ทรงธรรมคืออย่างไร

 
nattawan
วันที่  1 ก.ค. 2567
หมายเลข  48023
อ่าน  153

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ทรงธรรมคืออย่างไร? ทรงธรรม คือ ความเข้าใจตามความเป็นจริงว่า สภาพธรรมะที่ปรากฏและดับไป

แค่คำว่า "นี้ทุกข์" เป็นผู้ทรงธรรมหรือเปล่า? เห็นอะไร? ถ้าขณะใดเห็นสิ่งที่ปรากฏให้เห็นได้ เป็นผู้ทรงธรรมไหม? ไม่ต้องถามใครเลย ... ได้ยินมาแล้ว และก็ความจริงด้วย จิตเห็นๆ อะไรไม่ได้ นอกจากเห็นสิ่งที่ปรากฏให้เห็นได้เท่านั้น!!

แล้วเมื่อไหร่เป็นอย่างนี้ ... ถ้ายังไม่เป็น ... ทรงธรรมหรือเปล่า? แล้วยัง จะไปแทงตลอด หรือว่า "นี้ทุกข์" ได้ไหม??

ก็ต้องตามลำดับขั้น เมื่อฟังแล้วก็มีความเข้าใจ รอบรู้ในคำนั้นแล้ว และก็เป็นผู้ที่ทรงธรรม รู้ได้ด้วยตัวเอง!!! เมื่อไหร่ วันไหน ไม่ว่าเห็นใคร ญาติพี่น้อง เพื่อนฝูง มิตรสหาย ดอกไม้โต๊ะ เก้าอี้ อะไรก็ตามแต่ เลือกไม่ได้ เลยว่า ขณะไหน เวลาไหน จะเกิด การเห็นถูกต้องว่าเป็นเพียงแต่สิ่งที่ปรากฏให้เห็นได้ ถ้าเป็นอย่างนั้น ก็ เป็นผู้ทรงธรรม เพราะเหตุว่า ขณะนั้นก็สามารถที่จะเริ่มมีทางที่จะเห็นว่า "นี้ทุกข์" สิ่งที่ปรากฏให้เห็นได้นี้ต่างหากที่เกิดขึ้นและดับไป


ท่านพระอานนท์เถระเป็นผู้ที่ทรงธรรมท่านหนึ่ง เพราะทรงจำพระธรรมเทศนาทั้งหมดไว้ได้ ไม่ให้สูญหายไป ดำรงรักษาพระธรรมเพื่อบุคคลอื่น พระธรรมจึงดำรงสืบทอดมาจนถึงทุกวันนี้

ถ้าไม่ได้ฟังว่าทรงธรรมมีความหมายลึกซึ้ง ... เป็นผู้ทรงธรรมหรือไม่? ไม่ใช่เพียงจำคำ แต่ฟังและพิจารณาไตร่ตรอง และทรงจำคำนั้น และเผยแพร่ให้คนอื่นได้รู้ด้วย

บุคคลผู้เป็นพหูสูตและเป็นผู้ทรงธรรมด้วยเหตุใด? ผู้รู้ทั่วถึงอรรถและพระธรรมคาถา 4 บาทนี้ และเป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ผู้นั้นเป็นพหูสูตและเป็นผู้ทรงธรรม

การศึกษาธรรมะให้ศึกษาทีละคำ การศึกษาหลายๆ คำที่ทรงแสดง เพื่อให้รู้ทั่วในคำๆ เดียว ธรรมะแม้เพียงคำเดียวก็ลึกซึ้งอย่างยิ่ง การที่จะรอบรู้ในคำหนึ่งคำ ต้องรอบรู้ทุกคำจนหนึ่งคำนั้นรอบรู้จริงๆ

ปริยัติคือรอบรู้ในพระพุทธพจน์ ในสิ่งที่มีจริงๆ ในขั้นการฟัง ถ้าเราได้ยินคำว่า "จิต" ก็จะคุ้นกับความหมายว่า เป็นใหญ่ในการรู้แจ้งอารมณ์ (สิ่งที่ถูกรู้) ธาตุรู้มีหลายอย่าง ถ้าไม่เข้าใจธาตุรู้ก็ไม่เข้าใจจิต คำว่า "มนินทรีย์" เป็นใหญ่ในการรู้แจ้งอารมณ์ อีกคำ "หทย" คือ ภายในที่สุด สภาพรู้อยู่ภายในที่สุด ถ้าไม่รู้ก็ไม่เข้าใจจิตที่อยู่ภายในที่สุด

ทรงธรรม หรือยังในสิ่งที่ปรากฏ? ขาดการฟังพระธรรมไม่ได้เลย คำของพระองค์ทนต่อการพิสูจน์ แต่ละคำ ฟัง ใส่ใจและพิจารณา ไตร่ตรอง จนรอบรู้จริงๆ ในคำนั้นๆ

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้สดับว่า' "นี้ทุกข์" และเห็นแจ้งแทงตลอดเนื้อความที่ได้ฟังด้วยปัญญา (บุคคลผู้สดับมีปัญญาชำแรกกิเลสอย่างนี้แล)

เชิญชม

สนทนาธรรมออนไลน์
เรื่อง "ทรงธรรมคืออย่างไร"

กับ คณะอาจารย์ มศพ.

วันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม 2567

เวลา 10.00 - 11.30 น.

🟦Facebook​ : วิทยุออนไลน์​บ้านธัมมะ
www.facebook.com/share/v/UGxUxrTBMdywX6Vn/?mibextid=qi2Omg

🟥YouTube : มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
www.youtube.com/live/D8aPTMwA6yw?si=pCsQX2mqjFO6iNAP

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์ด้วยความเคารพยิ่ง


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
chatchai.k
วันที่ 1 ก.ค. 2567

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์ด้วยความเคารพยิ่ง

ยินดีในกุศลจิตครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