ธรรมะลึกซึ้ง ละเอียด ยากจะรู้ได้

 
nattawan
วันที่  19 ก.ค. 2567
หมายเลข  48154
อ่าน  113

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระพุทธเจ้าตรัสว่า ธรรมะลึกซึ้ง ละเอียด ยากจะรู้ได้ ... สิ่งที่มีจริงเดี๋ยวนี้ใครรู้!!! พระองค์ทรงตรัสรู้ความจริง เดี๋ยวนี้เองสิ่งที่มีเกิดดับ " สิ่งหนึ่งสิ่งใดมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา (เกิดแล้วไม่รู้) สิ่งนั้นดับไปเป็นธรรมดา (ดับคือไม่กลับมาอีกเลยในสังสารวัฏ) "

ความจริงเป็นสิ่งที่รู้ได้ด้วยปัญญาที่รู้ความจริง
ฟังธรรมเพื่อเข้าใจ ศึกษาธรรมโดยมีความปิติ
ต้องอดทน (ขันติบารมี) เพียร (วิริยะบารมี) เหมือนจับด้ามมีด จนกว่าจะถึงฝั่งที่หมดกิเลสไม่เหลือเลย

ถ้าไม่ฟังก็ไม่รู้ ฟังความลึกซึ้งของสิ่งที่มีจริง กว่าจะรู้ความจริงต้องเคารพความจริง ตรงต่อความจริง ค่อยๆ เข้าใจความต่างของธรรมะแต่ละหนึ่ง เมื่อรู้มากขึ้นจนเข้าใจแต่ละหนึ่งชัดเจนขึ้น ไตร่ตรองฟังแล้วเข้าใจ ... ไม่พอ..ฟังอีกเพื่อละความติดข้อง ความไม่รู้ที่ยึดถือธรรมะว่าเป็นอัตตา (สิ่งหนึ่งสิ่งใด) จนกว่าจะรู้ว่าไม่ใช่อัตตา..เป็นอนัตตา (ไม่ใช่ตัวตน)

ค่อยๆ ตรงขึ้นๆ รู้ว่าธรรมะลึกซึ้งขั้นฟัง..ต้องอาศัยการฟังตามลำดับ ถ้าไม่มีการฟังจะประจักษ์แจ้งไม่ได้

การฟังธรรมเป็นมงคล ฟังธรรมเข้าใจเป็นปัญญาบารมี

กราบบูชาคุณทอจ.สุจินต์ บริหารวนเขตต์ด้วยความเคารพยิ่ง
กราบอนุโมทนาคณะวิทยากรและยินดียิ่งในความดีของทุกท่านค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
nattawan
วันที่ 19 ก.ค. 2567

สนทนาธรรมเพื่อเข้าใจธรรม
อาสาฬหบูชา ๑๙ ก.ค. ๕๙ มศพ.

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
nattawan
วันที่ 19 ก.ค. 2567

ความประพฤติที่เกิดจากการฟัง /เห็นโทษของอกุศล
เพราะอาศัยการฟัง พฤติกรรมทางกาย ทางวาจา ส่องถึงความเข้าใจธรรม
ฟังแล้วโกรธไม่เกิดอีกเลย เป็นไปไม่ได้เพราะไม่ใช่พระอนาคามี ฟังแล้วยังผูกโกรธ หรือว่าโกรธเกิดน้อยลง หรือเห็นโทษของความโกรธมากขึ้นว่า ทุกวันมีอกุศลมากอยู่แล้วยังเพิ่มขึ้นอีกทำไม เพราะฉะนั้น ประโยชน์ คือ ไม่หลงลืมโทษของอกุศล เมื่อความเข้าใจมั่นคงอกุศลจะค่อยๆ ละคลาย

www.dhammahome.com/webboard/topic/17957

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
nattawan
วันที่ 19 ก.ค. 2567

มีชีวิต ... ก็มีทุกข์

แต่จะทุกข์มาก ... ทุกข์น้อย

ขึ้นอยู่ที่การได้อบรมเจริญปัญญามาก-น้อยแค่ไหน

www.dhammahome.com/webboard/topic/9201

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
nattawan
วันที่ 19 ก.ค. 2567

กุศลธรรมทั้งหลายรวมลงในความไม่ประมาท คือความไม่ปราศจากสติ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