึงต้องการความสงบ โดยไม่เข้าใจว่า ความต้องการความสงบเป็นกุศลหรืออกุศล ต้องรู้จักแยกแยะว่าความสงบมีหลายขั้นหลายระดับ ต้องพิจารณาให้ละเอียดว่า ความจริงคืออะไร เพื่อจะได้รู้ว่าความสงบที่เกิดขึ้นหรือต้องการให้เกิดขึ้นเป็นกุศลหรืออกุศล

จบการสนทนาธรรมเวลา ๑๖.๓๐ น.


ขอเชิญชมและฟังบันทึกการสนทนาในวันนี้ได้ที่ลิงก์ด้านล่าง :

วันพุธที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๖๗

สถานที่สนทนาธรรม : Nam Thi House

ข้อความบางตอนจากการสนทนา (ภาคเช้า) :

ถาม : คำว่า วิญญัตติกับจิต เกี่ยวข้องกันอย่างไร?

ตอบ : วิญญัตติ เป็นสองขณะที่ต่างกัน ในชีวิตประจำวัน เราพูด แต่จริงๆ ต้องมีรูปเกิดขึ้นโดยมีจิตที่ทำให้เกิดรูปนั้น (ไม่ทราบแปลถูกไหม)

ถาม : เมื่อไม่มีตัวตน มีแต่จิต แต่จิตเป็นปัจจัยให้เกิดรูปใช่ไหม

ตอบ : จิตเป็นปัจจัยให้เกิดรูป เป็นลักษณะวิญญัตติ ถ้าไม่มีจิต

ท่านอาจารย์ : วจีวิญญัตติ กายวิญญัติ เราจะเข้าใจแต่คำ หรือเข้าใจแต่ละขณะ ดอกไม้นี้เดินได้ไหม แต่ในขณะที่เดินหรือเคลื่อนไหว เมื่อจิตมีเจตนาจะเคลื่อนไหว ก็เป็นปัจจัยให้รูปเคลื่อนไหว แต่แข็งเคลื่อนไหวเองไม่ได้ เป็นกายวิญญัตติ จิตมีเจตนาจะพูด ก็เป็นปัจจัยให้ลิ้นคือแข็งขยับ มีเสียงเปล่งออกมาเป็นวจีวิญัตติ

ความเข้าใจที่เกิดทีละเล็กทีละน้อย จะทำให้ละทิ้งความเป็นเรา ความติดข้องปกปิดความจริง ศึกษาให้เข้าใจขณะนี้ ไม่ใช่แค่เรื่องราว พระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนให้เข้าใจสภาพธรรมที่เกิดดับในขณะนี้ ถ้าไม่เข้าใจอริยสัจรอบแรก จะเข้าใจรอบสองได้อย่างไร จึงต้องพิจารณาไตร่ตรอง การประจักษ์แต่ละขณะไม่ใช่ง่ายๆ ความจริงแม้จะมีอยู่แล้ว แต่ก็ไม่ปรากฏ ธรรมที่เกิดและดับไปแล้วไม่กลับมาอีกในสังสารวัฎ เมื่อพูดถึงกายวิญญัติ วจีวิญญัติ ที่เกิดจากเจตนากำหนดให้รูปหลายๆ รูปรวมตัวเกิดขึ้น

ซาร่าห์ : เมื่อท่านอาจารย์ กล่าวถึงอริยสัจสามรอบ การจะเข้าใจรอบสองได้ ต้องเข้าใจและมั่นคงในรอบแรก คือ ปริยัติ ก่อน จะไปรอบสอง ปฏิบัติ

เมื่อกลุ่มของรูปที่เป็นที่เกิดขึ้นวิญญัติ เกิดไม่ได้ได้โดยไม่มีจิต เช่นดอกไม้ไหวเพราะลมพัด ทั้งลมและดอกไม้ไม่มีจิต แต่เมื่อเป็นคำพูด ต้องมีจิตที่มีเจตนา

ถาม : เมื่อทุกอย่างที่เป็นความจริง เกิดดับเร็วเหลือแต่นิมิต แต่เมื่อศึกษารายละเอียดแต่ละขณะแล้ว จะรู้แต่ละขณะอย่างไร

โจนาธาน : การที่จะรู้ต้องเข้าใจก่อน และจะเลือกเข้าใจเฉพาะเรื่องไม่ได้ ความเข้าใจที่เกิดขึ้น เพราะเราศึกษาคำสอนพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ไม่ได้หมายความว่าความเข้าใจจะเกิดเพราะเข้าใจคำ ความเข้าใจเกิดจากปัจจัย ไม่ใช่จากเจตนาจะเข้าใจ

