ศีลคืออะไร?_สนทนาธรรมไทย-ฮินดี The Revanta Lucknow
ศีลคืออะไร?_สนทนาธรรมไทย-ฮินดี The Revanta Lucknow
[เล่มที่ 30] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 446
๕. พาหิยสูตร
ศีลเป็นเบื้องต้นแห่งกุศลธรรม
[๗๔๗] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น ท่านพระพาหิยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้พระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์ ซึ่งข้าพระองค์ได้ฟังแล้ว จะพึงเป็นผู้หลีกออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวเถิด. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนพาหิยะ เพราะฉะนั้น เธอจงชำระเบื้องต้นในกุศลธรรมให้บริสุทธิ์เสียก่อน ก็อะไรเป็นเบื้องต้นของกุศลธรรม คือศีลที่บริสุทธิ์ดี และความเห็นอันตรง.
[๗๔๘] ดูก่อนพาหิยะ เมื่อใดแล ศีลของเธอจักบริสุทธิ์ดี และความเห็นของเธอจักตรง เมื่อนั้น เธอพึงอาศัยศีล ตั้งมั่นในศีล แล้วเจริญสติปัฏฐาน ๔. สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน. ดูก่อนพาหิยะ เธอจงพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย. เมื่อใด เธออาศัยศีล ตั้งมั่นอยู่ในศีลแล้ว จักเจริญสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้อย่างนี้ เมื่อนั้น เธอพึงหวังความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลายได้ทีเดียว ตลอดราตรีหรือวันที่จักมาถึง ไม่มีความเสื่อมเลย.
ท่านอาจารย์: ที่ฟังมาแล้วทั้งหมดเป็นคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือเปล่า?
ชาวอินเดีย: เท่าที่ฟังมาเท่าที่เข้าใจ ที่พระพุทธองค์สอน รวมอยู่ใน ๓ ประโยคนี้ว่า ทำดี ละชั่ว และทำจิตให้บริสุทธิ์
ท่านอาจารย์: ถ้าไม่รู้ว่าชั่วคืออะไร จะละได้ไหม?
ชาวอินเดีย: ถ้าไม่รู้จักความชั่ว ก็ละความชั่วไม่ได้
ท่านอาจารย์: ความชั่ว ความชั่วเป็นธรรมหรือเปล่า?
ชาวอินเดีย: เป็นธรรมครับ
ท่านอาจารย์: ถ้าไม่รู้ว่า ความชั่ว เป็นธรรมอะไร ละความชั่วได้ไหม?
ชาวอินเดีย: ถ้าไม่เข้าใจชั่ว ก็ไม่สามารถละได้
ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น ธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงบำเพ็ญพระบารมีนานมากเพื่อที่จะรู้ และเข้าใจธรรมที่กำลังมีเดี๋ยวนี้
เดี๋ยวนี้ใครรู้ว่า ชั่วคืออะไร?
ชาวอินเดีย: รู้ด้วยความรู้สึก ถ้ารู้สึกดีแปลว่าดี ถ้ารู้สึกไม่พอใจก็ไม่ดี
ท่านอาจารย์: พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่าอย่างไร?
คุณสุคิน: ตามที่อาช่าบอกว่า ที่นี่ความดี ความไม่ดี เขารู้จักคำสอนเรื่องศีล ๕ เพราะฉะนั้น แกยกตัวอย่าง คือศีลข้อแรก คือการไม่ฆ่า ที่เขาเรียกว่าเป็นสิ่งที่ไม่ดี
ท่านอาจารย์: ศีล คืออะไร?
ชาวอินเดีย: ศีล คือความประพฤติของจิต
ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น ก่อนอื่นพูดว่า เป็นความประพฤติของจิต จิตคืออะไร?
คุณสุคิน: เขายังไม่ได้ใช้คำว่า จิต เขาพูดถึงความประพฤติอย่างเดียว
ท่านอาจารย์: ต้นไม้ประพฤติอะไรหรือเปล่า?
