เหตุ ปัจจัย เป็นอย่างไร

 
preechacupr
วันที่  10 ส.ค. 2567
หมายเลข  48271
อ่าน  129

ในพระสูตรกล่าวถืง เหตุปัจจัย ในตัวบาลี เป็นคำ ๒ คำ ทำไมแปะรวมกัน

ใน คำว่า อวิชชา ปัจจยา สังขารา ถ้า เขียนว่า

อวิชชา เหตุ สังขารา มีความหมายเดืยวกันหรือไม่


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 11 ส.ค. 2567

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอหรนตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ประโยชน์คือความเข้าใจถูกต้อง ไม่ใช่ไปเปลี่ยนคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือ ต่อเติมคำของพระองค์ เพราะเหตุว่า จากประโยคที่ว่า อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา นั้น ความหมายครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว คือ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร หรือ สังขาร มี เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

เมื่อกล่าวถึง ปัจจัย แล้ว มุ่งหมายถึงสิ่งที่อุปการะเกื้อกูล หรือเป็นเหตุให้ผลเกิดขึ้นเป็นไป ซึ่งกว้างขวางมากถึง ๒๔ ปัจจัย เหตุ ก็เป็นปัจจัยหนึ่งในปัจจัยเหล่านั้นด้วย ที่เรียกว่า เหตุปัจจัย ได้แก่ เจตสิก ๖ ประเภท คือ โลภะ โทสะ โมหะ และ อโลภะ อโทสะ อโมหะ อันเป็นเหตุให้ผลธรรมเกิดขึ้นเป็นไป ได้แก่ จิต และเจตสิกอื่นๆ ที่เกิดร่วมกัน ตลอดจนถึงรูปที่เกิดเพราะเหตุปัจจัยนั้น ด้วย

แต่ถ้ากล่าวอย่างกว้างๆ ว่า สภาพธรรมเกิดเพราะเหตุปัจจัย เหตุปัจจัยในที่นี้ก็เป็นการกล่าวโดยรวมให้เข้าใจว่า สภาพธรรมไม่ได้เกิดขึ้นเองลอยๆ แต่ต้องอาศัยเหตุปัจจัยหลายอย่าง ที่จะเป็นเครื่องอุปการะเกื้อกูลให้สภาพธรรมนั้นๆ เกิดขึ้นเป็นไป ครับ

... ยินดีในกุศลของคุณ preechacupr และทุกๆ ท่านด้วยครับ ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
chatchai.k
วันที่ 11 ส.ค. 2567

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
Komsan
วันที่ 12 ส.ค. 2567

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