Thai-Hindi 24 August 2024

 
prinwut
วันที่  24 ส.ค. 2567
หมายเลข  48353
อ่าน  299

Thai-Hindi 24 August 2024


- ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าแล้วเข้าใจไหม (คุณมานิชตอบว่าถ้าไม่มีความเข้าใจคงไม่ฟังต่อ) ที่เข้าใจเข้าใจว่าอะไร (ปัญหาที่เคยมีเกี่ยวกับคำสอน มารู้ว่ามาฟังที่นี่แล้วได้คำตอบ) แต่ฟังแล้วเข้าใจอะไรนี้สำคัญที่สุด

- (เป็นคำสอนที่ให้เข้าใจความจริง) เดี๋ยวนี้อะไรจริง (การสนทนาและเวลานี้มีการฟังและพยายามเข้าใจ) และอะไรเป็นธรรม (เห็นเป็นธรรม ได้ยินเป็นธรรม)

- เพราะฉะนั้นเดี๋ยวนี้คุณมานิชหรือว่า ธรรม (เป็นธรรม) ไม่ใช่เพียงพูดแต่ต้องเริ่มเข้าใจมั่นคงขึ้น (เข้าใจขั้นคิดว่า ไม่มีตัวเขา มีแต่ธรรมที่เกิด แต่เข้าใจลึกซึ้งมากกว่านี้ตามที่ท่านอาจารย์เอ่ยถึง รู้ตัวว่ายังไม่ถึงอย่างนั้น) แล้วจะถึงได้ไหม (ถึงได้เพราะพระพุทธองค์ทรงสอนหนทางให้ทราบว่าที่พระองค์ทรงรู้ คนอื่นก็รู้ได้)

- เพราะฉะนั้นต้องอดทนไหมที่จะค่อยๆ ฟัง ค่อยๆ เข้าใจขึ้น ฟังธรรมเข้าใจแล้วประพฤติปฏิบัติตามหรือเปล่า (มีการเปลี่ยนแปลงที่เคยยึดมั่นว่าสำคัญ ตอนนี้ก็ไม่ได้เห็นความสำคัญเหมือนเมื่อก่อน แสดงว่าที่ฟังมาก็มีผลในชีวิตประจำวัน) เช่นอะไรบ้าง (เป็นคนโกรธง่าย ออกทางกาย ทางวาจาบ่อยๆ แต่ตอนนี้โกรธเกิดแต่เริ่มคิดบ้างว่าโกรธไม่มีประโยชน์ ทำให้ขณะนั้นระงับความโกรธได้)

- คุณมานิชคิดว่าคุณมานิชจะต้องเกิดอีกไหม (ต้องเกิด) ถ้าชาตินี้คุณมานิชยังไม่ได้เข้าใจธรรมยังไม่เป็นคนดี ชาติหน้าจะเป็นอย่างไร (ถ้าเป็นอย่างนั้นชาติหน้าต้องไม่ดี)

- เพราะฉะนั้นชาตินี้คุณมานิชคิดว่าควรจะเป็นคนดีไหม (ไม่คิดว่าชาตินี้จะเป็นคนดี แต่คิดว่าโดยสรุปต้องเป็นคนดีไม่เฉพาะชาตินี้ แต่พยายามเป็นคนดี) ดีมาก แต่ทำอย่างไรถึงจะเป็นอย่างนั้นได้ (ฟังพระธรรม ตั้งใจฟัง ฟังอย่างละเอียด เจริญความเข้าใจทีละนิดๆ)

- ยินดีอย่างมากในกุศลของคุณมานิช เพราะเหตุว่า ไม่มีอะไรจะสามารถเป็นประโยชน์ที่จะทำให้คนรู้ว่า ความชั่วไม่ดี เพราะฉะนั้น หนทางเดียวที่ความไม่ดีจะน้อยลงคือเข้าใจพระธรรมและเห็นคุณของพระธรรม เห็นประโยชน์อย่างยิ่งที่จะเข้าใจถูก

