ความจริงในพระพุทธศาสนา
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
พระพุทธศาสนาเป็นคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่แสดงถึงความจริงของสิ่งที่มีจริงว่า สิ่งใดที่เกิดขึ้นต้องมีเหตุปัจจัยให้เกิดแล้วก็ดับไป เช่นเห็นเกิดขึ้น ... เห็นแล้วก็ดับ ได้ยินเกิดขึ้น ... ได้ยินแล้วก็ดับ เป็นคนละขณะ เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องในสภาพธรรมะที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง
สิ่งหนึ่งที่เราได้ยินแต่เราเผิน เราลืม เราไม่คิดถึงเลย พระองค์ตรัสว่า สิ่งหนึ่งสิ่งใด ... ไม่ว่าอะไรทั้งสิ้น สิ่งหนึ่งสิ่งใดมีความเกิดขึ้น ... ต้องหมายความถึงสิ่งที่เกิดขึ้น สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ... เป็นธรรมดาหรือเปล่า? เห็นธรรมดาได้ยินธรรมดา จำธรรมดา คิดธรรมดา ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นสิ่งที่มีจริงตามความเป็นจริง เป็นปกติของสิ่งนั้น "สิ่งใดสิ่งหนึ่งทุกอย่างหมดแต่ละหนึ่งๆ เกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นมีความดับไปเป็นธรรมดา" ... เราก็ลืม เราไม่นึกถึงสิ่งที่เราลืมทุกวัน คือคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่กล่าวถึงสิ่งที่เราไม่รู้ แมัเดี๋ยวนี้ก็เปลี่ยนความจริงนั้นไม่ได้
ด้วยเหตุนี้ ผู้ที่ได้ศึกษาธรรมะมีความเข้าใจระดับหนึ่งเริ่มพิจารณาว่า ขณะนี้มีสิ่งที่เกิดแน่นอน ถ้าไม่เกิด ... ไม่มี!!! แต่สิ่งที่ไม่รู้คือสิ่งนั้นเกิดแล้วดับ
เห็นทำอะไรไม่ได้เลยนอกจากเกิดขึ้นเห็นแล้วดับ ... ได้ยินไม่ได้ ... แต่ขณะที่ได้ยิน จะเป็นขณะเห็นไม่ได้ เพราะฉะนั้นเห็นเกิดขึ้นเห็นเท่านั้น ... เท่านั้นจริงๆ เกิดเห็นแล้วก็ดับ เห็นเกิดขึ้นเป็นธรรมดา เป็นธรรมะ เป็นความเป็นไปของธรรมะนั้น คือเกิดขึ้นเห็นทำอย่างอื่นไม่ได้เลยทั้งสิ้น ... คิดก็ไม่ได้ ... ได้ยินก็ไม่ได้ เกิดขึ้นเห็นแล้วก็ดับไป ... ใครรู้เป็นความจริงหรือเปล่า? นี่คือคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพียงคำเริ่มต้นไม่กี่คำ แต่พระองค์ทรงแสดงพระธรรม 45 พรรษาโดยประการทั้งปวง เพื่อให้ความเข้าใจที่พระองค์ได้ตรัสแล้วแจ่มแจ้งประจักษ์กับผู้ได้ยินได้ฟัง ... สะสม ... ไม่ลืม ... ไตร่ตรองจนสามารถที่จะรู้ความจริงอย่างนี้ได้ จึงเป็นอริยสัจจธรรม ธรรมะที่มีจริงๆ ตรงตามความเป็นจริง ใครเปลี่ยนแปลงไม่ได้ ที่เราใช้คำว่า สัจจะ ... ความจริงเปลี่ยนไม่ได้เลย
ธาตุคือสิ่งหนึ่งสิ่งใด ธรรมะแต่ละอย่างเกิดความเหตุตามปัจจัย ไม่มีใครทำให้เกิดขึ้น เช่นเห็น ... เห็นเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ไม่ใช่เรา เห็นเกิดตามปัจจัยไม่มีใครทำให้เห็นเกิด
