พระมหากัสสปเถระ บวชด้วยเอหิภิกขุหรือไม่? [มหาวิภังค์]
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
พระมหากัสสปเถระ บวชด้วยเอหิภิกขุหรือไม่?
จริงๆ เป็นคำถามที่ลูกชายสงสัยนะครับ เพราะเค้าได้ยินจากเรื่องการบวชของพระองคุลิมาล เป็นต้น ว่าเป็นเอหิภิกขุอุปสัมปทา ซึ่งเข้าใจว่า เป็นการบวชให้ผู้ที่มีบุญ ซึ่งขณะที่บวชนั้น ผู้ที่บวชบางพวกก็ยังเป็นปุถุชนอยู่ บางพวกก็เป็นพระอริยบุคคลแล้ว
การบวชแบบเอหิภิกขุคืออะไร?
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 769
เอหิภิกฺขุ ความว่าผู้ถึงความเป็นภิกษุคืออุปสมบทด้วยเอหิภิกขุด้วยเพียรพระดํารัสของพระผู้มีพระภาคเจ้า อย่างนี้ว่า เธอ จงมาเป็นภิกษุเถิด ชื่อว่าภิกษุ. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทอดพระเนตรเห็นบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย เพื่อเป็นเอหิภิกษุ จึงทรงเหยียดพระหัตถ์เบื้องขวา ซึ่งมีสีดุจทอง ออกจากระหว่างบังสุกุลจีวรอันมีสีแดง เปล่งพระสุรเสียงกังวานดังเสียงพรหม ตรัสเรียกว่า เธอ จงมาเป็นภิกษุเถิด, จงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทําที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด. พร้อมกับพระดํารัสของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นนั่นเอง เพศคฤหัสถ์ (ของผู้เพ่งอุปสมบทนั้น) อันตรธานไป,บรรพชาและอุปสมบทก็สําเร็จ, ผู้นั้นเป็นผู้ปลงผมนุ่งห่มผ้ากาสาวะ คือนุ่ง (ผ้าอันตรวาสก) ผืนหนึ่ง ห่ม (ผ้าอุตราสงค์) ผืนหนึ่ง พาด (ผ้าสังฆาฏิ) ไว้บนจะงอยบ่าผื่นหนึ่ง มีบาตรดินที่มีเหมือนดอกอุบลเขียวคล้องไว้ที่บ่าข้างซ้าย. ภิกษุนั้นท่านกําหนดเฉพาะด้วยบริขาร ๘ ที่สวมสอดเข้าที่ร่างกายอันพระโบราณจารย์กล่าวไว้อย่างนี้ว่า บริขารเหล่านี้คือไตรจีวร บาตรมีดน้อย เข็ม และผ้ารัดประคดเอวเป็น ๘ ทั้งผ้ากรองน้ำย่อมควรแก่ภิกษุผู้ประกอบความเพียร เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยอิริยาบถ เหมือนพระเถระตั้งร้อยพรรษา มีพระพุทธเจ้าเป็นพระอาจารย์ มีพระพุทธเจ้าเป็นพระอุปัชฌายะ ยืนถวายบังคมพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่ทีเดียว.
ใครบ้างที่ได้รับการบวชแบบเอหิภิกขุ?
มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 770
ครั้งปฐมโพธิกาล พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงให้กุลบุตรอุปสมบท ด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทานั่นแล ในกาลชั่วระยะหนึ่ง. และภิกษุผู้อุปสมบท ด้วยวิธีอย่างนี้มีจํานวน ๑,๓๔๑ รูป. คืออย่างไร? คือมีจํานวนดังนี้:- พระปัญจวัคคิยเถระ ๕ ยสกุลบุตร ๑ สหายผู้เป็นบริวารของท่าน ๕๔ ภัททวัคคีย์ ๓๐ ปุราณชฏิล ๑,๐๐๐ ปริพาชกรวมกับพระอัครสาวกทั้งสอง ๒๕๐ พระอังคุลิมาลเถระ ๑ (รวมเป็น ๑,๓๔๑ รูป) สมจริงดังคําที่พระอรรถกถาจารย์ กล่าวไว้ในอรรถกถาว่า ภิกษุ ๑,๓๐๐ รูป และเหล่าอื่นอีก ๔๐ รูป ทั้งพระเถระผู้มีปัญญาอีก ๑ รูป,ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมด ท่านกล่าวว่า เป็นเอหิภิกขุ
ภิกษุเหล่านั้น เป็นเอหิภิกขุ จําพวกเดียวก็หามิได้, แม้เหล่าอื่นก็ยังมีอีกมาก. คืออย่างไร? คือมีจํานวนเป็นต้นอย่างนี้ว่า เสลพราหมณ์ทั้งบริวารมีจํานวน ๓๐๐ พระมหากัปปินทั้งบริวารมีจํานวน ๑,๐๐๐ กุลบุตรชาวเมืองกบิลพัสดุ์มีจํานวน ๑๐,๐๐๐ พวกปารายนิกพราหมณ์ (พราหมณ์ผู้แสวงหาที่พึ่งในภพข้างหน้า) มีจํานวน ๑๖,๐๐๐ (รวม ๒๗,๓๐๐ รูป) แต่ภิกษุเหล่านั้นพระอรรถกถาจารย์มิได้กล่าวไว้เพราะท่านพระอุบาลีเถระ มิได้แสดงไว้ในบาลีพระวินัยปิฎก.
อุปสมบทมีกี่ประเภท? ๘ ประเภท
มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 771
[วิธีอุปสมบทมี ๘ อย่าง]
หลายบทว่า ตีหิ สรณคมเนหิอุปสมฺปนฺโน มีความว่าผู้อุปสมบทด้วยไตรสรณคมน์ ซึ่งลั่นวาจากล่าว ๓ ครั้งโดยนัยเป็นต้นว่า พุทฺธํสรณํ คจฺฉามิ. จริงอยู่ ขึ้นชื่อว่า อุปสัมปทา นี้มี ๘ อย่าง คือ เอหิภิกขุอุปสัมปทา ๑ สรณคมนอุปสัมปทา ๑ โอวาทปฏิคคหณอุปสัมปทา ๑ ปัญหาพยากรณอุปสัมปทา ๑ ครุธัมมปฏิคคหณอุปสัมปทา ๑ ทูเตนอุปสัมปทา ๑ อัฏฐวาจิกาอุปสัมปทา ๑ ญัตติจตุตถกัมมอุปสัมปทา ๑
พระมหากัสสปะอุปสมบท ด้วยวิธีใด?
ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 361
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประทับนั่งที่พระคันธกุฎีในพระเชตวันมหาวิหาร สดับเสียงแผ่นดินไหว ทรงรำพึงว่า แผ่นดินไหวเพื่อใครหนอ ทรงพระดำริว่า ปิปผลิมาณพและนางภัททกาปิลานี ละสมบัติอันหาประมาณมิได้บวชอุทิศเรา แผ่นดินไหวนี้เกิดเพราะกำลังคุณของคนทั้งสอง ใน ฐานะที่คนทั้งสองแยกจากกัน แม้เราควรกระทำการสงเคราะห์แก่คนทั้ง สองนั้น ดังนี้แล้วออกจากพระคันธกุฎี ถือบาตรและจีวรด้วยพระองค์เอง ไม่ปรึกษากะใครๆ ในบรรดาพระอสีติมหาเถระ กระทำหนทาง ๓ คาวุต ให้เป็นที่ต้อนรับ ทรงนั่งคู้บัลลังก์ ณ โคนต้นพหุปุตตกนิโครธ ใน ระหว่างกรุงราชคฤห์กับเมืองนาลันทา. และเมื่อนั่ง ไม่ทรงนั่งเหมือน ภิกษุผู้ทรงผ้าบังสุกุลรูปใดรูปหนึ่ง ทรงถือเอาเพศแห่งพระพุทธเจ้า