- (ถ้าไม่เป็นอย่างนั้นตอนที่ฟังครั้งแรกตอนอายุ ๓๘ ถ้าป่านนี้เป็นคำสอนที่ไม่ถูกก็คงยังคิดว่ายังขาดอะไรอยู่ แต่ตั้งแต่มาฟังคำสอนของพระพุทธองค์ไม่มีความรู้สึกว่าขาดเลย แต่มีความรู้สึกว่า มาถูกที่แล้ว ถ้าจะหาคำตอบอะไรก็หาได้จากที่นี่) เพราะฉะนั้นทุกคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าลืมไม่ได้

- หนทางที่จะไม่ลืม ต้องฟังด้วยความเคารพ ไม่ลืมคำที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสแล้วและเราได้ฟังทุกคำ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประจักษ์แจ้งความจริงของสิ่งที่พระองค์ทรงตรัสรู้ให้คนอื่นได้รู้ แต่รู้ไม่ง่ายเลย ต้องรู้ว่า คำสอนของพระองค์เป็นจริงที่สามารถที่จะรู้แต่ต้องอดทนที่จะเข้าใจทุกคำ

- ถ้าไม่มีอะไรเกิดขึ้นเลยจะมีอะไรไหม (ถ้าไม่มีอะไรเกิดก็ไม่มีอะไร) แต่เดี๋ยวนี้ใครห้ามไม่ให้สิ่งที่มีเดี๋ยวนี้เกิดแล้ว เพราะฉะนั้นสิ่งนี้เกิดแล้วไม่มีใครทำแต่ให้รู้ความจริงว่า มีเหตุปัจจัยที่ทำให้สิ่งนี้เกิดได้

- พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ว่า สิ่งที่เกิดมีเดี๋ยวนี้เกิดแล้วดับไม่กลับมาอีกเลย เข้าใจอย่างนี้มั่นคงไหม (มั่นคงขั้นที่รู้ตามว่า ธรรมที่มีเป็นเพราะเกิดแล้วดับและไม่กลับมา) แต่มั่นคงยิ่งขึ้นจนประจักษ์แจ้งอย่างที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมให้ค่อยๆ เข้าใจขึ้น


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prinwut
วันที่ 24 ส.ค. 2567

- คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกคำให้เข้าใจความจริงของสิ่งที่กำลังปรากฏเดี๋ยวนี้ จนกว่าปัญญาจะเจริญเพิ่มขึ้นมั่นคงขึ้นตามลำดับจนกว่าที่จะรู้ความจริงตามลำดับ ผู้ที่ประจักษ์ความจริงจะรู้คุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างยิ่งเพราะสิ่งนี้ไม่เคยเกิดเลยในสังสารวัฏฏ์

- ธรรมที่ดีก็มี ธรรมที่ไม่ดีก็มีใช่ไหม (ใช่) อะไรเป็นธรรมที่ไม่ดีบ้าง (ที่ไม่ดีคือตอนที่พูดไม่ดีกับใคร แต่นึกไม่ออกว่าขณะที่สนทนาจะมีอะไรที่ไม่ดี) ถ้าไม่รู้ว่าไม่ดีจะละความไม่ดีได้ไหม (ไม่ได้) เพราะฉะนั้น จะละกิเลสความไม่ดีหรือเปล่า (จะละ) ไม่รู้ว่าตัวเองไม่ดีแล้วจะละความไม่ดีได้ไหม (ถ้าไม่รู้ก็จะละไม่ได้)

- เดี๋ยวนี้รู้หรือยังว่า ไม่ดีอย่างไรบ้าง (เริ่มรู้ว่า ที่ไม่รู้ว่าอะไรไม่ดีนั่นคือไม่ดี) ถูกต้อง ต้องเป็นความคิดของตัวเอง ไม่ใช่ฟังเท่าไหร่ๆ พระพุทธเจ้าแสดงเท่าไหร่ๆ ละเอียดเท่าไหร่ๆ ก็ไม่รู้จักตัวเอง นั่นไม่มีประโยชน์

