เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่ง

 
Thanarat S.
วันที่  1 ก.ค. 2567
หมายเลข  48029
อ่าน  133

อานาปานสติสูตร มีกล่าวว่า เธอย่อมทำ การฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่ง" เรียนถาม ทำจิตให้ปราโมทย์ มีลักษณะความหมายอย่างไรครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 3 ก.ค. 2567

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

อานาปานสติ เป็นสิ่งที่ละเอียดลึกซึ้งอย่างอย่าง เป็นสติที่ระลึกรู้ลมหายใจ ซึ่งก็ต้องเป็นผู้ละเอียดว่าไม่ใช่มีแต่สติเท่านั้น แต่ต้องมีปัญญา คือ ความเข้าใจถูกเห็นถูกด้วย ขาดปัญญาไม่ได้เลย เมื่อเข้าใจธรรมตรงตามความเป็นจริงย่อมเกิดปราโมทย์ ซึ่งเป็นปีตินั่นเอง เพราะในขณะนั้น ย่อมมีความบันเทิง เบาใจ โล่งใจ ไม่ยึดไม่ติดว่าเป็นตัวตน ไม่หลงผิด ไม่เข้าใจผิด ในพระไตรปิฎกแสดงถึงเรื่องอานาปานสติว่าเป็นอารมณ์ของมหาบุรุษ คือ เป็นอารมณ์ของบุคคลผู้ที่มีปัญญามาก สะสมบารมีมามาก บุคคลผู้เป็นมหาบุรุษจึงจะอบรมเจริญอานาปานสติได้ เพราะอานาปานสติเป็นอารมณ์ที่ละเอียดลึกซึ้งอย่างยิ่ง หากใครอยากจะทำ ย่อมก็ไม่มีทางถึงได้เลย ดังนั้น จึงไม่ใช่ว่ามีตัวตนที่จะไปทำอะไร ไปกำหนดอะไร เพราะนั่นเป็นเรื่องของความไม่รู้ การทำอะไรด้วยความไม่รู้ ผลก็คือ ไม่รู้ เพราะพระธรรมทั้งหมดเป็นไปเพื่อการอบรมเจริญปัญญาโดยตลอด จึงควรตั้งต้นด้วยการฟังพระธรรมให้เข้าใจ ซึ่งก็ไม่พ้นไปจากการฟังในเรื่องของรูปธรรมและนามธรรม เพื่อความเข้าใจอย่างถูกต้องตามความเป็นจริง เมื่อเหตุปัจจัยพร้อมก็จะเป็นเหตุให้มีการระลึกรู้สภาพธรรมที่มีจริงตามความเป็นจริง ไม่ว่าจะเป็นสภาพธรรมใดปรากฏก็สามารถเข้าใจได้ จึงสำคัญอยู่ที่การตั้งต้นจริงๆ คือ เริ่มฟังเริ่มศึกษาพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ไม่ประมาทในทุกคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ครับ

... ยินดีในกุศลของคุณ Thanarat S. และทุกๆ ท่านครับ ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
chatchai.k
วันที่ 3 ก.ค. 2567

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
Thanarat S.
วันที่ 5 ก.ค. 2567

ขอบพระคุณครับ อนุโมทนา สาธุ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