ต้านภัยความไม่รู้

 
nattawan
วันที่  13 ส.ค. 2567
หมายเลข  48282
อ่าน  294

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ต้านภัยความไม่รู้

ภัยที่แท้จริงก็คือความไม่รู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง จึงถูกลวงว่ามีสัตว์ บุคคล สิ่งต่างๆ จริงๆ เพราะสภาพธรรมเกิดดับสืบต่ออย่างรวดเร็ว ดังนั้นจึงควรสะสมความเข้าใจถูกตั้งแต่ขั้นการฟังว่าเป็นสภาพธรรมแต่ละอย่างที่ไม่ใช่เรา

ฟังเพิ่มเติม www.dhammahome.com/audio/topic/10958


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
nattawan
วันที่ 13 ส.ค. 2567

💔อกหัก ธรรมช่วยได้ไหม💔

ความทุกข์ใจ เช่น การผิดหวังในความรัก มีสาเหตุมาจากความติดข้อง และความติดข้องนั้นก็ไม่ได้ยั่งยืน แต่จะแปรเปลี่ยนไปติดข้องบุคคล หรือสิ่งใหม่ต่อๆ ไป

จึงควรมีความเป็นมิตรดีกว่าที่จะมีความรักความผูกพัน และควรเจริญปัญญา โดยการศึกษาพระธรรมให้เข้าใจความจริง จนกว่าจะค่อยๆ พ้นไปจากความติดข้องได้ ในที่สุด

ฟังเพิ่มเติม www.dhammahome.com/audio/topic/10960

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
nattawan
วันที่ 13 ส.ค. 2567

-รู้เห็นที่กำลังเห็น คือ เห็นขณะนี้มีจริงๆ ฟังพระธรรมจนเข้าใจว่าเป็นธาตุที่กำลังเห็น จนคุ้นเคยว่าเป็นธรรมะ และละความติดข้องในสิ่งที่ปรากฏ
-การฟังธรรมแต่ละครั้ง เข้าใจขึ้นๆ เป็นการสะสมกำลังของปัญญา เป็นทางเดียวที่จะนำไปสู่การรู้แจ้งความจริงของสภาพธรรมะ

บ้านธัมมะ ๓๑ มี.ค. ๕๓

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
nattawan
วันที่ 13 ส.ค. 2567

-การปฏิบัติธรรม โดยสภาพธรรมคือความเห็นถูกในลักษณะสภาพธรรมะแต่ละอย่างๆ ที่ปรากฏในขณะนี้ตามความเป็นจริง ไม่ใช่เป็นการที่จะทำโดยไม่รู้
-การเข้าใจธรรมะ คือ ไม่ใช่เราที่จะไปเปลี่ยนแปลง แต่สามารถละการยึดถือสภาพธรรมะว่าเป็นเรา เพราะรู้ความจริงว่าไม่มีเรา แต่มีธรรมะ เป็นอย่างนี้ตลอดไปเพราะว่าเป็นธรรมะ จนกว่าปัญญาจะเจริญขึ้นแล้วรู้ความจริงยิ่งขึ้น

บ้านธรรมะ ๒๔ มี.ค. ๕๓

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
nattawan
วันที่ 13 ส.ค. 2567

-ขันติเป็นตบะ (เผา) อย่างยิ่ง ขณะที่ฟังธรรม ย่อมต้องมีความอดทนที่จะฟังธรรม ย่อมมีความเข้าใจเพิ่มขึ้น และเผาความไม่รู้ด้วย
-สิ่งที่เป็นที่พึ่งจริงๆ คือกุศลทั้งหลาย โดยยกเอาศรัทธาขึ้นเป็นประธาน ศรัทธาเป็นเพื่อนของคน เป็นเพื่อนไปสู่สวรรค์และเป็นเพื่อนของผู้จะบรรลุพระนิพพาน
-อยากเข้าใจศรัทธา หรือมีศรัทธาที่จะเข้าใจศรัทธา?