ความเข้าใจขึ้นอยู่กับปัจจัยที่สะสมมาหลายอย่าง ไม่มีใครรู้ว่าสะสมมาจากไหน เมื่อไร และอย่างไร แต่เราต้องมั่นคงในคำสอนทุกขณะในชีวิตประจำวัน ไม่ใช่บังคับให้เกิด ตอนนี้คุณขุ่นเคืองหรือพอใจ

ถาม : ผมเข้าใจเรื่องธรรมเกิดและดับ แต่ผมไม่เข้าใจเราจะรู้ว่าแต่ละขณะที่ขุ่นเคืองหรือพอใจเกิดอย่างไร

โจนาธาน : เราอาจจะรู้ว่าเราสุขทุกข์ แต่เมื่อศึกษาว่าสุขหรือขุ่นเคืองนั้นเกิดจากปัจจัยแต่ละชั่วขณะ ซึ่งค่อยๆ เข้าใจ จะไปทำให้รู้ไม่ได้ด้วยการปฏิบัติ แต่การฟังให้มั่นคงจะช่วยให้ลดความยึดมั่นเห็นผิด การศึกษาความจริงในชีวิตประจำวัน ไม่ใช่เราศึกษา เราเข้าใจ เราพยายามจะไปทำ เราอยาก นั่นไม่การศึกษา ต้องรู้ว่าในขณะที่เข้าใจนั้นดับไปแล้ว ไม่ใช่ตอนที่เราคิดว่าเราเข้าใจ

ถาม : ผมเข้าใจว่าที่ผมเข้าใจ เป็นแค่ความคิดเช่นนั้นหรือ

ตอบ : เช่นนั้น เพราะเมื่อธรรมเกิดและดับไปแล้วก็เป็นนิมิต แต่ต้องไม่ทำให้ความรู้นี้นำไปสู่ความเข้าใจผิดคิดว่าเข้าใจแล้วและละเลยการฟัง คำสอนที่เรากำลังศึกษาไม่ใช่เรื่องง่าย สำหรับคนที่เพิ่งมาฟังก็จะยาก แต่คนที่ศึกษามาระยะหนึ่งแล้วก็เข้าใจเพิ่มขึ้น

ถาม : ความจริงที่ปรากฎก็อาจรู้ได้ว่าเป็นกุศลหรืออกุศลใช่ไหม?

ตอบ : ที่คุณพูดก็ไม่ผิด แต่เป็นการทำงานทำงานของเจตสิกที่รู้ว่า สิ่งที่เกิดขึ้นแล้วเป็นอะไร แต่ต้องระวังว่านี่ยังไม่ใช่การประจักษ์ธรรมที่ปรากฎในขณะนั้น

ถาม : ผมเข้าใจในระดับปริยัติแล้วว่า เวลาที่เป็นกุศล เวลาใดเป็นอกุศล และรู้ว่าอกุศลผมเยอะเหลือเกิน

ตอบ : ก็ดีที่รู้จักอกุศลมากขึ้น แต่ต้องระวังว่าไม่นำไปปะปนกับความเข้าใจ และคิดว่าจะไปทำให้มีกุศลที่ไปทำกรรมดี ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดจากเจตสิกที่สะสมมา และแต่ละเจตสิกไม่ได้เกิดพร้อมกัน ความเข้าใจที่เกิดแต่ละขณะก็ดับไปอย่างรวดเร็ว ทุกอย่างล้วนเกิดจากปัจจัย ต้องไม่ลืมว่าทุกอย่างเป็นอนิจจัง เราไม่สามารถพูดได้ว่าการกระทำแต่ละอย่างจะสะสมให้เป็นปัจจัย เพราะสิ่งที่กระทำขณะนี้ก็มาจากปัจจัยที่สะสมมาแล้ว

ถาม : แต่ในพระสูตรพระพุทธเจ้าตรัสว่า แต่ละการกระทำเป็นทางแห่งการตรัสรู้

ตอบ : เรื่องนี้ต้องระวัง เอามาปะปนไม่ได้ มันชัดเจนอยู่แล้วว่าทรงตรัสให้รู้ความจริงแต่ละขณะ

ถาม : ทุกครั้งที่ผมได้ยินคำว่าธรรม ผมเหมือนได้ยินของใหม่ทุกครั้ง

ท่านอาจารย์ : นี่เป็นเหตุที่เราต้องสนทนาซ้ำแล้วซ้ำอีก เดี๋ยวนี้เป็นธรรมอะไร?
ตอบ : ตอนนี้มีเห็น
ท่านอาจารย์ : แล้วก่อนเห็นล่ะ

ตอบ : ผมไม่รู้ว่าอะไรดับไปแล้วก่อนเห็น

10:56 น. Trasvin แปลไม่ทัน 😥

วันพุธที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๖๗

สถานที่สนทนาธรรม : Nam Thi House

ข้อความบางตอนจากการสนทนา (ภาคบ่าย) :

