อิริยาบถ เดิน ยืน นั่งนอน เจริญสติภาวนาอย่างไร? [อิริยาบถบรรพ]

 
อิคิว
วันที่  23 ก.ย. 2550
หมายเลข  4900
อ่าน  6,637

พระไตรปิฎก และอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ เล่มที่ 14 ทีฆนิกาย มหาวรรค ข้อ 275 หน้า 211-212 มหาสติปัฏฐานสูตร----------------------------------------------------------------------------------

กายานุปัสสนา อิริยาบถบรรพ

[ ๒๗๕ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเมื่อเดินอยู่ ก็รู้ชัดว่า เราเดิน หรือเมื่อยืนก็รู้ชัดว่า เรายืน หรือเมื่อนั่ง ก็รู้ชัดว่า เรานั่ง หรือเมื่อนอน ก็รู้ชัดว่า เรานอน อนึ่งเมื่อเธอนั้น เป็นผู้ตั้งกายไว้ แล้วอย่างใดๆ ก็ย่อมรู้ชัดอาการกายนั้น อย่างนั้นๆ ฯลฯ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
อิคิว
วันที่ 23 ก.ย. 2550

พระไตรปิฎก และอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ เล่มที่ 14 ทีฆนิกาย มหาวรรค หน้า 298-302 อรรถกถามหาสติปัฏฐานสูตร----------------------------------------------------------------------------------

อรรถกถามหาสติปัฏฐานสูตร อิริยาบถบรรพ

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงจำแนกกายานุปัสสนาโดยทางแห่งลมหายใจเข้า-ออก

อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงจำแนกโดยทางแห่งอิริยาบถจึงตรัสว่า ปุน จปรํ อีกอย่าง

หนึ่ง ดังนี้ เป็นต้น ในอิริยาบถนั้น พึงทราบความว่า แม้สัตว์ดิรัจฉาน เช่น สุนัขบ้าน

สุนัขจิ้งจอก เป็นต้น เมื่อเดินไปก็รู้ว่าตัวเดิน ก็จริงอยู่ แต่ในอิริยาบถนั้น มิได้ตรัส

หมายเอาความรู้เช่นนั้น เพราะความรู้เช่นนั้น ละความเห็นว่าเป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็น

ตัวตนไม่ได้ เพิกถอนความเข้าใจว่า เป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นตัวตนไม่ได้ ไม่เป็น

กัมมัฏฐาน หรือสติปัฏฐานภาวนาเลย ส่วนการรู้ของภิกษุ (ผู้เจริญกายานุปัสสนา) นี้

ย่อมละความเห็นว่าเป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นตัวตน เพิกถอนความเห็นว่าเป็นสัตว์ เป็น

บุคคล เป็นตัวตนได้ เป็นทั้งกัมมัฏฐาน และเป็นสติปัฏฐานภาวนา และคำที่ตรัสหมาย

ถึง ความรู้ชัดอย่างนี้ว่า ใครเดิน การเดินของใคร เดินได้เพราะอะไร แม้ในอิริยาบถอื่น

มีการยืนเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน จะวินิจฉัยในปัญหาเหล่านั้น คำว่า ใครเดิน ความว่า

ไม่ใช่สัตว์หรือบุคคลไรๆ เดิน คำว่า การเดินของใคร ความว่า ไม่ใช่การเดินของสัตว์

หรือบุคคลไรๆ เดิน คำว่าเดินได้เพราะอะไร ความว่า เดินได้เพราะการแผ่ไปของวาโย

ธาตุอันเกิดแต่การกระทำของจิต เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นย่อมรู้ชัดอย่างนี้ คือจิตเกิดขึ้น

ว่าเราจะเดินจิตนั้นก็ทำให้เกิดวาโยธาตุๆ ก็ทำให้เกิดวิญญัติ ความเคลื่อนไหว การนำ

สกลกายให้ก้าวไปข้างหน้า ด้วยความไหวตัวแห่งวาโยธาตุอันเกิดแก่การกระทำของจิต

เรียกว่าเดิน แม้ในอิริยาบถอื่น มียืนเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน ก็ในอิริยาบถยืน เป็นต้น

