ว่าง่ายหรือว่ายาก

 
nattawan
วันที่  26 ส.ค. 2567
หมายเลข  48359
อ่าน  234

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ว่าง่ายหรือว่ายาก ... ถ้ามีความอดทนที่จะรู้ว่าเป็นธรรม ก็เป็นผู้ว่าง่าย แต่ถ้าไม่อดทนและเต็มไปด้วยอกุศลก็เป็นผู้ว่ายาก

ธรรมะคือสิ่งที่มีจริง ว่ายาก ลองนึกภาพคนว่ายากสิ ต้องมั่นคง สิ่งที่มีจริงทุกอย่างเป็นธรรมะ ต้องไปคิดอะไรเองอีกหรือเปล่า ก็เข้าใจคำที่ได้ยินให้ถูกต้อง

รู้ธรรมะรู้อะไร? รู้สิ่งที่มีขณะนี้คือเห็นบ้าง ได้ยินบ้าง แล้วจะรู้ได้ยังไง? ก็ต้องฟังเพื่อเข้าใจ ... อย่างนี้ว่ายากหรือเปล่า??

คนที่ฟังท่านอาจารย์มาก็ต้องตอบว่าเห็นมีจริง เห็นเป็นธรรมะ เห็นเกิดดับ ... ก็ต้องว่าง่ายตลอดไป แล้วจะไม่ว่าง่ายตลอดไปได้ยังไง? ก็เดี๋ยวก็ไปคิดอย่างอื่น ทำอย่างอื่น ไม่ตรงกับที่ต้องอดทน แล้วจะรู้ธรรมะจะรู้อะไร? เห็นเป็นธรรมะ เพราะฉะนั้นจะรู้อะไร? ... รู้เห็นที่ปรากฏ ... แน่ใจแล้วใช่ไหม? ... ใช่ ... แต่พอฟังแล้วเขาก็คิดต่อ แล้วทำยังไงให้รู้ว่าเป็นธรรมะสักที?

แล้วมีไหมที่พระพุทธเจ้าตรัสวิธีแล้วทำยังไง? ถ้าเข้าใจอย่างนั้นว่ายากใช่มั้ย? เพราะว่าต้องอดทน ถ้าคิดว่าอยากจะให้รู้ว่าเห็นเป็นธรรมะสักที ก็เป็นผู้ว่ายากแน่นอน ... ไม่อดทน ... จะไปรู้ได้ยังไง?

ฟังธรรมะแล้วอยากรู้ว่าแข็งไม่ใช่เรา ... ว่าง่ายหรือว่ายาก? ... ว่ายาก ... ต้องรู้เห็นเดี๋ยวนี้แน่นอน ... ถ้าไม่รู้มีประโยชน์อะไร เพราะเห็นมีจริงพระองค์ทรงประจักษ์ความจริงของเห็น จึงได้ทรงแสดงความจริงว่า เห็นต้องเกิดแล้วดับเร็วสุดที่จะประมาณได้ เห็นคนไม่ได้ เห็นอะไรไม่ได้ เห็นเพียงแต่สิ่งที่ปรากฏเท่านั้น ... ว่าง่ายไหม? ...

เมื่อมีการพิจารณาด้วยความเข้าใจตามเหตุผล เพราะฉะนั้นว่าง่ายก็ฟังต่อไป รู้ว่าเห็นมีจริง เห็นกำลังปรากฏเพราะเห็นเกิดขึ้นแล้วเห็นดับไป แต่ยังไม่ประจักษ์แจ้ง ... ว่าง่ายไหม? ... ก็ง่ายในระดับที่ฟัง

เพราะฉะนั้นหนทางที่จะประจักษ์แจ้งมีไหม? ... มี ... ว่าง่ายไหม? ... ว่าง่ายเพราะรู้ฐานะของตัวเองและรู้ว่าต้องอบรมปัญญาจากการฟัง ... นี่คือว่าง่าย!!! อดทนไหมกว่าจะรู้อย่างนี้? ... อดทนเพราะไม่สามารถที่จะไปรู้ได้รวดเร็ว ก็ต้องอบรมเจริญปัญญาไปโดยอาศัยการฟังพระธรรม ... ก็ตรงตามประสูติที่ได้ฟัง

บางครั้งก็ว่าง่าย บางครั้งก็ว่ายากเป็นธรรมดา แต่ละคำกว่าจะเป็นสิ่งที่มั่นคงว่าเป็นธรรมะ ธรรมดาคือธรรมะก็เป็นไปตามความเป็นไปของธรรมะ จะเป็นอื่นไม่ได้

