Thai-Hindi 15 June 2024

 
prinwut
วันที่  21 มิ.ย. 2567
หมายเลข  47941
อ่าน  98

Thai-Hindi 15 June 2024


- (คุณอาช่ากล่าวว่าที่สนทนาเรื่องรูปมีสีที่ถูกเห็นกับเสียงที่ถูกได้ยิน และเคยได้ยินว่า รูปเกิดจาก ๔ สมุฏฐาน แต่ยังไม่เข้าใจว่า ความจริงของรูปคืออะไร ขอความเข้าใจเรื่องรูปเพิ่มขึ้น) ก็ต้องเริ่มต้นใหม่ รูปคืออะไร (รูปเป็นความจริงอย่างหนึ่งที่เกิดแต่ว่าเป็นความจริงที่ไม่รู้อะไร) เดี๋ยวนี้มีไหม (มี)

- รู้จักรูปหรือยัง (รู้ว่ามีจากการฟังแต่ไม่เข้าใจ) เดี๋ยวนี้มีรูปไหม รูปปรากฏหรือเปล่า (อย่างเช่นเสียงมี)

- เสียงเกิดหรือเปล่า (เกิด) เสียงดับหรือเปล่า (ดับ) เสียงเป็นสัจจธรรมหรือเปล่า (เป็น) รู้จักเสียงเมื่อไหร่ (รู้ตอนที่ปรากฏแต่ไม่ใช่รู้ลักษณะ แต่รู้จากการที่ได้ยิน)

- พระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนให้รู้ลักษณะ สอนให้รู้ว่าอะไร (ว่าเป็นสิ่งที่มีจริง) เพราะฉะนั้นสอนให้รู้ว่า สิ่งที่มีจริงมีเมื่อเกิด ถ้าไม่เกิดไม่มี เพราะฉะนั้นกว่าจะรู้จักว่าเสียงเกิดอีกนานไหม (ไม่ทราบแต่รู้ว่าใช้เวลานานมาก)

- ถ้าไม่รู้ว่า เสียงเกิดต้องรู้ จะเป็นอริยสัจจธรรมที่ ๑ ไหม (ถ้าไม่รู้อย่างนั้นก็ไม่เข้าใจอริยสัจจที่ ๑) เพราะฉะนั้นฟังเรื่องเสียง จะได้ไม่ลืมเรื่องเสียง จะได้ค่อยๆ รู้ว่า เวียงไม่ใช่ได้ยิน

- ถ้าได้ยินเสียงทั้งวันแต่ไม่รู้ว่า เสียงไม่ใช่สภาพที่ได้ยิน จะรู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไหม (จะไม่รู้จักพระพุทธองค์) เพราะฉะนั้นจนกว่าจะรู้จักเสียงและได้ยินเดี๋ยวนี้จึงจะค่อยๆ รู้ว่าสิ่งที่มีจริงเดี๋ยวนี้ไม่ใช่เราไม่ใช่อะไรเลยนอกจากภาวะที่เป็นสิ่งนั้นสิ่งเดียวเท่านั้น

- ธรรมลึกซึ้งไหม (ลึกซึ้งมาก) เพราะเดี๋ยวนี้ก็มีเสียงแต่ไม่รู้แล้วพระพุทธเจ้าตรัสเรื่องเสียงให้รู้ เริ่มรู้ว่า ต้องรู้ความจริงของเสียงจึงจะรู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

- เวลาที่เสียงเกิดมีอะไรเกิดกับเสียงด้วยไหม (มี) อะไรเกิดกับเสียง (เข้าใจว่ามีเสียง มีได้ยิน มีจิตและมีเจตสิก) เพราะฉะนั้นฟังคำถามดีๆ จึงจะรู้ความลึกซึ้ง ถามว่า ขณะที่เสียงเกิดมีอะไร “เกิดกับ” เสียง (มหาภูตรูป ๔ ที่เกิดพร้อมกับเสียง) เกิดพร้อมกับมหาภูตรูป ๔ เท่านั้น

- เพราะฉะนั้นเสียงเกิดจากอะไร (ที่ทำให้เสียงเกิดเป็นกรรม) กรรมทำให้เสียงเกิดได้ไหม (ยังคิดว่าเสียงที่ได้ยินเกิดจากกรรม) กรรมอะไรทำให้เสียงเกิด (เข้าใจว่าอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์เกิดจากกรรม)

- เพราะฉะนั้นจิตที่รู้อิฏฐารมณ์เกิดจากอะไร (ที่ได้ยินเกิดจากกรรม) ได้ยินเกิดจากกรรมเพราะฉะนั้นเสียงเกิดจากกรรมหรือเปล่า (เข้าใจว่าเสียงที่ได้ยินก็เกิดจากกรรม)