ประทับนั่งฉายพระพุทธรัศมีเป็นแท่งทึบประมาณ ๘๐ ศอก. ดังนั้นใน ขณะนั้น พระพุทธรัศมี ซึ่งมีประมาณเท่าฉัตร ใบไม้ล้อเกวียนและเรือน ยอดเป็นต้น แผ่ซ่านวิ่งไปข้างโน้นข้างนี้ กระทำเหมือนเวลาที่ขึ้นไปแห่ง พระจันทร์ ๑,๐๐๐ ดวง และพระอาทิตย์ ๑,๐๐๐ ดวง กระทำที่สุดป่า นั้นให้มีแสงเป็นอันเดียวกัน. เหมือนท้องฟ้าที่รุ่งโรจน์ด้วยหมู่ดาว ที่ รุ่งโรจน์ด้วยสิริแห่งมหาปุริสลักษณะ ๓๒ เหมือนน้ำรุ่งเรืองด้วยดอกกมล และดอกบัวอันบานสะพรั่ง ทำที่สุดป่าให้รุ่งโรจน์ ลำต้นแห่งต้นไม้ชื่อ นิโครธย่อมขาว ใบเขียว สุกปลั่ง. ก็ในวันนั้น ต้นนิโครธทั้ง ๑๐๐ กิ่งได้มี สีเหมือนสีทองคำ.
พระมหากัสสปเถระคิดว่า ผู้นี้ชะรอยจักเป็นพระศาสดาของพวกเรา เราบวชอุทิศท่านผู้นี้ จึงน้อมลง น้อมลง จำเดิมแต่ที่ที่ตนเห็นแล้ว ไปถวายบังคมในฐานะทั้ง ๓ กล่าวว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า จงเป็นศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก, ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า จงเป็นศาสดาของข้าพระองค์.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะท่านว่า กัสสปะ ถ้าเธอพึง กระทำการนอบน้อมนี้ แก่แผ่นดินใหญ่ แม้แผ่นดินก็ไม่สามารถทรงอยู่ ได้ แผ่นดินใหญ่นี้รู้ความที่ตถาคตมีคุณมากถึงอย่างนี้ การกระทำการ นอบน้อมที่ท่านกระทำแล้ว ไม่อาจให้แม้ขนของเราไหวได้ นั่งเถิดกัสสปะ เราจะให้มรดกแก่เธอ. ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงประทาน อุปสมบทแก่ท่านด้วยโอวาท ๓ ข้อ, ครั้นประทานแล้วจึงออกจากโคนต้น พหุปุตตกนิโครธ กระทำพระเถระให้เป็นปัจฉาสมณะ แล้วทรงดำเนิน ไป.
มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 771
ที่ชื่อว่า โอวาทปฏิคคหณอุปสัมปทา ได้แก่ อุปสัมปทาที่ทรงอนุญาตแก่พระมหากัสสปเถระ ด้วยการรับโอาวาทนี้ว่า เพราะเหตุนั้นแล กัสสป เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักเข้าไปตั้งความละอายและความเกรงไว้ในภิกษุทั้งที่เป็นผู้เฒ่า ทั้งที่เป็นผู้ใหม่ทั้งที่เป็นผู้ปานกลาง อย่างแรงกล้า, เธอพึงศึกษาอย่างนี้แหละกัสสป เพราะเหตุนั้นแลกัสสป เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่าเราจักฟังธรรมอันใดอันหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยกุศล, เราเงี่ยหูลงฟังธรรมนั้นทั้งหมด ทําในใจให้สําเร็จประโยชน์ รวบรวมไว้ทั้งหมดด้วยใจ, เธอพึงศึกษาอย่างนี้แล กัสสป! เพราะเหตุนั้นแลกัสสป เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า ก็สติที่เป็นไปในกายของเรา ซึ่งประกอบด้วยความรําคาญ จักไม่ละเราเสีย, เธอพึงศึกษาอย่างนี้แล กัสสป ...
ถ้าท่านสนใจการอุปสมบทประเภทอื่นๆ สามารถศึกษาได้จาก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 771-772
ขอกราบอนุโมทนา