- เพราะฉะนั้น ฟังพระธรรมเข้าใจแล้วจึงเห็นคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถ้าไม่ฟังพระธรรมจะไม่ออกจากความมืดของอวิชชาความไม่รู้และทำให้เกิดกิเลสมากมายตลอดไป ไม่มีใครรู้ว่า ตัวเองไม่ดีถ้าไม่ได้ฟังพระธรรม

- (คุณมานิชบอกว่า ก่อนหน้านี้มีแต่ความคิดว่า เขาไม่ดีเราดีกว่าเขา รู้ว่าเราก็ไม่ดีแต่ยังดีกว่าเขา ถ้าไม่ฟังพระธรรมจะไม่รู้เลยว่า เราไม่ดี) เริ่มเป็นคนตรงซึ่งสำคัญที่สุดและเป็นประโยชน์ที่สุดในการที่จะรู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

- ธรรมที่ตรงก็มีธรรมที่ไม่ตรงก็มีตามเหตุตามปัจจัย เพราะฉะนั้นเมื่อไหร่ที่ปัญญาเริ่มเข้าใจถูก ปัญญา “ตรง” ที่จะรู้ความจริงของธรรมว่า ธรรมไหนดี ธรรมไหนที่ไม่ดี

- เราต้องพูดคำของพระพุทธเจ้าก่อนที่จะเข้าใจคำอื่นๆ ให้มั่นคงเพราะถ้าเป็นผู้ที่ศึกษาธรรมไม่ใช่เพื่อเข้าใจธรรมเพื่อละกิเลส ไร้ประโยชน์ ถ้าไม่ได้ฟังคำของพระพุทธเจ้าไม่รู้ความจริงว่า ฟังธรรมเพื่อเข้าใจความจริง เพื่อรู้ความจริง เพื่อขัดเกลากิเลส เราจะพูดธรรมต่อไปอีกมากก็ไร้ประโยชน์

- ชีวิตที่มีค่าที่เกิดมาได้ฟังพระธรรม ไร้ประโยชน์เมื่อไม่เข้าใจความจริง เพราะฉะนั้นตลอดชีวิตและชาติต่อๆ ไปก็ไม่ได้รับประโยชน์คือความเข้าใจความจริงจากพระธรรม

- คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็น “อนุสาสนี” ให้เข้าใจธรรมบ่อยๆ และเป็น “โอวาท” เตือนให้รู้ว่า ฟังธรรมเพื่ออะไร (ขอช่วยอธิบายอนุสาสนี) “อนุ” แปลว่า บ่อยๆ “สาสนี” คือ คำสอน เพราะฉะนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสสอนอนุสาสนีไม่ใช่ครั้งเดียวพอแต่บ่อยๆ ให้เข้าใจความจริง

- พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมเป็น “อนุสาสนี“ และทรง “โอวาท” คือคำเตือนให้ระลึกเสมอว่า ฟังธรรมเพื่ออะไร เพราะฉะนั้น ฟังคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อรู้ว่าเป็นคนไม่ดี เป็นคนโง่ เป็นคนเลวเพื่อที่จะได้รู้ว่า แล้วพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงความจริงให้ค่อยๆ ละความไม่ดีได้อย่างไร

- คุณมานิชเริ่มเห็นความไม่ดีของตัวเองเพิ่มขึ้นหรือยัง (เริ่มเห็นมากขึ้น) คิดว่าความไม่ดีทั้งหมดจะออกไปได้โดยไม่ฟังความจริงจากคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ไหม (รู้ว่าไม่มีหนทางอื่นนอกจากฟังพระธรรม เป็นไปไม่ได้ว่าถ้าไม่ฟังพระธรรมแล้วอกุศลจะลดลง)

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
prinwut
วันที่ 24 ส.ค. 2567

