ผลแห่งการฟังธรรม [เอกธัมมสวนิยเถราปทานที่ ๗]

 
เมตตา
วันที่  22 ต.ค. 2567
หมายเลข  48752
อ่าน  89

[เล่มที่ 72] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ หน้า 41 -44

เอกธัมมสวนิยเถราปทานที่ ๗ (๔๒๗)

ว่าด้วยผลแห่งการฟังธรรมครั้งเดียว

[๑๗] พระพิชิตมารพระนามว่าปทุมุตตระ ทรงรู้จบธรรมทั้งปวงประกาศสัจจะ ๔ ทรงยังชน เป็นอันมากให้ข้ามพ้นดีแล้ว

สมัยนั้น เราเป็นชฎิลมีตบะใหญ่ สลัด ผ้าคากรองเปลือกไม้เหาะไปอัมพรในกาลนั้น เราไม่สามารถจะเหาะไปได้เหนือพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด เราเหาะไปไม่ได้ เหมือน นกเข้าไปใกล้ภูเขาแล้วไปไม่ได้ฉะนั้น

เราบังหวนเป็นไอน้ำลอยอยู่ในอัมพร เช่นนี้ ด้วยคิดว่า เหตุเครื่องทำให้อิริยาบถกำเริบ เช่นนี้ มิได้เคยมีแก่เรา

เอาละ เราจักค้นหาเหตุนั้น บางทีเรา จะพึงได้ผล เราลงจากอากาศ ก็ได้สดับพระ สุรเสียงของพระศาสดา

เมื่อพระศาสดาตรัสถึงว่าสังขารไม่เที่ยง ด้วยพระสุรเสียงที่น่ายินดี น่าฟัง กลมกล่อม ขณะนั้นเราได้เรียนเอาอนิจจลักษณะนั่นแหละ

ครั้นเรียนอนิจจลักษณะได้แล้ว ก็ไปสู่ อาศรมของตน เราอยู่ในอาศรมนั้นแหละ ตราบ เท่าสิ้นอายุ ตายไปแล้ว

เมื่อกาลที่สุดกำลังเป็นไป เราระลึกถึง การฟังพระสัทธรรม เพราะกรรมที่เราได้ทำไว้ดี แล้วนั้น และเพราะความตั้งเจตนาไว้

เราละร่างมนุษย์แล้ว ได้ไปสู่ดาวดึงสพิภพ รื่นรมย์อยู่ในเทวโลก ๓ หมื่นกัป

ได้เสวยราชสมบัติในเทวโลก ๕๑ ครั้ง ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๓๑ ครั้ง

และได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์ โดยคณนานับมิได้ เราเสวยบุญของตน ถึงความ สุขในภพน้อยใหญ่

เราท่องเที่ยวไปในภพน้อยภพใหญ่ ก็ยัง ระลึกได้ถึงสัญญานั้น บทอันไม่เคลื่อน คือ นิพพาน เราหาได้แทงตลอดด้วยธรรมอันหนึ่งไม่ สมณะผู้มีอินทรีย์อันอบรมแล้ว นั่งในเรือนบิดา

เมื่อจะแสดงธรรมกถาท่านได้ยกอนิจจ- ลักษณะขึ้นมาในธรรมกถานั้น

พร้อมกับที่ได้ฟังคาถาว่า สังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยงหนอ มีความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป เป็นธรรมดา เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป ความที่ สังขารเหล่านั้นสงบระงับ เป็นความสุข ดังนี้

เราจึงนึกถึงสัญญาขึ้นได้ทุกอย่าง เรานั่ง ณ อาสนะเดียว บรรลุอรหัตแล้ว

เราได้บรรลุอรหัต โดยเกิดได้ ๗ ปี พระ พุทธเจ้าทรงให้เราอุปสมบทแล้ว นี้เป็นผลแห่ง การฟังธรรม

ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ เราได้ฟังธรรมใด ในกาลนั้น ด้วยการฟังธรรมนั้น เราไม่รู้จัก ทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการฟังธรรม

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ... คำสอน ของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระเอกธัมมสวนิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วย ประการฉะนี้แล.

จบเอกธัมมสวนิยเถราปทาน


เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