15:07 น. ถาม : เมื่อเห็นดอกไม้ และรู้ว่าดอกไม้ก็ต้องเหี่ยว แต่บางคนก็ไม่รู้สึกอะไร เมื่อรู้ว่าเกิดมาต้องตาย เมื่อไรที่จะรู้ว่าจิตเป็นกุศลหรืออกุศล

ท่านอาจารย์ : ทุกคนมีจิตทุกขณะ แต่ไม่รู้จักแค่คิดถึงจิต เมื่อลืมตาก็เห็น พอหลับตาก็ไม่เห็น ต้องศึกษาให้เข้าใจว่าจิตคืออะไร แค่ฟังแต่ไม่พิจารณาก็ไม่มีทางรู้ว่าจิตคืออะไร ไม่รู้ว่าแต่ละขณะจิตเกิดและดับ ทุกครั้งที่ เห็น ได้ยิน ฯลฯ

การถามแบบนี้ก็เพียงแค่อยากรู้ว่าเป็นจิตแบบไหน คุณถามว่า การแตกดับ และคุณถามเกี่ยวกับการตายว่าเป็นจิตแบบไหน แต่คุณควรเข้าใจว่าทุกขณะธรรมเกิดแล้วดับทุกขณะ ไม่ใช่แค่การตายเท่านั้น เช่นเดียวกับความรู้สึก ทุกข์เพราะเกิดแล้วดับ สุขเกิดแล้วดับ นี่คืออริยสัจที่หนึ่ง

ท่านอาจารย์ : เดี๋ยวนี้คืออะไร

ตอบ : เดี๋ยวนี้จิตเปลี่ยนตลอดเวลา

ท่านอาจารย์ : แล้วเข้าใจจิตหรือยัง พูดได้ แต่ยังไม่เข้าใจการเกิดดับของธรรม ทำไมเราคิดถึงคำว่าจิต หรือจะเข้าใจสภาพของจิต

ถาม : เราจะพูดได้ไหมว่า จิตเป็นชั่วคราว และเป็นอนัตตา

ท่านอาจารย์ : พระพุทธเจ้าตรัสว่า ขณะนี้เกิดดับไม่กลับมา แต่ละหนึ่ง
ในชีวิตเป็นความจริงไม่กลับมาอีก ถ้าไม่เข้าใจคำสอนที่ทุกขณะทุกอย่างปัจจัยที่ทำให้เกิด เป็นอนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้ ทุกอย่างไม่ยั่งยืน เกิดแล้วดับไม่กลับมาอีกในชั่วขณะเดียว การตอบความหมายของอนัตตาโดยไม่มีความเข้าใจความจริงแต่ละขณะ ไม่มีประโยชน์

อริยสัจที่หนึ่ง ทุกขอริยสัจ ใครรู้แล้วบ้าง เพียงเห็น รู้หรือว่าเกิดแล้วดับแล้ว การที่จะจดจำได้มั่นคงใช้เวลายาวนานมากว่าทุกอย่างไม่เที่ยงนั้นเป็นไปทุกขณะตามเหตุตามปัจจัย ให้รู้ว่ายังอีกยาวไกลกว่าจะประจักษ์ความจริงในขณะนี้

เมื่อเราพูดถึงสิ่งที่เกิดแล้วดับเดี๋ยวนี้เป็นทุกข์ แม้กำลังยิ้มอยู่เดี๋ยวนี้เป็นทุกข์อย่างไร ธรรม สิ่งที่มีจริง คือสิ่งที่เปลี่ยนไม่ได้ ไม่ว่าแข็ง อ่อน ร้อน เย็น ตึง ไหว ล้วนเป็นอนัตตา เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย เมื่อเห็นก็ไม่เข้าใจ เมื่อเข้าใจก็ไม่ได้เห็น เพราะความเป็นจริงเกิดขึ้นทีละหนึ่ง แต่ละขณะ

พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ความจริง ตรัสว่า ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา แล้วใครเห็นธรรม ประจักษ์ความเกิดดับหรือยัง แล้วใครรู้จักอริยสัจที่สองหรือยัง เหตุแห่งทุกข์คือความติดข้อง ทันทีที่มีสิ่งที่ปรากฎกับทวารทั้งห้า ก็ติดข้องทันที

เมื่อสิ่งที่ปรากฎเกิดและดับไปแล้ว เหลือแต่ความคิด แล้วใครล่ะที่คิด เราคิด เราเห็นบางสิ่งบางอย่างที่เป็นโต๊ะ เก้าอี้ คน สัตว์ ทั้งๆ ที่ทั้งหมดเป็นแข็ง เราติดอยู่กับนิมิต