- จักขุปสาทรูปเดี๋ยวนี้มีไหม (มี) แล้วอะไรทำให้เกิดจักขุปสาทรูป (เกิดจากกรรม) เพราะฉะนั้นเดี๋ยวนี้กรรมทำให้เกิดจักขุปสาทรูปและกรรมทำให้เกิดเสียงหรือเปล่า (เหมือนเคยได้ยินมาตลอดว่า เสียงที่ได้ยินก็เกิดจากกรรม) ได้ยินจากไหน (จากการสนทนาที่ผ่านมา)

- หาดูว่ามีไหม เสียงเกิดจากกรรม (สรุปเองจากที่เคยได้ฟังว่า ได้ยินเสียงที่ดีเป็นผลของกรรมที่ดี เลยสรุปว่า เสียงที่ได้ยินเป็นผลของกรรมด้วย) เพราะฉะนั้นฟังธรรมสรุปเองนับถือพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือเปล่า

- เพราะฉะนั้นฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถ้าไม่เห็นความลึกซึ้งจะไม่รู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเลย คนที่ฟังธรรมต้องเป็นคนที่ตรงต่อความจริง ความจริงเป็นสิ่งที่มีจริงเมื่อปรากฏ เพราะฉะนั้น ฟังเพื่อรู้ความจริง สิ่งที่ปรากฏมีจริงแต่รู้ไม่ได้ง่ายๆ เลย


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prinwut
วันที่ 21 มิ.ย. 2567

- ทุกครั้งที่ฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต้องรู้ว่า ทุกคำกล่าวถึงสิ่งที่มีจริงที่ละเอียดอย่างยิ่ง ทุกครั้งที่ฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต้องรู้ว่า ทุกคำที่พระองค์ตรัสมีจริงๆ แต่ใครก็ไม่รู้ความจริงนั้น เพราะฉะนั้นต้องไม่ประมาท ฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทีละคำทุกคำเพื่อเข้าใจความลึกซึ้ง

- ฟังแล้วฟังอีกๆ เพื่อเข้าใจความลึกซึ้งอย่างยิ่ง ฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกคำด้วยความเคารพอย่างยิ่ง ต้องจริงใจและรู้ว่าฟังทำไม เพราะฉะนั้นฟังคำของพระพุทธเจ้าขณะที่สิ่งนั้นกำลังปรากฏเพื่อรู้ว่า พระพุทธเจ้าตรัสรู้ความลึกซึ้งของสิ่งนั้น

- เพราะฉะนั้นฟังธรรมเพื่อ “ละ” ไม่ใช่เพื่อได้อะไร ต้องมั่นคงฟังธรรมเพื่อเข้าใจสิ่งที่มีเดี๋ยวนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า “ไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้วและสิ่งที่ยังไม่มาถึง” ฟังคำนี้เคารพพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแค่ไหน

- ฟังคำนี้เพื่อรู้ว่า คนที่ไม่ได้ฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่สามารถรู้ความจริงซึ่งเป็นอริยสัจจธรรมของสิ่งที่กำลังมีเดี๋ยวนี้

- พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า ฟังธรรม ทรงธรรม พินิจพิจารณาธรรม (ทรงธรรมไม่เข้าใจความหมาย) หมายความว่า ยังมีอยู่ไม่ได้หายไปไหน เพราะฉะนั้นเดี๋ยวนี้ฟัง กำลังทรงธรรมหรือเปล่า

- ถ้าทรงธรรมที่ได้ฟังหมายความว่า รู้ว่าเดี๋ยวนี้มีธรรมที่เกิดปรากฏ ถ้าไม่สนใจไม่ได้รู้ว่า ไม่ได้รู้ความจริงของธรรมที่กำลังปรากฏและอยากจะรู้อย่างอื่นขณะนั้น “ทรงธรรม” หรือเปล่า

- เพราะฉะนั้นทุกครั้งที่ฟังธรรม ทรงธรรมว่า เป็นธรรมไม่ใช่ใครไม่ใช่อะไรทั้งสิ้น ธรรมทั้งปวงหมายความว่า แต่ละหนึ่งๆ ทุกอย่างเป็นอนัตตา เพราะฉะนั้นฟังธรรมไม่ใช่อยากรู้อะไรแต่ฟังธรรมเพราะรู้ว่า เดี๋ยวนี้เป็นธรรมที่ยังไม่รู้ว่าเป็นธรรม เพราะฉะนั้นเดี๋ยวนี้ฟังหลายคำมาก “ทรงธรรม” หรือเปล่า (ไม่)