- เพราะฉะนั้นไม่ใช่เห็นคนอื่นไม่ดีโดยไม่เห็นว่าเราไม่ดี ใช่ไหม ทั้งหมดที่พูดมาแล้วเป็นธรรมใช่ไหม (ใช่) เพราะฉะนั้นฟังอะไรแล้วเป็นประโยชน์นั่นคือ ธรรม ไม่ใช่ฟังแล้วคอยว่า เมื่อไหร่จะพูดถึงเรื่องที่อยากจะรู้เสียที นั่นหรือธรรมที่เป็นกุศล

- ถ้าไม่รู้ความลึกซึ้งอย่างนี้จะละความไม่ดีได้อย่างไร เพราะฉะนั้นฟังแล้วไตร่ตรองความลึกซึ้งของธรรมไม่ใช่อยากจะรู้เรื่องของธรรมต่อๆ ไปอีก เพราะฉะนั้นความเข้าใจธรรมจะมั่นคงได้เมื่อเป็นความไตร่ตรองของตัวเองไม่ใช่คนอื่นบอก

- (คุณมานิชถามว่า บางครั้งในการสนทนากับคนอื่น ควรจะมีคำตอบให้คนฟังมิใช่หรือ) แน่นอน หมายความว่า การสนทนาธรรมต้องมีคำตอบจากการไตร่ตรองไม่ใช่บอกให้คนอื่นเชื่อ

- เพราะฉะนั้นจะเริ่มสนทนาให้ไตร่ตรองให้คิดจนเป็นความเข้าใจของตนเองนะคะ อะไรไม่ใช่ธรรม (ทุกอย่างเป็นธรรม) ต้องบอกว่า ”ทุกอย่างที่มีจริงเป็นธรรม“ เห็นไหมขาดคำหนึ่งก็ไม่ได้ ต้องละเอียดจริงๆ และเป็นความเข้าใจที่มั่นคง

- (คุณมานิชอยากจะให้พูดเรื่องนี้ต่อ ว่า…) อยากมาแล้ว เราบอกเขาว่า เราจะเริ่มการสนทนาธรรมใช่ไหม เพราะฉะนั้นเราเริ่มถามให้เขาคิดใช่ไหม ถ้าเราบอกเขาเขาเข้าใจหรือเปล่า แต่ถ้าเขาต้องคิดเป็นความเข้าใจของเขาเอง (ถ้าพิจารณาด้วยตนเองเป็นความเข้าใจของตนเองจะเป็นประโยชน์) เพราะฉะนั้นจะเลือกแบบไหน (ถ้าเป็นการเข้าใจของตัวเองจะเป็นประโยชน์ ถ้าเป็นการบอกคำตอบเดี๋ยวก็ลืม ถ้าเป็นความเข้าใจของตนเองไม่ลืม)

- เพราะฉะนั้นไม่ใช่อยากให้ดิฉันพูด แต่เมื่อมีอะไรที่เขาต้องการเข้าใจถูกก็สนทนา (อยากให้ท่านอาจารย์ขยายที่กล่าวว่า ”ทุกอย่างที่มีจริงเป็นธรรม“ เพิ่มอีก) ถ้าเราพูดถึงคน มีจริงไหม เป็นธรรมหรือเปล่า (ถ้าเป็นบุคคลไม่ใช่ความจริงเป็นบัญญัติ) เราจึงต้องมีคำว่า ”สิ่งที่มีจริง“ ใช่ไหม

- ธรรมละเอียดไหม แต่ทำไมเราคิดถึงคน เราคิดถึงต้นไม้ เราคิดถึงทุกอย่าง (รู้ว่ามีจริงแล้วมีปรมัตถธรรม เช่น เห็นว่ามีใครอยู่ตรงหน้า นั่นก็เป็นเพราะว่า เห็น) ต้องละเอียดกว่านั้นต้องรู้ว่า สิ่งที่มีจริงเป็นธรรมที่มีจริงแน่นอนเป็น ”ปรมัตถธรรม“

