จะใส่บาตร ตกใจบาตรของท่านมีแต่เงิน
หนูอยากทราบว่าจะบาปไหมคะ หนูตั้งใจจะใส่บาตรกับพระภิกษุ ด้วยอาหารแต่ท่านเปิดบาตรมาหนูตกใจบาตรของท่านมีแต่เงิน หนูก็ตั้งใจใส่อาหารให้ ทำให้หนูรู้สึกไม่สบายใจภายหลังค่ะ ครั้งหน้าไม่กล้าจะใส่บาตรอีกเลยค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขณะนั้นได้ใส่อาหาร ไม่ได้ใส่เงิน จากการกระทำของเราจึงไม่ใช่เหตุที่จะทำให้ภิกษุท่านผิดพระวินัยแต่อย่างใด แต่สำหรับภิกษุรูปดังกล่าวนี้ท่านผิดพระวินัยแน่นอนก่อนหน้านี้แล้วที่ท่านรับเงิน ดังนั้น ถ้าเห็นว่าภิกษุท่านประพฤติผิดพระวินัย คฤหัสถ์ก็สามารถไม่ลุกรับกราบไหว้ ไม่ถวายการต้อนรับได้ เพื่อให้ภิกษุท่านได้รู้ตัวว่าท่านประพฤติผิด ประพฤติไม่เหมาะไม่ควร
จากเหตุการณ์นี้ก็ทำให้ท่านผู้ถามได้เกิดความละเอียดว่าในเมื่อภิกษุท่านไม่ได้ประพฤติตามพระธรรมวินัย ก็ไม่ควรส่งเสริมสนับสนุนให้ท่านได้ทำผิดต่อไป ข้อที่น่าพิจารณาคือ ผู้ที่ควรรับทาน มีมาก ที่เราสามารถจะเกื้อกูลสงเคราะห์ได้ ให้ประโยชน์กับผู้รับซึ่งเขาต้องการจริงๆ จึงไม่ควรจำกัดเลยในเรื่องของการเจริญกุศล ครับ
... ยินดีในกุศลของทุกๆ ท่านด้วยครับ ...
อ้างอิงจาก ความคิดเห็น 1 โดย khampan.a
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขณะนั้นได้ใส่อาหาร ไม่ได้ใส่เงิน จากการกระทำของเราจึงไม่ใช่เหตุที่จะทำให้ภิกษุท่านผิดพระวินัยแต่อย่างใด แต่สำหรับภิกษุรูปดังกล่าวนี้ท่านผิดพระวินัยแน่นอนก่อนหน้านี้แล้วที่ท่านรับเงิน ดังนั้น ถ้าเห็นว่าภิกษุท่านประพฤติผิดพระวินัย คฤหัสถ์ก็สามารถไม่ลุกรับกราบไหว้ ไม่ถวายการต้อนรับได้ เพื่อให้ภิกษุท่านได้รู้ตัวว่าท่านประพฤติผิด ประพฤติไม่เหมาะไม่ควร
จากเหตุการณ์นี้ก็ทำให้ท่านผู้ถามได้เกิดความละเอียดว่าในเมื่อภิกษุท่านไม่ได้ประพฤติตามพระธรรมวินัย ก็ไม่ควรส่งเสริมสนับสนุนให้ท่านได้ทำผิดต่อไป ข้อที่น่าพิจารณาคือ ผู้ที่ควรรับทาน มีมาก ที่เราสามารถจะเกื้อกูลสงเคราะห์ได้ ให้ประโยชน์กับผู้รับซึ่งเขาต้องการจริงๆ จึงไม่ควรจำกัดเลยในเรื่องของการเจริญกุศล ครับ
... ยินดีในกุศลของทุกๆ ท่านด้วยครับ ...
กราบขอบพระคุณอาจารย์คำปั่นมากๆ ค่ะ
- วีดีโอบันทึกภาพการสนทนาธรรม ณ ประเทศเวียดนาม ของท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ๒๖ ก.พ.-๘ มี.ค.๖๗
- ขออนุญาตสอบถามเรื่องการแปลบาลีของคำว่า ปฏิบัติ หน่อยครับ
- ภาษาบาลีสัปดาห์ละคำ [คำที่ ๖๖๒] ธมฺมานุคฺคห
- พาลปุถุชนผู้มิได้สดับ (ธรรมของพระอริยะ) ในเวลาที่อาศัยวัฏฏะ (ยังเวียนว่ายตายเกิด) เปรียบเหมือนบุตรคหบดีผู้โง่เขลา