เมื่อเริ่มเข้าใจ เราก็จะเริ่มรู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเคารพในคำสอนของพระองค์

การฟังความจริงเท่าไรก็ไม่พอ ค่อยๆ พิจารณาให้ละความเป็นตัวตน

ซาร่าห์ : เมื่อเข้าใจมากขึ้นก็จะรู้ว่า เรายึดติดอยู่กับเรื่องราวมากเพียงใดตลอดทั้งวัน เมื่อคนที่ฉลาดยิ่งฟังก็เข้าใจว่าเรื่องราวที่ติดข้องนั้นควรละ อริยสัจที่สอง คือความติดข้องและอวิชชา จะเข้าใจได้ก็ต้องเข้าใจอริยสัจที่หนึ่งก่อน
ผู้ถาม : ท่านอาจารย์ พูดถึงปัจจัยที่เหมาะสม และปัจจัยทั้งหลายเป็นนามหรือไม่

ท่านอาจารย์ : ธรรมคืออะไร

ผู้ถาม : เห็น ได้ยิน เป็นธรรม

ท่านอาจารย์ : ไม่เอาคำ

ผู้ถาม : ขณะนี้ เสียงเป็นธรรม

ท่านอาจารย์ : อะไรที่เป็นจริง เปลี่ยนแปลงไม่ได้ ความจริงคืออะไร
แข็งเป็นจริง เกิดแล้วดับแล้ว แต่ที่เราเห็นคือนิมิต ที่เห็นนั้นเป็นอะไร ก็เป็นความจริงที่เกิดจากปัจจัยเกิดแล้วดับแล้ว เป็นแต่ละขณะ เมื่อเห็นไม่ได้ยิน มีความรู้สึกตอนนี้ไหม

ผู้ถาม : มีครับ

ท่านอาจารย์ : แต่ความรู้สึกนั้นดับแล้ว

ซาร่าห์ : เมื่อท่านอาจารย์พูดถึงปัจจัยที่เหมาะสม หมายถึงในขณะนั้น เมื่อปัจจัยที่ได้ยิน ไม่ใช่ปัจจัยที่ทำให้เห็น มาจากอดีตกรรมที่เราไม่รู้ทำมาตั้งแต่เมื่อไร เมื่อกรรมนั้นส่งผล ให้เกิดเจตนาเจตสิก และทำให้รูปทำอย่างใดอย่างหนึ่ง

ถาม : ถ้าเราพูดเรื่องกรรม เป็นกรรมที่เพิ่งเกิด หรืออดีตกรรมที่เกิดนานแล้ว

ซาร่าห์ : เราไม่รู้ว่าเป็นกรรมที่กระทำมาเมื่อไร แต่แต่ละขณะที่ทวารทั้งห้าที่รับรู้ เกิดจากกุศลวิบากและอกุศลวิบากทั้งสิ้น

ถาม : คนทั่วไปเห็นดอกไม้เป็นดอกไม้ แต่คนที่ศึกษาแล้วเข้าใจว่าเป็นสิ่งที่ปรากฎ จะถือว่าคนที่สองเข้าใจแล้วไหม

ซาร่าห์ : คนที่ศึกษาแล้ว อาจเข้าใจได้แค่ระดับปริยัติ แต่ยังไม่ได้ประจักษ์ แต่ก็จะเริ่มพิจารณา

โจนาธาน : เราต้องพิจารณาเพิ่มเติม ว่าคนที่เคยศึกษา รู้ว่าไม่ใช่ดอกไม้แต่เป็นสิ่งที่ปรากฎ เป็นแค่ความคิดของคนนั้นที่คิดว่าดอกไม้เป็นแค่สิ่งที่ปรากฎทางตาแต่ไม่ได้ประจักษ์

ท่านอาจารย์ : แล้วดอกไม้นี้จริงหรือปลอม?

ตอบ : ดอกไม้จริง

ท่านอาจารย์ : เห็นเกิดขึ้น เพื่อเห็นสิ่งที่ปรากฎทางตาแล้วก็ดับ เห็นเป็นจริง แต่พอเห็นแล้วคิดเป็นดอกจริงหรือปลอมจะเป็นการประจักษ์ได้อย่างไร เพราะสิ่งที่ปรากฎเพียงขณะเดียวดับไปแล้ว

ถาม : เพราะสิ่งที่ปรากฎเกิดรวดเร็ว เมื่อหลับตาแล้วได้ยินแต่เสียงท่านอาจารย์ แต่ภาพ ท่านอาจารย์ ก็เกิดในความคิด

