วิสัตติกา เพราะอรรถว่า แผ่ซ่านไป [เถรคาถา]
[เล่มที่ 52] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ หน้า 314-315
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
บทว่า วิสตฺติกํ คือ ตัณหา. ก็ตัณหานั้น ท่านเรียกว่า วิสัตติกา เพราะอรรถว่า แผ่ซ่านไป, เพราะอรรถว่า กว้างขวาง, เพราะอรรถว่า หลั่งไหลไปทั่ว เพราะอรรถว่า ไม่อาจหาญ, เพราะอรรถว่า นำไปสู่สิ่ง มีพิษ. เพราะอรรถว่า หลอกลวง. เพราะอรรถว่า มีรากเป็นพิษ, เพราะอรรถว่า มีผลเป็นพิษ, เพราะอรรถว่า บริโภคเป็นพิษ, ก็อีก
อย่างหนึ่ง ตัณหานั้น ที่กว้างขวางใหญ่โต ท่านเรียกว่าวิสัตติกา เพราะ อรรถว่า แพร่กระจายไป ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมะ ตระกูล และหมู่คณะ.
บทว่า ปปญฺจสงฺฆาตทุขาธิราหินึ ความว่า ชื่อว่า ปปัญจะ เพราะ อรรถว่า ทำความสืบต่อแห่งสัตว์ในสงสารให้ชักช้า คือให้ยืดยาว ได้แก่ ราคะเป็นต้น และได้แก่มานะเป็นต้น. ปปัญจธรรมทั้งหลายเหล่านั้นนั่น แล ชื่อว่า สังฆาตา เพราะอรรถว่า รวบรวมทุกข์ที่เกิดขึ้นไว้, และ ชื่อว่าทุกข์ เพราะมีสภาวะกระวนกระวายและเร่าร้อน เหตุนั้น จึงชื่อว่า ปปัญจสังฆาตทุขาธิวาหินี เพราะนำมาเฉพาะ คือ เพราะเกิดความทุกข์ที่ รวบรวมไว้ซึ่งธรรมเครื่องเนิ่นช้า. บทว่า ตณฺหํ ปหนฺตฺวาน ได้แก่ ตัด ได้เด็ดขาดซึ่งตัณหานั้น ด้วยอริยมรรค.