- เพราะฉะนั้นเริ่มจากคำว่า สิ่งที่มีจริงมีลักษณะที่แสดงว่ามีจริงเป็นปรมัตถธรรม “ปรมะ” แปลว่า ใหญ่ไม่มีใครเปลี่ยนแปลงได้เป็น ”อรรถ“ ของธรรมนั้นที่ไม่มีใครสามารถเปลี่ยนแปลงได้จึงเป็นธรรมที่เป็น ”ปรมัตถธรรม”

- สภาพธรรมที่มีจริง ถ้าไม่มีเสียงพูดถึงสภาพธรรมนั้นให้รู้ว่าหมายความถึงอะไรก็ไม่มีใครสามารถจะรู้ได้ว่า เราหมายความถึงอะไร เพราะฉะนั้นเสียงทุกเสียงในแต่ละภาษาให้หมายรู้ว่า หมายความถึงสิ่งที่มีจริงนั้นคืออะไรแต่ละหนึ่ง

- เสียงต่างกัน เสียงเล็ก เสียงใหญ่ เสียงสูง เสียงต่ำ เสียงเบา เสียงดัง เพราะฉะนั้นมีเสียงที่เป็นนิมิตให้รู้ความต่างของแต่ละเสียง เสียงแต่ละเสียงทำให้เข้าใจกันว่า หมายถึงอะไร เสียงแต่ละเสียงไม่มีความหมาย แต่เมื่อรวมกันเป็นเสียงต่างกันทำให้รู้ว่า ความหมายต่างกัน

- “สุจินต์” “สุคิน” รู้ความต่างกันเพราะเสียง “มานิช” “อาคิ่ล” “อาช่า” แต่ละเสียงต่างกันทำให้รู้ว่า หมายความถึงอะไรต่างกัน เพราะฉะนั้นธรรมที่ต่างกันที่ปรากฏแต่ละทางทำให้มีคำที่กล่าวถึงหรือไม่ต้องพูดเป็นคำๆ ก็รู้ความหมายที่ต่างกันเป็น “บัญญัติ“

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
prinwut
วันที่ 24 ส.ค. 2567

- ภูเขา ทะเล ไม่ใช่ปรมัตถธรรมแต่ คำว่า ภูเขา หรือ ทะเล ทำให้รู้ว่า หมายความถึงอะไร ถ้าไม่มี “ปรมัตถธรรม” ก็ไม่มี “บัญญัติธรรม” เพราะฉะนั้น เราจึงเรียนให้เข้าใจความเป็นจริงที่เป็น “ธรรม” ที่เป็น “ปรมัตถธรรม” ที่เป็น ”อภิธรรม“ เพราะลึกซึ้งอย่างยิ่ง

- เพราะฉะนั้น ”สุคิน“ ไม่ใช่ปรมัตถธรรม รู้ว่าเป็นสุคินแต่อะไรเป็นสุคิน (สุคินเป็นสิ่งที่เราคิดใส่ความคิดว่าเป็นคนนี้ๆ) เพราะฉะนั้นไม่มีสุคินแต่มีสิ่งที่ปรากฏทางตาต่างๆ กันทำให้จำได้ว่า นี่สุคิน นั่นอาคิ่ล นี่อาช่า

- เพราะฉะนั้นเข้าใจธรรม เข้าใจความต่างกันของปรมัตถธรรมและบัญญัติ ปนกันไม่ได้ใช่ไหม เพราะฉะนั้นเราจะศึกษาเรื่องสิ่งที่มีจริงแต่ต้องใช้ชื่อต่างๆ

- เพราะฉะนั้นสิ่งที่ปรากฏทางตา สิ่งที่ปรากกทางตาเป็นอะไร (เป็นสี) เป็นธรรมหรือเปล่า (เป็นธรรม) เพราะฉะนั้นเป็นปรมัตถธรรมหรือเปล่า (พิจารณาว่าไม่ได้มีแต่สีที่เห็นแต่มีเห็นด้วย คิดถึงทั้ง ๒ อย่าง เข้าใจว่า เห็นก็เป็นปรมัตถธรรม สีก็เป็นปรมัตถธรรม) แต่ว่าต้องฟังคำถามว่า เราถามว่าอะไร เรื่องอะไร มิฉะนั้นจะไม่เข้าใจธรรมเลยเพราะไม่ได้คิดถึงความละเอียด