โจนาธาน : ทุกขณะ มโนทวารรับรู้ทุกสิ่งที่อีกห้าทวารรับรู้ นี่เป็นเรื่องขบวนการที่เกิดกับทุกคนในสังสารวัฏฏ์ แต่ความที่ขบวนการนี้เกิดดับเร็ว แต่สิ่งที่เราเรียนรู้คือ แทนที่จะเห็นว่าดอกไม้เป็นสิ่งที่ปรากฎ แต่เป็นความคิดว่าความจริงเป็นเช่นนั้น นี่เป็นขั้นตอนของความเข้าใจ


ขอเชิญชมและฟังบันทึกการสนทนาในวันนี้ได้ที่ลิงก์ด้านล่าง :

วันพฤหัสบดีที่ ๒๙ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๖๗

สถานที่สนทนาธรรม : Nam Thi House

ข้อความบางตอนจากการสนทนา (ภาคเช้า) :

ถาม : ได้ฟังธรรมมาระยะหนึ่งแล้ว พอเข้าใจเรื่องจิต และทวารที่รับรู้ แต่ยังอยากเข้าใจเรื่อง สติ เพิ่มขึ้น

ซาร่าห์ : เมื่อจิตเป็นกุศล สติเกิดร่วมด้วย แต่เมื่อจิตเป็นอกุศล สติไม่เกิดร่วมด้วย

การสนทนาธรรม 90 นาที อย่าเข้าใจผิดว่าสติจะเกิดตลอดเวลา เพราะแต่ละขณะที่เกิด เดี๋ยวนี้ จิตเกิดดับเร็วมาก การรับรู้ทวารทั้งห้าและมโนทวารไม่ได้เป็นไปในกุศลทุกขณะ เมื่อมีเสียงรบกวนเกิด โทสะเกิด สติก็ไม่เกิด ดังนั้นความเข้าใจในสภาพธรรมจึงสำคัญ เดี๋ยวนี้เป็นสติไหม?

ผู้ถาม : ไม่ค่ะ

ซาร่าห์ : การตอบตามความเป็นจริงก็แสดงว่าเข้าใจ จะทำสติให้เกิดนั้นเป็นไปไม่ได้ การไปนั่งสมาธิก็เป็นแค่จดจ้อง ติดข้องกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง

โจนาธาน : ในมหาสติปัฏฐานสูตร เป็นสิ่งที่ไม่ใช่เรื่องของการตระหนักว่าอะไรกำลังเกิดขึ้นหรือตั้งอยู่ตรงนั้น แต่เป็นความเข้าใจว่าความจริงแต่ละขณะคืออะไร

ท่านอาจารย์ : คุณอยากรู้ขณะนี้ หรืออยากรู้เรื่องของสติ ถ้าไม่เข้าใจความจริงขณะนี้ก็เข้าใจอะไรไม่ได้ คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้เข้าใจความจริงขณะนี้ อะไรที่เกิดขึ้นมีเหตุมีปัจจัย ต้องมั่นคงว่าไม่มีเรา หรือใครไปทำให้อะไรเกิด

จะพูดถึงสติ โดยไม่รู้ว่าเดี๋ยวนี้สติมีไหม อวิชชาปิดบังความจริง สติเป็นเห็นไหม ทำไมไม่ใช่ พิจารณาให้ดี เพราะที่สะสมมากนับกัลป์ การตอบสิ่งที่จำได้ ไม่ได้หมายความว่าเข้าใจ ให้มั่นคงว่า สัพเพธรรมาอนัตตา เราทำสติให้เกิดไม่ได้ และสติก็ไม่ใช่เรา

ใครรู้บ้างว่าที่ติดข้องจากเห็น ได้ยิน ได้กลิน ลิ้มรส สัมผัส หนาแน่นแค่ไหน เวลาเห็นก็เป็นเราเห็น ต้องเข้าใจความจริงที่เกิดแต่ละขณะ
จำให้ดีว่าจิตเกิดมากมายเมื่อเห็น แต่อะไรที่เกิดก่อนเห็นล่ะ
ศึกษาทีละคำให้เข้าใจ จิตเป็นใหญ่เป็นประธานไม่ว่าจะใช้คำไหนเรียกก็ตาม

ธรรมเกิดจากเหตุปัจจัยและดับไป นี่คือความจริง ค่อยๆ เข้าใจทีละเล็กละน้อยในแต่ละขณะ พิจารณาว่าไม่ไช่ศึกษาความหมายของคำ แต่รู้จักสภาพธรรมนั้น เดี๋ยวนี้มีสติไหม?

