พระทำประกันชีวิตได้ไหม.
เมื่อพระท่านสะสมเงินไม่ได้ แต่ทำประกันชีวิตได้ไหม โดยอ้างว่าเมื่อท่านมรณภาพไป จะนำเงินส่วนนี้มาให้ลูกหลาน ในรูปของมรดก หรือเป็นเงินค่าจัดงานศพท่าน เหตุผลข้อหลังนี้ ผมได้รับคำชี้แจ้งจากพระที่จ.ลำปาง
การทำประกันชีวิตเป็นเรื่องของคฤหัสถ์ หรือชาวบ้านที่ยังมีความเป็นห่วงญาติหรือลูกหลาน สำหรับชีวิตของบรรพชิต ท่านสละอาคารบ้านเรือนสละวงศ์ญาติทั้งหลายหมดแล้ว จึงออกบวชเพื่อการบำเพ็ญสมณธรรม เพื่อความเป็นพระอรหันต์ดับกิเลส เครื่องเศร้าหมองทั้งหลาย ดังนั้นบรรพชิต จึงไม่ควรรับเงินและทอง ควรปฏิบัติตามพระธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้า ทรงแสดงไว้ด้วยความเคารพ จึงจะบรรลุธรรมได้ อนึ่งตามหลักพระวินัย ถ้าพระภิกษุมรณภาพลง สิ่งของและทรัพย์ของท่าน ต้องตกเป็นของสงฆ์ ฆราวาสไม่ควรไปเกี่ยวข้อง
บรรพชิตเป็นผู้ประพฤติปฏิบัติธรรม เพื่อความห่างไกลจากกิเลสทั้งปวง จึงเป็นผู้ที่ไม่ไปคลุกคลี สัมพันธ์ ติดต่อกันด้วยอกุศลอย่างฆราวาส แต่ถึงจะไม่ได้คลุกคลีอย่างฆราวาส หากจิตยังคิดห่วงหาในทรัพย์สิน แล้วท่านเข้าไปจัดแจง กระทำสิ่งที่ไม่ใช่กิจของสงฆ์ ที่ผิดพระธรรมวินัย ถือว่ายังคลุกคลีด้วยอกุศล และอาจจะถึงกับต้องอาบัติได้ครับ
ถ้าบวชแล้วไม่รักษา ไม่ประพฤติตามพระธรรมวินัย ทุคติเป็นอันหวังได้
ที่ว่าทรัพย์ของพระภิกษุ ที่มรณภาพไปแล้ว ต้องตกเป็นของสงฆ์ แต่ที่เห็นส่วนใหญ่ลูกหลาน ก็นำมาแบ่งกัน แบบนี้ถือว่าบาปไหม พระท่านบางรูป มีเงินเป็นล้านๆ มีมากกว่าฆารวาสเสียอีก พอมรณภาพไป ญาติที่อยู่ ก็แย่งสมบัติกัน เพราะเงินของท่าน