- (คุณมานิชคิดมานานแล้วว่า ฟังธรรมอาทิตย์ละวันๆ ละ ๒ ชั่วโมงมากไป จะเป็นวันละนิดวันละหน่อยทุกวันได้ไหม จะได้ไม่เป็นภาระ เปรียบเหมือนดื่มน้ำครั้งละ ๑ ขวด แต่ให้ดื่มครั้งละ ๑๐ ขวด ดื่มไม่ไหว) คุณสุคินคิดอย่างไร (คิดว่าก็ดีถ้าท่านอาจารย์มีเวลาเพราะลำพังตนเองคงไม่มีปัญญาเหมือนท่านอาจารย์)

- ดิฉันไม่ได้คิดอย่างคุณสุคินและไม่ได้คิดอย่างคุณมานิชเลย เพราะเหตุว่า คุณสุคินฟังธรรมแล้วไม่ฟังอีกเลยหรือ (ไทยฮินดีไม่ฟังอีกเลยเพราะมีให้เลือกเยอะ ฟังของเก่าๆ ) ถูกต้อง คุณสุคินไม่ฟังสิ่งที่เข้าใจแล้ว เพราะฉะนั้นคุณสุคินฟังมาเท่าไหร่ มีอะไรให้เลือกเยอะ คุณมานิชมีให้เลือกน้อยแต่เข้าใจหมดหรือเปล่า แล้วจะเอาของใหม่ไปทำไม

- (คุณมานิชไม่รู้ว่า ฟังย้อนหลังได้ จะส่งลิ้งก์ให้ภายหลัง) คุณมานิชไม่มีความสนใจที่จะบันทึกไว้เองหรือ เพราะฉะนั้นให้เขารู้ว่า ปัญญาไม่พอจึงขาดวิริยะบารมีและขันติบารมี

- ธรรมละเอียดลึกซึ้งมากถ้าไม่เข้าใจให้ละเอียดให้ตรงเป็นงูพิษที่จะกัดเขาให้ไม่ได้ละกิเลส เป็นอันตรายมาก เพราะเหตุว่า จะทำให้เขาถูกครอบงำด้วยกิเลส

- การละกิเลสเป็นเรื่องละเอียดมาก ถ้าถูกกิเลสครอบงำมากจะเหมือนพระเทวทัต เพราะฉะนั้น ต้องมีปัญญาที่จะเห็นโทษของกิเลส มิฉะนั้น กิเลสครอบงำทันทีเหมือนที่กล่าวมาข้างต้น เพราะฉะนั้น ต้องระวังตัวไม่ประมาทที่จะถูกกิเลสครอบงำเพราะจะทำให้ไม่สามารถจะพ้นจากสังสารวัฏฏ์ได้เลย

- เดี๋ยวนี้มีธรรมไหม (มี) เดี๋ยวนี้ธรรมอะไร (เห็น ได้ยิน) ตอบได้ แต่เห็นปรากฏให้รู้ว่าเป็นเห็นหรือยัง (ยัง) เพราะฉะนั้นต้อง “สัจจะ” ตรง รู้ว่าขณะนี้ได้ฟังว่า เห็นมีจริงเป็นธรรมแต่ยังรู้ลักษณะของเห็น ยังคงเป็นเรายังไม่ได้ละความเป็นเรา

- เพราะฉะนั้นฟังธรรมทำไม ต้องพูดอีกๆ ๆ ถ้าลืมเมื่อไหร่ถูกกิเลสครอบงำทันที เพราะฉะนั้นเพียงรู้ว่า เดี๋ยวนี้มีเห็น เห็นเป็นธรรม พอหรือยัง (ยังไม่พอ) ยังไม่พอจึงต้องพูดแล้วพูดอีกๆ กิเลสครอบงำทำให้อยากรู้เรื่องที่เขาอยากรู้มากมายแต่ไม่สามารถรู้ความจริงเดี๋ยวนี้ได้