ถ้ารู้ว่าเป็นธรรมะก็ว่าง่าย จะไปทำอะไรล่ะคะ? จะไปบีบบังคับอะไรก็หมดไปแล้วทั้งนั้น

เพราะฉะนั้นว่าง่ายไม่ใช่บอกอะไรก็ให้จำตามนั้น?? พระพุทธเจ้าไม่ได้บอกให้จำคำของพระองค์ พระศาสนาจะดำรงอยู่ได้ก็ด้วยความเข้าใจ ... แล้วตอนนี้จะไม่เข้าใจแล้วหรือ? จะไปจำแล้วหรือ? ต้องตรงอย่างมากตลอดไป!!!

การเป็นผู้ว่าง่ายต้องอดทนอะไร?? ถ้าไม่อดทน ... ว่ายาก พระองค์ทรงแสดงพระธรรม 45 พรรษา ... ไม่ต้องเรียน ... เพราะยาก ... คนที่ทำอย่างอื่นนอกจากฟังธรรมะแล้วเข้าใจ เป็นผู้ที่ไม่อดทน

ลึกซึ้งจริงๆ เพราะว่ากว่าปัญญาจะค่อยๆ เกิดขึ้นทีละเล็กทีละน้อยก็ยาก แสนยาก เพราะฉะนั้นเห็นความอดทนไหมว่าตรงมากแค่ไหน? ... มากมาย ... นั่นคือว่าง่าย!!! พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรม 45 พรรษา ... มากมาย ... เราเข้าใจถูกหรือเปล่า? เข้าใจถูกกี่คำ?? เป็นการค่อยๆ สะสมความเข้าใจจากคำที่ได้ฟังไปทีละเล็กทีละน้อย

เชิญชม

" ว่าง่ายหรือว่ายาก"

เนื้อหาในการดำเนินรายการสนทนาธรรมกับคณะอาจารย์ มศพ.
วันจันทร์ที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๖๗ เวลา ๑๐.๐๐-๑๑.๓๐ น.

สามารถรับฟังได้ทาง : youtu.be/r12UzSBLTVc?si=YaguLxJer4fedb7s


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
nattawan
วันที่ 26 ส.ค. 2567

ธรรมที่กระทำให้เป็นที่พึ่งเป็นที่พึ่งสูงสุดจริงๆ คือถึงพระนิพพานเป็นที่พึ่งอันเกษม ก็ต้องมีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งก่อน โดยเริ่มเข้าใจคำของพระพุทธเจ้า เป็นผู้ว่าง่าย หนทางคือปัญญา (ความเข้าใจถูกเห็นถูกในสิ่งที่กำลังมีกำลังปรากฏ)

ว่าง่ายคือฟังธรรมะอบรมเจริญปัญญาไม่ใช่จำ และต้องตรงมีสัจจะอย่างยิ่งโดยตลอด เข้าใจว่าธรรมะไม่ใช่ตัวตนโดยตลอด และไม่คิดจะทำหรือเพียรท่องจำ เริ่มว่าง่ายคือเริ่มที่จะเข้าใจถูก คือเข้าใจว่าธรรมะไม่ใช่เรา ตรงตามที่พระองค์ทรงแสดง น้อมพิจารณาไตร่ตรองตาม จนถึงน้อมประพฤติปฏิบัติตาม เพราะฉะนั้นไม่ใช่เราที่ว่าง่าย แต่เป็นโสภณธรรมต่างๆ ที่เกิดจากการฟังคำของพระพุทธเจ้า

อดทนฟังคำของพระพุทธเจ้า ขันติบารมี ตรงตลอดเข้าใจตรงตามที่พระองค์ทรงแสดง สัจจบารมี นี่คือว่าง่ายในพระธรรมคำสอนที่พระองค์ทรงแสดงแล้วแสดงอีก ผู้ฟังก็ควรปรารภแล้วปรารภอีก จนถึงการระลึกแล้วระลึกอีก

ยังไม่เป็นผู้ว่าง่ายที่จะรู้ว่าเป็นธรรมะไม่ใช่เรา แม้จะฟังแล้วฟังอีก แต่ต้องอดทนด้วยที่จะไม่ไปทำอะไรอื่นเพื่อที่จะรู้ แต่เป็นผู้อดทนฟังพระธรรมด้วยความเคารพ เพราะไม่ใช่ง่ายเลย การอาศัยพระธรรมที่จะเป็นเหตุให้เป็นผู้ว่าง่าย อดทนฟังไม่คิดเองได้อย่างไร??