- เพราะฉะนั้นเริ่มรู้ทุกคำที่ลึกซึ้ง เริ่มทรงไว้ทุกคำ ธรรมเป็นสิ่งที่มีจริง สิ่งที่มีจริงเดี๋ยวนี้เป็นธรรมเท่านั้นและไม่ใช่ใครไม่ใช่อะไรเป็นอนัตตา รู้ว่าเห็นเดี๋ยวนี้มีจริงๆ เกิดเป็นเห็น ถ้าไม่มีปัจจัยให้เกิดเห็น เห็นเกิดไม่ได้ มีปัจจัยที่ทำให้เห็นเกิดเห็นจึงเกิดแล้วดับ ทรงไว้ซึ่งธรรมที่ได้เข้าใจเดี๋ยวนี้หรือเปล่า

- ถ้าคิดเรื่องอื่นลืมแล้วว่า เดี๋ยวนี้เห็นเป็นธรรมที่มีปัจจัยเกิดแล้วดับ เพราะฉะนั้นฟังทุกคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อทรงไว้ทุกคำที่พระองค์ทรงแสดงความละเอียดอย่างยิ่งของธรรมจึงจะรู้ว่าเป็นอนัตตา

- เวลาที่คิดเรื่องอื่นลืมว่าธรรมอะไรที่คิด ความไม่รู้มีทุกขณะแต่ไม่เคยรู้ว่า เดี๋ยวนี้ก็ไม่รู้ว่าเห็นเกิดแล้วดับไม่ใช่เรา เพราะฉะนั้นทรงไว้ซึ่งความเคารพสูงสุดในพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

- เพราะฉะนั้นต้องไม่ลืม ฟังธรรมเพื่อละความไม่รู้และความต้องการทุกอย่างมิฉะนั้นจะไม่รู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่รู้ว่าทุกคำของพระองค์ตรัสเพื่อให้รู้ความจริงจึงจะละความไม่รู้และความต้องการทุกอย่างได้

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
prinwut
วันที่ 21 มิ.ย. 2567

- พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงความจริงของทุกอย่างแม้แต่เสียงเกิดขึ้นเพราะอะไร เพราะฉะนั้น เมื่อเข้าใจเรื่องเสียงที่กำลังปรากฏและได้ฟังเรื่องที่กำลังปรากฏไม่ว่าเรื่องอะไรก็มีความเข้าใจในเรื่องนั้นทีละเล็กทีละน้อย

- เริ่มทรงไว้ซึ่งความจริง เริ่มทรงไว้ซึ่งความจริงว่า ฟังธรรมเพื่อเข้าใจ เพื่อละ ไม่ใช่เพื่อต้องการอะไร ฟังธรรมทุกคำเพื่อไตร่ตรอง เพื่อค่อยๆ มั่นคง ทรงไว้ซึ่งธรรมนั้นๆ

- ถ้าฟังธรรมเพื่อสอนคนอื่นถูกหรือผิด ฟังธรรมเพื่อเราจะรู้มากกว่าคนอื่นถูกต้องไหม เพราะฉะนั้นต้องตรง (คุณอาช่าตอบว่าฟังธรรมเพื่อสอนคนอื่นและเพื่อให้รู้มากกว่าคนอื่น ผิดทั้งสองอย่าง) เพราะฉะนั้นทรงไว้ซึ่งความเข้าใจถูกต้อง

- เริ่มเข้าใจคำว่า “ฟังธรรมทรงธรรมไว้” ทรงธรรมหรือยัง เพราะฉะนั้น ฟังธรรม ทรงธรรม เป็นหนทางเดียวที่จะรู้แจ้งธรรมเป็นอริยสัจจธรรม

- ฟังธรรม เข้าใจธรรม ทรงธรรมเป็นอริยสัจจธรรมอะไร (เป็นอริยสัจจ์ที่ ๔) เป็นอริยสัจจ์ที่ ๔ ลึกซึ้งไหม (ลึกซึ้งมาก) เพราะฉะนั้นความเข้าใจขณะ ๑ เป็น “หนทาง” ที่จะทรงไว้ซึ่งจะทำมห้ไม่ลืมและจะเข้าใจเพิ่มขึ้นจนถึงการรู้ความจริง

- พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงอริยสัจจะ ๔ รอบที่ ๑ เพราะฉะนั้นสิ่งที่ไม่ปรากฏรู้ได้ไหม (ไม่ได้) เพราะฉะนั้นถ้าไม่รู้ความจริงเดี๋ยวนี้ที่เกิดดับก็ไม่ใช่หนทางที่จะประจักษ์แจ้งอริยสัจจะที่ ๑

