องค์ฌาณหรืออย่างไร?

 
Garookung
วันที่  13 ก.ย. 2550
หมายเลข  4792
อ่าน  3,112

เรียนถามผู้รู้เรื่อง สมถกรรมฐาน (ส่วนตัวเข้าใจว่ายังไม่เป็นวิปัสสนา) ว่าอาการเหล่านี้ จัดเป็นองค์ฌาณหรือไม่ ในทางพระพุทธศาสนา หรือหากว่าเป็นลำดับขั้นของสมาธิ จะจัดว่า เป็นสมาธิระดับใด กล่าวคือ พอนั่งกรรมฐานไปสักพัก เกิดอาการ จิตวูบไป เกิดอาการขนลุกไล่ขึ้นมาตั้งแต่เท้ามาจดศีรษะ อีกทั้งอาการนี้มีหนาวสลับร้อนวูบๆ ตลอดเวลาที่รู้สึกวูบไปนั้น จากนั้น อาการทางกายค่อยๆ หายไป เกิดความสว่างขึ้นมาทีละน้อยจนจ้าไปหมดในจิต อาการปวดขามากได้ทุเลาลงไป จนแทบไม่รู้สึก เกิดแสงระยิบระยับทั่วไปหมด (ไม่ได้ลืมตา) อาการต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วนี้ชัดเจนมาก เกิดขึ้นนานมากครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 13 ก.ย. 2550

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

สมถภาวนา เป็นการอบรมให้กุศลที่มีเพียงเล็กน้อ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ให้เจริญมากขึ้น อบรมอย่างไร คือ ประการแรก ต้องรู้ความต่าง ระหว่างกุศลและอกุศล เพราะไม่เช่นนั้น เราก็อาจอบรมเจริญอกุศล โดยไม่รู้ก็ได้ ดังนั้น ต้องรู้ความต่างกันของกุศลและอกุศล นี่คือขั้นแรกของการเจริญสมถภาวนา เช่น ปกติเราให้ทาน กุศลเกิดขึ้นเพียงขณะเดียว หรือเกิดไม่มาก การอบรมสมถภาวนาก็คือ ต้องรู้ว่าขณะใดเป็นกุศล (ทาน) และขณะใดเป็นอกุศล เมื่อรู้ว่า ขณะใดเป็นกุศล (ขณะที่เป็นกุศลขั้นทาน) ก็ระลึกถึงสภาพธัมมะที่เป็นกุศลนั้นบ่อยๆ จนตั้งมั่น คือ กุศลขั้นทาน เกิดบ่อยๆ ต่อเนื่องจนตั้งมั่น จนถึงอุปจารสมาธิครับ ดังนั้น ขั้นแรกของการอบรมสมถภาวนาคือ รู้ว่าขณะใดเป็นกุศล หรือขณะใดเป็นอกุศล แต่สมถภาวนารู้ด้วยความเป็นเรา ไม่ได้รู้ว่าเป็นธรรม

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 13 ก.ย. 2550

ประการที่สำคัญที่สุด ขณะที่เกิดอาการต่างๆ ขณะนั้นปัญญารู้อะไร ถ้าสงสัยก็ไม่ใช่ปัญญาครับ และไม่ใช่สมถภาวนา เพราะต้องประกอบด้วยปัญญาเสมอ ดังนั้น ขั้นแรกของสมถภาวนาคือ ต้องรู้ก่อนว่า ขณะใดเป็นกุศล ขณะใดเป็นอกุศล ไม่เช่นนั้นก็อบรมไม่ได้ครับ ต้องฟังให้เข้าใจก่อนนะ ลองฟังในเว็บนี้ครับ ขออนุโมทนาครับ ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
ครูโอ
วันที่ 14 ก.ย. 2550