ซาร่าห์ : ถ้าเราถามแต่ละคนมีสติไหม ทั้งๆ ที่บางคนก็มีโทสะหรือมีความสุข เพราะสติไม่ได้รู้ง่าย ถ้าอกุศลเกิด สติก็ไม่เกิด ท่านอาจารย์พูดถึงโลก ถ้าไม่มีโลก ก็ไม่มีอะไรเกิด แต่โลกที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน โลกคือขณะนี้ ในขณะที่เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส ไม่ใช่โลกในความคิด แต่เป็นโลกของความจริง

ผู้ถาม : ขออธิบายคำว่า สุญญตา และ โพธิจิต

ตอบ : คุณเข้าใจคำว่าสุญญตา?

ผู้ถาม : ดิฉันเข้าใจคร่าวๆ ว่า เช่น เมื่อให้ทานไม่มีคนรับ ไม่มีคนให้ ถ้าให้ทาน เราอาจติดข้องกับทาน ถ้าเข้าใจว่าไม่มีคนให้และรับ ก็ไม่ติดข้อง

โจนาธาน : เป็นความเข้าใจในขณะนั้น หรือเป็นความเข้าใจคำสอนนั้นหมายความว่าอะไร

ผู้ถาม : ดิฉันถูกสอนมาแบบนั้นว่า และเมื่อทำแบบนั้นดิฉันก็ไม่ติดข้อง

โจนาธาน : แล้วเป็นสุญญตาไหม

ผู้ถาม : ดิฉันไม่ทราบ

ตอบ : อยากพิจารณาไหมว่าพระพุทธเจ้าตรัสอย่างไร สุญญตาเป็นปัจจัยทุกขณะ เป็นหนึ่งในสามลักษณะ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อนัตตามีความหมายเดียวกับสุญญตา ไม่อาจควบคุมบังคับบัญชาได้ เมื่อให้ทาน ไม่ได้แปลว่าทุกขณะที่เกิดเป็นกุศล เมื่อครูของเธอสอนแบบที่ว่าเธอยังไม่เข้าใจเรื่องขณะนั้น

เมื่อเราได้ยินคำว่า สติ หรือ สุญญตา เราควรหยุดคิด และพิจารณา คิดถึงสภาพธรรมแต่ละหนึ่ง ซึ่งทั้งหมดเกิดและดับ

ซาร่าห์ : เมื่อเราคิดถึงทานและผลของกุศลนั้น การติดข้องเกิดขึ้นแล้ว ทั้งๆ ที่จิตขณะนั้นดับไปแล้วเพราะธรรมนั้นเป็นสุญญตา ต้องลดความติดข้องไปทีละเล็กละน้อย เข้าใจว่าเป็นธรรม ไม่ใช่ความใจกว้างของเรา

ผู้ถาม : ดิฉันเข้าใจสุญญตาแค่เวลาให้ทาน แต่ไม่รู้เวลาอื่น

ท่านอาจารย์ : เดี๋ยวนี้โลกว่างเปล่าไหม?

ผู้ถาม : ดิฉันเห็นคนเต็มห้องไปหมด แม้พวกเราออกไปแล้ว คงมีอย่างอื่นอยู่ในห้อง

ท่านอาจารย์ : ทุกอย่างแตกย่อยละเอียดเป็นชิ้นส่วนเล็กๆ แล้วจะมีความว่างอย่างไร

ผู้ถาม : เรายังเห็นฝุ่น

ท่านอาจารย์ : แล้วถ้าไม่มีฝุ่นล่ะ

ผู้ถาม : ถ้าดิฉันสามารถประจักษ์ความว่างนั้น ดิฉันก็จะรู้ว่าเป็นความว่าง

ท่านอาจารย์ : พระพุทธเจ้าตรัสถึงความว่าง ถ้าไม่มีอะไรเกิด ก็เป็นความว่าง สุญญตา อนัตตา เมื่อเกิดก็ดับไปแล้วไม่มีอีก เมื่อไม่มีอะไรเกิดก็ไม่มีอะไรดับ เป็นความว่าง นี่คืออริยสัจที่สอง

เรากลับไปพูดเรื่องสติอีก ถ้าไม่รู้จักก็ไม่เข้าใจ ดังนั้นเวลานี้คือเวลาที่จะกลับไปไตร่ตรองแต่ละคำ ให้เริ่มเข้าใจ ว่าความเข้าใจและอวิชชา คืออะไร ทุกคนต้องศึกษาไตร่ตรองอย่างถี่ถ้วนถึงหนทางที่จะเข้าใจความจริงแต่ละขณะ นี่คืออริยสัจที่สี่ ทางที่จะไปสู่การดับอริยสัจที่หนึ่ง

การเข้าใจความจริง ไม่มีใครเข้าใจ แต่ความเข้าใจขณะนั้นเกิดและดับแล้ว เป็นสุญญตา แม้แต่ขณะนี้ อวิชชาทำให้เป็นเราที่เข้าใจ เป็นเราที่จำได้ พระพุทธเจ้าตรัสสอนว่า อริยสัจที่หนึ่ง ทุกข์ คือ สุญญตา