- อะไรเป็นประโยชน์สูงยิ่งที่สุดในชาตินี้ (เข้าใจความจริง) นี้เป็นสิ่งที่มีค่ายิ่งกว่าทรัพย์สมบัติ ชื่อเสียง เกียรติยศใดๆ ทั้งสิ้น เงินทองซื้อไม่ได้เพราะฉะนั้นถ้าไม่ได้ฟังความจริงก็โง่และมีสิ่งที่ไม่ดีเพิ่มขึ้นๆ

- พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ความจริงรู้ว่า ความไม่รู้ทั้งวันทุกวันในสังสารวัฏฏ์นานมาแล้วยากที่จะรู้ได้

- ธรรมลึกซึ้งละเอียดไม่ซ้ำกันเลย เป็น ๑ เกิดขึ้นแล้วดับไม่เกิดอีกเลยในสังสารวัฏฏ์ ถ้าไม่รู้ความจริงอย่างนี้จะละความติดข้องความพอใจในสิ่งที่กำลังปรากฏทุกขณะได้ไหม ถ้ารู้ความจริงของอริยสัจจะที่ ๑ ทุกสิ่งทุกอย่างขณะนี้เพียงเกิดแล้วดับโลกแตกตลอดทุกขณะ

- เพราะฉะนั้น เดี๋ยวนี้โง่มากไหม ไม่รู้สิ่งที่กำลังปรากฏ ติดข้องพอใจในสิ่งที่กำลังปรากฏเพราะไม่รู้ว่า เดี๋ยวนี้เกิดแล้วดับไม่น่ายินดี ถ้าประจักษ์แจ้งความจริงของสิ่งที่มีเดี๋ยวนี้เกิดดับเมื่อนั้นจึงจะรู้ว่า เป็นสิ่งที่ไม่น่าพอใจเลยเพราะหมดแล้ว

- ตราบใดที่ไม่ประจักษ์การเกิดดับของสิ่งที่มีจริงแต่ละ ๑ เมื่อนั้นก็คิดว่าเป็นสิ่งที่น่าพอใจไม่เดือดร้อน เพราะฉะนั้นสิ่งที่เกิดแล้วดับน่าพอใจไหมไม่เหลือเลย (ไม่น่าติดข้อง) ถ้ามีความเข้าใจอย่างนี้มั่นคงเป็นการรู้อริยสัจจะที่ ๑ ทรงไว้ซึ่งปริยัติแต่ต้องมากกว่านี้มาก

- เพราะฉะนั้นถ้าเข้าใจอย่างนี้ทรงไว้ซึ่งความเข้าใจถูกในทุกสิ่งที่มีว่า เกิดแล้วดับนั้นเป็นทรงไว้ซึ่งความเข้าใจ ความเข้าใจเท่านั้นยังไม่ได้ประจักษ์แจ้งจึงเป็นการเข้าใจทรงไว้ซึ่งอริยสัจจะรอบที่ ๑ เพราะฉะนั้นทรงไว้ซึ่งอริยสัจจ์ที่ ๑ ไม่พอ ต้องทั้ง ๔ อริยสัจจ์

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
prinwut
วันที่ 21 มิ.ย. 2567

- เพราะฉะนั้นถ้ามั่นคงเป็นอธิษฐานบารมีเป็นสัจจบารมี ถ้าไม่มั่นคงก็ไม่สนใจที่จะเข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏเดี๋ยวนี้ ถ้าอริยสัจจะที่ ๑ ไม่มั่นคงไม่มีทางที่จะเกิดอริยสัจจะรอบที่ ๒ ธรรมลึกซึ้งไหม (ลึกซึ้ง)

- เพราะฉะนั้นต้องไม่ลืม ฟํงธรรมเพื่อละความไม่รู้และกิเลสทั้งหมด ฟังทุกคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพราะพระองค์ทรงดำเนินหนทางที่จะประจักษ์แจ้งสิ่งที่กำลังปรากฏว่าเป็นธรรมที่เป็นอนัตตา

- ถ้าฟังธรรมแล้วคิดเอง ไม่ใช่ความเคารพในพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า ธรรมลึกซึ้งเกินกว่าที่ใครจะคิดเองได้ กว่าจะเป็นปริยัติรอบรู้ในอริยสัจจ์ทั้ง ๔ รอบที่หนึ่งต้องทรงไว้ซึ่งคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกคำ

- เพียงฟังว่า ธรรมมีจริง ธรรมหลากหลาย แต่ต่างกันเป็น ๒ ประเภทคือ ธรรมที่เกิดขึ้นรู้เป็นนามธรรมและธรรมที่เกิดขึ้นไม่รู้เป็นรูปธรรม เท่านี้ทรงไว้ซึ่งธรรมหรือยัง เพียงได้ยินคำว่า ธรรมมีจริง เท่านี้ทรงไว้ซึ่งธรรมหรือยัง (ไม่พอ) เพราะเพียงจำชื่อแต่ยังไม่ได้เข้าใจธรรมจริงๆ

- สิ่งที่มีจริงทั้งหมดต้องเป็นนามธรรมหรือรูปธรรม เพราะฉะนั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงความจริงทุกอย่าง ไม่ว่าจะโลกนี้หรือโลกไหนไม่มีใครเป็นผู้ที่เลิศกว่าพระองค์ในการที่จะรู้ความจริงจึงทรงเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

- เพราะฉะนั้น “ทรงธรรม” ธรรมมีจริงๆ ทุกขณะแต่ถ้าไม่รู้ความจริงว่า จะรู้ธรรมเมื่อธรรมปรากฏ ไม่สนใจเห็นที่กำลังเห็นและสิ่งที่ปรากฏทางตา แต่ถ้าไม่รู้ว่าสิ่งที่มีจริงเป็นธรรมก็จะคิดชื่อคิดเรื่องแต่ไม่รู้ว่า ธรรมจริงๆ ต้องเป็นธรรมที่เป็นสภาพรู้หรือไม่ใช่สภาพรู้แต่ละ ๑​

- สภาพธรรมที่เห็นไม่ใช่สภาพธรรมที่ปรากฏให้เห็น ทรงธรรมไว้เดี๋ยวนี้หรือเปล่า (ใช่) ทรงไว้แล้วหรือ (เวลานี้ไม่ได้เข้าใจอย่างที่ควร) เพราะฉะนั้นทรงไว้ว่า มีจริงต้องฟัง เข้าใจทุกคำจนกว่าจะรู้ความจริงตามที่ได้ฟัง

- เพราะฉะนั้นจะรู้ว่าเป็นธรรมเมื่อไหร่ (เมื่อความเข้าใจเกิดขึ้น) เมื่อสิ่งนั้นปรากฏให้รู้ เพราะฉะนั้นธรรมทุกวัน ชอบก็ธรรม ไม่ชอบก็ธรรม โกรธหรืออยากได้ ฯลฯ ทุกอย่างที่มีเป็นธรรมซึ่งจะค่อยๆ รู้ว่าเป็นธรรม

- เมื่อรู้ว่าธรรมหลากหลายจึงค่อยๆ รู้ความต่างกันของธรรมแต่ละหนึ่ง ทุกคนรับประทานอาหารทุกวัน อาหารอร่อยอยู่ตรงหน้าจะตักหรือไม่ตักอาหารอร่อยนั้น เป็นธรรมทุกขณะทุกอย่างเพราะฉะนั้นเพียงตัวอย่างหนึ่งให้รู้ว่า ชีวิตจริงๆ มีการรับประทานอาหารทุกวันก็ยังไม่รู้ว่าอะไรบ้าง

- อยากรับประทานอาหารอร่อยมั้ยคะ (อยาก) อยากเป็นธรรมหรือเปล่า (เป็นธรรม) ใครอยากรับประทานอาหาร (ไม่มีใครมีแต่ธรรม) อะไรเป็นธรรมขณะนั้น (หิวเป็นธรรม ๑ ความต้องการเป็นธรรม ๑) เป็นธรรมประเภทไหน (เป็นเจตสิก) เจตสิกอะไร (เข้าใจว่า ความต้องการเป็นโลภะแต่ความหิวไม่ทราบ)

- หิวเป็นความรู้สึกหรือเปล่า (ใช่) เพราะฉะนั้นเรียนเรื่องขันธ์ ๕ เรียนเรื่องเวทนาแต่เวลาเวทนาเกิดไม่รู้ เพราะฉะนั้นมีประโยชน์ไหมที่จะรู้ว่า หิวเป็นความรู้สึกที่ไม่สบายใจ เพราะฉะนั้นเริ่มเข้าใจความหมายของ “ทรงธรรม”

- กว่าจะทรงธรรมว่าเป็นธรรม อีกนานไหม พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงความละเอียดอย่างยิ่งของทุกคำให้เข้าใจความจริงของสิ่งที่มีทุกขณะทุกวันไม่ใช่ฟังแล้วจำแล้วคิดเองนั่นไม่ใช่ความเคารพพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้แต่เพียงคำว่า “เวทนา” สภาพที่รู้สึกในสิ่งที่กำลังรู้ก็ไม่รู้ว่า “หิว” เป็นอะไร