บ้านธัมมะ ๓ มี.ค. ๕๓

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
nattawan
วันที่ 13 ส.ค. 2567

ถาม : เสียงพัดลม แต่พัดลมไม่มีจริง เสียงตรงนั้นเป็นอย่างไร
อ.สุจินต์ : ได้ยินเสียงเท่านั้น เสียงปรากฏ เสียงมีจริง เสียงเป็นเสียง เป็นธรรมะ ถ้าจิตไม่เกิดขึ้นรู้สภาพธรรมะนั้น เสียงนั้นก็ไม่มี มีเมื่อไหร่คือเสียงอยู่ตรงนั้น ตรงที่บอกว่ามี แต่ไม่มีพัดลมในเสียงที่ปรากฏ แต่เราคิดนึกต่อเองว่าเป็นเสียงพัดลม ขณะที่ได้ยินไม่ใช่ขณะที่คิด

บ้านธัมมะ ๒๔ ก.พ. ๕๓

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
nattawan
วันที่ 13 ส.ค. 2567

ลืมเสมอ ลืมว่าเป็นจิต ลืมว่าเป็นธรรมะ ลืมว่าคิดก็เป็นจิต ลืมว่าไม่ใช่เรา ลืมว่าเห็นเป็นเห็น เกิดแล้วตามปัจจัย แล้วดับ ไม่ใช่เรา

บ้านธัมมะ ๑๗ ก.พ. ๕๓

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
nattawan
วันที่ 13 ส.ค. 2567

สิ่งที่ปรากฏทางตาปรากฏได้เมื่อจิตเห็นเกิด เพราะมีจักขุปสาท ถ้าไม่มีจักขุปสาท แม้สิ่งที่ปรากฏทางตามี ถ้าไม่กระทบ จิตเห็นก็เกิดไม่ได้ ปัญญาที่สามารถแทงตลอดการเกิดดับจึงสามารถที่จะรู้ได้ว่า มีสิ่งที่มีจริงอยู่ขณะนี้มีจริงอยู่ชั่วขณะที่ปรากฏเท่านั้นเอง ถ้าไม่มีปัญญารู้ลักษณะของธรรม ก็ฝันว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เที่ยงถ้ามีปัญญารู้ลักษณะธรรมก็ตื่น

อานเพิ่ม www.dhammahome.com/webboard/topic/20245

Phito cr. Amazimg World

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
nattawan
วันที่ 13 ส.ค. 2567

@ขณะนี้กำลังลืมอะไร? ลืมว่าเป็นธรรมะ ทุกครั้งที่สงสัย สภาพนั้นๆ เกิดขึ้นและดับไป แต่เพราะไม่รู้ว่าเป็นธรรมะ ฟังธรรมะเพื่อไม่ลืม เพื่อเข้าใจความจริงของธรรมะว่าเป็นอนัตตา ไม่ใช่เรา
@จิตมีจริง เป็นโรคอกุศล โรคกิเลส โรคไม่รู้ความจริง เช่น ทางตาเป็นโรคไม่รู้ความจริงว่าเพียงเห็นแล้วดับไปโดยไม่เหลือ
@หนทางรักษา "จิตเน่าใน" ที่เต็มไปด้วยอกุศล ด้วยการศึกษาพระธรรม ต้องดับเชื้อของอกุศลที่สะสมจนจิตเน่าในด้วยปัญญา ดับอนุสัยกิเลสจนหมดสิ้น
@ถ้าไม่ลืมธรรมะ จะไม่สงสัยว่าขณะนี้เป็นธรรมะ แล้วจะเข้าใจธรรมะที่ขณะนี้รู้ว่าเป็นธรรมะ แต่ยังไม่รู้จักตัวธรรมะจริงๆ เพียงแต่ฟังเรื่องธรรมะ ขณะที่ธรรมะก็เกิดและดับตลอดเวลา ด้วยเหตุนี้จึงควรฟังธรรมะเพื่อเข้าใจสิ่งที่มีจริงๆ ในขณะนี้
@ความเจริญด้วยปัญญาย่อมประเสริฐกว่าลาภ ยศ สรรเสริญทั้งหลาย
@การศึกษาธรรมะ คือ มีธรรมะให้ศึกษาขณะที่ธรรมะนั้นๆ ปรากฏ

บ้านธัมมะ ๑๐ ก.พ. ๕๓

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
nattawan
วันที่ 13 ส.ค. 2567

ธรรมะวันนี้ สี่คำ

#ภาวนา คือ การอบรมเจริญคุณความดีและความเข้าใจพระธรรมให้เพิ่มมากขึ้นด้วยปัญญา (ไม่ใช่ด้วยความเป็นตัวตน)
#กามคุณ เครื่องผูกที่น่ายินดีพอใจ คือ กาม ได้แก่ รูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะ
#รักตน ๑.ในทางกุศล คือ การละชั่ว ทำความดี ซึ่งนำผลดีมาให้แก่ตน
๒.ในทางอกุศล คือ เห็นแก่ตัวแล้วทำชั่ว
#พละ คือ สภาพธรรมฝ่ายคุณความดีที่มีกำลัง ไม่หวั่นไหว ในการรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏตามความจริง

บ้านธัมมะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
nattawan
วันที่ 13 ส.ค. 2567

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสดังต่อไปนี้.