ซาร่าห์ : คุณถามถึง โพธิจิต นั่นเป็นความเข้าใจระดับสูง ที่เข้าใจถึงสภาพจิตแต่ละขณะแล้ว

ถาม : คุณค่าสามประการจากจีน และแพร่หลายไปในญี่ปุ่น เกาหลี คือ ซื่อสัตย์ ทำดี และความงาม ไม่ทราบว่าเราจะอธิบายคุณค่ากับคนทั่วไปจากมุมของชาวพุทธอย่างไร

ซาร่าห์ : ซื่อสัตย์ที่คุณว่า แค่หมายถึงไม่พูดปด แต่สัจจะที่รู้ความจริงแต่ละขณะ แล้วใครจะเป็นผู้ตรงในระดับไหนล่ะ ใครจะรู้ว่าจิตแต่ละขณะของใคร ทำดี ก็เหมือนเราสอนเด็กให้ทำกิจกรรมที่ว่าทำดี แต่ก็อีกนั่นแหละ ดีระดับไหนที่จะระลึกรู้ทุกขณะว่ากุศลอกุศลเกิดเมื่อไร

วันพฤหัสบดีที่ ๒๙ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๖๗

สถานที่สนทนาธรรม : Nam Thi House

ข้อความบางตอนจากการสนทนา (ภาคบ่าย) :

15:10 น. Trasvin ต่อจากที่สนทนาช่วงเช้า

โจนาธาน : อะไรคือความงาม?

ตอบ : ผมคิดว่าความงามไม่ใช่แค่เห็น แต่ได้ยิน ฯลฯ

โจนาธาน : ความงามที่เราจะพูด ไม่เพียงแค่ทางกายภาพ แต่เราอาจพูดถึงกุศลจิต ซึ่งงามพร้อมกว่าที่จะทวารทั้งห้าจะรับรู้

ผู้ถาม : เท่าที่ได้ยิน ทุกอย่างเกิดจากปัจจัย แล้วทำไมเราต้องตั้งใจฟัง หรือตั้งใจสร้างบารมี

ตอบ : ตอนนี้เป็น คุณ หรือใครที่ตั้งใจ

ผู้ถาม : เป็นดิฉันที่ตั้งใจ

ตอบ : แล้วความจริงในขณะที่ตั้งใจล่ะ บางครั้ง เป็นความคิดว่ากำลังฟัง บางครั้งคิดถึงอาหารกลางวัน ซึ่งก็เป็นความคิด ที่เป็นเรากำลังทำต่างๆ บางครั้งกำลังตั้งใจ แต่เป็นทิฏฐิที่เป็นเรา คุณรู้ไหมว่าชั่วขณะต่อไปคุณจะคิดอะไร

ผู้ถาม : ไม่ทราบค่ะ

ตอบ : และคุณควบคุมได้ไหมว่าความคิดนั้นจะเป็นกุศลหรืออกุศล ความคิดที่กำหนดไม่ได้ ขึ้นอยู่กับปัจจัยแต่ละขณะ เราไม่มีทางรู้ได้ว่าจะมีปัจจัยอะไรมากำหนด

โจนาธาน : เรื่องนี้มีสองเงื่อนไข เงื่อนไขแรก ฟังไม่ทัน เงื่อนไขที่สอง ความเป็นบุคคลตัวตนไม่มี แต่เป็นการติดข้อง แต่การใช้คำว่าฉัน อาจจะไม่เป็นมิจฉาทิฏฐิก็ได้

ซาร่าห์ : การที่ฟังธรรม ขึ้นอยู่กับการสะสม รู้ประโยชน์ของการฟัง การฟังแต่ละครั้งเป็นการสะสมบารมี แต่ไม่ใช่นำไปปะปนกับความเห็นผิด ไม่ใช่ฉันที่กำลังสะสมบารมี แต่เป็นความเข้าใจที่เกิดขึ้น

ท่านอาจารย์ : เราก็ต้องเริ่มต้นกันใหม่ พระพุทธเจ้าทรงสอนอะไร การเข้าใจแต่ละหนึ่งแต่ละขณะ ทีละเล็กละน้อย และค่อยๆ ไตร่ตรอง ถึงต้องใช้คำว่าเริ่มต้นใหม่ เพราะไม่มีอะไรใกล้ชิดกับเราเท่ากับจิต ซึ่งเป็นสภาพรู้ เป็นใหญ่เป็นประธาน

ไม่มีใครกำลังเห็น กำลังได้ยิน ฯลฯ จิตแต่ละขณะจึงแตกต่างออกไปในแต่ละขณะ ถ้าไม่มีสิ่งที่ปรากฎให้จิตรับรู้ จิตก็ไม่เกิด แต่หากมีสิ่งที่ปรากฎ จิตก็เกิดรับรู้แล้วดับ