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
prinwut
วันที่ 21 มิ.ย. 2567

- คุณอาช่าเคยเห็นเด็กว่ายน้ำไหม (เคยเห็น) รู้ธรรมในขณะที่เห็นไหม เพราะฉะนั้นชีวิตประจำวันทุกขณะพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้เริ่มเข้าใจถูกตามลำดับละเอียดขึ้นจนกว่าจะรู้ว่าเป็นธรรมเท่านั้น เพราะฉะนั้นการที่จะเข้าใจสิ่งที่มีจริงคือธรรมก็เมื่อธรรมนั้นๆ กำลังปรากฏ

- ถ้าฟังแล้วไม่รู้ว่า ทุกขณะนี้เป็นธรรมจะมีประโยชน์ไหม (ไม่) และนี้คืออริยสัจจะที่ ๔ ที่เริ่มรู้ความจริงของอริยสัจจะที่ ๒ ไม่ใช่พูดชื่อเฉยๆ แต่ไม่รู้ว่า ขณะที่อาหารอร่อยและหิวและตักอาหารอร่อย ขณะนั้นเป็นธรรมทั้งหมด

- เพราะฉะนั้นจะรู้จักธรรมจริงๆ ที่ไหน (รู้จักตอนที่ปรากฏ) รู้จักในขณะที่สิ่งนั้นปรากฏจริงๆ ให้รู้ ยังสงสัยธรรมอะไรไหม เสียงเกิดจากอะไร (ตามที่ฟังก็เห็นว่าหนทางคือเข้าใจสิ่งที่ปรากฏตรงนี้ แต่ก็หยุดคิดไม่ได้ว่าถ้าไม่มีหนังสือให้อ่านหรือคนให้ถามก็จะคิดผิดและกลัวว่าจะสรุปผิด) นี้คือการที่เรามีการสนทนาธรรมเพราะเป็นมงคลยิ่ง

- พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสนทนาธรรมหรือเปล่า เพราะถ้าไม่สนทนาธรรมจะรู้ได้อย่างไรว่าทุกคนอ่านหนังสือเล่มเดียวกันข้อความเดียวกันแต่เข้าใจไม่เหมือนกัน

- เพราะฉะนั้นแม้แต่คำว่า ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตาต่างกับอัตตาอย่างไร นี้คือประโยชน์ของการสนทนาธรรมที่จะรู้ว่าอะไรถูกอะไรผิด นี้เป็นการเคารพสูงสุดในพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่จะรู้ว่า ทุกคำของพระองค์นั้นความจริงคืออะไร ไม่ประมาทแม้แต่คำว่า อัตตา อนัตตา

- การสนทนาธรรม คือ การถามและตอบเรื่องธรรมใช่ไหม เพราะว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว ฟังแล้วแต่ก็ยังต้องสนทนาว่า ความเข้าใจถูกต้องแค่ไหน เพราะฉะนั้นวันนี้เราจะเพิ่มเติมการสนทนาความหมายของ ๒ คำ อัตตากับอนัตตา ต่างกันอย่างไร หมายความว่าอะไร

- เพราะฉะนั้นอัตตาคืออะไร อนัตตาคืออะไร นี้คือการสนทนาธรรมเพื่อจะรู้ว่า คิดเห็นอย่างไร คนนี้คนโน้นคิดอย่างไร พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่าอย่างไร ความหมายลึกซึ้งแค่ไหน (อัตตาคือมีเราเป็นคนพูด เรามีจริง แม่เรามีจริงซึ่งไม่ได้เป็นอย่างนั้น ถ้าอนัตตาคือเข้าใจว่าไม่มีใครที่บังคับบัญชาอะไรได้มีแต่ธรรมเกิดขึ้นและดับไปโดยเหตุปัจจัยต่างๆ)

- เพราะฉะนั้นอนัตตาเป็นสิ่งที่มีจริงหรือเปล่า (อนัตตาเป็นความจริง) อะไรจริงเดี๋ยวนี้ที่เป็นอนัตตา (สีและเสียง) ทีละหนึ่งนะคะ สีมีจริงเป็นอนัตตา เห็นนกไหม (เมื่อไหร่เห็นนกก็รู้ว่าเข้าใจว่าจริงๆ แล้วเห็นสี) แล้วเห็นหล่ะ? (เห็นเป็นอนัตตาเป็นสิ่งที่รู้) เป็นธาตุรู้ แล้วชอบหล่ะ? (ชอบก็เป็นอนัตตาเป็นเจตสิก)