นั้น จิตเกิดขึ้นว่า เราจะยืน จิตนั้นทำให้เกิดวาโยธาตุๆ ทำให้เกิดวิญญัติ ความเคลื่อน

ไหว การทรงสกลกายตั้งขึ้นแต่พื้นเท้าเป็นที่สุด ด้วยความไหวตัวแห่งวาโยธาตุอันเกิด

แต่การทำของจิต เรียกว่ายืน จิตเกิดขึ้นว่าเราจะนั่ง จิตนั้นก็ทำให้เกิดวาโยธาตุๆ ก็

ทำให้เกิดวิญญัติความเคลื่อนไหว ความคู้กายเบื้องล่างลงทรงกายเบื้องบนตั้งขึ้นด้วย

ความไหวตัวแห่งวาโยธาตุอันเกิดแต่การทำของจิต เรียกว่านั่ง จิตเกิดขึ้นว่าเราจะนอน

จิตนั้นก็ทำให้เกิดวาโยธาตุๆ ทำให้เกิดวิญญัติความเคลื่อนไหว การเหยียดกายทั้งสิ้น

เป็นทางยาวด้วยความไหวตัวแห่งวาโยธาตุอันเกิดแต่การทำของจิต เรียกว่า นอน เมื่อ

ภิกษุรู้ชัดอย่างนี้ ย่อมมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า - เขากล่าวกันว่า สัตว์เดิน สัตว์ยืน แต่

โดยอรรถแล้ว สัตว์ไร ที่เดิน ที่ยืนไม่มี ประดุจคำที่กล่าวว่าเกวียนเดิน เกวียนหยุด

แต่ธรรมดาว่า เกวียนไรๆ ที่เดินได้ หยุดได้เอง หามีไม่ ต่อเมื่อนายสารถีผู้ฉลาด เทียม

โค ๔ ตัว แล้วขับไป เกวียนจึงเดิน จึงหยุด เพราะฉะนั้น คำนั้นจึงเป็นเพียงบัญญัติ

สมมติเรียกกันฉันใด กายเปรียบเหมือนเกวียน เพราะอรรถว่า ไม่รู้ ลมที่เกิดจากจิต

เปรียบเหมือนโค จิตเปรียบเหมือนสารถีเมื่อจิตเกิดขึ้นว่า เราจะเดิน เราจะยืน วาโยธาตุ

ที่ทำให้เกิดความเคลื่อนไหวก็เกิดขึ้น อิริยาบถมีเดิน เป็นต้น ย่อมเป็นไปเพราะความ

ไหวตัวแห่งวาโยธาตุ อันเกิดแต่การทำของจิต ต่อแต่นั้น สัตว์ก็เดิน สัตว์ก็ยืน เราเดิน

เรายืน เพราะเหตุนั้น คำนั้น จึงเป็นเพียงบัญญัติสมมติเรียกกัน ฉันนั้นเหมือนกัน

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
ครูโอ
วันที่ 24 ก.ย. 2550

อรรถกถา อธิบายได้ละเอียดชัดเจนมากจริงๆ ครับ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
parthana
วันที่ 24 ก.ย. 2550

ฟังธรรมมะในรายการวิทยุ ฟังแล้วดูเหมือนง่าย แต่สติเกิดยากมาก โอกาสเกิดของสติแทบไม่มีเลยจะทำอย่างไรดีคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 24 ก.ย. 2550

ขอนอบน้อมแด่พระัรัตนตรัย

ไม่ว่าจะเดิน ยืน นั่ง นอน ก็ไม่ปราศจากสภาพธัมมะที่มีจริงในขณะนี้ สติเป็นอนัตตา

ไม่มีการบังคับว่าจะเลือกรู้สภาพธัมมะใด และไม่เลือกอิริยาบถใด เมื่อมีเหตุปัจจัยสติก็

