ผู้เห็นแต่ความจริง [ขุททกนิกาย พุทธวงศ์]

 
เมตตา
วันที่  1 พ.ย. 2567
หมายเลข  48818
อ่าน  32

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 47 - 48

ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าตถาคต เพราะทรงเห็นแต่ความจริง เป็นอย่างไร

ตอบว่า แท้จริง พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ตถาคตย่อมทรงรู้ ทรงเห็น อารมณ์คือรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะและธรรมะ ที่มาปรากฏในทวารคือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจของสัตว์ทั้งหลายไม่มีประมาณ ในโลกธาตุที่ไม่มี ประมาณโดยอาการทั้งปวง เหตุนั้น จึงชื่อว่า ตถาคต เพราะทรงเห็นแต่ ความจริงอย่างนั้น. อีกนัยหนึ่ง ทรงแสดงแต่สิ่งที่แท้ในโลก แก่โลก. อย่าง นั้นเท่านั้น แม้เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงชื่อว่า ตถาคต ในที่นี้ พึงทราบความหมายแห่งบทว่า ตถาคต ในอรรถว่าทรงเห็นแต่ความจริงแท้.

ตถากาเรน โย ธมฺเม ชานาติ อนุปสฺสติ ตถทสฺสีติ สมฺพุทโธ ตสฺมา วุตฺโต ตถาคโต.

ท่านผู้ใด ย่อมรู้ย่อมเห็นธรรมทั้งหลายโดย อาการที่แท้จริง ท่านผู้นั้น ชื่อว่าผู้เห็นแต่ความจริง เพราะฉะนั้น ท่านผู้รู้จริงดังว่า จึงเรียกว่าตถาคต.

ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่า ตถาคต เพราะตรัสแต่คำจริง เป็นอย่างไร

ตอบว่า ก็คำใดที่สงเคราะห์เป็นนวังคสัตถุศาสตร์มีสุตตะเป็นต้น อัน พระตถาคตภาษิตดำรัสไว้ตลอดกาลประมาณ ๔๕ พรรษา ระหว่างตรัสรู้และ ปรินิพพาน คำนั้นทั้งหมดเป็นคำแท้ ไม่เท็จเลย ดุจชั่งได้ด้วยตาชั่งอันเดียว. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

ดูก่อนจุนทะ ตถาคตตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ณ ราตรีใด ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ณ ราตรีใด ในระหว่างนี้ตถาคตภาษิตกล่าว ชี้แจง คำใดไว้ คำนั้นทั้งหมด เป็นคำแท้จริงอย่างเดียว ไม่ เป็นอย่างอื่น เพราะฉะนั้นจึงเรียกกันว่า ตถาคต.


เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