- เพราะฉะนั้นชอบกับเห็นเป็นอันเดียวกันหรือเปล่า (ต่างกัน) เพราะฉะนั้นเดี๋ยวนี้เห็นเป็นเห็น สีเป็นสีหรือยัง (นิดหน่อย เริ่มต้นว่าเป็นอย่างนี้) เดี๋ยวนี้เลยนะ? (พอมีความเข้าใจเล็กน้อย) แค่เข้าใจแต่ยังไม่รู้ลักษณะของสิ่งที่ปรากฏจริงๆ ว่า เป็นแต่เพียงสิ่งที่กระทบตาปรากฏเป็นสีสันเท่านั้นใช่ไหม (เพิ่งเริ่มเข้าใจแค่ขั้นฟังขั้นพิจารณา) เพราะฉะนั้นต้องละเอียดมากจึงจะรู้ว่า เคารพพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
prinwut
วันที่ 21 มิ.ย. 2567

- คุณอาช่ากำลังยิ้มหรือเปล่า (ยิ้มอยู่) ยิ้มเป็นอะไร (ตามที่เข้าใจคือยิ้มเป็นจิต) จิตยิ้มได้หรือ? (จากคำถามของท่านอาจารย์มาพิจารณาแล้วว่า ยิ้มไม่ใช่จิตแน่นอนแต่น่า่จะเป็นรูปที่เกิดจากจิต) เห็นไหมต้องสนทนาธรรมใช่ไหมจนกว่าจะเข้าใจ ทุกอย่างเป็นธรรม

- เมื่อกี้นี้คุณอาช่าหัวเราะ ไม่ใช่ยิ้มใช่ไหม (ตอนนี้หัวเราะด้วย) หัวเราะเป็นอะไร (ตอนนี้รู้ว่าหัวเราะไม่ใช่จิต) และเวลาที่เปิดวิทยุดูโทรทัศน์มีเสียงหัวเราะ หัวเราะเป็นอะไร (นั่นเป็นเสียง) เพราะฉะนั้นเกิดจากอะไร (เสียงนั้นเกิดจากอุตุ) เวลาคุณอาช่าหัวเราะ เสียงเกิดจากอะไร (ยังไม่เข้าใจ ยังไม่มั่นคงแต่เข้าใจว่าสุขเวทนาเป็นปัจจัยให้หัวเราะเกิด)

- เพราะฉะนั้นเสียงเกิดจากอุตุก็ได้เกิดจากจิตก็ได้ใช่ไหม นี้เป็นเหตุที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงความจริงซึ่งละเอียดกว่านี้ให้ค่อยๆ รู้ว่า เป็นธรรมแต่ละหนึ่ง นี้คืออนัตตาแต่ละหนึ่งจะเป็นอัตตาไม่ได้

- เพราะฉะนั้นถ้ามีแต่จิตไม่มีรูป หัวเราะได้ไหม (ไม่ได้) เริ่มเข้าใจคำว่าอนัตตาขึ้นทีละเล็กทีละน้อยไหม ไม่มีจิตเสียงเกิดได้ไหม (ได้ เช่นการเปิดวิทยุ) เล่นดนตรีมีเสียง เสียงเกิดจากอะไร (อุตุ) และจิตที่เล่นเปียนโนทำให้เกิดอะไร (เล่นเปียนโนรู้แข็ง) อันนี้ก็ไม่ใช่ที่เราถาม ไม่เป็นไรเพราะก่อนอื่นจะต้องรู้ว่า อะไรเป็นธรรมที่รู้และอะไรเป็นธรรมที่ไม่รู้เพราะละเอียดกว่านี้มากที่จะต้องค่อยๆ เข้าใจ “ตัวธรรม” ไม่ใช่ชื่อและเรื่องธรรม

- การสนทนาธรรมมีประโยชน์ไหม (มีประโยชน์) เพื่ออะไร (เข้าใจความจริง) เพราะฉะนั้นเริ่มรู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อรู้ความจริงใช่ไหม จะรู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอีกได้ไหม (ได้)

- เวลาที่รู้ความจริงจากการที่ได้ฟังคำของพระองค์นับถือพระองค์มากไหม (มาก) มากแค่ไหน (เท่าที่เข้าใจ) ถูกต้องค่ะ เพราะฉะนั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงความจริงมากกว่านี้ไหม