ระลึกว่าเป็นธรรม เพียงแต่ที่สำคัญ ไม่มีอิริยาบถโดยปรมัตถ์ แต่มีสภาพธัมมะแต่ละ

อย่างที่เกิดขึ้น ในขณะที่เดิน ยืน นั่ง และนอน ขออนุโมทนานะ ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 24 ก.ย. 2550

อ้างอิงจาก : ความคิดเห็นที่ 4 โดย parthana

ฟังธรรมมะในรายการวิทยุ ฟังแล้วดูเหมือนง่าย แต่สติเกิดยากมาก โอกาสเกิดของสติแทบไม่มีเลยจะทำอย่างไรดีคะ


ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ฟังต่อไปนะ ความเข้าใจยังไม่พอ สติก็ยังไม่เกิด เป็นธรรมดานะ เราเพิ่งเริ่มฟังเอง ถ้า

สติเกิดง่ายก็บรรลุเร็ว แต่จริงๆ ไม่ใช่ครับ สติและปัญญาเกิดยากเพราะสะสมความไม่รู้

และกิเลสไว้เยอะ พระสาวก บางองค์ต้องอบรม แสนกัป กัปนึงก็เท่ากับ จำนวนชาติที่

นับไม่ถ้วน ดังนั้นเราเพิ่งเริ่มฟังเอง สติก็ยังไม่เกิด แต่ถ้าเริ่มรู้ว่าสติยังไม่เกิด ก็เป็น

ความรู้ถูกระดับหนึ่งแล้ว เพราะไม่หลงผิดว่าสสติเกิดแล้วครับ อย่างไรก็ตาม ขอแนะ

นำให้อดทนที่จะฟังต่อไปและเป็นหน้าที่ของธรรมนะว่า สติจะเกิดหรือไม่เกิด ก็อบรมเหตุ คืออดทนที่จะฟังต่อไปครับ ขออนุโมทนาในกุศลศรัทธานะ ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
natthaset
วันที่ 25 ก.ย. 2550

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
อิคิว
วันที่ 27 ก.ย. 2550

ไม่มีใคร ยืน เดิน นั่ง นอน

ยืน เดิน นั่ง นอน ก็ไม่ได้เป็นของใครจะมีก็แต่เพียง จิต เจตสิก รูป ที่เกิดขึ้นในแต่ละขณะแล้วดับไป

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
คนส่งสาร
วันที่ 27 ก.ย. 2550

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ -หน้าที่ 332

ธรรมเป็นเหตุเกิดสติสัมโพชฌงค์

อีกอย่างหนึ่ง ธรรม ๔ ประการ เป็นทางเกิดสติสัมโพชฌงค์ คือ ๑. สติสัมปชัญญะ ๒.การเว้นบุคคลผู้มีสติหลงลืม ๓. การคบหาบุคคลผู้มี สติมั่นคง ๔. ความน้อมจิตไปในสติสัมโพชฌงค์นั้น.

ก็สติสัมโพชฌงค์ ย่อมเกิด ด้วย สติสัมปชัญญะ ในฐานทั้ง ๗ มีก้าวไปข้างหน้า เป็นต้น ด้วยการงดเว้นบุคคลผู้มีสติหลงลืมเช่นเดียวกับกาตัวเก็บอาหาร ด้วยการคบหาบุคคลผู้มีสติมั่นคง เช่นเดียวกับพระติสสทัตตเถระ และ พระอภัยเถระเป็นต้น และด้วยความเป็นผู้มีจิตโน้มน้อมไปเพื่อตั้งสติในอิริยาบถ ทั้งหลายมี ยืน นั่ง เป็นต้น. ภิกษุย่อมรู้ชัดว่าก็สติสัมโพชฌงค์นั้นอันเกิดแล้ว ด้วยเหตุ ๔ ประการอย่างนี้...........ย่อมเจริญบริบูรณ์ด้วยอรหัตตมรรค.

------------------------------------------------------------------ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
อิคิว
วันที่ 9 ต.ค. 2550
ขออนุโมทนา
 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
pornpaon
วันที่ 5 ส.ค. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
ก.ไก่
วันที่ 12 ก.พ. 2565

สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