[๗๒๐] ดูก่อนเถระ ก็การอยู่คนเดียว ย่อมเป็นอันบริบูรณ์โดย

พิสดารกว่าอย่างไร ในข้อนี้ สิ่งใดที่ล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็ละได้แล้ว

สิ่งใดยังไม่มาถึง สิ่งนั้นก็สละคืนได้แล้ว ฉันทราคะในการได้อัตภาพที่เป็น

ปัจจุบันถูกกำจัดแล้วด้วยดี การอยู่คนเดียวย่อมเป็นอันบริบูรณ์โดยพิสดาร

กว่าอย่างนี้แล.

[๗๒๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดาครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปว่า

เราย่อมเรียกนรชนผู้ครอบงำขันธ์ อายตนะ ธาตุ

และไตรภพทั้งหมดได้ ผู้รู้ทุกข์ทุกอย่าง ผู้มีปัญญาดี

ผู้ไม่แปดเปื้อนในธรรมทั้งปวง ผู้ละสิ่งทั้งปวงเสียได้

ผู้หลุดพ้น ในเพราะนิพพานเป็นที่สิ้นตัณหา ว่าเป็น

ผู้มีปกติอยู่คนเดียว ดังนี้.
อ่านเพิ่มเติม www.dhammahome.com/webboard/topic/12429

Photo cr. Num Sitdhiraksa

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
nattawan
วันที่ 13 ส.ค. 2567

พระพุทธเจ้าตรัสว่า

ความโศกย่อมเกิดแต่ของที่รัก ภัยย่อมเกิดแต่ของที่รัก

ความโศกย่อมไม่มีแก่ผู้ปลดเปลื้องได้จากของที่รัก

ภัยจักมีแต่ที่ไหน.

ความโศกย่อมเกิดแต่ความรัก ภัยย่อมเกิดแต่ความรัก

ความโศกย่อมไม่มีแก่ผู้พ้นวิเศษแล้วจากความรัก

ภัยจักมีแต่ที่ไหน.

ความโศกย่อมเกิดแต่ความยินดี ภัยย่อมเกิดแต่ความยินดี

ความโศกย่อมไม่มีแก่ผู้พ้นวิเศษแล้วจากความยินดี

ภัยจักมีแต่ที่ไหน

--------------------------

และ ผู้ที่มีรักหนึ่งก็ต้องทุกข์

หนึ่ง มีรักร้อยก็ทุกข์ร้อย

ตามหลักธรรมคำสอนในทางพระพุทธศาสนา แสดงไว้ว่า ความรัก ความติดข้อง

ความยินดีพอใจ เป็นโลภะ เป็นอกุศลธรรม เป็นกิเลสตัณหา เป็นเครื่องเศร้าหมอง

ของจิตใจ ไม่ใช่เพียงแค่ความรักของหนุ่มสาวเท่านั้น ความรักพี่น้อง รักเพื่อน หรือ

ความติดข้องยินดีพอใจในกามคุณ ๕ กล่าวคือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (สิ่งที่

กระทบสัมผัสกาย) ก็เป็นโลภะ เป็นตัณหาเหมือนกัน และที่สำคัญ ตัณหาเป็นต้นเหตุ

ของทุกข์ทั้งปวง เพราะมีรัก เมื่อยังไม่พลัดพรากจากสิ่งที่รัก ก็เพิ่มโลภะมากยิ่งขึ้น

แต่ถ้าผิดหวัง หรือ พลัดพรากจากสิ่งที่รัก ก็เป็นเหตุแห่งทุกข์ นำมาซึ่งความเศร้าโศก

เสียใจ เมื่อกล่าวโดยรวมแล้ว ทุกข์ที่เกิดขึ้นก็เพราะยังมีตัณหา เมื่อดับตัณหา

เสียได้ ทุกข์ย่อมถูกดับไปด้วย

www.dhammahome.com/webboard/topic/24990


 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
nattawan
วันที่ 13 ส.ค. 2567

ยินดีในกุศลจิตของทุกท่านค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