ลักษณะของความสงบที่แท้จริง จากกุศลจิต ใน ทาน ศีล ภาวนา หรือสติปัฏฐาน มีลักษณะของเจตสิกดังต่อไปนี้ คือ ขณะที่เป็นกุศลจิต มี "กายปัสสัทธิเจตสิก" เกิดร่วมด้วย เป็นเจตสิก ที่สงบไม่ฟุ้งซ่าน และทำให้เจตสิกที่เกิดร่วมด้วยสงบ ไม่ฟุ้งซ่าน

ขณะที่เป็นกุศลจิต มี "จิตตปัสสัทธิเจตสิก" เกิดร่วมด้วย เป็นเจตสิกที่ทำให้จิตที่เกิดร่วมด้วยสงบ จะเห็นได้ว่า แท้จริงแล้ว สิ่งที่เกิดกับท่านโดยอาการต่างๆ ไม่ใช่ความสงบ แต่เพราะเป็นลักษณะของ สมาธิ (เอกัคคตาเจตสิก) ซึ่งเป็นเจตสิก ที่ตั้งมั่นในอารมณ์เดียวกันกับจิต และเกิดกับจิตทุกๆ ดวง ที่สำคัญ เอกัคคตาเจตสิกที่เกิดกับอกุศลจิต ไม่มีกำลังตั้งมั่นคง เท่ากับเอกัคคตาเจตสิกที่เกิดกับกุศลจิต ถ้าในขณะที่ไม่เป็นกุศลจิต ในขั้น ทาน ศีล ภาวนา หรือ สติปัฎฐาน เวลาที่เกิดความพอใจ ที่จะอยู่คนเดียวเงียบๆ แล้วนั่งหลับตาในที่สงบ ก็ต้องเป็น "โลภมูลจิต"และต้องเป็น "มิจฉาสมาธิ" ที่เกิดร่วมด้วยกับโลภมูลจิตนั้นครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
Garookung
วันที่ 14 ก.ย. 2550

ไม่วอบๆ แวบๆ หรอกครับ เป็นจิตที่ละเอียดทีเดียวครับ สังเกตจากลมหายใจ ที่กระชั้นเข้าเรื่อยๆ ผมทราบนะครับว่า อาการเป็นอย่างไร แต่ที่ถาม ผมถามว่าเป็นสมาธิระดับใดครับ เพราะผมไม่ได้เรียนทางกรรมฐาน ทางวิชาการโดยตรง ไม่ได้เรียนปริยัติใดๆ แต่เรียนขั้นปฏิบัติอย่างจริงจัง ซึ่งผมจะไม่ทราบศัพท์ทางภาษาบาลีครับ แต่ถ้าถามอาการว่าเป็นอย่างไร ผมตอบได้ละเอียดครับ แต่หัวกระทู้ที่ผมเขียนน่ะครับ ผมทราบดีว่า ยังไม่เป็นวิปัสสนาเต็มขั้นแน่นอนครับ แต่ผมได้กำหนด วิตก วิจาร เอกัคคตารมณ์ไว้มั่น กำหนดรู้ ทุกลมหายใจ มีสติตั้งมั่น ทุกลมหายใจ จิตหนีไปคิด ก็กำหนดรู้ จิตซึมๆ ก็กำหนดรู้ครับ จิตโกรธก็รู้ว่าโกรธ เสียงมากระทบหู ก็กำหนดรู้ครับ คือรู้ทุกอย่างที่มีรูปมากระทบทวารทั้ง ๕ (ยกเว้นตาซึ่งปิด) กำหนดรู้นาม ทั้งหมดครับจนถึงจิตดิ่งลงกำหนดรู้ แต่มีเหตุการณ์แปลกขึ้นครับ ซึ่งผมก็อธิบายไว้ในกระทู้ด้านบนครับ เคยถามผู้รู้ครับ ท่านกรุณาบอกผมว่า เกิด ปิติ และนิมิต ให้ผมรีบกำหนด พระไตรลักษณ์ เป็นอารมณ์ ผมไม่ทราบครับว่าจะต้องกำหนดอย่างไร แล้วปิติ และนิมิตนี้คืออะไร เนื่องด้วยผมมีปัญญาทางปริยัติน้อย จึงขอความอนุเคราะห์ท่านผู้รู้ช่วยแจ้งไขกระผม เพื่อยังประโยชน์ ยังการปฏิบัติธรรมของผมให้ก้าวหน้าสืบไปครับ ขอบพระคุณผู้รู้มา ณ โอกาสนี้