เราอยู่มานานเพราะว่ายาก ที่จะไม่ว่าง่ายและอดทนฟังแล้วค่อยๆ เข้าใจขึ้น ... มีแต่ความเป็นเราที่จะทำ ต้องการต่างๆ ใจร้อนอยากรู้เร็วๆ ซึ่งไม่ใช่หนทางที่ถูกเลย ว่ายากเพราะโง่มาก ... บรมโง่ จึงจะไม่ว่าง่ายได้โดยเร็ว!!!

ว่ายากเพราะมีแต่อกุศลธรรมที่ลึกซึ้งสะสมโลภะมามากมาย ความกระด้างทั้งหลาย มานะก็เยอะ ความเห็นผิดทิฏฐิก็มาก แต่ค่อยๆ ว่าง่ายขึ้นเพราะมีบุญที่ได้ทำมาแล้วในอดีต ฟังคำและไตร่ตรองโดยเคารพ ไม่ทำอื่นๆ ... เมื่อปัญญาเกิดขึ้นก็ขจัดอวิชชาความไม่รู้และความเห็นผิด ค่อยๆ เข้าใจขึ้นโดยความไม่ใช่เรา แต่เพราะได้สะสมปัญญามาจากการฟังคำของพระพุทธเจ้า

แม้จะสะสมปัญญามาแต่ไม่ได้ฟังคำของพระพุทธเจ้าก็ไม่อาจเข้าใจได้เลยเพราะฉะนั้นจงใส่ใจให้ดีในแต่ละคำพิจารณาไตร่ตรองให้เข้าใจขึ้นๆ อบรมบ่มนิสัยให้เข้าใจขึ้นๆ ว่าง่ายขึ้นๆ อาศัยการคบสัตบุรุษ อาศัยคำของสัตบุรุษ ตั้งตนไว้ชอบ จึงจะเข้าใจขึ้นและว่าง่ายขึ้น

พระอริยบุคคลทั้งหลายต้องเป็นผู้ว่าง่าย

การเป็นผู้ว่าง่าย ไม่ใช่เป็นผู้เชื่อง่าย

ว่าง่ายที่จะเห็นความไม่ดีของตนเองไหม ว่าง่ายที่จะไม่เห็นความไม่ดีของคนอื่นด้วยความว่ายาก ไม่ขัดเกลาตนเอง พอใจที่จะคิดไม่ดี คือเป็นผู้ว่ายาก เพราะฉะนั้น ค่อยๆ ว่าง่ายขึ้นโดยเห็นโทษของความเป็นโทษ

เชิญชม

สนทนาธรรมออนไลน์
เรื่อง “ ว่าง่ายหรือว่ายาก "
กับ คณะอาจารย์ มศพ.

วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม 2567
เวลา 10.00 - 11.30 น.

🟦Facebook​ : วิทยุออนไลน์​บ้านธัมมะ www.facebook.com/share/v/RDQsVCnqp54Xs16N/?mibextid=Le6z7H

🟦Facebook​ : ชมรมบ้านธัมมะ www.facebook.com/share/v/JFsdp46BxzW8jwfL/?mibextid=oFDknk

🟥Youtube : dhammahomelive www.youtube.com/live/bxB92ZzY-Hg?si=eK-6gVFVr0pVgV5G

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์ด้วยความเคารพยิ่ง

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
chatchai.k
วันที่ 26 ส.ค. 2567

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์ ด้วยความเคารพยิ่ง

ยินดีในกุศลจิตครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
เมตตา
วันที่ 27 ส.ค. 2567

อดทนฟังคำของพระพุทธเจ้า ขันติบารมี ตรงตลอดเข้าใจตรงตามที่พระองค์ทรงแสดง สัจจบารมี นี่คือว่าง่ายในพระธรรมคำสอนที่พระองค์ทรงแสดงแล้วแสดงอีก ผู้ฟังก็ควรปรารภแล้วปรารภอีก จนถึงการระลึกแล้วระลึกอีก

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพยิ่งค่ะ

ยินดีในกุศลจิตค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
nattawan
วันที่ 27 ส.ค. 2567

ยินดีในกุศลจิตค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