- เพราะฉะนั้นเมื่อฟังแล้วเข้าใจแล้วไม่ประพฤติปฏิบัติตาม นับถือพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือเปล่า (ถ้าไม่ประพฤติปฏิบัติก็ไม่นับถือพระพุทธองค์) แล้วเมื่อไหร่จะประพฤติปฏิบัติ (ในเมื่อเข้าใจว่าทุกอย่างเป็นอนัตตาเกิดเพราะเหตุปัจจัย จะทำดีหรือไม่ดี จะบังคับได้หรือ จะกำหนดได้หรือ)

- คุณอาช่ารู้ว่าทุกอย่างเกิดเพราะเหตุปัจจัยใช่ไหม (ใช่) เมื่อมีปัจจัยให้เข้าใจว่า ธรรมคือสิ่งที่มีจริง ความต้องการเป็นธรรมหรือเปล่า ไม่มีปัจจัยความต้องหรือโลภะจะเกิดไหม (ไม่)

- เพราะฉะนั้นเดี๋ยวนี้เข้าใจว่า ธรรมเกิดดับแต่ยังมีความต้องการหรือโลภะ (ใช่) รู้อย่างนี้แล้วทำไมไม่ละโลภะ (เพราะยังมีปัจจัยให้เกิดต่อ) ยังคงมีความไม่รู้และเข้าใจว่าเราจึงต้องการ เกิดโลภะในทุกสิ่งทุกอย่างเพราะมีความไม่รู้ว่าไม่ใช่เราเป็นแต่เพียงธรรม

- เพราะฉะนั้นคนที่ฟังธรรมแล้วยังมีกิเลสเพราะอะไร (เพราะเหตุปัจจัยหนึ่งในนั้นคือความเข้าใจน้อยมาก) ตราบใดที่ยังมีอวิชาและความเห็นผิดว่าเป็นเรา กิเลสดับไม่ได้ เพราะฉะนั้นหนทางละกิเลสคือโลภะ คืออะไร (หนทางเดียวคือเจริญความเข้าใจจนถึงจุดนั้นเมื่อเหตุปัจจัยพอ)

- เพราะฉะนั้นเดี๋ยวนี้ทรงธรรมแค่ไหน (ขั้นเริ่มต้น) เพราะฉะนั้นยังมีอีกต่อไป ปริยัติ ปฏิปัตติ ปฏิเวธ ถ้าตราบใดยังไม่รู้แจ้งจริงๆ ก็ยังมีโลภะมีความไม่รู้ เพราะฉะนั้นรู้ว่าโลภะไม่ดีจริงๆ จนกระทั่งสามารถรู้ว่าเป็นธรรมขณะนั้นโลภะก็ไม่ได้ยึดถือว่าเป็นเราทีละเล็กทีละน้อย

- คุณอาช่าเริ่มเห็นโทษของโลภะแล้วหรือยัง (เริ่มเห็น) และยังมีโลภะและกิเลสมากไหม มีหนทางที่โลภะจะน้อยลงไหม (คุณอาช่าสงสัยว่า ในพระสูตรแสดงเรื่ององคุลีมารทำอกุศลมากมายขนาดนี้แล้วฟังพระพุทธองค์แล้วตรัสรู้เป็นพระอรหันต์ได้ด้วยเหตุปัจจัยใด ได้ฟังคำอธิบายแล้วแต่ยังสงสัยอยู่ จะขอสนทนาเรื่องนี้ต่อคราวหน้าได้ไหม)

- ยินดีค่ะ สำหรับวันนี้ก็ยินดีในกุศลและขอบคุณและยินดีในกุศลของคุณสุขินอย่างมาก สวัสดีค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
chatchai.k
วันที่ 21 มิ.ย. 2567

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์ด้วยความเคารพยิ่ง

ยินดีในกุศลจิตครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
prinwut
วันที่ 21 มิ.ย. 2567

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ด้วยความเคารพยิ่ง

กราบยินดีในกุศลคุณสุขินผู้แปลภาษาฮินดีและยินดีในกุศลคุณอาช่า

กราบขอบพระคุณ กราบอนุโมทนาอาจารย์คำปั่นและคณะอาจารย์ทุกท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
khampan.a
วันที่ 21 มิ.ย. 2567

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ที่เคารพยิ่ง

กราบยินดีในกุศลของคุณสุคิน ผู้ถ่ายทอดคำท่านอาจารย์เป็นภาษาฮินดี

ขอบพระคุณและยินดีในกุศลวิริยะของพี่ตู่ ปริญญ์วุฒิ เป็นอย่างยิ่ง ที่ถอดคำสนทนาของท่านอาจารย์ แต่ละข้อความสำหรับศึกษาจริงๆ ครับ

และยินดีในกุศลของผู้ช่วยตรวจทาน และยินดีในกุศลของทุกๆ ท่านด้วยครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