เทศนา.
คือ การแสดงธรรมโดยพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
๑. เทศนาโดยสมมติ (ตามความหมายของชาวโลก)
๒. เทศนาโดยปรมัตถ์ (ตามความหมายของสภาวธรรม) สาวกจะเข้าใจสาระ สำเร็จประโยชน์ โดยเทศนาอย่างใด ก็แสดงอย่างนั้น
ในปฏิสัมภิทามีแสดงเทสนา ๔ อย่าง ดังนี้
[เล่มที่ 68] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 184
จริงอยู่เทสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้ามี ๔ อย่าง ด้วยสามารถแห่งธรรมะ และบุคคล คือ
ธรรมาธิฏฐานธรรมเทสนา ๑
ธรรมธิฏฐานบุคคลเทสนา ๑
บุคลาธิฏฐานบุคคลเทสนา ๑
บุคลาธิฏฐานธรรมเทสนา ๑
ธรรมาธิฏฐานธรรมเทสนา เช่น เทสนาว่า
ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้สักอย่างหนึ่ง ที่อบรมแล้วย่อมควรแก่การงาน เหมือนจิต
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตที่อบรมแล้ว ย่อมควรแก่การงาน ๑.
ธรรมธิฏฐานบุคลเทสนา เช่น แสดงว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ จะพึงยึดถือสังขารไรๆ โดยความเป็นของเที่ยงนั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่จะมีได้ บุคลาธิฏฐานบุคลเทสนา เช่น แสดงว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลคนเดียวเมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อควานสุขแต่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์แก่ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ๑
บุคลาธิฏฐานธรรมเทสนา เช่น แสดงว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความปรากฏขึ้นแห่งจักษุใหญ่ย่อมมี เพราะความปรากฏขึ้นแห่ง บุคคลคนเดียว
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
พระพุทธเจ้าทรงทราบอัธยาศัยของสัตว์โลก ว่าควรแสดงเทศนาประเภทไหน ถ้าแสดงเทศนาที่ว่าด้วยสัตว์ บุคคล (สมมติเทศนา) แล้วเข้าใจหรือบรรลุ พระองค์ก็ทรงแสดงเทศนานั้น แต่ถ้าบุคคลนั้นจะบรรลุด้วยการแสดงธรรมที่เป็นปรมัตถเทศนา เช่น แสดงว่า ขันธ์ ธาตุ อายตนะ แล้วบรรลุก็ทรงแสดงปรมัตถเทศนากับบุคคลนั้น ขออนุโมทนานะ
ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
ขออนุโมทนากัลยาณมิตรทุกท่านในการแสดงธรรมเพื่อความเข้าใจยิ่งขึ้น
แม้แต่การใช้ภาษาในการแสดงธรรม ที่แสดงถึงคน สัตว์ สิ่งของ ก็ไม่ควรคิดขุ่นใจเพราะการไม่ใช้คำว่า "เรา เขา ตน" ไม่ใช่วิธีการที่จะทำให้สักกายทิฏฐิลดลงได้ อัธยาศัยของสัตว์โลกต่างกัน ปัญญาสั่งสมมาอย่างไหน พระพุทธองค์ก็ทรงแสดงพระธรรมเทศนาเพื่อเกื้อกูลสัตว์โลกให้บรรลุธรรมตามสมควรแก่ธรรมนั้น
ขออนุโมทนาครับ