คนตาบอดอยากเห็นก็ทำให้เห็นเกิดไม่ได้เพราะไม่มีตาที่ทำให้เกิดการเห็น (ตาสามารถกระทบสีสันวรีณะ ... เป็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งเหมือนกัน ... จึงจะเห็นได้)
เห็นเป็นธาตุรู้ที่รู้แจ้งเห็น จิตที่เกิดก่อนเห็นเป็นปัจจัยที่ใกล้ที่สุดจะทำทางให้รู้สีและก็ดับไป ... จิตต่อไปต้องเป็นจิตเห็นแน่นอนไม่มีระหว่างขั้น
ถ้าไม่มีสีก็เห็นไม่ได้แม้มีตา (จักขุปสาท) แม้มีสีกระทบตาด้วยแต่ขณะนั้นไม่มีจิตที่เกิดก่อนกระทำทางให้เห็นสี ก็เห็นไม่ได้ ถ้าไม่มีกรรมก็เห็นไม่ได้ ตา สี จิตที่เกิดก่อน กรรม เป็นปัจจัยทั้งหมด นี่คือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง (เช่นเห็น) มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้สิ่งหนึ่งคือเห็นอย่างละเอียด เป็นความจริงที่เปลี่ยนไม่ได้ และเป็นความจริงที่พระองค์และพระสาวกทรงรู้แจ้งแล้ว ... ถ้าคิดได้เองก็เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ... แค่รู้ตามก็สุดที่จะยากแล้ว พระองค์ทรงประจักษ์แจ้งและทรงแสดงและทรงจำแนกพระธรรม
รู้ความเป็นจริงของทุกข์หรือเปล่า?? ขั้นการฟังรู้เพียงสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นแล้วต้องดับไป แต่ยังไม่สามารถรู้การเกิดดับของสภาพธรรมะที่กำลังเกิดดับได้จริงๆ
ทุกข์เดี๋ยวนี้คือเห็น ... ได้ยิน ... ทุกข์คือสิ่งที่มีจริงที่เกิดเพราะเหตุปัจจัยเดี๋ยวนี้ เห็นเกิดและดับทันที ... เพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่ไม่รู้เพราะเกิดดับอย่างรวดเร็ว จึงเห็นเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด ... เป็นเรา เพราะไม่เห็นการเกิดดับ
ความรู้ต้องมาจากการฟังพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าผู้ทรงตรัสรู้และทรงแสดงพระธรรม ไม่ใช่เพียงฟัง ต้องพิจารณาไตร่ตรองจนเกิดความเข้าใจเป็นของตนเองจริงๆ ... มั่นคง จะค่อยๆ สะสมความเข้าในลักษณะของธรรมะนั้นๆ ตามลำดับขั้นของปัญญา เป็นหนทางเดียวที่แสนไกล ไม่ใช่จะไม่เกิดขึ้น แต่สามารถเกิดขึ้นได้จากการค่อยๆ ฟัง ค่อยๆ เข้าใจขึ้นนี่เอง ค่อยๆ น้อมไป ... ปัญญาสามารถค่อยๆ เข้าใจขึ้น ... ไม่ใช่เราเข้าใจ เป็นสังขารขันธ์ค่อยๆ ปรุงแต่ง ไม่มีใครสร้างหรือทำให้เกิดขึ้นได้เลย
เชิญชม
สนทนาธรรมออนไลน์
เรื่อง ความจริงในพระพุทธศาสนา
กับ คณะอาจารย์ มศพ.
วันจันทร์ที่ 5 สิงหาคม 2567
เวลา 10.00 - 11.30 น.
🟦Facebook : วิทยุออนไลน์บ้านธัมมะ
www.facebook.com/share/v/gmGj9nKc96MJonKi/?mibextid=qi2Omg
🟦Facebook : ชมรมบ้านธัมมะ
www.facebook.com/share/v/26BNQufk43eT7ad1/?mibextid=qi2Omg
🟥YouTube : มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
www.youtube.com/live/rXcetvoBOYE?si=XteY3_8UpJ5GtKwc
กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์ด้วยความเคารพยิ่ง