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
prinwut
วันที่ 24 ส.ค. 2567

- เพราะฉะนั้นเดี๋ยวนี้ประโยชน์อยู่ที่ไหน (อยู่ที่เข้าใจธรรมให้เพิ่มขึ้นและลดกิเลส) ต้องมีวิริยะใช่ไหม (ใช่) เพราะฉะนั้นต่อไปนี้คุณมานิชจะทำอะไรที่เป็นวิริยะ (จะพยายามฟังด้วยศรัทธาให้บ่อยขึ้น) ต้องรู้ความละเอียดของธรรมแต่ละ ๑ ให้ถูกต้อง ต้องไตร่ตรองแล้วไตร่ตรองอีกจนเข้าถึงความจริง

- เดี๋ยวนี้กำลังเห็นรู้จักเห็นหรือยัง (รู้ว่ามีเห็น แต่เห็นคืออะไรยังไม่รู้) ดีมากที่เป็นคนตรงเพราะถ้าไม่รู้อย่างนี้ไม่มีวันที่จะรู้จักเห็น

- เห็นความลึกซึ้งของธรรมไหม เห็นมีตั้งแต่แสนโกฏกัปป์จนเกิดมาจนถึงวันนี้ก็ยังไม่รู้จักเห็น แสดงว่า แม้เห็นกำลังมีก็ลึกซึ้งอย่างยิ่งแค่ไหน เริ่มเห็นคุณของพระสัมมาสัมพทุธเจ้าอย่างสูงสุดในพระปัญญาคุณที่สามารถประจักษ์แจ้งความจริงของเห็นที่กำลังเกิดดับ

- เพราะฉะนั้นไม่มีใครสามารถที่จะรู้ความจริงของธรรมที่เกิดดับทุกขณะในชีวิตได้เลยถ้าไม่เข้าใจความจริงว่า ความจริงไม่ใช่ต้องทำอะไรแต่ความเข้าใจถูกทีละเล็กทีละน้อยนำไปสู่การเข้าใจความจริง

- จะอดทนไหม (อดทน) นี่คือ ขันติบารมี อีกนานเท่าไหร่ก็ต้องค่อยๆ ฟัง ไตร่ตรองจนเป็นความเข้าใจของตนเองเพิ่มขึ้น ถ้ารีบร้อนฟังมากๆ ให้เข้าใจเยอะๆ ผิดหรือถูก (ผิด) เริ่มรู้ความจริง เริ่มเข้าใจพระปัญญาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ยินดีด้วยที่รู้ความจริงที่ลึกซึ้งว่าต้องอดทนที่จะเข้าใจและความเข้าใจก็เพิ่มขึ้น

- (คุณมานิชกล่าวว่า ลึกซึ้ง ละเอียดมากกว่าทุกอย่างที่เคยเจอมา) เพราะฉะนั้นถ้ามีความเข้าใจมั่นคงอย่างนี้ก็จะทำให้คุณมานิชไม่ประมาทและรู้จักความหมายของคำว่า บารมี และรู้ว่า ถ้าปราศจากบารมีไม่สามารถรู้ความจริงได้

- ใครก็ตามที่คิดว่า ธรรมไม่ละเอียด ไม่ลึกซึ้งจะไม่สามารถรู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและธรรมได้เลย และที่เราสนทนากันตั้งแต่เช้าจนถึงเดี๋ยวนี้เป็นบารมีหรือเปล่า (เป็นบารมี) เพราะฉะนั้นเริ่มเป็นผู้ที่เข้าใจถูกต้อง ถ้าไม่มีความเข้าใจด้วยความอดทนที่จะรู้ความจริงก็ไม่ใช่บารมีที่จะรู้ความจริงได้