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 14 ก.ย. 2550

ปัญญาเมื่อเกิด ไม่ต้องถามใคร ขอแนะนำให้ฟังไฟล์ในเวปนี้ ในเรื่องการอบรมสติปัฏฐานก็ได้ครับ ลองฟังดูนะ จะเข้าใจว่า ปฏิบัติคืออะไร ต้องฟังก่อนปฏิบัติไหมและปัญญาต้องรู้อะไร เป็นต้น ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
wannee.s
วันที่ 15 ก.ย. 2550

ฌาน หมายถึง เพ่ง หรือเผา เช่น เผานิวรณธรรม คือธรรมที่เป็นเครื่องกั้นไม่ให้กุศลเจริญขึ้น ฌาน มี ๒ อย่าง คือ

อารัมมณูปนิชฌาน คือ เพ่งอารมณ์ ยังให้จิตสงบ เช่น ระลึกถึงพระพุทธคุณ ใส่ใจในพระพุทธคุณ เป็นกุศลจิตที่เกิดขึ้นเผาอกุศล

ลักขณูปนิชฌาน คือ เพ่งลักษณะของสภาพธัมมะ ที่กำลังปรากฏ เป็นสติปัฏฐาน

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
ไรท์แจกแล้วไง
วันที่ 15 ก.ย. 2550
ในขณะที่เกิดอาการอย่างนั้นรู้อะไรบ้าง
 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
pornchai.s
วันที่ 15 ก.ย. 2550

ขอแนะนำ คุณ Garookung ลอง ใช้ช่องค้นหา ของกระดานสนทนา โดยพิมพ์ คำว่า สมาธิ ในช่องค้นหา ที่มุมขวา ด้านบนของกระดานสนทนา จะมีกระทู้ต่างๆ ที่พูดเรื่องการนั่งสมาธิอยู่มากมาย ลองศึกษา-อ่านดู นะครับ คุณ Garookung อาจจะแยกความต่างกัน ของสมาธิที่คุณทำอยู่ กับสมาธิที่เป็นสัมมาสมาธิ ได้ เพราะมีผู้ที่นั่งสมาธิ แบบคุณ Garookung แล้วเสียสติ เป็นคนเพี้ยนๆ ไปเยอะแล้วครับ ขอบอก

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
จิต89หรือ121
วันที่ 15 ก.ย. 2550

คุณ Garookung โชคดีมากเลยครับ ที่ได้มาเจอเว็บนี้ ผมขอแนะนำด้วยความหวังดี แบบกัลยาณมิตร และพูดตรงๆ เลยครับว่า ที่คุณทำอยู่นั้น เป็นมิจฉาสมาธิ แน่นอนครับ ขอให้เลิกปฏิบัติแบบนั้น โดยด่วนที่สุด และค่อยๆ อ่าน ค่อยๆ ศึกษา คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จากเว็บ นี้

ผมขอให้กุศลกรรม ที่ประกอบด้วยปัญญา ซึ่งคุณ Garookung ได้ทำมา ตั้งแต่อดีตชาติจวบจนปัจจุบันชาติ จงเป็นปัจจัยให้ คุณ Garookung ได้เข้าใจพระธรรมและเลิกปฏิบัติแบบนี้ ด้วยความเข้าใจหนทางที่ถูกต้อง โดยเร็วที่สุด สาธุๆ ล่วงหน้าครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
Garookung
วันที่ 16 ก.ย. 2550

ขอบพระคุณทุกท่านมากครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 25 พ.ค. 2566

ยินดีในกุศลจิตค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