15:53 น. Trasvin ท่านอาจารย์ : ไม่ว่าอะไรจะปรากฎ จิตก็เกิดขึ้นรับรู้ ถ้าเราไม่มั่นคง ก็เป็นเราที่เห็น ที่ได้ยิน ฯลฯ ทั้งนั้น เป็นอย่างนี้ทุกคน

ดอกไม้นี้สวยไหม ปัจจัยอะไรทำให้ดอกไม้เกิด สิ่งที่ปรากฎให้เห็น จิตรับรู้ในขณะนั้น ไม่ว่าสิ่งที่ปรากฎจะเป็นอะไรก็ตาม

(วันนี้ จะสนทนาถึง4โมง แล้วจะไป บ้านธัมมะเวียดนามกัน ค่ะ)

@Unknown To our Vietnamese friends, thanks for organizing the discussion and your hospitality. I am leaving the hotel tomorrow morning at 8:00 am. So I am saying good-bye here. May your understanding in Dhamma continuously growing. Anumodana!

พี่ๆ เพื่อนๆ น้องๆ ไทย ก็ขอลากันตรงนี้เลยนะคะ ขอบคุณมากและยินดีในกุศลของทุกคนค่ะ (ตรัสวิน จิตติเดชารักษ์)


ขอเชิญชมและฟังบันทึกการสนทนาในวันนี้ได้ที่ลิงก์ด้านล่าง :

ภายหลังจบจากการสนทนาธรรมในภาคบ่าย ท่านอาจารย์ได้เดินทางไปเยี่ยมที่ทำการของบ้านธัมมะเวียดนาม ณ เมืองไซ่ง่อน (คลิกอ่านที่ลิงก์นี้ : ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ไปเยี่ยมที่ทำการบ้านธัมมะเวียดนาม ๒๙ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๖๗ )

(คลิปวีดีโอบันทึกภาพขณะบ้านธัมมะเวียดนามเชิญสหายธรรมชาวไทยนั่งรถบัสชมเมืองไซ่ง่อนยามเย็น จัดทำโดยคุณ Tran Thanh Mai)

วันศุกร์ที่ ๑ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๖๗ (สนทนาธรรมวันสุดท้าย ณ เมืองไซ่ง่อน)

สถานที่สนทนาธรรม : Nam Thi House

ภายหลังจบการสนทนา มีการบันทึกภาพหมู่ไว้เป็นที่ระลึก

(เอื้อเฟื้อภาพถ่ายโดย คุณนภา จันทรางศุ)


ขอเชิญชมและฟังบันทึกการสนทนาในวันนี้ได้ที่ลิงก์ด้านล่าง :

ขอเชิญคลิกชม วีดีโอที่บันทึกภาพและเหตุการณ์แห่งความประทับใจในการเดินทางไปสนทนาธรรมของท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ประธานกรรมการมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา ณ เมืองไซ่ง่อน บินเจา และ หวุงเต่า ประเทศเวียดนาม ระหว่างวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ถึง ๘ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๖๗ ซึ่งจัดทำขึ้น โดย บ้านธัมมะเวียดนาม (Dhamma Home Vietnam) ตามคลิปด้านล่าง :


ขอเชิญติดตามกระทู้ที่เกี่ยวข้อง ได้ที่ลิงก์ด้านล่าง :

- ณ กาลครั้งหนึ่ง ให้ภาพเล่าเรื่อง ณ เมือง Vung Tau เวียดนาม ๔ - ๘ มีนาคม ๒๕๖๗

- ณ กาลครั้งหนึ่ง ให้ภาพเล่าเรื่อง ณ เมือง Binh Chau เวียดนาม ๒ - ๔ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๖๗

- ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ไปเยี่ยมที่ทำการบ้านธัมมะเวียดนาม ๒๙ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๖๗

- ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ไปสนทนาธรรมที่ประเทศเวียดนาม ๒๖ กุมภาพันธ์ ถึง ๘ มีนาคม ๒๕๖๗


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
มังกรทอง
วันที่ 23 มี.ค. 2567

ลึกซึ้งยิ่ง พึงฟัง (อ่าน) บ่อยๆ ขอน้อมกราบอนุโมทนาสาธุ สาธุ สาธุ ขอรับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
swanjariya
วันที่ 24 มี.ค. 2567

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์ด้วยความเคารพยิ่ง

กราบยินดีในกุศลของคุณตั้มบั๊คและทุกๆ ท่านที่เดินทางไปร่วมสนทนาธรรมครั้งนี้

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
chatchai.k
วันที่ 1 เม.ย. 2567

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์ ด้วยความเคารพยิ่ง

ยินดีในกุศลจิตครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