- คุณมานิชเคยได้ยินคำว่า สำนักปฏิบัติไหม (เคยได้ยิน) ผิดหรือถูก (ก่อนฟังมีความคิดว่ามีประโยชน์แต่หลังจากฟังท่านอาจารย์ก็คิดว่า การรู้ลมหายใจแต่ไม่มีความเข้าใจเลยจะมีประโยชน์อะไร สรุปว่าสำนักปฏิบัติไม่ถูก ไม่มีประโยชน์)

- เพราะฉะนั้นเริ่มเขาเห็นคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทำให้เขาไม่เห็นผิดแล้วใช่ไหม เพราะฉะนั้นเขาจะฟังธรรมต่อไปไหม (ฟัง) จะฟังแบบไหน (ฟังอย่างที่เป็นอยู่ค่อยๆ ฟัง) ค่อยๆ ฟังให้เข้าใจใช่ไหม (ใช่) มั่นคงไหม (มั่นคง) นั่นเป็นอธิษฐานบารมี

- (เห็นว่าไม่มีหนทางอื่นแล้วก็มั่นคง) นี่เริ่มเคารพพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีพระองค์เป็นที่พึ่งเท่านั้นจริงๆ เพราะฉะนั้นทุกครั้งที่มีเวลา มีความมั่นคงจะไม่คิดเรื่องอื่นแต่จะคิดถึงคำที่ได้ยิน ไตร่ตรองและเข้าใจเพิ่มขึ้น

- ยินดีมากในกุศลของคุณมานิชที่มั่นคงในวันนี้ เพราะฉะนั้นขอขอบพระคุณและยินดีกับคุณสุคินด้วยที่ได้ทำประโยชน์ทำให้คนอื่นได้เข้าใจธรรม สวัสดีค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
prinwut
วันที่ 24 ส.ค. 2567

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัยด้วยความเคารพสูงสุด

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ด้วยความเคารพยิ่ง

กราบยินดีในกุศลคุณสุคินในความเกื้อกูลแปลพระธรรมเป็นภาษาฮินดี และยินดีในกุศลคุณมานิชและผู้ร่วมฟังร่วมสนทนาทุกท่าน

กราบขอบพระคุณ กราบอนุโมทนาอาจารย์คำปั่นในความอนุเคาระห์ กราบอนุโมทนาคณะอาจารย์และยินดีในกุศลของเจ้าหน้าที่ มศพ. ทุกท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
khampan.a
วันที่ 24 ส.ค. 2567

"หนทางเดียวที่ความไม่ดีจะน้อยลงคือเข้าใจพระธรรมและเห็นคุณของพระธรรม เห็นประโยชน์อย่างยิ่งที่จะเข้าใจถูก"


กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ที่เคารพยิ่ง
กราบยินดีในกุศลของคุณสุคิน ผู้ถ่ายทอดคำท่านอาจารย์เป็นภาษาฮินดี ขอบพระคุณและยินดีในกุศลวิริยะของพี่ตู่ ปริญญ์วุฒิ เป็นอย่างยิ่ง ที่ถอดคำสนทนาของท่านอาจารย์ แต่ละข้อความเป็นประโยชน์ที่สุดครับ
และยินดีในกุศลของผู้ช่วยตรวจทานและยินดีในกุศลของทุกๆ ท่านด้วยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
nattawan
วันที่ 24 ส.ค. 2567

นี่เริ่มเคารพพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีพระองค์เป็นที่พึ่งเท่านั้นจริงๆ เพราะฉะนั้นทุกครั้งที่มีเวลา มีความมั่นคงจะไม่คิดเรื่องอื่นแต่จะคิดถึงคำที่ได้ยิน ไตร่ตรองและเข้าใจเพิ่มขึ้น

ยินดีในกุศลจิตค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
chatchai.k
วันที่ 24 ส.ค. 2567

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์ ด้วยความเคารพยิ่ง

ยินดีในกุศลจิตครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