ชาวอินเดีย: ต้นไม้มีครับ
ท่านอาจารย์: ต้นไม้รู้อะไร?
ชาวอินเดีย: คิดว่าต้นไม้ก็มีจิต อย่างเช่น ถ้าเลี้ยงดูต้นไม้ดีๆ ต้นไม้ก็ให้ผล ถ้าเลี้ยงดูไม่ดีต้นไม้ก็ไม่ให้ผล
ท่านอาจารย์: ต้นไม้เห็นอะไรไหม?
ชาวอินเดีย: เห็น
ท่านอาจารย์: ต้นไม้เห็นอะไร?
ชาวอินเดีย: ต้นไม้ไม่มี ตา หู เพราะฉะนั้น ต้นไม้ไม่เห็นอย่างที่เราเห็น
ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น ถ้าไม่เห็นแล้ว ต้นไม้จะโกรธอะไรไหม?
ชาวอินเดีย: ไม่โกรธ
ท่านอาจารย์: ต้นไหมจะฆ่าอะไรไหม?
ชาวอินเดีย: ไม่ได้ครับ
ท่านอาจารย์: แต่ต้นไหมมีจริงไหม?
ชาวอินเดีย: มีจริง
ท่านอาจารย์: รู้อะไรได้ไหม?
ชาวอินเดีย: อย่างที่เรารู้ ต้นไม้ไม่รู้
ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น ต้นไม้ไม่มีความเป็นไปของธาตุรู้
คุณสุคิน: ดูเหมือนเขาเข้าใจตรงนั้น แต่ดูเหมือนว่า ก็อย่างไรก็อาจจะมีชีวิต
ท่านอาจารย์: พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่าอย่างไร?
ชาวอินเดีย: พระพุทธองค์สอนว่า ทุกสิ่งที่มีชีวิต ก็คือมีการรู้ เพราะฉะนั้น ในเมื่อต้นไม้เป็นสิ่งที่มีชีวิตต้องรู้อะไร
ท่านอาจารย์: ต้นไม้มีชีวิตต้องมี ตา มีหู มีจมูก มีลิ้น มีกาย
ชาวอินเดีย: ต้นไม้ไม่รู้ทางตรงนี้ แต่ว่าเวลาเราให้น้ำต้นไม้ ต้นไม้ก็รู้สึกดี
ท่านอาจารย์: เวลาที่เอามีดฟันต้นไม้ ต้นไม้เจ็บไหม?
ชาวอินเดีย: รู้สึกครับ
ท่านอาจารย์: ต้นไม้ฆ่าคนได้ไหม?
ชาวอินเดีย: ต้นไม้ฆ่าคนไม่ได้ แต่ต้นไม้รู้สึกถ้าเอามีดฟันก็รู้สึก พระพุทธองค์สอนว่า ไม่ควรจะไปทำร้ายสัตว์ ฆ่าสัตว์ ไม่ควรไปตัดต้นไม้
ท่านอาจารย์: พระองค์สอนต้นไม้ไม่ให้ฆ่าหรือเปล่า?
ชาวอินเดีย: สอนครับ
ท่านอาจารย์: สอนต้นไม้หรือ ถ้าอย่างนั้นเขาคุยกับต้นไม้ได้ไหม?
ชาวอินเดีย: ไม่เคยอ่านเจอ
ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น ไม่ใช่คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ขอเชิญอ่านได้ที่ ...
สะสมความเข้าใจ ชำระจิตให้บริสุทธิ์
ขอเชิญฟังได้ที่ ...
คฤหัสถ์รักษาศีลตามพระวินัยได้ตามควร
ศีลที่ทำให้สิ้นอาสวะ
กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างยิ่งค่ะ และกราบยินดีในกุศลของคุณสุคิน ผู้ถ่ายทอดคำท่านอาจารย์เป็นภาษาฮินดีค่ะ