เพียรระวัง เพียรละ เพียรเจริญ เพียรรักษา

 
nattawan
วันที่  16 ก.ค. 2567
หมายเลข  48142
อ่าน  201

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

เพียรระวัง ... ไม่ให้บาปอกุศลเกิดขึ้น

เพียรละ ... บาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว

เพียรเจริญ ... กุศลที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น

เพียรรักษา ... กุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ให้เจริญยิ่งๆ ขึ้นไป

เพียรระวัง เพียรละ เพียรเจริญ และ เพียรรักษา

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์ด้วยความเคารพยิ่ง


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
nattawan
วันที่ 16 ก.ค. 2567

บุคคลที่เป็นบัณฑิต หาได้ยากในโลก หลายท่านที่ได้มีโอกาสศึกษาพระธรรม ได้พบกัลยาณมิตรที่ดี คอยให้คำแนะนำเกี่ยวกับธรรมอยู่เป็นประจำสม่ำเสมอนั้น ท่านอาจจะคิดว่า เป็นความบังเอิญ (พูดกันจนติดปากว่า เป็นความบังเอิญ) แต่ไม่มีความบังเอิญ ที่เป็นเช่นนั้นเพราะเคยได้สั่งสมเหตุที่ดี

มีโอกาสศึกษาพระธรรม เพราะเคยได้สั่งสมเหตุที่ดี

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
nattawan
วันที่ 16 ก.ค. 2567

ห้วงน้ำใหญ่นั้น เป็นชื่อแห่งโอฆะทั้ง ๔ คือ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
nattawan
วันที่ 16 ก.ค. 2567

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

ตาย่อมเดือดร้อน เพราะรูปเป็นที่พอใจและไม่พอใจ

หูย่อมเดือดร้อน เพราะเสียงเป็นที่พอใจและไม่พอใจ

จมูกย่อมเดือดร้อน เพราะกลิ่นเป็นที่พอใจและไม่พอใจ

ลิ้นย่อมเดือดร้อน เพราะรสเป็นที่พอใจและไม่พอใจ

กายย่อมเดือดร้อน เพราะโผฏฐัพพะเป็นที่พอใจและไม่พอใจ

ใจย่อมเดือดร้อน เพราะธรรมมารมณ์เป็นที่พอใจและไม่พอใจ

แนวทางเจริญวิปัสสนา

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
nattawan
วันที่ 16 ก.ค. 2567

ใครติดในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ก็เท่ากับติดทุกข์ เพราะไม่ว่าจะมีความยินดีพอใจในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ สักเท่าไรก็ตาม ผลแท้จริง ซึ่งจะได้รับการติด การพอใจในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ จะไม่พลัดพรากไปนั้น ไม่มี

แนวทางเจริญวิปัสสนา

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
nattawan
วันที่ 16 ก.ค. 2567

ปัญญาที่คมกล้า จะมีได้ก็เพราะอาศัยสติที่เกิดขึ้นระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏเดี๋ยวนี้เรื่อยๆ บ่อยๆ เนืองๆ เพราะถ้าสติไม่เกิด ปัญญาไม่มีวันที่จะเจริญขึ้น จนกระทั่งคมกล้าได้

แนวทางเจริญวิปัสสนา

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
nattawan
วันที่ 16 ก.ค. 2567

ปปัญจธรรม คือ กิเลสอันเป็นธรรมเครื่องเนิ่นช้า ที่ทำให้ สังสารวัฏฏ์ ยาวนานมากขึ้น โดยมากทรงแสดงไว้ ๓ ประเภท คือ ตัณหา (โลภะ) มานะ ทิฏฐิ

ตัณหา จึงเป็นธรรมเครื่องเนิ่นช้า ทำให้ปัญญาไม่เจริญขึ้น หรือ แม้แต่ผู้ได้ยินได้ฟังธรรมมาบ้าง แต่เป็นผู้มีความหวัง มีความต้องการที่จะให้ได้ผลโดยเร็วจากการศึกษาพระธรรม นี่ก็เป็นเครื่องเนิ่นช้าด้วยเช่นกัน

มานะ (ความสำคัญตน) เป็นธรรมเครื่องเนิ่นช้าอีกประการหนึ่ง ไม่ให้ปัญญาเจริญขึ้น เพราะเหตุว่าเมื่อมีความสำคัญตน ย่อมไม่เข้าไปสอบถาม ไม่เข้าไปสนทนาธรรมกับท่านผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจสภาพธรรม ทำให้เป็นผู้หมดโอกาสในการเข้าใจธรรมเพิ่มขึ้น จึงเป็นธรรมเครื่องช้า ไม่เป็นไปเพื่อความเจริญขึ้นของปัญญา

ทิฏฐิ (ความเห็นผิด) เป็นอกุศลเจตสิกที่เกิดร่วมกับโลภมูลจิต (ทิฏฐิคตสัมปยุตต์) ทำให้เป็นผู้มีความเห็นผิดประการต่างๆ มีการยึดถือ ลูบคลำในข้อวัตรปฏิบัติที่ผิด ซึ่งไม่เป็นหนทางที่เป็นไปเพื่อการรู้แจ้งอริยสัจจธรรม เพราะมีความเห็นผิด มีการยึดถือในข้อวัตรปฏิบัติที่ผิด ความเข้าใจถูก เห็นถูกในสภาพธรรม ย่อมมีไม่ได้

“เครื่องเนิ่นช้า” – “เครื่องปิดกั้น”

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
chatchai.k
วันที่ 16 ก.ค. 2567

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์ด้วยความเคารพยิ่ง

ยินดีในกุศลจิตครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